ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,660 รายการ


วันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๕วันพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีการซึ่งกระทำขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและส่งเสริม บำรุงขวัญเกษตรกร เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในเดือนหกของทุกปีอันถือเป็นเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการทำนาในทวาทศมาส (โคลงดั้น) เอกสารยุคต้นกรุงศรีอยุธยา พรรณนาฤดูเดือนหก (ไพศาขย) เริ่มมีฝนตกแล้ว ต่อจากนี้ไปจะมี พิธีแรกนาขวัญทั่วไปในชนบทหมู่บ้านเพื่อสร้างขวัญ และกําลังใจให้ชาวนาชาวไร่ ในพื้นที่ต่างๆ จะมีการปักธงธวัช ทวาทศมาส (โคลงดั้น) พรรณนาดังนี้๏ เดือนหกเรียมไห้รํ่า ฤๅวายยามย่อมชนบทถือ ท่องหล้าธงธวัชโบกโบยปลาย งอนง่าคิดว่ากรกวักข้า แล่นตาม ฯ๏ ทันธงบใช่น้อง เรียมทรุดหิวคระหนรนกาม พรั่นกว้าธวัชงอนโบกโบยสุด ลิวลี่กรใช่กรหน้าหน้า ใช่น้องนาไถ ฯ๏ ฤดูเดือนเชษฐฟ้า ครรชิตสายพรุณรองไร เรื่อยฟ้าไพศาขยรํ่าแรมนิทร นงโพธ เดียวแม่แรมรํ่าแรมโรยหน้า เร่งโรยแรมโรย ฯ๏ วรรณาโมลิศแล้ง แดงเดียวอกกระอุเกรียมโกรย กระด้างอัมพรอุทรเขียว  ครางคร่ำฟื้นฟั่นโหยไห้ช้าง เชี่ยวสินธุ์ ฯ๏ อักขนิษฐเลื่องโลกล้ำ โสฬศบัณฑุกัมพลอินทร์ อาสน์แก้วเมรุทองรรองทศ ศาภาคย์ฤๅอาจทรงทุกข์แผ้ว ที่ตรอม ฯ๏ ฤดูเดือนเมฆนํ้า นองหาวขุกข่มเขียวไพรดอม ยอดย้อมไฟกามรลุงจาว ทองเทศเห็นลบัดเสรียวอ้อม อาตม์เรียม ฯ๏ อัญชันชรอุ่มแต้ม ตาไพรเพราเพริดนัยนุชเทียม แต่งแต้มบัวกามจำรัสไร รัตนเรขชมช่อไม้เหมือนแก้ม โกศเกลาฯ๏ พระพรุณรายเรื่อยฟ้า เฟ็ดโพยมอกราษฎร์ชนบทเทา ทั่วหล้าเริ่มการสำเร็จโถม ไถแล่นเจียรอนุชน้องถ้า ไป่ยลฯ๏ แถลงวรรสวาดิเกี้ยว กรองบัตรลมปั่นหาวเหินบน แบ่งไส้เล็บนางแน่งเนาวรัตน์ โชรช่อแลแล่งเล็บแก้วไล้ ลวดทอง ฯ๏ ฟ้าดินเลียมลอบกลํ้า กลืนนุช แดฤๅซงซ่อนไกลใจปอง ขาดขวํ้าแดนใดลอบเลงบุษป บัวมาศ กูเฮยเรียมบำบวงบนก้ำ ก่ำสมร ฯ๏ ร่ำรักแรมราศแก้ว เจียรจินต์กรมโกรธเททวารถอน ถอดไส้ลุกแลรลุงถวิล หาอ่อน อวลเอยเยียวข่าวขวัญน้องไข้ พี่ถ้าถามขวัญ ฯเอกสารอ้างอิง"โคลงทวาทศมาส" เข้าถึงได้โดย https://vajirayana.org/โคลงทวาทศมาส/โคลงทวาทศมาส“แรกนาขวัญ-นาตาแฮก” การสร้างขวัญและกําลังใจของเกษตรกร. เข้าถึงได้โดย https://www.silpa-mag.com/culture/article_32683


เรื่อง “วันศิลป พีระศรี 15 กันยายน” วันศิลป พีระศรี ตรงกับวันที่ 15 กันยายน เพื่อรำลึกถึงศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ครูผู้อุทิศตนทั้งชีวิต เพื่อนักเรียนและศิลปะ จนวินาทีสุดท้ายของชีวิต ได้ชื่อว่า“บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย” ผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรจี Corrado Feroci เป็นชาวอิตาลีสัญชาติไทย เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2435 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรนายอาทูโด และนางซานตินา สมรสกับนางฟานนี มีบุตร 2 คน ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2505 รวมอายุได้ 69 ปี 7 เดือน 29 วัน การศึกษา ปี พ.ศ. 2441 เข้าศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา จนจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาในปี พ.ศ. 2451 หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ จนจบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปี และได้รับประกาศนียบัตร ช่างปั้น ช่างเขียน ในปี พ.ศ. 2458 ท่านยังเป็นผู้มีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรมอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2466 เข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากร กระทรวงวัง ปี พ.ศ. 2469 เป็นอาจารย์ช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรแห่งราชบัณฑิตยสภา และได้มาเป็นหัวหน้ากองโรงเรียนศิลปากร แผนกช่างกรมศิลปากร ในปี พ.ศ. 2476 ต่อมาโรงเรียนศิลปากรได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านจึงได้เป็นคณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรมเมื่อปี พ.ศ.2486 และเป็นอาจารย์ช่างปั้น กองประณีตศิลปกรรม กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการในปี พ.ศ. 2495 เป็นข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรมสมัยนั้นในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาโอนมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ตำแหน่งอันมีเกียรติยิ่ง คือประธานคณะกรรมการ สมาคมศิลปแห่งชาติ ศาสตราจารย์ศิลปเป็นครูที่มีความขยันขันแข็งและตั้งใจถ่ายทอดวิชาให้แก่ศิษย์อย่างจริงจัง เป็นผู้วางหลักสูตรจิตรกรรมและประติมากรรมให้มีมาตรฐานเช่นเดียวกับโรงเรียนศิลปะในยุโรป เป็นผู้ปั้นในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เชิงสะพานพุทธ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่สุพรรณบุรี อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อนุสาวรีย์อื่นๆอีกหลายแห่ง และ พระพุทธรูปประธานที่พุทธมณฑล ด้วยเหตุนี้ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย” ท่านเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยศิลปากร จึงถือเอาวันที่ 15 กันยายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านเป็น “วันศิลป พีระศรี” ซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจะจัดงานรำลึกขึ้นทุกปี เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่มีต่อมหาวิทยาลัยและประเทศไทยนานัปการ อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี #องค์ความรู้ #วันศิลป์พีระศรี #บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย #มหาวิทยาลัยศิลปากร #หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกจันทบุรี #กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร #สำนักศิลปากรที่5ปราจีนบุรี #กรมศิลปากร #กระทรวงวัฒนธรรม


          กรมศิลปากร โดยศูนย์หนังสือกรมศิลปากร ร่วมจำหน่ายหนังสือในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ ๒๗ ทั้งหนังสือออกใหม่ หนังสือเก่า และหนังสือหายาก ลดราคาสูงสุดถึง ๒๐% ตั้งแต่วันที่ ๑๒ - ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ ๕ - ๗ ชั้น LG บูธ G ๔๔ หรือสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ https://bookshop.finearts.go.th            กรมศิลปากรนำหนังสือศิลปวัฒนธรรมด้านต่างๆ ทั้งวรรณคดี ประวัติศาสตร์ โบราณคดี  ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ที่หน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรจัดพิมพ์ใหม่และหนังสือยอดนิยม มาจำหน่ายในราคาลดพิเศษ ๒๐% ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ ๒๗ โดยมีหนังสือที่น่าสนใจ อาทิหนังสือสู่ดินแดนโพ้นทะเล การเดินทางจากนิวยอร์กถึงบางกอก ประเทศสยาม และการเดินทางกลับ จัดพิมพ์โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ราคา ๑๒๐ บาท ลดเหลือ ๙๖ บาท หนังสือการเดินทางรอบโลก ตอนประเทศสยาม จัดพิมพ์โดยสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ราคา ๑๒๐ บาท ลดเหลือ ๙๖ บาท หนังสือการสร้างหุ่นหลวง จัดพิมพ์โดยสำนักช่างสิบหมู่ ราคา ๖๐๐ บาท ลดเหลือ ๔๘๐ บาท หนังสือ THE ENDLESS EPIC OF JAPANESE - THAI CERAMIC RELATIONSHIP IN THE WORLD'S TRADE AND CULTURE (ESSAYS) ราคา ๗๐๐ บาท ลดเหลือ ๕๖๐ บาท หนังสือ PHOTOGRAMMETRY ภาพสามมิติโบราณสถาน จากเทคนิคการสำรวจแบบโฟโตแกรมเมตรี จัดพิมพ์โดยสำนักสถาปัตยกรรม ราคา ๕๐๐ บาท ลดเหลือ ๔๐๐ บาท หนังสือปราสาทสด๊กก๊อกธม อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก ราคา ๓๕๐ บาท ลดเหลือ ๒๘๐ บาท           ขอเชิญผู้สนใจเยี่ยมชมและเลือกซื้อหนังสือได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ ๒๗ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ ๕ - ๗ ชั้น LG บูธ G ๔๔ ระหว่างวันที่ ๑๒ - ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.  


          วันพฤหัสบดีที่ ๓ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๕๐ น. นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท โดยมี อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหาร ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ร่วมพิธีดังกล่าว ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร


ชื่อเรื่อง                               มหาวฅฺฅ วณฺณนา(ตติย) สมนฺตปาสาทิกา วินยฏฺฐกถา(วินัย) สพ.บ.                                  อย.บ.5/5ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           52 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทสวด                                            พระวินัย             บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน ภาษามอญ เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ  ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจาก วัดประดู่ทรงธรรม จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ไม้มงคลประจำราศี เรียบเรียง นางสาวทิพย์สุดา อาจดี เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน ผู้จัดทำ นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           40/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              24 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


องค์ความรู้ เรื่อง พระดาบสผู้ตั้งชื่อเมืองอยุธยา ในโคลงภาพฤๅษีดัดตน พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส โดย นายปารเมศ อภัยฤทธิรงค์ นักอักษรศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 135/5เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 171/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           7/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           50/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                36 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 57.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           9/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              50 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.8 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ประหยัด พงษ์ดำ เกิดเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2477 ที่จังหวัดสิงห์บุรี เริ่มเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างเมื่อ พ.ศ. 2492 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 5 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้มอบหมายให้ประหยัดสอนวิชาทฤษฎีศิลป์ (Art Theory) และวิชากายวิภาค (Anatomy) ต่อมาในปี 2504 ได้รับทุนไปศึกษาต่อทางด้านศิลปะที่สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งกรุงโรม (L’Accademia di Belle Arti di Roma) ประเทศอิตาลี เป็นเวลา 2 ปี ได้รับประกาศนียบัตร Diploma of Fine Art หลังจากสำเร็จการศึกษา ประหยัดกลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะจิตรกรรมฯ จนกระทั่งปี 2523 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรมฯ ประหยัดเกษียณอายุราชการในปี 2537 แต่ยังคงได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์พิเศษที่คณะจิตรกรรมฯ และสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง ประหยัดสร้างสรรค์ผลงานทั้งจิตรกรรมและภาพพิมพ์ ผลงานในระยะแรกเป็นภาพพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ยาง (Lenocut) ไม้อัด (Plywood) และมาโซไนท์ (Masonite) ผลงานจึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และเป็นเพียงภาพขาว – ดำ หรือภาพที่มีสีเพียงไม่กี่สี แสดงถึงเรื่องราวในบรรยากาศและความรู้สึกของศิลปินเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งเร้นลับ ไสยศาสตร์ และโหราศาสตร์ ผ่านภาพสัตว์และทิวทัศน์ในชนบทเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาประหยัดได้ศึกษาเทคนิคการพิมพ์ภาพพิมพ์หลายสี ด้วยแม่พิมพ์ชิ้นเดียวและหลายชิ้น โดยใช้เทคนิคภาพพิมพ์สีน้ำมัน มีการใช้สีสันมากขึ้นเพื่อทำให้ผลงานดูสดใส มีชีวิตชีวา ผลงานจึงมีลักษณะแปลกใหม่ นำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมในชนบท เรื่องของจิตวิญญาณ ความเชื่อทางศาสนา ความผูกพันกันระหว่างแม่กับลูกทั้งในมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะรูปกิริยาท่าทางของสัตว์ชนิดต่างๆ ที่ประหยัดนำมาเป็นตัวละครหลักในการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น ม้า วัว ตุ๊กแก นกเค้าแมว แมว และไก่ ประหยัดสามารถสร้างภาพพิมพ์รูปสัตว์ให้ดูมีชีวิต มีการเคลื่อนไหว และแสดงลักษณะของสัตว์ในอิริยาบถต่างๆ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ภาพพิมพ์บางชิ้นมีการติดทองคำเปลวลงไปก่อนการพิมพ์รูป เช่น ดวงตาของแมวในที่มืด และดวงดาวบนท้องฟ้าอันมืดมิด เพื่อทำให้เกิดจุดสนใจและให้กลิ่นอายของความเป็นไทย รู้สึกได้ถึงความลึกลับ วังเวง และน่าค้นหา ถ่ายทอดบรรยากาศแห่งความเงียบสงบในช่วงเช้ามืดที่เงียบสงัด และช่วงโพล้เพล้จวนค่ำ ผลงานจึงแฝงเร้นไปด้วยความลึกลับ เน้นการสื่อสารถึงอารมณ์ความรู้สึก มากกว่าการยึดติดในความสวยงามทางกายภาพ ในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 12 (พ.ศ. 2504) ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้กล่าวถึงผลงานของประหยัดไว้ว่า “…เห็นได้ว่างานครั้งหลังของประหยัดมีความก้าวหน้าทางเทคนิคมาก ไม่แพ้การออกแบบ ภาพควายขวิดกันและภาพไก่นั้นเขียนอย่างกล้า และมีองค์ประกอบภาพถ่วงกันอย่างพอเหมาะพอดี…” ผลงานชิ้นเด่นของประหยัด เช่น “ยามเช้า” เป็นภาพพิมพ์ที่ใช้เทคนิคการแกะไม้เป็นรูปไก่กำลังโก่งคอขัน องค์ประกอบต่างๆ จัดวางได้อย่างเรียบง่ายและกลมกลืน แสดงความเคลื่อนไหวของไก่อย่างมีพลัง สะท้อนถึงวิถีชีวิตในชนบทได้เป็นอย่างดี พ.ศ. 2524 ประหยัดได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาภาพพิมพ์ จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรมประกาศเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) เมื่อ พ.ศ. 2541 ประหยัดถึงแก่กรรมเนื่องจากระบบหายใจและไหลเวียนโลหิตล้มเหลว เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557 สิริอายุ 79 ปี #ประหยัดพงษ์ดำ #ศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่๙ #ศิลปินแห่งนวสมัย #หอศิลป์แห่งชาติ #หอศิลป์แห่งชาติถนนเจ้าฟ้า ที่มา 1. หนังสือ “ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ดำ 2477 – 2557” โดย ครอบครัวพงษ์ดำ 2. หนังสือ “ศิลปวิชาการ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี” โดย วิบูลย์ ลี้สุวรรณ 3. หนังสือ “5 ทศวรรษ ศิลปกรรมแห่งชาติ 2492 – 2541” โดย หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 4. หนังสือ “ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9” โดย ศาสตราจารย์วิโชค มุกดามณี


Messenger