ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 38,988 รายการ


ขอเชิญเข้าร่วมเสวนาทางวิชาการ สุดยอดการค้นพบใหม่ ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร "เปิดโลกใบใหม่ เที่ยวพิพิธภัณฑ์ไทย ง่ายเพียงปลายนิ้ว" วันจันทร์ ที่ 8 เมษายน 2567 เวลา 16.00 น. - 18.00 น. ณ ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วิทยากร: ธนชัย  อุชชิน (ป๊อด โมเดิร์นด็อก) ภูมิ์พัฒน์  ไชยรัตน์ (FB:เที่ยวแล้วเที่ยวอีก) ดำเนินรายการ: วิรยาร์  ชำนาญพล ผอ.กลุ่มระบบสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม


พระพุทธรูปบุเงิน จีนซืนปางมารวิชัยขนาด หน้าตัก ๓ ซม. สูง ๘.๕ ซม. ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ ที่ฐานมีจารึกอักษรไทย ภาษาไทย ความว่า"จีนซืน นางคำแปง ๒๔๕๗"


           กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ภาพจิตรกรรมการสถาปนาเทวดาจีนแห่งเดียวในประเทศไทย ณ เก๋งนุกิจราชบริหาร” วิทยากร นางสาวศุภวรรณ นงนุช ภัณฑารักษ์ชำนาญการ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ เวลา ๑๑.๐๐ - ๑๑.๔๕ น. ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร            รายการ “ไขความรู้จากครูกรมศิลป์” มีรูปแบบเนื้อหาของรายการเกี่ยวกับประวัติความเป็นไทย เกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านการบอกเล่า ถ่ายทอดความรู้ แนวความคิด เนื้อหาวิชาการ จากประสบการณ์ของผู้บริหาร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากร กำหนดถ่ายทอดสดผ่านเฟสบุ๊กไลฟ์ (facebook live) ทุกวันพฤหัสบดี เวลา ๑๑.๐๐ น. ตลอดปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ - กันยายน ๒๕๖๗


         เขาโคคุดจำหลักรูปพระพุทธรูป          สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕          สมบัติเดิมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ปัจจุบันจัดแสดง ณ พระตำหนักแดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          เขาโคคุดจำหลักรูปพระพุทธรูปปางมารวิชัยไว้สามด้าน ฐานเขากลม เขามีส่วนโค้งเว้า ปลายคดงอ พระพุทธรูปมีพุทธลักษณะ พระรัศมีทรงกรวยขนาดใหญ่ อุษณีษะนูน พระเศียรเรียบ พระเนตรปิด พระนาสิกโด่ง พระวรกายครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ประทับขัดสมาธิราบ ไม่ปรากฏประวัติที่มาของเขาโค แต่จากบัญชีโบราณวัตถุ “บาญชีสิ่งของพิพิธภัณฑ์ในศก ๑๑๖” (พ.ศ. ๒๔๔๐) ระบุไว้ว่า “[รายการที่] ๑๒๔ เฃางัวแกะเป็นพระติดกัน ๓ องค์ [จำนวน] ๑ องค์”          ความเชื่อเกี่ยวกับ “เขาโค” ในสังคมไทย มีตัวอย่างปรากฏใน “ตำราโค” ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงลักษณะโคมงคล ๘ ชนิด รวมทั้งลักษณะเขาโคที่มี สี การให้คุณให้โทษ และราคาต่างกันออกไป อาทิ เขาสีดำนิลถือเป็นของมงคล กันอุบาทว์ทั้งปวง (บางฉบับกล่าวว่าแก้ปวดเมื่อยได้) ราคาทอง ๙ ตำลึง, เขาสีเหลือง มีคุณบันดาลให้เกิดสวัสดิ์มงคล อยู่เรือนผู้ใดผู้นั้นจะเป็นเศรษฐี ราคาทอง ๘-๑๐ ตำลึง, เขาสีขาวดั่งงาช้าง มีอานุภาพป้องกันไฟ ราคาทอง ๑ บาท ฯลฯ ดังนั้นเขาโคจึงเป็นสิ่งมงคลตามความเชื่อในสังคมไทย ผู้ที่ศึกษาตามตำราเกี่ยวกับลักษณะโค ย่อมรู้ว่าเขาโคลักษณะใดเป็นเขาที่ดี* ดังพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เรื่องตามเสด็จไทรโยค ความตอนหนึ่งกล่าวว่า “เรื่องเขาโคเปนของผู้รู้วิธี  ชั่วแลดีเลือกทำตามตำรา”           สำหรับเขาโคคุด เป็นสิ่งที่ถือกันว่าไม่ปรกติ (คำว่าคุด หมายถึง งอกงออยู่ภายในไม่โผล่ออกมาตามปรกติ) และเป็นของที่ถือกันว่า “ทนสิทธิ์” คือมีอานุภาพเกิดขึ้นเองสถิตอยู่ในวัตถุนั้น ๆ จัดเป็นเครื่องรางประเภทหนึ่ง อาทิ เขี้ยวสัตว์ เขาสัตว์ นอ งา  คด แร่ หินธรรมชาติต่าง ๆ ฯลฯ วัตถุเหล่านี้มักจะนำมาลงอักขระหรือแกะเป็นรูปมงคลต่าง ๆ รวมถึงพระพุทธรูป นอกจากนี้เขาโคยังเป็นสิ่งมงคลที่ใช้ตกแต่งในพิธี มีตัวอย่างปรากฏในบันทึกเกี่ยวกับแบบแผน “พระราชพิธีฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล”** กล่าวถึงการจัดสถานที่ภายในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย สำหรับพิธีเทศมหาชาติ ๑๓ กัณฑ์ ซึ่งจัดขึ้นในเดือน ๑๑ (ราวเดือนตุลาคม) กล่าวว่าบริเวณระหว่างเสาร่วมในฝั่งทิศใต้ถัดจากที่ประทับตั้งโต๊ะกลมวางเครื่องนอระมาดเขาโคเขาต่าง ๆ หลังโต๊ะผูกงาพลายปราบดัษกรสวมปลอกทองคำ           มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับตำราลักษณะวัวไว้บ้างแล้ว อาทิ จตุพร บุญประเสริฐ. การวิเคราะห์ตำราวัว. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๖.  ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเนื้อหาในตำราลักษณะวัวที่เก็บรักษาในหอสมุดแห่งชาติ และเอกสารที่พบในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งสิ้น ๒๐ ฉบับ  **ตำราฉบับนี้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ทรงพระนิพนธ์ขึ้นไว้ เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการพระราชพิธีของวังหน้า ในสมัยรัชกาลที่ ๔     อ้างอิง จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. กลอนไดเอรีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๐. สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า โปรดให้พิมพ์ประทานช่วยพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าหญิงผ่อง ในงานทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ ๖๐ ปี บริบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ๒๖ ภาค เล่ม ๑ ภาคที่ ๑-๑๓. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ, ๒๕๕๘. พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ. “ตำราโค : ศาสตร์แผนโบราณของไทย” ศิลปากร ๔๑, ๓ (พฤษภาคม-มิถุนายน๒๕๔๑), ๗๓-๙๒. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ น.๔๙.๒/๑. เอกสารกระทรวงนครบาล รัชกาลที่ ๕. เรื่อง บัญชีสิ่งของพิพิธภัณฑ์ (๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๐).



ยามเย็น : Yam Yen (Love at Sundown) เพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 2           พระราชนิพนธ์ในพุทธศักราช 2489 ขณะยังทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์คำร้องภาษาไทยและท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา แต่งคำร้องภาษาอังกฤษและพระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีคำร้องสมบูรณ์ให้นายเอื้อ สุนทรสนานนำออกมาบรรเลงในงานของสมาคมปราบวัณโรค ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เมื่อวันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2489 นับเป็นเพลงพระราชนิพนธ์เพลงแรกที่ออกบรรเลงสู่ประชาชนเป็นเพลงที่ร่าเริงแจ่มใสเหมาะสำหรับการเต้นรำในสมัยนั้น จึงเป็นเพลงยอดนิยมของพสกนิกรไทยทันที   Royal Composition Number 2           The song was composed in 1946, while His Majesty was entitled the Royal Younger Brother. He gave it to His Royal Highness Prince Chakrabhand Pensiri to write the lyrics in Thai, and Thanpuying Nopakhun Thongyai Na Ayudhya the English version. He then gave the song complete with lyrics to Mr. Ua Suthornsanan to be performed in the fundraising event of the Anti – Tuberculosis Association at Ambara Dance Hall on Saturday, 4 May 1946, as the first royal composition to be presented in a public performance. It is cheerful and fit for a ballroom dance at that time. Thus it became an instant hit with the Thai public.


เมื่อวันพุธที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๓๐ น ณ ห้องรับรอง กรมศิลปากร นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ให้สัมภาษณ์พิเศษนิตยสารโพสต์ทูเดย์@Weekly เนื่องในโอกาส ๑๐๕ ปี แห่งการสถาปนา กรมศิลปากร ในประเด็นเกี่ยวกับนโยบายและภารกิจของ กรมศิลปากร ผลการดำเนินงานสำคัญของกรมศิลปากร นโยบายขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมของกรมศิลปากรใน ปี ๒๕๕๙ และทิศทางในอนาคตของกรมศิลปากร เพื่อลงพิมพ์ฉบับวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๙


         เมื่อวันพุธ ที่ ๔ กรกฎาคม  ๒๕๕๕ คณะอาจารย์และนักศึกษา จากวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี เข้าศึกษาเรียนรู้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ประกอบด้วย นักศึกษาระดับชั้น ปวช.๒ สาขาการประชาสัมพันธ์ และนักศึกษาระดับชั้น ปวส.๒ สาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว รวมจำนวน ๖๑ คน และอาจารย์ ๓ คน ทั้งนี้ เพื่อเป็นส่งเสริมการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ และด้านโบราณคดี และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน ให้มีความรู้มากยิ่งขึ้น 


วัสดุ สำริด แบบศิลปะ ศิลปะเขมรในประเทศไทย อายุสมัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 สถานที่พบ พบในเขตอำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด กระดิ่งหล่อจากสำริด ตัวกระดิ่งและด้ามแยกออกจากกันได้ ตัวด้ามทำเป็นปล้องคล้ายลูกมะหวด ยอดทำเป็นแฉก 5 แฉก ด้านในร้อยแท่งเหล็กกลม เวลาสั่นจะเกิดเสียง กระดิ่ง (ฆัณฏา) เป็นเครื่องมงคลที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งในศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ เช่น ใช้ร่วมกับวัชระในพิธีทำวัตรในศาสนาพุทธมหายาน นิกายวัชรยาน


ภาพเก่า-เล่าอดีต : อิตาลีเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส ร.ศ.๑๒๖ บทความจากนิตยสารศิลปากร ปี่ที่ ๕๔ ฉบับที่ ๕ เดือนกันยายน-ตุลาคม ๒๕๕๔ คอลัมน์ภาพเก่า-เล่าอดีต : อิตาลีเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส ร.ศ.๑๒๖ เขียนโดยนางสาวนัยนา แย้มสาขา เหตุการณ์ครั้งนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ภาพเก่าจะเล่าประวัติศาสตร์ให้ท่านได้รับทราบ อยากรู้ต้องอ่่านต่อ...


 โครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน  ประจำปีงบประมาณ 2556  ครั้งที่ 2  ณ โรงเรียนบ้านคำสว่าง  อ.เมือง  จ.นครพนม  ร่วมกับโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ด้วยจังหวัดนครพนม ได้จัดทำโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ฯ เพื่อนำบริการของรัฐทุกประเภทเข้าไปให้บริการและแก้ไขปัญหาความเดือนดร้อน แก่ประชาชนในพื้นที่หมู่บ้านชุมชน โดยบูรณาการการปฏิบัติของทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องตลอดจนองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น องค์กรเอกชนและภาคประชาชน ในโอกาสนี้่หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรม ราชินีนาถ นครพนม ได้จัดทำโครงการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ  กิจกรรมที่จัดได้แก่จัดแสดงนิทรรศการส่งเสริมการอ่านเรื่อง  โลกของเด็ก..กับนิทานเบาปัญญาน่ารู้ชุด...ทำไมน๊า... พร้อมแจกเอกสารนิทานประกอบนิทรรศการ และเอกสารเผยแพร่ความรู้ที่น่าสนใจ อาทิ การเลี้ยงกบ เลี้ยงจิ้งหรีด การทำความสะอาดคราบสกปรกต่างๆ และการทำน้ำผลไม้ เป็นต้น



ภาพโครงการนำศิลปวัฒนธรรมสู่สถานศึกษาณ   โรงเรียนชุมชน ๘ ราษฎร์อุทิศพิทยา ต.เนินเพิ่ม   อ.นครไทย จ.พิษณุโลก  วันที่  ๒๘  กรกฎาคม  ๒๕๕๘    



Messenger