ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,242 รายการ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กำหนดจัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี ๒๕๖๓ เรื่อง “ศิลาจำหลัก : พิพิธสมบัติเมืองสุรินทร์” ระหว่างเดือนเมษายน – พฤศจิกายน ๒๕๖๓           นิทรรศการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ ผลการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศิลปวัฒนธรรมให้แก่ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประเภทหินทรายแกะสลัก ที่พบจากโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีความสำคัญและความงดงามด้านศิลปกรรม ทั้งยังไม่เคยนำออกจัดแสดงแก่สาธารณชน เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีโอกาสศึกษาเยี่ยมชม เป็นการสร้างความตระหนักและเล็งเห็นคุณค่า ความสำคัญ ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์หวงแหนมรดกศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งเสริมสร้างให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและเป็นที่รู้จักมากขึ้น                   ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ระหว่างเดือนเมษายน – พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เปิดวันพุธ - อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. ๐ ๔๔๑๕ ๓๐๕๔




          พระเศียรและพระบาท พระพุทธรูปทองคำ พบจากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           พระเศียรพระพุทธรูป สูงประมาณ ๕ เซนติเมตร พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระเนตรปิด พระกรรณยาว พระโอษฐ์อมยิ้ม จากรูปแบบศิลปกรรมกำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) และพระบาทพระพุทธรูป ยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร มีพระองคุลีบาท (นิ้วพระบาท) ยาวเสมอกัน พระปราษณี (ส้นพระบาท) ยาว และมีฝ่าพระบาทราบ พุทธลักษณะเหล่านี้ ช่างสมัยทวารวดีสร้างขึ้นตามตำรามหาปุริสลักขณะ (มหาบุรุษลักษณะ)           พระเศียรและพระบาทพระพุทธรูปทองคำนี้ พบจากการขุดแต่งด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเจดีย์หมายเลข ๒ เมืองโบราณอู่ทอง เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๖ ถึงแม้พระเศียรและพระบาทดังกล่าวจะไม่ได้ขุดพบร่วมกัน แต่บริเวณที่พบโบราณวัตถุทั้งสองชิ้นไม่ห่างกันนัก ประกอบกับขนาดและสัดส่วนของพระเศียร และพระบาทดังกล่าว มีความสอดคล้องกัน จึงสันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนของพระพุทธรูปองค์เดียวกัน และเป็นพระพุทธรูปยืน ซึ่งอาจแสดงวิตรรกะมุทรา (ปางแสดงธรรม) อันเป็นที่นิยมในสมัยทวารวดี แบบเดียวกับกลุ่มพระพุทธรูปสำริด พบในเมืองโบราณอู่ทอง ปัจจุบันจัดแสดง ณ ห้องบรรพชนคนอู่ทอง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) แสดงให้เห็นถึงการรับอิทธิพลจากศิลปะอินเดีย ที่เริ่มมีการผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่น และพัฒนาเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีในที่สุด          พระพุทธรูปทองคำองค์นี้ จัดเป็นงานศิลปกรรมชิ้นเยี่ยมสมัยทวารวดี ทองคำถือเป็นโลหะมีค่า ที่ใช้สร้างรูปเคารพและเครื่องประดับสมัยทวารวดี แม้พระพุทธรูปองค์นี้จะมีขนาดเล็ก แต่มีลายละเอียดชัดเจน แสดงถึงความชำนาญ ฝีมือและภูมิปัญญาของช่างทองสมัยทวารวดี นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในอดีตของเมืองโบราณอู่ทองได้เป็นอย่างดี ------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร จัดพิมพ์, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. พนมบุตร จันทรโชติ และคณะ. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง และเรื่องราวสุวรรณภูมิ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๕๐. สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. เปิดประตูสู่ทวารวดี. นครปฐม : มิตรเจริญการพิมพ์ จำกัด, ๒๕๖๑.







เลขทะเบียน : นพ.บ.115/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  32 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 65 (204-208) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : ธรรม 3 ไตร--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.147/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า ; 4 x 51 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 90 (377-391) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปปทวณฺณนา ธมฺมปทฎกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.126/1กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4.5 x 50.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 73 (257-266) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.  เที่ยวเมืองพระร่วง.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2521.       เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วงนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2450 ซึ่งในเวลานั้นยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ได้เสด็จขึ้นไปประพาสเมืองกำแพงเชร เมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองอุตรดิตถ์ และเมืองพิษณุโลก ได้ทรงตรวจตราโบราณวัตถุสถานและสอบสวนเรื่องตำนานของเมืองเหล่านั้นซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือเก่ามาทรงพระราชวินิจฉัยชี้แจง


ข สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.15/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓ (ประชุมพงศาวดารภาค ๓ และภาค ๔ ตอนต้น) ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2506สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภา จำนวนหน้า : 420 หน้าสาระสังเขป : หนังสือชุดประชุมพงศาวดารเป้นหนังสือที่ได้รวบรวมเรื่องเก่าๆที่มีสาระและคำอธิบายของผู้มีความรู้ในวิชาดังกล่าวไว้โดยละเอียด หนังสือประชุมพงศาวดาร ภาค ๓ นี้ มีพงศาวดาร ๓ เรื่อง คือ พงศาวดารเมืองปัตตานีเรื่องหนึ่ง พงศาวดารเมืองสงขลาเรื่องหนึ่ง ทั้งสองเรื่องนี้ พระยาวิเชียรคิรี ผู้ว่าราชการเมืองสงขลา ได้เรียบเรียงไว้เมื่อยังเป็นพระยาสุนทรารักษ์กับ เริ่องพงศาวดารเชียงใหม่ พระยามหาอำมาตย์ (หรุ่น) แต่เมื่อยังเป็นพระยาศรีสิงหเทพ ได้เรียบเรียงทูลเกล้าฯ ถวายพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เรื่องหนึ่ง


ชื่อเรื่อง           สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารผู้แต่ง             กรมศิลปากร.ครั้งที่พิมพ์       -ปีที่พิมพ์          ๒๕๑๕ สถานที่พิมพ์     กรุงเทพฯสำนักพิมพ์       กรมศิลปากรจำนวนหน้า      ๔๑๔ หน้า                     สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เป็นหนังสือประมวลความรู้เกี่ยวกับประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์ ตลอดจนพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร นับแต่อดีตกาลสืบมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน พร้อมด้วยภาพประกอบพระราชทาน และ ภาพเกี่ยวกับพระราชพิธีสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร           เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นภาพที่เก็บรักษาอยู่ที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร ซึ่งได้อัญเชิญมาตีพิมพ์เพื่อประกอบเรื่องด้วย