ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ

              กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน "ศาลหลวงต้นไทร : อนุสรณ์แห่งพระมหากรุณาธิคุณในรัชกาลที่ ๙" วิทยากร นายวสันต์ ญาติพัฒ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มจารีตประเพณี สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.               ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


          สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการเรื่อง “กรุงศรีอยุธยาในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์” โดยวิทยากร นางสาวเปรมา สัตยาวุฒิพงศ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ  นางสาวระชา ภุชชงค์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ  และนายชัยประสิทธิ์ ปะนันวงค์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ  ดำเนินการรายการโดย นายเอกลักษณ์ ลอยศักดิ์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 12.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ผ่านการสแกน QR code ด้านล่าง หรือผ่าน Link http://forms.gle/ANoMor9856QpTBxH8



องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง “วันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน” วันข้าราชการพลเรือน ตรงกับวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี เนื่องจากสำนักงาน ก.พ. ไดนำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ขอให้กำหนดวันที่ 1 เมษายนของทุกปี เป็นวันข้าราชการพลเรือน เพราะเป็นวันที่ตรงกับวันประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรก คือ วันที่ 1 เมษายน 2472 และเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานระเบียบข้าราชการพลเรือนทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2522 เป็นปีที่องค์การกลางบริหารบุคคลต่างๆของรัฐ และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนได้หารือกันที่จะให้มีการจัดงานเนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี แห่งการใช้กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ในที่สุดจึงได้ร่วมกันจัดงาน “สัปดาห์การบริหารงานบุคคล” ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 1-7 เมษายน ปีเดียวกันนั้นเอง จากการจัดงานดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่องค์การบริหารบุคคลต่างๆของรัฐ และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการพลเรือนได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะมีวันข้าราชการพลเรือน และควรถือเอาวันที่ 1 เมษายนเป็น “วันข้าราชการพลเรือน” เหตุผลที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันที่ได้มีการประกาศใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2471 และยังเป็นเครื่องแสดงกคเวทิคุณสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นผู้ทรงวางรากฐานระเบียบข้าราชการพลเรือนสมัยใหม่ขึ้นมา ในการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน มีการแสดงนิทรรศการผลงานของส่วนราชการต่างๆ และมีการยกย่องเชิดชู ข้าราชการพลเรือนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น โดยในปี พ.ศ. 2524 ได้จัดให้มีโครงการคัดเลือกข้าราชการตัวอย่างที่ทำงานให้ประชาชนชื่นใจ ต่อมาไดเ้ปลี่ยนชื่อเป็น โครงการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่น โดยคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 เป็นต้นมา และได้จัดพิธีมอบเกียรติบัตรแก่ข้าราชการดีเด่นในงานวันข้าราชการพลเรือนของทุกๆ ปีจนถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน มีดังนี้ 1.เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของข้าราชการในการเป็นผู้ให้บริการ เสียสละ และอุทิศเวลา เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม 2.เพื่อให้ข้าราชการได้ตระหนักถึงเกียรติ หน้าที่ สามัคคี ซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของข้าราชการ อันจะเปลี่ยนภาพลักษณ์ ทัศนคติ ของประชาชนที่มีต่อข้าราชการให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น 3.เพื่อเผยแพร่ผลงานใหม่ๆของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการประชาชน 4.เพื่อยกย่องส่งเสริมข้าราชการที่มีความประพฤติและผลปฏิบัติงานดีเด่น เผยแพร่เกียรติคุณของข้าราชการดีเด่นให้ปรากฏ อันจะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการกระทำความดีตลอดไป 5.เพื่อให้วันข้าราชการพลเรือน (1 เมษายน) เป็นวันที่มีความหมายอยู่ในความทรงจำและเป็นที่ยอมรับของ ข้าราชการและประชาชน โดยทั่วไป อ้างอิง : ประชิด สกุณะพัฒน์, อุดม เชยกีวงศ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : ภูมิปัญญา, 2549. บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี



องค์ความรู้: สำนักหอสมุดแห่งชาติ เรื่อง: ๙๐ ปี มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ๒๗ มิถุนายน ศกนี้ ครบ ๙ ทศวรรษ วันสถาปนามหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ต่อมาปี ๒๔๙๕ ได้ออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งยกเลิกตำแหน่งผู้ประศาสน์การและตัดคำว่า “วิชา” กับ” “และการเมือง” ออกจากชื่อมหาวิทยาลัย ตึกโดม อันเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของมหาวิทยาลัย ออกแบบโดยนายหมิว อภัยวงศ์ ปรับจากที่ทำการของทหาร ร.พัน ๔ และ ร.พัน ๕ เชื่อมอาคาร ๔ หลังด้วยกัน และตอนกลางสร้างใหม่ เชื่อมระหว่างอาคาร ๒ และ ๓ เป็นตึก ๓ ชั้น มีโดมกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร และสูงจากพื้นดินถึงยอด ๔๐ เมตร ตึกๆ หนึ่งกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๕๒ เมตร สูง ๑๔ เมตร เมื่อจะแปลงเป็นห้องบรรยาย ต้องตัดเสาไม้ที่อยู่กลางห้องเป็นแถวออกไป โดยใช้เหล็กฉากรองรับพื้น หล่อเสาคอนกรีตเสริมกำแพง ทำหลังคา พื้น ประตู หน้าต่าง และบันไดใหม่ การก่อสร้างตอนกลาง เฉพาะส่วนนี้รวมทั้งสิ้น ๓๙,๘๐๒.๓๘ บาท และค่าใช้จ่ายการเชื่อมหลังคา ทุกหลังเบ็ดเสร็จ ๘๙,๕๑๘.๗๕ บาท เปิดตึกและเปิดแพรคลุมป้าย วันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นประธานในพิธีเปิด บริเวณมหาวิทยาลัย ท่าพระจันทร์ เคยใช้เป็นที่กักคุมชนชาติศัตรูสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ อีกด้วย ปรากฏหลักฐาน ร่างพระราชกำหนด ยกเลิกมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ขึ้นแทน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เนื่องจากเหตุการณ์วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน หรือร่างพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อจาก “การเมือง”เป็นรัฐศาสตร์ เพื่อให้ตรงชื่อเรียกมหาวิยาลัยในภาษาอังกฤษ The University of Moral and Political Sciences และราวปี ๒๔๙๕ ใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” จนถึงปัจจุบัน อาคารนี้ได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ บรรณานุกรม กรมศิลปากร. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพตึกโดม มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง หวญ ๖๔๘/๑ -----. ร่างพระราชกำหนดมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ทม.๔.๑.๑.๓/๑ (๔-๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๒) -----. ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ทม.๔.๑.๑.๓/๕ (๒๔๙๓ - ๑๙ ธันวาคม ๒๔๙๔) -----. เอกสารสำนักนายกรัฐมนตรี สร.๐๒๐๑.๕.๙.๒/๖ เรื่องพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เปิดตึกใหม่ เปิดสมัยการศึกษาและประสาทปริญญา (๒๑ มิถุนายน ๒๔๗๗ - ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๖) ทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และคนอื่นๆ. สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.๒๔๗๗-๒๕๑๑. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, ๒๕๓๕. พงศกร แก้วกระจ่าง. อาคารโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๗, จาก: https://asaconservationaward.com/.../63-dome-thammasat... เรียบเรียงข้อมูล นายบารมี สมาธิปัญญา นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กราฟิก นายชลิต ปรีชากุล นายช่างศิลปกรรม สำนักหอสมุดแห่งชาติ


ชื่อเรื่อง :  หนังสือแก้วส่องโลกผู้แต่ง : ส่างจันท์ นันทน้อยปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๕สถานที่พิมพ์ :  เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อเมริกันจำนวนหน้า : ๕๒ หน้าเนื้อหา : หนังสือเล่มนี้ชื่อแก้วส่องโลก พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์อักษร ที่โรงพิมพ์อเมริกัน ถนนเจริญเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ นายส่างจันท์ นันทน้อย ผู้แต่ง อักษรล้านนา ภาษาล้านนา หนังสือแก้วส่องโลก ข้าพเจ้านายส่างจันท์ นางเรือนคำ นันทน้อย บ้านเชียงราย อำเภอเมืองจังหวัดลำปาง ได้บริจาคทรัพย์พิมพ์หนังสือจำนวน ๑๐๐ เล่ม เพื่อแจกจ่ายหื้อผู้ที่บำรุงพระธาตุ แต่ ๒๕ สตางค์ขึ้นไป เป็นเงินบำรุงการก่อสร้างพระเจติยะวัดม่อนจำศีล บ้านป่าขาม อำเภอเมืองจังหวัดลำปาง หื้อไว้เป็นที่ระนึกพระธัมม์เจติยะองค์นี้แล “นิพพานปจฺจโยโหตุ” หน้าปกมีรูปเจ้าฤาษีอูส่วยหล่า ชาติต่องสู่ ตัวอย่างข้อความคำปรารภ “การที่ข้าพเจ้า นายส่างจัน นันทน้อย ได้แต่งหนังสือแก้วส่องโลกเล่มนี้ขึ้นนั้น ค็ด้วยท่านฤาษีอูส่วยหล่า ได้เป็นผู้ชักชวนสัทธาทายกะ แลทายิกาทั้งหลาย ก่อสร้างเจดีย์วัดม่อนจำศีล บ้านป่าขาม ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือน ๗ ขึ้น ๑ ค่ำ พ.ศ.๒๔๗๕ เนื้อหาภายในเล่มประกอบด้วย คำขมาแก้วทั้งสาม คำปรารถนาที่ได้บริจาคทรัพย์ คำบรรจุธาตุ คำปรารถนาทุกค่ำเช้า คำอธิบายเรื่องสังขาร เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๗๒๐เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๒๑หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗


            กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด แหล่งรวบรวมเรื่องราวน่ารู้ของเมืองร้อยเอ็ด” วิทยากร นางสาวเจนจิรา วิริยะ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด และนายอุเทน ตุลากันย์ เจ้าพนักงานพิพิธภัณฑ์ชำนาญงาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร             รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗


ภาพ : จี้รูปสัตว์สองหัว  ภาพ : ตุ้มหูแบบลิง ลิง โอ              นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567  เรื่อง “บรรพชนคนอู่ทอง” จัดแสดงโบราณวัตถุ 73 รายการ ที่พบจากแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ - ต้นประวัติศาสตร์ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียงในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี               นิทรรศการนำเสนอข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีของมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ต้นประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง แสดงถึงพัฒนาการของชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่รับอิทธิพลจากดินแดนภายนอกและพัฒนาเข้าสู่ยุคต้นประวัติศาสตร์ คือสมัยทวารวดี ที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 8 หัวข้อ ประกอบด้วย               ตู้จัดแสดงที่ 1 ร่องรอยมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่เมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดงขวานหินขัดแบบมีบ่าและไม่มีบ่า เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว ที่พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง               ตู้จัดแสดงที่ 2 และ 3 แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงภาชนะดินเผารูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาชนะอุทิศในหลุมฝังศพของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ อายุประมาณ 3,000 - 4,000 ปีมาแล้ว เช่น ภาชนะก้นกลม ภาชนะทรงพาน เป็นต้น              ตู้จัดแสดงที่ 4 แหล่งโบราณคดีบ้านหัวอุด อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงภาชนะดินเผารูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาชนะอุทิศในหลุมฝังศพของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ อายุประมาณ 3,300 - 3,500 ปีมาแล้ว เช่น ภาชนะทรงพาน และหม้อสามขา เป็นต้น             ตู้จัดแสดงที่ 5 แหล่งโบราณคดีบ้านทะเลบก อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ อายุประมาณ 3,000 - 4,200 ปีมาแล้ว ได้แก่ ขวานหินขัด ชิ้นส่วนหม้อสามขา และชิ้นส่วนภาชนะมีนม              ตู้จัดแสดงที่ 6 แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก อายุประมาณ 1,700 - 2,300 ปีมาแล้ว ได้แก่ ขันสำริด และกำไลสำริด              ตู้จัดแสดงที่ 7 แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย - ต้นประวัติศาสตร์ที่เมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีเนินพลับพลา ได้แก่ ขวานหินขัด ที่ประทับลาย ประติมากรรมปูนปั้น และโบราณวัตถุที่พบบริเวณสนามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ได้แก่ ลูกปัดแก้วมีตา ลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ตะคันดินเผา ชิ้นส่วนพระพิมพ์ และเบี้ยกระดองเต่า ซึ่งมีอายุตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงทวารวดี             ตู้จัดแสดงที่ 8 จัดแสดงโบราณวัตถุที่แสดงถึงการติดต่อแลกเปลี่ยนกับดินแดนภายนอก ได้แก่ จี้รูปสัตว์สองหัว และตุ้มหูแบบลิง ลิง โอ ซึ่งเป็นเครื่องประดับของกลุ่มคนในวัฒนธรรมซาหุญหรือซาหวิ่น (Sa Huynh) ซึ่งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเวียดนาม กำหนดอายุในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สมัยเหล็ก ราวพุทธศตวรรษที่ 1 - 5 หรือประมาณ 2,000 - 2,500 ปีมาแล้ว            ขอเชิญชวนผู้สนใจไปชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “บรรพชนคนอู่ทอง” ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ณ ห้องนิทรรศการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เปิดทำการวันพุธ - อาทิตย์ วันหยุดราชการพิเศษและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 - 16.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3555 1021


กรมศิลปากรได้สร้างงานดนตรีขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายในวาระสุดท้ายนี้ เป็นเครื่องแสดงความจงรักภักดี ด้วยการนำคำประพันธ์มาบรรจุลงในทำนองเพลงไทยเดิม บันทึกเสียง น้อมเกล้าฯ ถวายในงานพระราชพิธีพราะราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จัดขึ้นเป็นเพลงชุด ชื่อ "เพชรรัตนาลัย" ประกอบด้วย ๓ บทเพลงดังนี้ "เพชร"  "ใบไม้ร่วง"  "พสุธากันแสง"




ขอเชิญชมนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์จากมรดกศิลปวัฒนธรรม วันที่ ๑๔-๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร




Messenger