ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,340 รายการ


จารึกโคมป่องทรงปราสาท โคมป่องทรงปราสาทสำหรับจุดไฟบูชาพระธาตุ เป็นทรงปราสาท ฐานสูง รองรับตัวเรือนธาตุซึ่งลฉลุโปร่งเป็นลวดลาย โดยด้านหน้าทำเป็นประตูขนาดเล็ก ฉลุลายดอกไม้และลายกระหนก สองข้างประตูทำเป็นรูปบุคคลยืนเหนือฐานแสดงอัญชลี (พนมมือ) ส่วนอีกสามด้าน ตรงกลางทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยมและภายในฉลุลวดลายดอกไม้สี่กลีบ มุมทั้งสี่ประดับด้วยนาคมีปีกและขาทอดตัวลงมาตามแนวสันหลังคา ถัดขึ้นไปเป็นหลังคาซ้อนกัน ๒ ชั้น ส่วนยอดทำเป็นดอกบัวตูม ที่ขอบฐานชั้นบน มีจารึกตัวอักษรฝักขาม ระบุ พ.ศ. ๒๐๕๑ นอกจากโคมป่องทรงปราสาทที่อยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย นี้แล้ว ที่มุมทั้ง ๔ ทิศของกำแพงรั้วพระธาตุหริภุญไชย ยังมีโคมป่องทรงปราสาทที่มีการประดับประดาตกแต่งอย่างงดงาม มีรูปแบบศิลปะที่คล้ายคลึงกันกับโคมป่องใบนี้ อาจสร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกันเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่พระธาตุหริภุญไชย จารึกโคมป่องกำหนดทะเบียนจารึกเป็น ลพ. ๔๒ อยู่บริเวณขอบฐานด้านบน มีจำนวน ๔ ด้าน จารึกด้วยอักษรฝักขาม ความว่า "ศักราชได้ ๘๗๐ ตัว ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๗๑ รัชกาลพระเมืองแก้ว  พระรัตนปัญญาเป็นประธานพร้อมด้วยพระมหาสามีศรีวิสุทธิ์วัดต้นแก้ว ชักชวนศรัทธาชาวยางหวานทั้งหลายที่อยู่ทิศตะวันตก ตะวันออก ทิศใต้และทิศเหนือ ได้รวบรวมทองสัมฤทธิ์หล่อเป็นปราสาทหลังนี้ หนัก ๕๘๐๐๐  สำหรับจุดไฟ บูชาพระมหาธาตุเจ้าตราบจนถึง ๕,๐๐๐ ปี" นอกจากนี้ด้านในโคมยังมีจารึกที่แผ่นรองด้านใน ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย   จะได้นำภาพถ่ายมาให้ทุกท่านชมในโอกาสต่อไป อ้างอิง ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (และคนอื่นๆ). จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑-๒ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ :กรมศิลปากร, ๒๕๕๑.ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.


องค์ความรู้จากสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่เรื่อง  แม่ข่า : ลำน้ำ – คู(เมือง) – คลอง และการจัดการน้ำเมืองเชียงใหม่เรียบเรียงโดย : นายสายกลาง  จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ                       กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่          แม่ข่า ลำน้ำสายนี้เป็นที่รู้จักในฐานะลำน้ำที่ไหลเลาะเลียบกำแพงเมืองเชียงใหม่ชั้นนอก   (กำแพงดิน) อดีตที่ผ่านมาน้ำแม่ข่าทรุดโทรมจากการใช้ประโยชน์ จนยากจะเชื่อว่าปัจจุบันลำน้ำสายนี้กำลังได้รับการพัฒนาจนดีขึ้นทั้งคุณภาพน้ำและพื้นที่ริมน้ำ ตัวตนของแม่ข่าถูกเข้าใจไปในหลายทาง บางคนบอกว่า แม่ข่าเป็นลำน้ำ บ้างบอกว่าเป็นคูเมือง อีกไม่น้อยบอกว่าเป็นคลอง แล้วแม่ข่าที่เรารู้จัก คืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมาย้อนอดีตและทำความเข้าใจตัวตน ที่มาที่ไปของแม่ข่าและความหมายคุณค่าที่ลึกซึ้งที่มีต่อเมืองเชียงใหม่          เมื่อพิจารณากายภาพของลำน้ำสายนี้ พบว่าแม่ข่า เกิดจากน้ำสาขาที่ไหลจากดอยสุเทพ โดยไหลมาทั้งจากน้ำแม่สา ห้วยชะเยือง-ห้วยตึงเฒ่า ห้วยแม่จอกหลวง-ห้วยแม่หยวก ห้วยช่างเคี่ยน-ห้วยแก้ว ไหลรวมเป็นลำน้ำแม่ข่า ไหลลงมาทางทิศใต้อ้อมเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเลาะตามแนวกำแพงเมืองชั้นนอกและวกลงทางทิศใต้ไปบรรจบกับน้ำอีกสายคือ ลำคูไหว ที่ไหลเลาะตามแนวกำแพงเมืองชั้นนอกที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ (สำหรับท่านที่ไม่ใช่ชาวเชียงใหม่หรือไม่คุ้นเคยในกายภาพเมืองให้พยายามดูภาพแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศเมืองเชียงใหม่ประกอบเพื่อความเข้าใจ) จากนั้นจึงไหลลงทางใต้ไปบรรจบกับแม่น้ำปิงทางใต้ของเวียงกุมกาม (เมืองที่พญามังรายสร้างก่อนการก่อตั้งเมืองเชียงใหม่)          ถ้าดูจากต้นทางที่แม่ข่าไหลมาก่อนเลาะเลียบริมกำแพงเมืองชั้นนอก แม่ข่าน่าจะเป็นลำน้ำ แต่ถ้าดูจากการที่แม่ข่าไหลเลาะเลียบกำแพงเมืองชั้นนอก แม่ข่าคือคูเมืองชั้นนอก (การสร้างกำแพงเมือง คูน้ำและคันดินกำแพงเมืองเป็นองค์ประกอบที่ต้องมีคู่กัน เมื่อขุดคูเป็นแนวเขต ดินที่ได้จากการขุดจะถูกนำมากองเป็นคันยาวไปตามแนวคู) และความเข้าใจในปัจจุบัน แม่ข่าส่วนที่ผ่านเมือง ถูกใช้ประโยชน์เป็นคลอง ที่หลายส่วนมีการดาดคอนกรีต          เพื่อความเข้าใจ เราจะย้อนไปดูที่เอกสารประวัติศาสตร์กันก่อน          ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ มีเนื้อความกล่าวถึง แม่ข่า 2 ตอนสำคัญ          ในสมัยพญามังราย ก่อนการสถาปนาเมืองเชียงใหม่ ในต้นพุทธศตวรรษที่ 19 มีเนื้อหากล่าวถึงชัยมงคล 7 ประการ ในการสร้างเมืองเชียงใหม่ และแม่ข่าก็ปรากฏอยู่ใน ชัยมงคลที่ 5          กล่าวคือ มีลำน้ำที่ไหลจากดอยสุเทพ โดยไหลขึ้นทางทิศเหนือ แล้ววกไปทางตะวันออก แล้วไหลลงใต้ จากนั้นจึงไหลไปทางตะวันออกเกี้ยวเวียงกุมกาม          จากเนื้อความนี้ แสดงให้เห็นว่า แม่ข่ามีสถานะเป็นลำน้ำตลอดทั้งสายตั้งแต่ต้นน้ำจากดอยสุเทพจนไหลอ้อมมาทางตะวันออก และไหลลงทางใต้และไหลไปทางตะวันตกเล็กน้อยอ้อมเวียงกุมกาม          และการกล่าวถึงแม่ข่าอีกครั้งหนึ่งในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ที่ทำให้เราทราบว่า ลำน้ำสายนี้ นอกจากรู้จักกันในนามแม่ข่าแล้ว ยังถูกเรียกขานอีกชื่อว่า “แม่โท”          เนื้อความกล่าวถึง นางจีมคำ อัครมเหสีของพญากือนา ไปเวียงกุมกาม โดยการจะไปถึงเวียง    กุมกามนั้นต้องข้ามน้ำแม่โท เมื่อพิจารณาจะเห็นว่าลำน้ำแม่โทนั้นก็คือสายน้ำเดียวกับลำน้ำแม่ข่าที่ไหลลงมาทางใต้เมืองเชียงใหม่และไหลผ่านเวียงกุมกามทางตะวันตก ดังนั้นจึงสรุปในขั้นต้นได้ว่า ก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่และหลังจากสถาปนาเมืองเชียงใหม่ในระยะแรก น้ำแม่ข่า หรือแม่โทนี้ มีสถานะเป็นลำน้ำสายหนึ่งที่อยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำปิง และไหลเป็นคู่ขนานกันไป          ทั้งนี้หลักฐานที่ช่วยคลี่ให้เห็นพัฒนาการของลำน้ำแม่ข่านี้ชัดเจนขึ้น คือ แผนที่ผังเมืองเชียงใหม่ และภาพถ่ายทางอากาศเมืองเชียงใหม่ ที่ถ่ายใน พ.ศ.2497          แผนที่ผังเมืองเชียงใหม่ ที่จัดทำขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 แสดงให้เห็นแนวเส้นเชื่อมต่อระหว่างเวียงสวนดอกกับลำคูไหวทางตะวันตก และยังเห็นแนวเส้นอีกแนวที่เฉียงออกไปจากมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัดสวนดอก เมื่อเรานำภาพถ่ายทางอากาศเมืองเชียงใหม่และพื้นที่โดยรอบ พ.ศ.2497 มาพิจารณาเพิ่ม ก็จะเห็นภาพกว้างและพบบริบทที่มีนัยยะสำคัญมากขึ้น คือ แนวเส้นนั้นไปเชื่อมต่อกับแนวเส้นที่วางตัวในแนวเหนือใต้ที่อยู่เฉียงขึ้นไปอีก ที่สำคัญคือ แนวเส้นดังกล่าวนี้เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของคันดินรูปสี่เหลี่ยมที่ปัจจุบันตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่          คันดินที่กล่าวถึงนี้ ปัจจุบันคือ คันดินที่สันนิษฐานว่าเป็นสันอ่างเก็บน้ำโบราณ ที่ตั้งอยู่ติดรั้วด้านทิศตะวันออกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเหลืออยู่สองจุด คือคันดินด้านตะวันตก ด้านหลังอาคารสนามกีฬาในร่ม และคันดินด้านตะวันออกที่อยู่ใกล้รั้วด้านตะวันออกของมหาวิทยาลัยโดยขนานไปกับแนวรั้ว อ่างเก็บน้ำโบราณนี้ทำหน้าที่เสมือนแก้มลิงที่รับน้ำที่หลากลงมาจากดอยสุเทพ อ่างเก็บน้ำนี้มีคันบังคับน้ำให้น้ำเลี่ยงออกไปทางทิศใต้ ไม่เข้าปะทะเมืองเชียงใหม่โดยตรง ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าในแผนที่เมืองนครเชียงใหม่ ที่ประกอบในแผนที่แสดงพระราชอาณาเขตสยามและหัวเมืองประเทศราช พ.ศ.2443 แสดงให้เห็นว่าคันดินนี้เชื่อมต่อกับคูเวียงสวนดอกด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ          ดังนั้นทางน้ำที่ต่อเนื่องจากคูเวียงสวนดอกทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ไปที่ลำคูไหว ที่ปรากฏในแผนที่โบราณ จึงอาจเป็นองค์ประกอบหนึ่งในระบบการจัดการน้ำที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน จากทางตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ที่เป็นดอยสุเทพ ถ่ายเทสู่พื้นที่แก้มลิงรับน้ำคืออ่างเก็บน้ำโบราณในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นจึงถ่ายเทน้ำ ออกไป 2 ส่วน โดยส่วนแรกเข้าคูเมืองสวนดอก และถ่ายลงสู่คูเมืองชั้นนอกด้านทิศตะวันตก (ปัจจุบันคือลำคูไหว) และอีกส่วนหนึ่งที่น่าจะถ่ายเทเบี่ยงออกจากเมืองด้านตะวันออกเฉียงใต้โดยไม่ผ่านคูเวียงสวนดอก ระบบน้ำดังกล่าวทำให้เกิดการจัดการน้ำที่หลากจากดอยสุเทพมาชะลอและกักเก็บ และเลี่ยงการที่น้ำจะหลากเข้าปะทะเมืองและพื้นที่เกษตรกรรมรอบเมืองโดยตรง          คำถามต่อมาคือ ระบบการจัดการน้ำนี้ควรเกิดขึ้นเมื่อใด คำตอบที่พอจะวิเคราะห์ได้ในเบื้องต้น คือ ระบบการจัดการน้ำเหล่านี้ควรเกิดขึ้นหลังการสร้างเวียงและวัดสวนดอก ในสมัยพญากือนา ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เนื่องจากระบบการจัดการน้ำเหล่านี้ ล้วนเป็นส่วนที่มาเชื่อมต่อกับคูเวียงสวนดอก ผลจากการขุดศึกษาบริเวณป้อมหายยาที่ตั้งอยู่มุมกำแพงเมืองชั้นนอกด้านตะวันตกเฉียงใต้ในปี 2546 พบว่าใต้ชั้นคันดินกำแพงเมืองชั้นนอกเป็นชั้นดินที่พบภาชนะดินเผาประเภทต่างๆ จากแหล่งเตาล้านนาและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 จากข้อมูลนี้สรุปได้ว่าพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองชั้นนอก เป็นชุมชนที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 มาก่อนจากนั้นจึงมีการสร้างคูและกำแพงเมืองชั้นนอกขึ้นภายหลัง จึงแปลความได้ว่า ลำคูไหวที่เกิดขึ้นทางทิศตะวันตก เป็นลำน้ำที่เกิดจากการขุดลอกพื้นที่ชุมชนชานเมืองทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ ให้กลายเป็นคูและกำแพงเมือง          ทั้งนี้ถ้าหากเจาะจงระยะเวลาลงไปอีกนิด ช่วงเวลาที่น่าสนใจอย่างมากคือ สมัยพระเมืองแก้ว ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 เนื่องจากปรากฏหลักฐานกล่าวถึงการสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ในสมัยนี้ รวมถึงปรากฏเนื้อความในโคลงนิราศหริภุญชัยที่น่าจะแต่งขึ้นใน พ.ศ.2061 ที่เนื้อความกล่าวถึงการเดินทางจากเมืองเชียงใหม่ไปเมืองลำพูนโดยผ่านกำแพงเมืองถึงสองชั้น          ย้อนกลับมาที่คำถามว่า หากกำแพงเมืองชั้นนอกและการปรับเปลี่ยนลำน้ำแม่ข่าให้เป็นคูเมืองชั้นนอกรวมถึงการขุดคูเมืองชั้นนอกทางทิศใต้และทิศตะวันตก(ลำคูไหว) ในห้วงเวลาดังกล่าว อะไรคือเหตุผลของการสร้าง          เมื่อพิจารณากำแพงเมืองชั้นนอกนี้มิได้โอบรอบกำแพงเมืองชั้นในครบทุกด้าน และถ้าพิจารณาลักษณะทางจากกายภาพจะพบว่า กำแพงเมืองชั้นนอกมีจุดเริ่มต้นที่มุมเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือโดยบรรจบกับแจ่งศรีภูมิ และโอบรอบเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยววกมาทางใต้บรรจบกับมุมเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะสังเกตได้ว่ากายภาพของกำแพงเมืองชั้นนอกมีการวางตัวที่สอดรับกับความโค้งของลำน้ำปิงที่ตวัดเข้ามาใกล้เมืองเชียงใหม่ จึงพอจะเห็นเค้าลางว่า คูและกำแพงเมืองชั้นนอกทางด้านตะวันออก คือคันกันน้ำที่เป็นระบบป้องกันน้ำท่วมเมืองเชียงใหม่และระบบการถ่ายเทน้ำจากพื้นที่ด้านเหนือของเมือง          เมื่อประกอบร่องรอยหลักฐานที่ปรากฏทั้งด้านตะวันตกและตะวันออกของเมืองเชียงใหม่เข้าด้วยกัน จึงสรุปได้ว่า ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 น่าจะมีการสร้างระบบการจัดการน้ำครั้งใหญ่ของเมือง ทำให้ปรากฏหลักฐานเป็นคูคลองและคันดิน ระบบการจัดการน้ำนี้ดำเนินการโดยทำการประยุกต์ลำน้ำแม่ข่าที่เป็นทางน้ำธรรมชาติช่วงที่เลาะเลียบเมืองเชียงใหม่ให้กลายเป็นคูเมืองชั้นนอกและกำแพงเมือง เพื่อจัดการน้ำด้านทิศเหนือและตะวันออกของเมือง และทำการขุดคูขึ้นใหม่และสร้างกำแพงเมืองทางทิศตะวันตกและใต้รวมถึงแนวทางน้ำที่เชื่อมกับคูเวียงสวนดอกรวมถึงอ่างเก็บน้ำโบราณ(แก้มลิงโบราณ)และคันบังคับน้ำ เพื่อจัดการน้ำด้านทิศตะวันตกของเมือง คือ น้ำป่าจากดอยสุเทพ          จากร่องรอยหลักฐานที่ได้เรียบเรียงและนำมาบอกเล่าทุกท่านในวันนี้ คงพอจะทำให้ทุกท่านเข้าใจพัฒนาการของน้ำแม่ข่า ที่มิได้มีคุณค่าและความหมายเฉพาะเพียงสายน้ำนี้ แต่ยังยึดโยงไปถึงทางน้ำและระบบการจัดการน้ำในส่วนอื่นๆ รวมถึงมองเห็นภาพความเชื่อมโยงสัมพันธ์ของธรรมชาติและการออกแบบสร้างสรรค์ของบรรพชนล้านนา กลายเป็นหลักฐานประจักษ์พยานที่ยิ่งใหญ่ที่บ่งบอกคุณค่าและความหมายทั้งการเป็นปัจจัยทางธรรมชาติอันเป็นมงคลเมือง การป้องกันยามศึกสงคราม และการบริหารจัดการน้ำ ที่ยากจะมีที่ใดเหมือน



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ขอเชิญร่วมกิจกรรม ฮีต 12 ฮอยฮีตคองวัฒนธรรม “บุญฮดสรง สรงกรานต์ สรงใจ” ระหว่างวันที่ 2 - 5 เมษายน 2567 พบกับกิจกรรมสรงน้ำพระแบบดั้งเดิม, ตบประทาย ขนทรายเข้าวัด, การละเล่นพื้นบ้านแบบดั้งเดิม, การสาธิตการทำน้ำอบฮดสรง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี  สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : Ubon Ratchathani National Museum : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี



องค์ความรู้ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี เรื่อง แหล่งโบราณคดีเมืองงิ้ว ผู้เรียบเรียง : นายอภิรัตน์ บุตรวงษ์ นักศึกษาฝึกประสบการณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ควบคุมงาน: นายกฤษณพงศ์ พูนสวัสดิ์ นักโบราณคดีปฏิบัติการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี




ชื่อเรื่อง :  หนังสือแบบเรียนหนังสือพื้นเมืองเหนือผู้แต่ง : พระคำ คัมภีโร และ พระครูสุวิธยะธัมม์ปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๖สถานที่พิมพ์ :  เชียงใหม่สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อุปะติพงษ์จำนวนหน้า : ๑๐ หน้าเนื้อหา : หนังสือแบบเรียนหนังสือพื้นเมืองเหนือ คณะสงฆ์อำเภอจอมทองจัดพิมพ์ โดยมอบให้ พระคำ คัมภีโร เผยแผ่อำเภอ และ พระครูสุวิธยะธัมม์ ศึกษาอำเภอ เป็นผู้รวบรวม และ เรียบเรียง พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำนวน ๑,๒๐๐ เล่ม เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๖ จัดพิมพ์ที่ โรงพิมพ์อุปะติพงษ์ ถนนช้างคลาน เชียงใหม่ หนังสือเล่มนี้เป็นของสามเณร ยวน กตนนฺโต วัดศรีเตี้ย ตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน (เนื้อหาด้านในเล่มหนังสือสูญหาย)เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๒๔๔๒เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๒๒หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗


สำนักงาน กพร. ได้กำหนดจัดงานเสวนาวิชาการและพิธีมอบรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี ๒๕๖๗ ในวันพุธที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี สามารถชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง youtube channel สำนักงาน ก.พ.ร. และ Facebook Fanpage : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ


   กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “คูเมือง-กำแพงเมือง ล้านนา” ตอนที่ ๑ วิทยากร นายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่, นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ และนางสาวนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร            รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร โดยถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live)


ภาพสลักบนใบเสมาบ้านคอนสวรรค์ ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ


วันจันทร์ ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ นายวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงตัดไม้จันทน์หอม เพื่อนำมาจัดสร้างพระบรมโกศจันทน์ เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายฉัตรชัย ปิ่นเงิน หัวหน้างานโหรพราหมณ์ เป็นผู้อ่านโองการบวงสรวง มีข้าราชการและประชาชนร่วมงานเป็นจำนวนมาก      อนึ่ง ไม้จันทน์หอมนี้ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้คัดเลือกต้นไม้จันทน์หอมที่ยืนต้นตายตามธรรมชาติ จำนวน ๑๒ ต้น โดยจะดำเนินการตัด และแปรรูป พร้อมนำส่งมอบให้แก่สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อนำไปจัดสร้างพระบรมโกศจันทน์ เพื่อใช้ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในลำดับต่อไป


โขนเป็นเสมือนเครื่องราชูปโภคอย่างหนึ่งของพระมหากษัตริย์ไทย ในอดีตพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฝึกหัดบรรดามหาดเล็กหลวงไว้เพื่อแสดงโขนในงานพิธีหลวงต่างๆ ทั้งในและนอกพระราชวัง โขนจึงเป็นของต้องห้ามสำหรับผู้อื่นที่จะแสดง แต่ในชั้นหลังปรากฏความนิยมว่าการฝึกหัดโขนนั้นทำให้ชายหนุ่มที่ได้ฝึกหัดแคล่วคล่องว่องไวในกระบวนรบ จึงมีพระบรมราชานุญาตให้เจ้านาย ขุนนางผู้ใหญ่และเจ้าเมืองมีโขนในครอบครองได้เพระเป็นประโยชน์ต่อราชการแผ่นดิน โอกาสที่แสดงโขนจึงกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ดังมีหลักฐาน.........(บทความจากนิตยสารศิลปากร ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๖ ประจำเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๗)


Messenger