ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

     สัมนาถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการและฑราวาสโครงการดูแลทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรมของชาติของพระสังฆาธิการ วันที่ ๕ - ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


การบรรเลงเพลงสุดใจ และเพลงสายสมร จากโน๊ตเพลงของลาลูแบร์ โดยวงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ประวัติศาสตร์อยุธยา : ประวัติศาสตร์อาเซียน”วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร เพลงสุดใจ กับเพลงสายสมร เป็นชื่อเพลงในตระกูลมโหรีกรุงเก่า แบบ“ร้องเนื้อเต็ม” ในยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็น ๒ เพลง ที่ทูตจากฝรั่งเศสบันทึกเป็นโน้ตสากล กำกับด้วยคำร้องภาษาไทย แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน  เพลงสุดใจ เป็นเพลงที่อ้างอิงมาจาก นิโคลาส์ แซร์แวส ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาประเทศไทยในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๒๔ – ๒๒๒๙ ซึ่งนายนิโคลาส์ได้ทำการบันทึกเพลงไว้สองเพลง แต่ในการพิมพ์จดหมายเหตุนี้ครั้งแรกที่ฝรั่งเศสกลับมีโน้ตเพลงประกอบเพียงเพลงเดียว คือเพลง สุดใจ (Sout Chai) เพลง สุดใจ เขียนขึ้นด้วยการร้อยทำนองสองทำนองเข้าด้วยกัน มีทำนองหลักอยู่ด้านบน และให้ทางเบสอยู่ไลน์ต่ำ ซึ่งเป็นขนบนิยมของของดนตรีตะวันตก ซึ่งเมื่อได้ทดลองบรรเลงดูแล้ว เสียงที่ออกมาก็ไม่คล้ายดนตรีตะวันออกแต่อย่างใด ในส่วนของเนื้อร้องก็ยังไม่ไปกับท่วงทำนองดนตรีมากนัก เพลงสายสมร เป็นอีกเพลงหนึ่งที่สันนิษฐานว่าเป็นอีกเพลงที่ นิโคลาส์ แซร์แวส บันทึกไว้ แต่ถูกนำไปบรรจุไว้ในหนังสือจดหมายเหตุอีกเล่มหนึ่งของ ซีมง เดอ ลาลูแบร์ ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วง พ.ศ. ๒๒๓๐ โดยเพลงที่ถูกพิมพ์ไว้ในจดหมายเหตุของลา ลู แบร์ นั้นมีชื่อว่า A Siamese Song และมีเนื้อร้องที่ขึ้นต้นว่า Say Samon ซึ่งตรงกับชื่อเพลง "สายสมร" ที่สูญหายไป เมื่อเทียบกับเพลง สุดใจ นั้น เพลง สายสมร เป็นการบันทึกทำนองที่มีความพิถีพิถันในการจะทำให้เนื้อร้องเข้ากับทำนองมากกว่า แต่จากการทดลองบรรเลงกลับพบว่า ไม่สะดวกกับการขับร้อง และท่วงทำนองก็ไม่ได้ชี้ชัดว่าเป็นเพลงตะวันออกแต่อย่างใด   หมายเหตุ : ข้อมูลและภาพประกอบ ได้จากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร   ทั้งนี้ จากกรณีที่คุณธวัชชัย ตั้งศิริวานิช ท้วงติงว่า ได้นำภาพมาใช้โดยไม่ให้เครดิต นั้น จากการตรวจสอบข้อมูล ส่วนหนึ่งได้มาจาก atibhop.wordpress.com และหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยเป็นอย่างสูง และขออนุญาตใช้ภาพเพื่อการศึกษา มา ณ ที่นี้


. โรงเรียนพระวรสาร . อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ทัศนศึกษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี 21 สิงหาคม 2558




วันอาทิตย์ที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๓๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย เรื่อง ประวัติศาสตร์ชาติไทย ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และทรงเปิดหอสมุดปิยมหาราชรฦก ณ อาคารถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร โดยมีพลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมนายบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร พร้อมด้วย ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เฝ้าฯ รับเสด็จ       ในปีงบประมาณ พุทธศักราช ๒๕๕๘  กระทรวงวัฒนธรรม  โดยกรมศิลปากร  ได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการภายในพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร  โดยแก้ไขห้องจัดแสดงเดิมให้มองเห็นรูปแบบสถาปัตยกรรมภายในองค์พระที่นั่งและนำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชิ้นเอกที่พบในประเทศไทย จำนวน ๑๑๑ รายการ  มาจัดแสดงเรียงตามลำดับเวลาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทวารวดี   ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  โดยมุ่งเน้นถึงความงามของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ให้ความสำคัญกับการออกแบบตู้จัดแสดง แท่น ฐาน และการจัดวางโบราณวัตถุ โดยเฉพาะการจัดแสง ที่ถูกออกแบบเพื่อการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้โดยเฉพาะ ซึ่งโบราณวัตถุและศิลปวัตถุเหล่านี้สามารถบ่งบอกถึงเรื่องราวของ “ประวัติศาสตร์ชาติไทย” ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมทุกวันพุธ ถึงวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ตั้งแต่วันพุธที่ ๓๐ กันยายนนี้เป็นต้นไป   สำหรับหอสมุดปิยมหาราชรฦก ตั้งอยู่ที่อาคารถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร     ซึ่งกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ปรับปรุงอาคารถาวรวัตถุ จัดตั้งเป็นหอสมุด “ปิยมหาราชรฦก” เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสร้างความเจริญนานัปการให้แก่ประเทศไทย และเป็นศูนย์ข้อมูลการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาท   สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แบ่งเป็น ๓ ห้อง คือ ห้องให้บริการหนังสือใหม่ เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จัดพิมพ์ขึ้นใหม่ ห้องบริการหนังสือหายาก รวมหนังสือที่จัดพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้แก่  พระราชนิพนธ์ที่จัดพิมพ์ครั้งแรก  หนังสือของหอพระสมุดวชิรญาณ  ราชกิจจานุเบกษา  สมุดไทย และเอกสารทรงบริหารราชการแผ่นดิน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก เป็นต้น และห้องบริการระบบสืบค้นข้อมูลและสื่อโสตทัศน์ ให้บริการ D-Library  การสืบค้นฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัติ  และการสืบค้นฐานข้อมูลพระปิยมหาราชจากคอมพิวเตอร์สืบค้นข้อมูลและคอมพิวเตอร์ทัชสกรีน หอสมุดปิยมหาราชรฦก เปิดให้บริการวันพุธ ถึงวันอาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น.   


อยากทราบว่ารับนักศึกษาฝึกงานหรือเปล่าครับ ผมเรียน วัฒนธรรม สาขา ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณดคี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ครับ 


อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 30 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02-2222222




วันจันทร์ที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายจารึก วิไลแก้ว ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๗ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ กิจกรรมจิตอาสา "เราทำความดี ด้วยหัวใจ" จิตอาสาวัฒนธรรม โดยมี ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา นักศึกษา กว่า ๒๐๐ คน เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาบริเวณคูเมืองพิมายด้านทิศใต้ ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา




อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 20 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด


หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ นครพนม ได้จัดกิจกรรม โครงการกิจกรรมรณรงค์ การดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม โดยอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.) วันเสาร์ที่ 21 มิ.ย. 2557 ณ วัดศรีสุมังค์ ต.นาถ่อน อ.ธาตุพนม จ.นครพนม กิจกรรมอนุรักษ์เอกสารโบราณ



Messenger