ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,242 รายการ

พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง มหาวีรวงศ์: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/mahavirawong     พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ตั้งอยู่ บริเวณด้านหลังหอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 นครราชสีมา ในบริเวณพื้นที่ของ วัดสุทธจินดา ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ภายนอกคูเมืองด้านทิศตะวันตก ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวทรงไทยประยุกต์     สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา ได้มอบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่รวบรวมไว้ให้กับกรมศิลปากร เมื่อพุทธศักราช 2470เพื่อศึกษาค้นคว้า จัดแสดง และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ดังพระดำริของท่านที่ว่า "พิพิธภัณฑ์เป็นลายลักษณ์ ห้องสมุดเป็นอักษร กุลบุตรผู้ที่จะมีดวงตาแจ่มใสคือปัญญา ย่อมต้องอาศัยลายลักษณ์และอักษร"     กรมศิลปากร จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑสถานขึ้น ในพุทธศักราช 2497 และเปิดบริการให้ประชาชนเข้าชมอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2497 ต่อมากรมศิลปากรได้ประกาศตั้งเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์” เพื่อถวายเกียรติแด่สมเด็จ พระมหาวีรวงศ์ ผู้เริ่มก่อตั้ง โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 178 ตอนที่ 94 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2504  


อธิบดีกรมศิลปากร ประชุมชี้แจงกรอบแนวคิดและแนวทางการทำงานต่อข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เน้นสานต่องานเดิม สร้างสรรค์โครงการใหม่ๆ พร้อมเร่งรัดการดำเนินงานให้เห็นเป็นรูปธรรมตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม   นายอนันต์ ชูโชติ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า หลังจากได้รับมอบนโยบายในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม จึงได้จัดประชุมชี้แจงกรอบแนวคิดและแนวทางการทำงานให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรทั่วประเทศได้รับทราบและนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและกระทรวงวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น สานต่องานเดิมหรือโครงการเดิม ในขณะเดียวกันก็ต้องคิดงานใหม่ โครงการใหม่ สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเกิดประโยชน์กับองค์กร สังคม และประเทศชาติ ทั้งนี้ จะต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ และจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรมทุกแขนงให้มีความสมบูรณ์ ทันสมัยและครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติด้านการปกป้องคุ้มครองและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี เน้นโบราณสถานที่เกี่ยวกับแหล่งน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ (บาราย) คู คลอง และคูเมือง ให้นำมาตรการทางกฎหมายไปใช้อย่างเข้มแข็ง ในกรณีที่มีการบุกรุกและมีการครอบครองทั้งที่ชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้านการบริหารจัดการ เน้นการจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ โบราณสถานที่เป็นแหล่งมรดกโลกและโบราณสถานสำคัญ และพัฒนาการบริการให้มีประสิทธิภาพ ด้านการพัฒนาบุคลากรจะมีการจัดทำแผนอัตรากำลังและแผนปรับปรุงโครงสร้างกรมศิลปากร ๓ ปี พร้อมทั้งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของกรมศิลปากรให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ ทั้งนี้ได้มอบแนวทางดำเนินการในเรื่องสำคัญ ดังนี้   หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เดินหน้าพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลทั้งที่เป็นเอกสารทั่วไป เอกสารโบราณ หรือเอกสารหายาก ให้เป็นระบบดิจิตอลเพื่อประสิทธิภาพการให้บริการ วางระบบการบริหารจัดการให้สมดุลระหว่างการบริการอย่างมีประสิทธิภาพกับการปกป้องคุ้มครองและอนุรักษ์   สำนักช่างสิบหมู่ พัฒนาให้เป็นศูนย์ปฏิบัติงานและแหล่งเรียนรู้ทางด้านศิลปกรรมที่เกี่ยวกับช่างสิบหมู่ และจัดสร้างอาคารหอประติมากรรมต้นแบบ เพื่อจัดแสดงงานต้นแบบในทุกแขนงของช่างสิบหมู่   สำนักสถาปัตยกรรม พัฒนามาตรฐานในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและการตกแต่ง เพื่อเป็นองค์กรหลักทางด้านสถาปัตยกรรม   สำนักการสังคีต พัฒนามาตรฐานในด้านนาฏศิลป์ดนตรีให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ บริหารจัดการโรงละครแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ เป็นโรงละครชั้นนำของประเทศและของภูมิภาค พร้อมทั้งจัดเทศกาลละคร เทศกาลโขน หรือเทศกาลการแสดงที่ยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปี   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ จัดพิมพ์หนังสือหายากหรือหนังสือสำคัญที่กรมศิลปากรได้เคยจัดพิมพ์ ศึกษา ค้นคว้าวิจัย ทั้งในด้านการชำระและการสร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง   ด้านโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี ให้มีการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เผยแพร่ข้อมูลและองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการศึกษาและการท่องเที่ยว วางมาตรการปกป้องคุ้มครองโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี รวมถึงการบำรุงรักษา   ด้านโบราณสถานในบัญชีมรดกโลก ให้จัดเตรียมแผนการนำเสนอมรดกทางศิลปวัฒนธรรมเข้าสู่บัญชีชั่วคราวต่อจากอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนา เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานที่เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง จัดทำฐานข้อมูลให้มีความสมบูรณ์ รวมถึงการจัดกิจกรรมทางวิชาการ กิจกรรมทางวัฒนธรรม และกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ   งานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จัดทำระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับโบราณวัตถุศิลปวัตถุให้ครบถ้วนสมบูรณ์และพัฒนาสู่ระบบดิจิตอล ปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครให้เป็นพิพิธภัณฑสถานชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน ปรับปรุงพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ๕ แห่ง ประกอบด้วย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป สร้างอาคารจัดแสดงเครื่องทองคำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ให้เป็นศูนย์จัดแสดงงานเครื่องทองคำที่สมบูรณ์แบบ ก่อสร้างคลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และวางแผนบริหารจัดการให้เป็นคลังพิพิธภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ สร้างศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ พัฒนาสมรรถนะบุคลากรในทุกๆ ด้าน ตลอดจนวางระบบและมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มข้น   ทั้งนี้ เพื่อเป้าหมายในการปกป้องคุ้มครองมรดกทางศิลปวัฒนธรรมทุกแขนงให้คงความแท้และดั้งเดิมเพื่อส่งต่อไปในอนาคต โดยพัฒนาสร้างสรรค์บนหลักความถูกต้องทางวิชาการ ให้ความสำคัญกับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการพัฒนาข้อมูลทางวิชาการและสร้างเครือข่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานเพื่อปกป้องคุ้มครองและเฝ้าระวังมรดกทางศิลปวัฒนธรรม


พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน   ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet   ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ


                      เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๐ น. คณครูและนักเรียนโรงเรียนตาเกาตาโกย อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี เข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี  โดยมีครู ๖ คน นักเรียน ๗๐ คน



พบเครื่องถ้วยชามลายน้ำทอง มีพระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ที่กาน้ำ และจาน ไม่ทราบว่ามีจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยเห็นในหนังสือ รวมทั้งภาพใน Internet ขอทราบรายละเอียดด้วยครับ



สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติเชิญชวนส่งภาพเข้าร่วมบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์



***บรรณานุกรม***  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมเรื่องพระร่วง มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูถัมภ์ จัดพิมพ์โดยเสด็จพระกุศล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงบำเพ็ญในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2521 กรุงเทพฯ  โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย2521



***บรรณานุกรม***  หนังสือหายาก  ส.สัจจญาณ.  สมุดรั้วป้องกันเคราะห์ เกราะป้องกันตัว.  พระนคร : ร.พ.มิตรไทย, ๒๔๙๔.


ชื่อผู้แต่ง         - ชื่อเรื่อง          วารสารศิลปากร 8,12 (พ.ค.2498) ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    -        สำนักพิมพ์      - ปีที่พิมพ์         -                    จำนวนหน้า      117   หน้า หมายเหตุ       วารสารศิลปากรฉบับวันเกิดกรมศิลปากร ๓ พฤษภาคม ๒๔๙๘                    วารสารศิลปากรฉบับวันเกิดกรมศิลปากรฯ เป็นวารสารรายเดือน ปีที่ ๘ เล่ม ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๙๘ ประกอบด้วยภาพขาว-ดำ พระลักษณ์รบกับกุภกรรณ สุภาษิตนุสรณ์ สาส์นสมเด็จฉบับวันที่ 13 เม.ย. , 14 เม.ย. , 17 เม.ย. , 22 เม.ย., 24 เม.ย.,29 เม.ย. , 1 พ.ค. 2 ฉบับ และ 6 พ.ค. 2470  เรื่องสุริยพันธ์ตอนที่ ๒๘ (ต่อ)ของนายบุญ ผู้แต่ง บทความเรื่องไทย ตอนที่ ๒๑ บทความเรื่องศิลปจาม บทความเรื่องขุดค้นคำไทยว่าด้วยพิษณุโลก บทความแปลเรื่องความเคลื่อนไหวลับๆที่เป็นสาเหตุของการปฏิวัติในสยาม บทความเรื่องตรวจหาเมืองชเลียง เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๘ เรื่องความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยตอนที่ ๕ และภาคกิจการกรมศิลปากรเริ่มด้วยบทความเรื่องโรงละครแห่งชาติ คำอ่านจารึกกฎหมายลักษณะโจรสมัยสุโขทัยและบทบรรยายเรื่องงานของมหาวิทยาลัยศิลปากร



สาระสังเขป               :          ชีวประวัติของขุนพิสิฐนนทเดช ความรู้รอบตัวเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องทั่วไปและเรื่องธรรมะผู้แต่ง                       :          พิสิฐนนทเดช, ขุนโรงพิมพ์                   :           มหาดไทยปีที่พิมพ์                   :           2513ภาษา                       :           ไทยรูปแบบ                     :            PDFเลขทะเบียน              :            น.32บ.4625จบเลขหมู่                     :             923.8593                                             ข529บ