ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,660 รายการ

          เตาที่ใช้เผาเครื่องสังคโลกที่พบจากเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองสุโขทัยมีอยู่ด้วยกัน ๒ ชนิดคือ เตาประทุน เป็นเตาที่ระบายความร้อนในแนวนอน ลักษณะเตามีรูปร่างรี พื้นเรียบแบน ก่อหลังคาโค้งบรรจบกันคล้ายประทุนเรือ จึงเป็นที่มาของชื่อ “เตาประทุน” มักวางตัวลาดเอียงจากส่วนหน้าขึ้นไปยังส่วนท้ายประมาณ ๑๐ - ๓๐ องศา ส่วนประกอบของเตาประทุนแบ่งเป็น ห้องใส่ไฟ อยู่ส่วนหน้าในระดับต่ำที่สุด ตอนหน้ามีช่องใส่ไฟเจาะเป็นช่องโค้งรูปเกือกม้า ถัดมาเป็น ห้องบรรจุภาชนะ อยู่บริเวณตอนกลางเตา เป็นส่วนที่กว้างที่สุดและลาดเทจากส่วนหน้าเตาไปยังปล่องไฟ บนพื้นมักโรยทรายหนาประมาณ ๑๐ - ๑๕ เซนติเมตร เพื่อใช้ฝังกี๋ท่อสำหรับรองรับภาชนะ และ ปล่องไฟ เป็นส่วนสุดท้ายของเตามีรูปร่างกลม           ส่วนเตาตะกรับเป็นเตาที่ระบายความร้อนในแนวดิ่ง ลักษณะเตามีรูปร่างกลม ส่วนประกอบของเตาตะกรับมีอยู่ ๒ ส่วนคือ ห้องบรรจุภาชนะ อยู่ตอนบนสุด มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ เมตร ใช้วางภาชนะที่จะเผาแล้วใช้เศษภาชนะดินเผาวางสุมทับด้านบนอีกชั้นหนึ่งเพื่อให้ความร้อนไหลผ่านกลุ่มภาชนะได้ช้าลงและ ห้องใส่ไฟ เป็นบริเวณใส่เชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนลอยขึ้นสู่ด้านบนมักมีช่องใส่เชื้อเพลิงยื่นออกมาด้านหน้าเพื่อใส่เชื้อเพลิงได้สะดวกและกันความร้อนในเตาให้ไหลสู่ด้านบนได้มากขึ้น ระหว่างห้องบรรจุภาชนะและปล่องไฟจะมีแผ่นดินเหนียวกลมหนาประมาณ ๑๕ - ๒๐ เซนติเมตร เจาะรูกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ - ๑๐ เซนติเมตร จำนวนมากคั่นอยู่ เรียกว่า “แผ่นตะกรับ” ทำหน้าที่ให้ความร้อนไหลผ่านจากด้านล่างสู่ห้องบรรจุภาชนะด้านบนมักวางอยู่บนค้ำยันที่ทำจากดินเหนียวอยู่เบื้องล่างภายในพื้นที่ห้องใส่ไฟ ภาพ : เตาเผาสังคโลกหมายเลข ๖๑ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ที่มาข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก



รองอธิบดีกรมศิลปากร(นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ)ประชุมร่วมคณะกรรมการกำกับการศึกษาแผนอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานเมืองเสมา และให้คำแนะนำในการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานและตรวจเยี่ยมหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาในวันที่ ๓๐-๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘





วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ นายขจร มุกมีค่า ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา(ประธานตรวจการจ้าง) พร้อมด้วยคณะกรรมการตรวจการจ้างและผู้ควบคุมงาน ลงพื้นที่ตรวจรับงานโครงการปรับปรุงส่วนจัดแสดงกลางแจ้งและสภาพภูมิทัศน์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการบริการและการท่องเที่ยว พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย(งวดสุดท้าย) ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา


           ชื่อเรื่อง : บันทึกรายวันเกี่ยวกับการเดินทางจากอินเดียสู่สยามและมะละกา ใน พ.ศ. 2322 (ค.ศ. 1779)      ผู้เขียน : เจ. จี. เคอนิช       สำนักพิมพ์ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร      ปีพิมพ์ : 2560      เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ : 978-616-543-493-5      เลขเรียกหนังสือ : 959.304 ค794บ      ประเภทหนังสือ : หนังสือกรมศิลปากร      ห้องบริการ : ห้องหนังสือทั่วไป 1   สาระสังเขป : "บันทึกรายวันเกี่ยวกับการเดินทางจากอินเดียสู่สยามและมะละกา ใน พ.ศ. 2322 (ค.ศ. 1779)" แปลและเรียบเรียงจาก Journal of A Voyage from India ti Siam and Malacca in 1779 งานเขียนของ ดร. โยฮันน์ แกร์ฮาร์ท เคอนิช แพทย์และนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันที่ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของตนเองในระหว่างที่เดินทางมาทำงานในอินเดีย สยามและมะละกา เพื่อเข้ามาทำการสำรวจ ศึกษา ค้นคว้า เก็บรวบรวม และจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับพันธุ์ไม่ในเขตเมืองร้อนตลอดจนสัตว์ชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังบันทึกถึงสถานที่ต่างๆ ที่เรือแล่นผ่านและสภาพบ้านเมือง วิถีชีวิตผู้คน ตลอดจนเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว โดยรายละเอียดเนื้อหาที่บันทึกสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ ธรรมชาติวิทยา อุปนิสัยของชาวสยาม สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ เช่น เมืองธนบุรี โบสถ์ซางตาครู้ส เป็นต้น ภูมิสถานในเกาะเมืองอยุธยา เมืองจันทบูรณ์ เรื่องเกี่ยวกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งลักษณะการเขียนเป็นแบบบันทึกรายวันตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2321 - 24 กรกฎาคม 2322 ประกอบด้วย เริ่มการเดินทางสู่ประเทศสยาม - การสำรวจทางพฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์ และธรรมชาติวิทยาในอ่าวสยาม (8 สิงหาคม - 30 ตุลาคม 2321) เดินทางถึงบางกอก (ธนบุรี) - การสำรวจทางพฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์ และธรรมชาติวิทยา - เยี่ยมชมสถานที่สำคัญๆ ของเมืองธนบุรี อาทิ วัดวาอารามต่างๆ โบสถ์คริสต์ศาสนา บ้านเรือนและวิถีชีวิตชาวสยามในเมืองธนบุรี (4 - 30 พฤศจิกายน 2321) เดินทางไปอยุธยา - เยี่ยมชมเมืองเก่าอยุธยา - ซากสิ่งปรักหักพังของพระราชวังเก่า - วัดวาอารามต่างๆ และโบสถ์คริสต์ศาสนา - การสำรวจทางพฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์และธรรมชาติวิทยา (1- 9 ธันวาคม 2321) เดินทางกลับบางกอก (ธนบุรี) - สำรวจเมืองบางกอก - พระราชวังของพระเจ้าแผ่นดิน - การค้าขาย - ลักษณะนิสัยของชาวสยาม - พระเจ้าแผ่นดินสยาม - การสำรวจทางพฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์และธรรมชาติวิทยา (9 - 24 ธันวาคม 2321) เดินทางไปจันทบูรณ์ - การสำรวจทางพฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์และธรรมชาติวิทยาที่เมืองจันทบูรณ์ - ผลผลิตทางธรรมชาติจากป่าในจันทบูรณ์ (25 - 28 ธันวาคม 2321) เดินทางออกจากจันทบูรณ์มุ่งสู่มะละกา - การสำรวจและเก็บตัวอย่างทางพฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์และธรรมชาติวิทยาระหว่างการเดินทางออกจากประเทศสยาม (29 ธันวาคม 2321 - 24 กรกฎาคม 2322) ซึ่งจากเอกสารบันทึกรายวันเกี่ยวกับการเดินทางจากอินเดียสู่สยามและมะละกานี้ จะทำให้ได้เห็นถึงสภาพภูมิประเทศ บ้านเมือง ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยธนบุรีได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นข้อมูลที่น่าสจใจสำหรับการต่อยอดความรู้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์สมัยธนบุรีด้วยเช่นกัน     


สุขศึกษา ชั้นปีที่ 4




 ๑. การวางรากฐานการศึกษาโบราณคดีสมัยใหม่           พระยาโบราณราชธานินทร์เป็นผู้บุกเบิกวิทยาการทั้งองค์ความรู้ เทคนิค วิธีการสมัยใหม่ด้านโบราณคดี ได้แก่         ๑.๑ การสำรวจและขุดค้นพระราชวังโบราณและวัดร้างในอยุธยาโดยการใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีมาพิจารณาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อเข้าใจเรื่องราวและภูมิสถานของอยุธยา ซึ่งนับเป็นการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบครั้งแรกในพื้นที่เมืองอยุธยา อีกทั้งยังมีการสันนิษฐานรูปแบบสถาปัตยกรรมในอดีตและปรับปรุงภูมิทัศน์ ซึ่งใช้เป็นแนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานในอยุธยาในเวลาต่อมา       ๑.๒ การจัดทำแผนที่สมัยใหม่ในงานโบราณคดี พระยาโบราณราชธานินทร์ได้ทำการสำรวจ และจัดทำแผนที่ เพื่อกำหนดตำแหน่งภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา นับเป็นแผนที่ฉบับแรกอันเป็นผลมาจากการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสำคัญด้านอยุธยาศึกษา อีกทั้งยังเป็นข้อมูลสำคัญที่กรมศิลปากรใช้ในการกำหนดขอบเขตโบราณสถาน จนนำไปสู่การขึ้นทะเบียนโบราณสถานเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา และจัดตั้งนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา        ๑.๓ การสงวนรักษาพื้นที่เมืองอยุธยาให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการบริหารจัดการพื้นที่และกำหนดเขตเพื่อป้องกันการบุกรุกทำลาย ส่งผลให้หลักฐานทางโบราณคดีและโบราณสถานยังคงปรากฎร่องรอยหลักฐานอยู่จนถึงในปัจจุบัน เป็นแหล่งเรียนรู้ของสาธารณชน และเข้าหลักเกณฑ์พื้นที่ที่ยังคงหลงเหลือร่องรอยเป็นของแท้ดั้งเดิมมีเอกลักษณ์โดดเด่นและทรงคุณค่าของอารยธรรมเมืองมรดกโลกขององค์การยูเนสโก ๒. การสร้างองค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีอยุธยา         พระยาโบราณราชธานินทร์เป็นผู้วางรากฐานงานวิชาการด้านอยุธยาศึกษา โดยบูรณาการความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีอย่างเป็นระบบ ผลงานนิพนธ์ที่สำคัญคือ “ตำนานกรุงเก่า” “อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยากับคำวินิจฉัยของพระยาโบราณราชธานินทร์” “ภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา” ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์อยุธยาและผลการสำรวจสภาพภูมิสถานที่ปรากฎร่องรอยในช่วงเวลาดังกล่าวพร้อมกับกำหนดตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ อันเป็นคู่มือในการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีอยุธยาในเวลาต่อมา    ๓. เป็นผู้ให้กำเนิดงานพิพิธภัณฑ์ในส่วนภูมิภาค          พระยาโบราณราชธานินทร์เป็นผู้รวบรวม สงวนรักษา อนุรักษ์ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ซึ่งได้จากการสำรวจขุดค้นในพื้นที่เมืองอยุธยานำมาจัดหมวดหมู่ จัดแสดง และก่อตั้งเป็นอยุธยาพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีความทันสมัยสอดคล้องกับหลักวิชาพิพิธภัณฑ์สากล อยุธยาพิพิธภัณฑ์ เป็นพิพิธภัณฑสถานส่วนภูมิภาคแห่งแรกของไทย ต่อมาพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม        การรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุของพระยาโบราณราชธานินทร์ในอยุธยาพิพิธภัณฑสถานมีคุณูปการต่อการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานของไทย เพราะเป็นโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยมและเป็นตัวแทนของยุคสมัย เช่น เศียรพระพุทธรูปวัดธรรมิกราช และพระพุทธรูปลีลาที่มีจารึกเก่าที่สุดสมัยอยุธยา เป็นต้น เศียรพระพุทธรูปวัดธรรมิกราช ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา





Messenger