ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/73
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ ขอเชิญชมนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ เรื่อง “ลาวเวียง ไทยพวน : จากแดนลาวสู่นครนายก” ระหว่างวันที่ ๓๐ พฤษภาคม - ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๖
นิทรรศการนี้จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับชาติพันธุ์ลาวเวียง และไทยพวน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากประเทศลาวตั้งแต่สมัยต้นกรุงธนบุรีเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดนครนายก ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายชุมชน ลาวเวียงและไทยพวน ในการนำวัตถุทางชาติพันธุ์ทั้งเครื่องแต่งกาย ของใช้ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพมาจัดแสดง นอกจากนี้ยังมีการทำเวิร์คชอปผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อไปทางพิพิธภัณฑ์ก่อน เพื่อให้ทางพิพิธภัณฑ์ประสานงานกับทางชุมชนจัดเตรียมของสำหรับการทำเวิร์คชอป ทั้งนี้ มีค่าใช้จ่ายในการทำเวิร์คชอปด้วย
ผู้สนใจสามารถเข้าชมนิทรรศการ เรื่อง “ลาวเวียง ไทยพวน : จากแดนลาวสู่นครนายก” ได้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ จังหวัดนครนายก ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. เปิดทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ - วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) สอบถามเพิ่มเติม โทร ๐๓๗ ๓๔๙ ๔๙๔ หรือ ๐๘๔ ๑๙๗ ๔๙๕๓
ใบเสมาที่พบที่บ้านกุดโง้ง ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีทั้งใบเสมาที่สลักลวดลายที่ไม่ใช่ภาพเล่าเรื่อง เช่น ลวดลายรูปสถูป ใบเสมาที่สลักลวดลายเป็นภาพเล่าเรื่องในชาดกทางพุทธศาสนา และใบเสมาที่ไม่มีการสลักลวดลายใดๆ ใบเสมาที่สำคัญที่บ้านกุดโง้ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มของใบเสมาที่มีการสลักลวดลายประดับเป็นภาพพระพุทธเจ้า ได้แก่ ภาพพระพุทธเจ้าหรือพระศรีศากยมุนี ภาพพระศรีอริยเมตไตย และภาพเล่าเรื่องราวชาดกตอนต่างๆ ในพุทธศาสนา
หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน "วิทยาศาสตร์ฉลาดรู้ ตอน ทำไมน้ำตาลจึงเปลี่ยนสี " วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ หอสมุดแห่งนครศรีธรรมราช
ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ "ฟรี" ไม่เสียค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด) สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช หรือ โทร. 0 7532 4137
ติ้วงานับพระ
รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ ๒๕ (รัชกาลที่ ๔-๕)
ได้มาจากวัดหงส์รัตนาราม เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒
“ติ้ว” หมายถึง ไม้ซี่เล็กๆ ใช้สำหรับเป็นคะแนน มักทำรูปทรงอย่างเรียบง่าย เน้นความมั่นคงแข็งแรง อาจประดับตกแต่งด้วยฝีมืออย่างประณีต สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายเป็นเครื่องใช้สำหรับนับจำนวนพระสงฆ์ เมื่อลงอุโบสถสวดมนต์เช้า-เย็นตามธรรมเนียมสงฆ์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกิจวัตรที่จะต้องลงอุโบสถไหว้พระสวดมนต์เป็นประจำทุกวัน
“ติ้วนับพระ” จากวัดหงส์รัตนาราม ทำเป็นชุดเรือนไม้ ประกอบด้วย ตัวเรือนไม้ ติ้วงา กระจกครอบ และหีบไม้ คือ
หีบไม้รองรับตัวเรือน ทำจากไม้เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปแบบฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย ฐานล่างทำเป็นแข้งสิงห์และนมสิงห์ บริเวณท้องไม้ยืดสูงสลักเป็นช่องสี่เหลี่ยม ด้านกว้างด้านละ ๑ ช่อง และด้านยาว ด้านละ ๓ ช่อง ลงสีประดับตราโลหะรูปเทพเจ้ากรีกเป็นบุรุษมีปีกถือหม้อน้ำ เทลงมาบนถาดรอบรับด้วยก้านขดออกช่อดอก
ตัวเรือนทำจากไม้ มีฐานทำจากไม้ขัดกันรูปกากบาทสองด้านสลักลายแข้งสิงห์และลายพันธุ์พฤกษาแบบตะวันตก รองรับเป็นเสาสี่เหลี่ยมเซาะร่องประดับหัวเม็ดรูปไข่ และคานเป็นซุ้มโค้ง ตรงกลางมีลายเครือเถาดอกพุดตาน
ตัวติ้ว ทำจากงาแกะสลักป็นแผ่นบาง เกลารูปทรงเรียวยาวปลายแหลมมนคล้ายแผ่นฉลากสมุดไทย (บัญชักธรรม) เจาะรูแล้วร้อยด้วยเส้นลวดขึงเป็นราวไว้กับตัวเรือนไม้ มี ๒๕๐ ชิ้น ส่วนจำนวนติ้วที่ร้อยติดกับหลักขึ้นอยู่กับจำนวนพระสงฆ์ภายในพระอาราม ทุกจำนวนนับที่ ๑๐ จะทำแผ่นติ้วงาเป็นยอดแบบเสาหัวเม็ด ส่วนคอคอดเรียวลง ให้แตกต่างจากแผ่นอื่นๆ บางพื้นที่จะคั่นด้วยเม็ดลูกปัดแก้วหรืองา เป็นภูมิปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้สังเกตได้สะดวก
ส่วนกระจกครอบเป็นโครงไม้ติดกระจกรอบด้าน มีบานประตูสำหรับเปิดด้านข้าง สันนิษฐานว่าทำขึ้นภายหลังที่มีการเลิกใช้งานแล้ว
การใช้ติ้วนับพระควบคุมระเบียบสงฆ์ในการประกอบสมณกิจเป็นธรรมเนียมที่เกิดขึ้นในชั้นหลัง เนื่องจากพระอุโบสถมีการใช้งานเฉพาะสำหรับประกอบสังฆกรรม อาทิ การอุปสมบท การสวดปาฎิโมกข์ ส่วนการทำวัตรสวดมนต์ประจำวัน จะรวมกันที่หอสวดมนต์ ซึ่งสร้างขึ้นอยู่ในบริเวณหมู่กุฎิแต่ละคณะสงฆ์
โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯกำหนดขึ้นด้วยถือว่าการสวดมนต์นั้นสำคัญอย่างมาก มีหลักฐานตั้งแต่ปฐมสังคายนา นับเป็นประเพณีให้พระสงฆ์ท่องจำและสวดสาธยายพร้อมกันเพื่อรักษาพระธรรมวินัย ต่อมามีการจดจารพระธรรมวินัยเป็ยลายลักษณ์อักษรแทนการท่องจำ แต่ยังคงถือธรรมเนียมพระสงฆ์สาธยายมนต์เป็นสำคัญอยู่ โดยมีข้อบังคับให้พระภิกษุบวชใหม่จะต้องจำบททำวัตรแต่ละบทให้ได้ตามกำหนดในแต่ละพรรษา
และในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางด้านพระพุทธศาสนาหลายประการ ทำให้มีการกำหนดธรรมเนียมสงฆ์เคร่งครัดกว่าแต่ก่อน จึงเป็นธรรมเนียมการลงอุโบสถสวดมนต์เช้า-เย็นร่วมกันสำหรับพระสงฆ์ภายในพระอาราม และเริ่มมีการใช้เครื่องมือนับจำนวนสำหรับการควบคุมระเบียบ
ปัจจุบันการใช้ติ้วนับพระตามพระอารามส่วนใหญ่เลิกร้างไปแล้ว เพราะกำหนดให้มีพนักงานจดบัญชีตรวจสอบจำนวนพระสงฆ์แทน แต่ยังคงมีการเก็บรักษาไว้ประจำอยู่ในพระอุโบสถของวัดต่างๆ
อ้างอิง
เด่นดาว ศิลปานนท์. “ติ้วนับพระ”. ศิลปากร ๕๐, ๔ (กรกฎาคม-สิงหาคม). ๒๕๕๐
นริศรานุวัดติวงศ์. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา และดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. “สาสน์สมเด็จ เล่ม ๑๗”. พิมพ์ครั้งที่ ๒. องค์การค้าคุรุสภา. ๒๕๑๕
ราชบัณฑิตยสถาน. “พจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.๒๕๕๔” . กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๕๖.
ความรู้ก่อนดูโขน ตอนทูษณ์ ขร ตรีเศียร และวิธีไอเดนติฟาย สามพญายักษ์ โดย นายลักษมณ์ บุญเรืองผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นจากครั้งที่แล้ว ที่เราแนะนำตัวละครโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอน เล่ห์รักยักขินี คือนางสำมะนักขา ไป ก็ยังเหลือตัวเอกอีก ๑ เซ็ต มาพร้อมกัน ๓ ตัว คือ ทูษณ์ ขร และตรีเศียร พี่ชายทั้งสามคนของนางสำมะนักขา ที่โดนนางโกหกว่า โดนพระรามลวนลาม พี่ทั้งสามจึงเจ็บแค้นแทนน้อง ออกไปเช็คบิลพระราม แต่ก็ถูกพระรามใช้ศร(ธนู) ยิงตายเมื่อเริ่มมีตัวละครหลายตัว หลายคนอาจจะงง แล้วว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวไหน ขร ตัวไหนทูษณ์ ถ้าให้เดานางสำมะนักขา กับตรีเศียรคงไม่ยาก นางสำมะนักขาก็ต้องเป็นยักษ์ผู้หญิง ตรีเศียรก็ต้องมี ๓ หัว ใช่มั้ยครับ เรามาแยกแยะระหว่างขร กับ ทูษณ์กันอันว่า โขนนั้นเป็นการแสดงชั้นสูงของไทย แต่ไหนไรมา คนแต่ก่อนได้จัดลักษณะเฉพาะของแต่ละตัวไว้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เป็น ไอเดนติตี้ ของแต่ละตัว ดังนี้พญาทูษณ์ เป็นเจ้าเมืองจารึก มีลักษณะเป็นยักษ์ มี ๑ หน้า ๒ มือ กายและหน้าสีม่วงแก่ สวมมงกุฎยอดกนก ตาจรเข้ ปากขบ เป็นพ่อของวิรุญจำบังส่วน พญาขร เป็นเจ้าเมืองโรมคัล เป็นพ่อของมังกรกัณฑ์และแสงอาทิตย์ ลักษณะเป็นยักษ์มี ๑ หน้า ๒ มือ กายและหน้าสีเขียวเข้ม สวมมงกุฎยอดจีบ (ดูจะคล้ายๆ ยอดฤาษี) ตาจรเข้ (ลักษณะตาจะปรือๆฉ) ปากขบ (คือเอาเขี้ยวมาขบปาก)และสุดท้ายคือตรีเศียร ดูง่ายที่สุด ตรีเศียรเป็นเจ้าเมืองมัชวารี ลักษณะเป็น ยักษ์สีขาว มีสามหน้า ๖ มือ มีหน้าปกติ ๑ หน้า และมีหน้าเล็กๆ อยู่ตรงท้ายทอยอีก ๒ หน้า ปากขบ ตาจรเข้ สวมมงกุฎยอดน้ำเต้า สามยอด ยอดกลางใหญ่ที่สุดทีนี้พอเราแยกแยะออกแล้วว่าใครเป็นใคร หวังว่าท่านผู้ชมที่มาดูโขนพิพิธภัณฑ์ขอนแก่น วันที่ ๒๓ ธันวา นี้จะดูรู้เรื่องและสนุกสนานไปกับการแสดงมากยิ่งขึ้นนะครับปล. ในเรื่องรามเกียรติ์จริงๆ พญายักษ์แต่ละตนตายต่างกรรมต่างวาระกันนะครับ แต่โขนของเราเป็นโขนวัยรุ่น เอาใจคนยุคใหม่ ไม่ชอบอะไรเยิ่นเยอะเยิ่นเยินๆๆๆๆๆๆ เลยจับมามิกซ์ตายไร่เรี่ยกันไปเลยในตอนเดียว อิ อิ แต่ขอบอกว่าสวย มว๊ากกกกก เวลามารวมกันสามตัวแล้ว เพราะผมไปแอบดูมาแต่นครเชียงใหม่ที่เวียงกุ่มกามแล้วครับ สวยจริงๆดูฟรีเด้อครับ พลาดเที่ยวนี้ รออีก 3 ปี รอพิพิธภัณฑ์ขอนแก่นปรับปรุงเสร็จ ปี 70 นู่นเลย ถึงจะมีมาให้เบิ่งอีกเทื่อเรื่องตา กับปาก ผมอธิบายความตามลักษณะหัวโขนที่ช่างทำนะครับ ตามตำราไม่ได้ดูมาว่าเขาว่ากันยังไงถ้าตาโพลง คือ ตากลมๆ ทื่อๆ แต่ตาจรเข้ คือ ตาปรือๆส่วนปาก ขบก็เหมือนเอาเขี้ยวขบฟัน ถ้าปากแสยะ ก็เหมือนคนยิงฟัน และยังมีปากอ้าอีก ส่วนใหญ่จะเป็นลิง
ชิ้นส่วนประดับสะพานเฉลิมหล้า
แบบศิลปะ : รัตนโกสินทร์
ลักษณะ : ชิ้นส่วนประดับสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีพระปรมาภิไธยย่อ จปร สีเขียว ภายในกรอบวงรีล้อมกรอบด้วยลายจุดไข่ปลาและพวงมาลัยแบบตะวันตก ทั้งสองข้างกรอบวงรีตรา จปร ประดับด้วยลูกกรงแบบลูกมะหวดฝรั่ง ชิ้นส่วนนี้เดิมเคยประดับที่กึ่งกลางราวสะพานเฉลิมหล้า 56 มีชื่อเรียกอย่างลำลองว่า สะพานหัวช้าง ในปัจจุบัน
สะพานเฉลิมหล้า 56 เป็นสะพานชุดเฉลิม สะพานที่ 15 สะพานชุดเฉลิมนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 17 สะพาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยพระราชทานพระราชทรัพย์เท่าพระชนมวาร วันละ 1 สลึง เป็นค่าก่อสร้างสะพานชุดเฉลิมในแต่ละปี โดยเริ่มตั้งแต่พระชนมพรรษาปีที่ 42 สะพานเฉลิมหล้าเป็นสะพานที่สร้างขึ้นเนื่องในพระวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาปีที่ 56 เป็นสะพานที่สร้างข้ามคลองบางกะปิหรือคลองแสนแสบ ถนนพญาไท (ปัจจุบันอยู่ใกล้ แยกปทุมวัน) เชื่อมทางระหว่างพระนครให้ต่อกันทั้งตอนเหนือและตอนใต้ โดยสะพานนี้อยู่ติดกับวังสระปทุม (ออกแบบโดยสถาปนิกและวิศวกรที่เป็นชาวต่างชาติเข้ามารับราชการในประเทศไทยในขณะนั้น ) และถือว่าเป็นสะพานสุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ (อนนต์ ศรีศักดา,82 – 89)
สะพานเฉลิมหล้า 56 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ดำริสร้างต่อจากสะพานเฉลิมโลก 55 (ที่นำเทคโนโลยีการสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กเข้ามาจากชาติตะวันตก) ทำให้สะพานมีความแข็งแรงและทนทานต่อการใช้งาน ตัวคานเป็นรูปโค้ง หัวสะพานทั้งสี่มุมมีรูปปั้นช้าง 4 หัว ประดับทั้ง 4 ด้าน (ภานุวัฒน์ จ้อยกลัดและสุนิติ สุภาพ, 22)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2452 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 42 หน้า 1842 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน ร.ศ. 128 เรื่อง การเสด็จพระราชดำเนินเปิดสะพานเฉลิมหล้า 56 ซึ่งในปีนี้พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาเท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมอัยกาธิราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีพระชนมายุมงคลเสมอรัชกาลที่ 2 และฉลองวัดอรุณราชวรารามด้วย ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีช้างเผือกในแผ่นดินถึง 4 เชือก จึงพระราชทานนามว่า สะพานเฉลิมหล้า ซึ่งมาจากพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ปัจจุบันสะพานเฉลิมหล้า ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอน 61 ลงวันที่ 18 มีนาคม พุทธศักราช 2518 โดยอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้พยายามรักษาลักษณะเดิมของสะพานไว้เป็นอย่างดี แม้มีการขยายถนน และสะพานเพื่อให้รับกับความเจริญของบ้านเมืองและการคมนาคมที่คับคั่งขึ้น
ขนาด : ชิ้นที่ 1 ยาว 270 สูง 153 หนา 90
ชิ้นที่ 2 ยาว 128 สูง 100 หนา 35
ชนิด : ปูนปั้น เหล็ก
อายุ/สมัย : พุทธศักราช 2452
ประวัติ/ตำนาน : ชิ้นส่วนของสะพานเฉลิมหล้า 56 รับมอบจากกองโบราณคดี เมื่อพุทธศักราช 2556 สันนิษฐานว่า ยกย้ายมาช่วงทำการขยายถนนจาก 5 ช่องทาง เป็น 8 ช่องทาง ประมาณพุทธศักราช 2544
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=52884
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
ชื่อเรื่อง : เรื่องพี่สอนน้อง ผู้หญิงและผู้ชายผู้แต่ง : นายน้อยโอต ไชยวังสาปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๕สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อุปะติพงษ์จำนวนหน้า : ๒๐ หน้าเนื้อหา : หนังสือเล่มนี้ชื่อว่า พี่สอนน้อง ผู้หญิงและผู้ชาย เล่มหนึ่ง พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์อักษร ที่โรงพิมพ์อุปติพงษ์ ถนนช้างคลาน จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ หนานน้ำ ผู้เรียบเรียง อักษรล้านนา ภาษาล้านนา คำนำกล่าวว่า ข้าพเจ้านายน้อยโอต ไชยวังสา ตั้งบ้านเรือน ตำบลศรีภูมิ หลังวัดหมื่นล้าน ได้แต่งหนังสือนี้ ขอให้นามว่า หนังสือซอคร่าว พี่สอนน้องผู้ญิง สอนน้องผู้ชาย นายน้อยโอต ไชยวังสา สงวนสิทธิ์ ตัวอย่างหน้าที่ 1
สุภาสิตํ วาจํเรียบร้อย สาวจีหนุ่มน้อย อย่าว่าพี่สอน
ของเจ้าน้องไธ้ย แม่ดวงสมร ดักนั่งฟังคอง จำไว้ในไส้
จาเปรียบเทียมเหมือน อาคิไม้ใต้ ส่องเดินไป มืดมิด
ส่วนอันโสภา ควรนาล่ำพิด ฝูงหมู่เจ้า นารี
อันสุวรรณะ คำแดงแสงสี ทับธรรมณี เพชรนิลแก้วแหวน
ก็รุ่งเรืองศรี สวยดีผ่องแผ้ว ทังสายคอองค์ ลูกเกด
กับทั้งกำไร สร้อยมือฝังเพชร วูบวาบเหลื่อม วันไว
แพรพรรณองคต เสื้อยศสมัย ก็งามวิไล เมื่อน้องนุ่งย้อง
ก็ยังบ่สวย รวยงามเท่าข้อง ในการคุณคอง เรียบร้อย
เกิดมาเป็นสาว จีจาวหนุ่มน้อย ควรจำจื่อถ้อย วาทา
หลอนมีคู่ซ้อน ร่วมห้องเคหา คือสามีคา ผัวเพงร่วมป้อง
การปฏิบัติ อย่าขัดอย่าข้อง เนอศรีนวลฟอง น้องน้อย
เชิญตั้งโสตา ฟังนาเรียบร้อย พี่จักกล่าวถ้อย คำวอน
เปรียบคืออาทิตย์ เร่งฤทธิ์เดินจร แวดเขาคันธร ออกพ้นเรียมแก้ว
ก็หมดใสสี งามดีผ่องแผ้ว เมฆมุงบนเป่ง ก็หากเป็นคุณ
พึ่งบุญเดชะ ผับทั่วด้าว อาณา หลอนนายอี่น้อง
มีคู่เทียมตา มีสามีคา ผัวแพงร่วมข้าง อย่าเหืออย่าเหิน
เที่ยวเมินฟู่อ้าง การงานนาย ทอดซัด ไหนจักเป็นหอ
เรือนนอนสำนัก จักบอกหื้อนายฟัง หลอนเป็นแม่เค้า เจ้าเรือนเคหํ
ก็สมเพิงยัง รู้ไว้ชู่ข้อ การอยู่การกิน จริงใจป้านป้อ
หอเรือนนอน น้องรัก หื้อเอาใจปก อย่าถกอย่าซัด
ทรัพย์สิ่งอั้น นานา หลับดึกลุกเช้า เนอเจ้าก่อนกา
หลอนหลับลุกมา นายน้องแก้ว อย่าได้จาแข็ง รุนแรงซะแห้ว
ย่างเรือนดังเช่นล้ำ เคหะสถาน เตินชานน้องชั้น ปัดกวาดเผี้ยว
ดีงาม สรรพสิ่งทรัพย์ อย่าประมาทหมาง เก็บไว้หื้องาม
เป็นซึ่งเป็นถ้านฯลฯ
เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๖๑๙เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๒๔หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗