ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.44/1-7  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ก/1-10  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (มทฺรี-นครกัณฑ์)  ชบ.บ.106ข/1-10  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.344/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 84 หน้า ; 5 x 52 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 134  (370-377) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : อภิธมฺมปิฎกสงฺเขป (พระอภิธัมมา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         ย้อนหลังไปเมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงผนวชในพระบวรพุทธศาสนาตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงได้พระสมณนามว่า “ภูมิพโลภิกขุ” และเสด็จไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร และทรงลาผนวชเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2499          ผลงาน: ภูมิพโลภิกขุ          ศิลปิน: ศักย  ขุนพลพิทักษ์          เทคนิค: สีน้ำมันบนผ้าใบ          ขนาด: 180 x 150 เซนติเมตร          ปีที่สร้าง: 2563          ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของ ศักย ที่ยังเขียนไม่แล้วเสร็จ ศิลปินก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลงในเดือนพฤศจิกายน 2563โดยส่วนประธานของภาพนั้นมีการขึ้นรูป ลงสีไว้เกือบสมบูรณ์แล้ว และบริบทของภาพ ส่วนของเทวดาราย และกนกลายไทยลงร่างไว้บางส่วน เป็นผลงานที่ผนวกรวมทักษะอันโดดเด่นทั้ง 2 อย่างของศักย ทั้งการเขียนภาพเหมือน และการเขียนลายไทย เข้าไว้ร่วมกัน จึงเป็นผลงานที่ไม่แล้วเสร็จ แต่มีความน่าสนใจมากชิ้นนึงของศักย          ผลงานชิ้นนี้จัดแสดงในนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป "ศักย  ขุนพลพิทักษ์" ตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 2564 เป็นต้นมา และขยายการจัดแสดงนิทรรศการไปถึงวันที่ 12 ธันวาคม 2564


ชื่อผู้แต่ง             พระราชศีลสังวร ชื่อเรื่อง               ภาษิตลุงสอนหลาน ครั้งที่พิมพ์           - สถานที่พิมพ์         สงขลา สำนักพิมพ์           ร.พ. เมืองสงขลา ปีที่พิมพ์              ๒๕๑๕ จำนวนหน้า          ๓๐  หน้า หมายเหตุ            ยุวพุทธิกสมาคม สงขลา พิมพ์สการ พิธีพระราชทานเพลิงศพ คุณแม่กอบกุล  รัตนปราการ                          หนังสือสุภาษิตลุงสอนหลานนี้ เกิดขึ้นที่วัดดอนคัน ต.คูขุด อ.สทิงพระ จ.สงขลา ภาษาที่ใช้ในหนังสือนี้เป็นภาษาพูดของชาวบ้านมีลีลาคำพูดสนุกครึกครื้นจำได้ง่าย




         วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการ ครั้งที่ ๑ ประจำปี ๒๕๖๕ การบรรยายหัวข้อ "ห้องสมุดกับการก้าวผ่านจาก New Normal สู่ Next Normal" โดยมีนางสาววาสนา งามดวงใจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดแห่งชาติ กล่าวรายงาน วิทยากรบรรยาย ได้แก่ นายเสกสันต์ พันธุ์บุญมี หัวหน้างานยุทธศาสตร์เศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและจิตวิทยา สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และดร.ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


ชื่อเรื่อง                     จารึกวัดพระเชตุพน ตอน โคลงภาพฤษีดัดตนและตำราอายุวัฒนะผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   แพทยศาสตร์เลขหมู่                      615.82 ศ528จสถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์การพิมพ์พาณิชย์ปีที่พิมพ์                    2507ลักษณะวัสดุ               190 หน้าหัวเรื่อง                     จารึกพระเชตุพนภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก           รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับโคลงภาพฤษีดัดตนและตำราอายุวัฒนะ




อุโบสถหลังเก่าวัดทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง วัดทุ่งควายกิน ตั้งอยู่ที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ภายในวัดมีอุโบสถหลังเก่ามีจารึกว่าสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๒ ปัจจุบันอุโบสถหลังเก่าอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก ศาลาด้านหน้าอุโบสถพังลง กรมศิลปากรจึงได้จัดสรรงบประมาณให้สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี และสำนักสถาปัตยกรรม ขุดแต่งและบูรณะอุโบสถหลังเก่า ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๓ ให้กลับมามีสภาพมั่นคงแข็งแรงและฟื้นคืนรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิม อุโบสถหลังเก่า เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ฐานอุโบสถเป็นฐานสิงห์ ซุ้มประตูเป็นปูนปั้นทรงโค้งเขียนลายพญานาค หลังคาทรงจั่วประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ทำจากไม้แกะสลัก มีชายคาปีกนกล้อมรอบ สันตะเข้เป็นปูนปั้นรูปพญานาคประดับเครื่องถ้วย ภายในอุโบสถมีฐานชุกชีก่ออิฐถือปูนประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย เหนือกรอบหน้าต่างเขียนภาพทศชาติชาดก รอบอุโบสถทั้ง ๘ ทิศมีซุ้มประดับใบเสมาหินทรายตรงกลางใบเสมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ด้านหน้าอุโบสถมีศาลาเครื่องไม้ อันเป็นลักษณะเฉพาะของอุโบสถในอำเภอแกลง ที่สร้างราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ หรือในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบได้หลายวัด เช่น วัดจำรุง วัดหนองแพงพวย วัดเนินยาง วัดโพธิ์ทองพุทธาราม สำนักศิลปากรที่ ๕ ปราจีนบุรี



กระเบื้องเชิงชาย ลายดอกบัว เมืองกำแพงเพชร ...กระเบื้องเชิงชายหรือที่เรียกว่ากระเบื้องหน้าอุด คือกระเบื้องมุงหลังคาแถวล่างสุดของหลังคาแต่ละตับทำหน้าที่อุดช่องว่างที่ชายคาเพื่อกันฝน และสัตว์เข้าไปตามแนวกระเบื้อง ส่วนใหญ่ทำเป็นทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว หรือสามเหลี่ยมด้านเท่าพร้อมลวดลายต่างๆ เช่น ลายเทพนม ลายดอกบัว ประดับที่ชายคาสถาปัตยกรรมประเภทอาคารที่มีฐานานุศักดิ์อันสื่อถึงการแสดงฐานะของผู้ใช้อาคาร โดยสามารถแบ่งประเภทตามการใช้ประโยชน์เป็น ๒ ประเภท คือ ประเภทศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธ เช่น อุโบสถ วิหาร และประเภทที่อยู่อาศัยซึ่งพบหลักฐานจากการขุดแต่งสิ่งก่อสร้างอันเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระมหาปราสาท พระที่นั่ง และตำหนักต่างๆ...ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ดอกบัว ใช้สื่อถึงแผ่นดินซึ่งเป็นที่เกิดของ ปทุม (ภาษาบาลี หมายถึง ต้นไม้ต้นแรก) และใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการอุบัติตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ตัวอย่างความเกี่ยวข้องในทางพุทธศาสนา ดอกบัว ได้ถูกยกมาเทียบเคียงถึงความสามารถในการเข้าใจหลักคำสอนและธรรมะของบุคคลที่แตกต่างกัน รวมถึงการนำรูปดอกบัวมาทำเป็นภาพประกอบกับรูปเคารพของพระพุทธเจ้า เช่น ฐานที่ประทับของพระพุทธรูป เป็นส่วนประกอบของทิพยบุคคล และเป็นลวดลายประดับ อันสื่อถึงการกำเนิดอันบริสุทธิ์ (โลกแห่งธรรม) ความอุดมสมบูรณ์ และแสงสว่าง...จากการศึกษากระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาประเภทลายดอกบัว ของ นายประทีป เพ็งตะโก สันนิษฐานว่า...ลวดลายประดับรูปดอกบัวปรากฏตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นตลอดจนถึงอยุธยาตอนปลาย ลักษณะสำคัญคือรูปดอกบัวที่มีก้านมารองรับมีลักษณะธรรมชาติซึ่งพบในช่วงเวลาสั้นๆ และในระยะเวลาเดียวกันนั้นก็ทำเป็นรูปดอกบัวบานที่ไม่มีก้านมารองรับอันเป็นลักษณะที่นิยมในเวลาต่อมา วิวัฒนาการของกลีบบัวแรกเริ่มมีลักษณะเรียวยาวใกล้เคียงธรรมชาติ จากนั้นคลี่คลายเป็นกลีบดอกมีขอบหยัก คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากลายประเภทพันธุ์พฤกษาช่วงสมัยอยุธยาตอนกลาง (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒) ในเวลาต่อมากลีบบัวปรับเปลี่ยนเป็นลายกระหนก (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒) จนถึงระยะสุดท้ายที่มีลายใบไม้สามแฉกเข้ามาแทนที่เค้าโครงเดิม ...การกำหนดอายุโดยวิธีการเปรียบเทียบ (Relative Dating) พบว่าลวดลายในกระเบื้องเชิงชายที่พบจากการขุดแต่งวัดพระแก้ว และวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชรนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับกระเบื้องเชิงชายที่พบในโบราณสถานของเมืองพระนครศรีอยุธยา โดยอ้างอิงภาพเปรียบเทียบลายกระเบื้องเชิงชายจากการศึกษาของ นายประทีป เพ็งตะโก ดังนี้...กระเบื้องเชิงชายลายดอกบัวที่พบจากเมืองกำแพงเพชร จำนวน ๒ รูปแบบ ได้แก่๑. กระเบื้องเชิงชายลายดอกบัว (ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – พุทธศตวรรษที่ ๒๒) ลักษณะทรงสามเหลี่ยมมีหยักที่ขอบนอก ทำเส้นนูนล้อกับทรงกระเบื้องล้อมรอบลายดอกบัวจำนวนสองเส้น ไม่ทำก้านดอก กลีบดอกคลี่คลายไม่เป็นธรรมชาติ กลีบบัวเรียวยาว ขอบกลีบเริ่มทำเป็นหยัก อาจทำเพียงบางกลีบ หรือหลายกลีบ นอกจากนี้ยังพบลักษณะคล้ายใบไม้ ๓ แฉก หรือทรงพุ่มแหลมด้านบนของดอกบัว อันเริ่มแปรเปลี่ยนจนคล้ายกับดอกบัวดอกเล็กซ้อนอยู่ข้างบน จากการขุดแต่งวัดช้างรอบพบกระเบื้องเชิงชายลายดอกบัวลักษณะคล้ายกับที่พบจากการขุดแต่งบริเวณวัดสุวรรณาวาส วัดไชยวัฒนาราม วัดขุนแสน วัดพระยาแมน และตำหนักสวนกระต่าย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา๒. กระเบื้องเชิงชายลายดอกบัว (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒) ลักษณะทรงสามเหลี่ยมมีหยักที่ขอบนอก มีการทำเส้นล้อกับทรงกระเบื้องล้อมรอบลายดอกบัวจำนวนสองเส้น มีร่องรอยเม็ดปุ่มอยู่บนสันนูนระหว่างเส้นกรอบดังกล่าว ลักษณะโครงสร้างลายคล้ายมีดอกขนาดเล็กซ้อนอยู่ข้างบน กลีบบัวมีทั้งทำหยักที่ขอบคล้ายใบไม้ และมีพัฒนาการรูปแบบประดิษฐ์เป็นลายกนกทั้งหมด จากการขุดแต่งวัดพระแก้ว และวัดช้างรอบพบกระเบื้องเชิงชายลายดอกบัวลักษณะนี้คล้ายกับที่พบจากการขุดแต่งวัดสุวรรณาวาส วัดพลับพลาชัย และบริเวณตำหนักวัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา...จากการกำหนดอายุลวดลายในกระเบื้องเชิงชายที่พบจากการขุดแต่งวัดพระแก้ว และวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร เปรียบเทียบกับผลการศึกษาลักษณะลวดลายจากหลักฐานที่พบในวัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สอดคล้องไปในทางเดียวกันว่าหลักฐานที่พบมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๒________________________________________ เอกสารอ้างอิงคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำศัพทานุกรมด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๐.ประทีป เพ็งตะโก. กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๐. ประทีป เพ็งตะโก. ประทีปวิทรรศน์ : รวมเรื่องโบราณคดีอยุธยา. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๖๔.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๕๙.


บทความออนไลน์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี “ไหว้พระ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมืองปราจีนบุรี” **สำหรับนักท่องเที่ยวสายบุญ เมื่อมาเที่ยวจังหวัดปราจีนบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ขอแนะนำสถานที่ที่ทุกท่านสามารถไหว้พระ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดปราจีนบุรี ดังนี้ *** หลวงพ่ออภัยวงศ์ วัดแก้วพิจิตร ต.หน้าเมือง อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี -- วัดแก้วพิจิตร ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำปราจีนบุรี เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดปราจีนบุรี จากจารึกแผ่นหินภายในบริเวณวัดระบุว่า วัดแก้วพิจิตรสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยนางประมูล โภคา (แก้ว ประสังสิต) ภรรยาของขุนประมูลภักดี เป็นผู้สร้างวัด ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้อพยพครอบครัวจากเมืองพระตะบองมาอยู่ที่ปราจีนบุรี ด้วยเป็นผู้อุปถัมภ์วัดแห่งนี้ ท่านจึงได้เกณฑ์ช่าชาวเขมรให้มาบูรณะปฏิสังขรณ์อุโบสถ พร้อมสร้างพระประธานด้วย จากรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมของอุโบสถ จะเห็นลวดลายประดับอาคารที่ผสมผสามกันอย่างงดงามระหว่างศิลปะไทย จีน ยุโรปและเขมร -- หลวงพ่ออภัยวงศ์หรือพระพุทธรูปปางประทานอภัย ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในอุโบสถของวัดแก้วพิจิตร เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ขวายกขึ้นหันพระหัตถ์ออกด้านนอกวางตั้งอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางหงายพระหัตถ์ขึ้น *** หลวงพ่อเพชร วัดแจ้ง ต.หน้าเมือง อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี -- พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานภายในวิหารหลวงพ่อเพชร วัดแจ้งซึ่งสร้างใหม่คล้ายกับวิหารในภาคเหนือ -- หลวงพ่อเพชร หรือ พระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์นี้เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระเกตุมาลาเป็นต่อมกลม พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขาว ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน มีชายจีวรห้อยด้านหน้าบริเวณพระเพลา ประทับนั่งอยู่บน ฐาน ๓ ชั้น มีผ้าทิพย์ห้อยด้านหน้า -- ตามประวัติระบุว่าพบในเจดีย์ร้างกลางทุ่ง โดยเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุห์นายกในสมัยรัชกาบที่ ๓ -- พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรองค์นี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๑ ตอนพิเศษที่ ๕๕ ง หน้า ๒๐ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ *** หลวงพ่อเชียงแสน วัดมะกอกสีมาราม ต.รอบเมือง อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี -- หลวงพ่อเชียงแสนหรือพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านนา มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๓ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระเกตุมาลาเป็นต่อมกลม พระรัศมีเป็นดอกบัวตูมครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาข้างขวา มีชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน มีชายจีวรห้อยด้านหน้าบริเวณพระเพลา ประทับนั่งอยู่บนฐาน มีผ้าทิพย์ห้อยด้านหน้า -- ตามประวัติระบุว่าเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๐ (สมัยรัชกาลที่ ๕) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เมื่อครั้งสมัยเป็นแม่ทัพปราบฮ่อได้อัญเชิญมาจากเมืองเชียงแสน มาประดิษฐานที่วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ท่านเจ้าคุณญาณเวที ยติโก เจ้าอาวาสวัดมะกอกสีมาราม ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดมะกอกสีมาราม -- พระพุทธรูปหลวงพ่อเชียงแสนองค์นี้ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๒๑ ตอนพิเศษที่ ๕๕ ง หน้า ๒๐ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ *** พระคเณศ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ต.หน้าเมือง อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี -- พระคเณศ แห่งเมืองศรีมโหสถ อายุกว่า ๑,๔๐๐ ปี พบที่โบราณสถานหมายเลข ๒๒ กลางเมืองศรีมโหสถ เป็นพระคเณศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย โดยเป็นพระคเณศที่ประทับอยู่เหนือฐานสี่เหลี่ยมมีร่องน้ำสรง เรียกว่า “ฐานโยนิหรือโยนิโทรณะ” มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เหมือนช้างธรรมชาติและไม่ทรงเครื่องประดับ เทียบได้กับพระคเณศสมัยเมืองพระนครในศิลปะเขมร อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๒ -- พระคเณศ เป็นเทพเจ้าซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมนับถือมากในศาสนาฮินดูในฐานะเทพเจ้าแห่งอุปสรรค ที่ชาวฮินดูเมื่อจะประกอบพิธีทางศาสนาจะต้องบูชาพระคเณศก่อน พระคเณศจึงกลายเป็นแห่งความรู้และความเฉลียวฉลาด เทพอักษรศาสตร์และวรรณคดี และเทพแห่งศิลปวิทยาการ -- ในช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม – ๙ กันยายน ๒๕๖๕ นี้ตรงกับช่วงเทศกาล “วันคเณศจตุรถี” เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองวันประสูติของพระคเณศซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวันที่พระคเณศจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์ เพื่ออวยพรแก่ผู้ที่เลื่อมใสที่ทำพิธีบูชาพระองค์ #เที่ยวปราจีนcontentcreator #เที่ยวปราจีนบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


Messenger