ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,654 รายการ


วันที่ ๒๗ -๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ นางตรีทิพย์ บัวริน หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนากระบวนการทางความคิด” (Growth Mindset) สำหรับนักบริหารกรมศิลปากร ณ โรงแรมตรัง กรุงเทพฯ โดยอาจารย์ชัยวัฒน์ ร่างเล็ก เป็นวิทยากร #สร้างกระบวนความความคิดตามขั้นตอนสรุปว่าสิ่งที่เราจะต้องเริ่มทำงานคือเป้าหมาย, กิจกรรม, ความคิด (growth mindset)​ และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น/การป้องกันความเสี่ยง


วันที่ 15-16 ก.ค. 58 หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติฯนครพนม นางลัดดาวัลย์ ทิพย์สิงห์ และนางอรอุไรลักษณ์ จีรันทนิน เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน ได้เข้าร่วมประชุม"การพัฒนาหอสมุดแห่งชาติโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ"โดยศูนย์เทคโนโลยีกรมศิลปากร และท่านรองอธิบดีกรมศิลปากร นางสุนิสา จิตรพันธ์ เป็นประธานในการประชุม   ณ ห้องประชุมหอสมุดแห่งชาติฯ จันทบุรี



***บรรณานุกรม***  นายสมพร  อยู่โพธิ์ พระพุทธรูปปางต่างๆ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนวิจารณ์ธราดล (วิจารณ์ โกมลภมร) ณ เมรุวัดธาตุทอง พระขโนง วันที่ 24 เมษายน พุทธศักราช 2515 นครหลวง  โรงพิมพ์นิยมอักษร 2515



***บรรณานุกรม*** หนังสือหายาก จีระ สีตสุวรรณ และ ระบิล สีตสุวรรณ.  แบบสอนอ่านพลานามัย ชั้นประภมปีที่ 1 เรื่องร่างกายของเรา.  พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๐๓.


ผู้แต่ง                            -หมวดหมู่                        ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์เลขหมู่                           959.302 ล.45สถานที่พิมพ์                    พระนครสำนักพิมพ์                      โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าวปีที่พิมพ์                         2512ภาษา                            ไทยหัวเรื่อง                         สุวรรณโคมคำ -- ประวัติประเภทวัสดุ/มีเดีย             หนังสือหายากลักษณะวัสดุ                    308 หน้า : ไม่มีภาพประกอบ ; 18 ซม.บทคัดย่อ                        ประชุมพงศาวดาร เป็นหนังสือที่ให้ประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะได้รวบรวมเรื่องเก่าๆ ที่มีสาระและคำอธิบายของผู้มีความรู้ในวิชาด้านทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทย ประชุมพงศาวดาร เล่ม 45 ภาคที่ 71(ต่อ) – 73 จะกล่าวถึง พงศาวดารและแวก (ต่อ) พงศาวดารเขมรอย่างย่อ ราชพงศาวดารญวนตำนานเมืองสุวรรณโคมคำ ทำเนียบข้าราชการนครศรีธรรมราชครั้งรัชกาลที่ 2


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในสาระสำคัญต่าง ๆ และ เพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


สาระน่ารู้ : สระน้ำ ดูเพิ่มเติม


เลขทะเบียน : นพ.บ.27/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า  ; 4.7 x 53 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 14 (152-160) ผูก 8หัวเรื่อง : ธมฺมปาลชาตก (ธรรมบาล) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


พระพิมพ์ดินเผาแสดงภาพพุทธประวัติ ตอน “มหาปาฏิหาริย์” มีจารึกคาถาเย ธมฺมา จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           พระพิมพ์ดินเผาสันนิษฐานว่าเป็นภาพพุทธประวัติตอนมหาปาฏิหาริย์ กล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงมหาปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี โดยประทับบนดอกบัวที่เนรมิตขึ้นโดยราชานาคนันทะและอุปนันทะ มีพระอินทร์ พระพรหม และเหล่าเทวดาทั้งหลายลงมาเฝ้า //รูปแบบศิลปกรรมเป็นพระพิมพ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าทำรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิราบบนดอกบัว มีรูปบุคคลถือก้านบัวอยู่ด้านล่างสันนิษฐานว่าเป็นราชานาค ชื่อนันทะ และอุปนันทะ แวดล้อมด้วยรูปบุคคลต่างๆ สันนิษฐานว่าคือพระอินทร์ พระพรหมและเหล่าเทวดา ด้านบนสุดที่มุมทั้ง ๒ ด้านมีรูปบุคคลอยู่ในวงกลม สันนิษฐานว่าคือพระอาทิตย์และพระจันทร์ ด้านหลังพระพิมพ์จารึกคาถาเย ธมฺมา ด้วยตัวอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ด้วยลายมือเขียน ความว่า “เย ธมฺมา เหตุปปฺภวาเยสํเหตุํตถาคโต อาห เตสญฺจโย นิโร โธเอวํ วาที มหาสมโณ” แปลว่า “ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตได้ตรัสถึงเหตุเหล่านั้น           เมื่อสิ้นเหตุเหล่านั้นจึงจักดับทุกข์ได้ พระมหาสมณะมีวาทะตรัสสอนเช่นนี้เสมอ” คาถาเย ธมฺมา ถือเป็นหัวใจสำคัญของพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นคาถาที่สรุปใจความสำคัญของอริยสัจสี่ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เอาไว้ครบถ้วน และยังเป็นคาถาที่พระอัสชิหนึ่งในปัญจวัคคีย์ตรัสแก่พระสารีบุตรจนเกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนา และชักชวนสหายคือพระโมคคัลลานะออกผนวช จนได้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาและเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า จึงเชื่อกันว่าคาถาเย ธมฺมา สามารถทำให้คนนอกศาสนา เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา แม้กระทั่งอัครสาวกเบื้องขวาและเบื้องซ้ายยังออกผนวชด้วยคาถาบทนี้ สมัยทวารวดีจึงนิยมจารึกคาถาเย ธมฺมา ไว้บนพระพิมพ์เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาด้วย           พระพิมพ์ดินเผารูปแบบดังกล่าวถึงนี้ จัดเป็นพระพิมพ์ยุคแรกของสมัยทวารวดี กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔ หรือราว ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว พบบริเวณภาคกลางของประเทศไทย เช่น จังหวัดนครปฐม และราชบุรี บางองค์มีจารึกคาถาเย ธมฺมา ที่ด้านหลังเช่นเดียวกัน เอกสารอ้างอิงธนกฤต ลออสุวรรณ. การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖. นิติพันธุ์ ศิริทรัพย์.พระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีที่นครปฐม. วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๔. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง.มรดก ๑,๐๐๐ ปีเก่าที่สุดในสยาม. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๖. ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี https://www.facebook.com/153378118193282/posts/1290167404514342/


 กองบรรณาธิการ.เมืองเพนียด.about chan.13.(44);เมษายน 2557  เมืองเพนียด เป็นเมืองโบราณของจังหวัดจันทบุรี มีลักษณะเป็นกําแพงก่อสร้างด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่ใกล้กับวัดทองทั่ว ตําบลคลองนารายณ์ อําเภอเมืองจันทบุรี มีอายุมากกว่าหนึ่งพันปีมาแล้ว ภายในเมืองเพนียดเคยขุดพบโบราณวัตถุทับหลัง ชิ้นส่วนเทวรูป และเศษถ้วยชามต่างๆ ซึ่งปัจจุบันจัดเก็บไว้ที่วัดทองทั่ว นอกจากนี้ยังมีการค้นพบหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรบริเวณเมืองเพนียด คือ จารึกศิลาแลง จารึกด้วยอักษรขอมโบราณ ภาษาสันสกฤตและเขมร ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่หอพระสมุดวชิรญาณ กรุงเทพฯ จากหลักฐานที่พบในเมืองเพนียด พอจะระบุได้ว่าเมืองเพนียดนั้น มีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงราวพุทธศตวรรษที่ 18 สันนิษฐานว่าเมืองเพนียดเพิ่มเป็นที่ตั้งเมืองจันทบุรียุคแรกต่อมาชาวบ้านได้ย้ายจากเมืองเพนียดมาตั้งถิ่นฐานบริเวณบ้านหัววัง ต.พุงทะลาย (ต.จันทนิมิต ในปัจุบัน) เมืองเพนียดจึงถูกปล่อยให้เป็นเมืองร้าง แต่เนื่องจากเมืองพุงทะลายมีทําเลที่ไม่เหมาะมีน้ําท่วมเป็นประจํา จึงมีการย้ายเมืองไปยังบ้านลุ่ม ริมแม่น้ําจันทบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งของตัวเมืองในปัจจุบัน


นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ




Messenger