ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ

กลอนลำลาว เล่มปลาย.  พระนคร: โรงพิมพ์พานิช ศุภผล, 2468.



         หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง ร่วมกับกลุ่มเพลินตรัง ครอบครัวยิ้ม ขอเชิญชวนน้องๆ เข้าร่วมกิจกรรม "อ่าน คิด สนุก เล่น"                      อ่าน : อ่านข่าว เหตุการณ์ปัจจุบัน                     คิด : ข่าวและสถานการณ์                     สนุก : เธอเป็นฉัน ฉันเป็นเธอ                      เล่น : อาชีพที่ใฝ่ฝัน           กำหนดจัดในวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 - 12.00 น. ณ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง เตรียมพบกับ ๓ กิจกรรม ได้แก่ การแสดงบทบาทสมมุติจากข่าว การวิเคราะห์ข่าว และ อาชีพที่ใฝ่ฝัน                 เปิดรับสมัครเด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรม "อ่าน คิด สนุก เล่น" ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2566 สมัครโดยตรงได้ที่ ป้าไก่แมงมุม เบอร์มือถือ 089-729-1513 และพี่ปุ๋ย เบอร์มือถือ 085-474-5150





บทความทางวิชาการ "โบราณสถานน่าสนใจในกรุงรัตนโกสินทร์ ตึกสุริยานุวัตร ที่พำนักของนักเศรษฐศาสตร์คนแรกของเมืองไทย" โดย นายณัฐพงศ์  ศิริวัฒนพิเชษฐ์ นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี



           พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ขอเชิญเที่ยวชมตลาดอาร์ตทอยในสวน (Art Toys Market in the Garden) ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๖๖ เนื่องในเทศกาลผีนานาชาติ “พูด ผี-ปีศาจ” (Ghost Talks) วันเสาร์และอาทิตย์ที่ ๒๘ - ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พบกับกิจกรรมหลากหลาย ดังนี้            - เปิดตลาดอาร์ตทอยโดยศิลปินกลุ่มศาลาอันเต (Sala Arte)            - กาชาปองผีนานาชาติชุดพิเศษ             - พูดคุยกับนักสะสมงานผีของครูเหม เวชกร และทีมศิลปินการ์ตูนผีไทยอันเลื่องชื่อ “ป๋าโต้ด โกสุมพิสัย”            - พาชมมุมลับ ๆ ในพิพิธภัณฑ์ “เรื่องหลอนในวังหน้า” (Mystery Tour)             - มุมแลกเปลี่ยนของสะสมสำหรับแฟนคลับอาร์ตทอยและกาชาปอง            - มุมร้านชา “กระท่อมแม่มด” ให้นั่งพักขาและเขียนไปรษณียบัตรเก๋ ๆ ถึงคนที่คุณรัก ----------------------------------------------------------วันเสาร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๖  - เวลา ๑๐.๐๐ น. “เรื่องหลอนในวังหน้า” โดยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สลับกันมาเล่าเรื่องขนหัวลุกให้ฟัง - เวลา ๑๓.๐๐ น. “เรื่องหลอนในวังหน้า” (Mystery Tour) พาตามรอยขนหัวลุกในวังหน้า โดยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  - เวลา ๑๔.๐๐ น.  “รำลึกครูเหม เวชกร“ โดยคุณจุติ จันทร์คณา (มดไวตามิลค์) จากกลุ่ม MGC ---------------------------------------------------------- วันอาทิตย์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๖ - เวลา ๑๐.๐๐ น. “Prosthetic Artist“ ศิลปินไทยกับเบื้องหลังการสร้างภาพยนตร์ โดยคุณวสิษฐ สุจิตต์  - เวลา ๑๓.๐๐ น. ”เรื่องหลอนในวังหน้า“ (Mystery Tour) พาตามรอยขนหัวลุกในวังหน้า โดยเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  - เวลา ๑๔.๐๐ น.”Hobby ที่รัก“ การทำ model making ในงานของเล่นของสะสม โดยคุณวสิษฐ สุจิตต์  ----------------------------------------------------------           ผู้สนใจสามารถไปร่วมทุกกิจกรรมได้โดยไม่ต้องสำรองที่นั่งล่วงหน้า ลงทะเบียนที่หน้างาน ทั้งนี้ จะมีของที่ระลึกพิเศษสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน (เสียค่าเข้าชมตามปกติ อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ๓๐ บาท ชาวต่างชาติ ๒๐๐ บาท) 


         พัดเปรียญฆราวาส ซึ่งตามประวัติระบุเอาไว้ว่าได้รับจากพระเจริญโภคสมบูรณ์ กรมพระคลังข้างที่ ส่งมอบให้กรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔  มีลักษณะเป็นพัดหน้านาง พื้นพัดทำจากผ้าตาดสีแดง ตรงกลางปักลายด้วยดิ้นทองเป็นกลีบบัว ประดับดิ้นเลื่อมขลิบทองเป็นแนวรัศมีและกระหนกแซม ขอบพัดปักเป็นเส้นคั่นและกระหนกด้ามทำจากไม้คาดกลางทาบตับพัด ตรงกลางทำเป็นปุ่มนูนสองด้าน ยอดพัดเป็นงากลึงรูปหัวเม็ด มีงาแกะสลักลายกระหนกตรงคอพัดรองรับขอบพัดด้านล่าง ปลายเป็นสันงานช้างกลึง นับเป็นพัดพิเศษและมีขนาดเล็กกว่าพัดยศทั่วไป           สันนิษฐานว่าเป็นพัดเปรียญ ๕ ประโยค สำหรับฆราวาส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ครั้งทรงแปลหนังสือนิบาตชาดกถวาย เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗           พัดเปรียญ เป็นพัดที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแก่พระภิกษุ สามเณร สันนิษฐานว่ามีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่การแบ่งสีพัดตามลำดับชั้นนั้นเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ สีเขียว หมายถึง พัดเปรียญธรรม ๓ ประโยค สีน้ำเงิน หมายถึง พัดเปรียญธรรม ๔ ประโยค สีแดง หมายถึง พัดเปรียญธรรม ๕ ประโยค และสีเหลือง หมายถึง พัดเปรียญธรรมตั้ง ๖ ประโยคขึ้นไป           นอกจากนี้พัดเปรียญยังพระราชทานแก่ฆราวาสผู้มีความชำนาญในภาษาบาลีสันสกฤตถึงขั้นเปรียญธรรม ทั้งนี้การพระราชทานพัดเปรียญแก่ฆราวาส มีปรากฏด้วยกันถึง ๒ ครั้ง คือ           ครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพัดเปรียญ ๕ ประโยคให้แก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ผู้ได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นบัณฑิตทางอรรถคดีธรรมจารีตในพระพุทธศาสนาจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส          ส่วนครั้งที่สองเกิดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพัดเปรียญเป็นเกียรติยศให้แก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ผู้ซึ่งเถรสมาคมยกย่องว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในภาษาบาลีเทียบเท่าเปรียญธรรม ๕ ประโยค   พัดเปรียญสำหรับฆราวาสที่มีขนาดเล็กพิเศษนี้ จึงนับเป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่หาชมได้ยากยิ่ง     แหล่งที่มา ๑. ณัฏฐภัทร  จันทวิช.  ตาลปัตร พัดยศ และสมณศักดิ์.  เข้าถึงเมื่อ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖, เข้าถึงได้จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/other_sub.php?file=encyclopedia/book32.html ๒. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.  ตาลปัตร.  เข้าถึงเมื่อ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://dictionary.orst.go.th/ ๓. พระมหานิรุตตุ์ ฐิตสํวโร.  คู่มือสมณศักดิ์ พัดยศ ฉบับสมบูรณ์ (ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. ๒๕๕๒ เพิ่มเติมพัดใหม่ ๕ ตำแหน่ง) (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธงธรรม,๒๕๕๒), ๑๙๐-๑๙๓. ๔. ชินดนัย ไม้เกตุ และหฤษฎ์ แสงไพโรจน์.  พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์และประวัติชุมชนวังกรมพระสมมตอมรพันธุ์.  เข้าถึงเมื่อ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖, เข้าถึงได้จาก https://urbanally.org/article/History-of-living-old-building



#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ตุงสามหางตุง หมายถึง ธงแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา ตามความเชื่อของคนล้านนา ตุง ไม่ได้เป็นเพียงของใช้สำหรับการประดับตกแต่งหรือสื่อถึงสัญลักษณ์ความเป็นล้านนาเท่านั้น แต่ตุงยังมีความหมายและความสำคัญซ่อนอยู่ ใช้เป็นเครื่องประกอบสำคัญในงานประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ ตามความเชื่อ หรือถวายเป็นพุทธบูชา โดยมีทั้งรูปแบบที่ใช้สำหรับงานมงคล งานอวมงคล หรือใช้ได้ทั้งสองงาน . “ตุงสามหาง” มีอีกชื่อเรียกว่า ตุงฮูปคน หรือ ตุงผีต๋าย เป็นตุงแบบที่ใช้สำหรับงานอวมงคลเท่านั้น เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว โดยตุงประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. ส่วนหัว 2. ส่วนตัว ทำเหมือนแขนคน และ 3. ส่วนหาง ทำเป็น 3 ชาย รูปแบบที่พบในปัจจุบัน มีทั้งแบบที่ทำเป็นเค้าโครงรูปร่างคนอย่างชัดเจน แบบที่ทำเป็นรูปเทพนมหรือเทวดา หรือแบบที่ทำเป็นรูปเจดีย์และมีรูปโกศอยู่ภายใน โดยทุกแบบจะมีชาย 3 หางห้อยลงมา   วัสดุที่ใช้ทำจากผ้าหรือกระดาษสา ตกแต่งด้วยกระดาษเงินหรือกระดาษทอง เป็นลวดลายต่าง ๆ  สำหรับของพระภิกษุสงฆ์ ตัวตุงจะใช้ผ้าสีเหลือง หรือผ้าสบงผืนใหม่.ในอดีตช่างจะทำตุงสามหางต่อเมื่อมีคนตายแล้วเท่านั้น ไม่มีการทำเตรียมไว้ล่วงหน้า และจะทำรูปลักษณ์ของตุงตามลักษณะของผู้ตาย เช่น ผอม อ้วน สูง เตี้ย เพื่อเป็นการบอกกล่าวให้คนที่มางานศพทราบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตาย แต่ปัจจุบันไม่ได้ทำในลักษณะนี้แล้ว ใช้วิธีการเขียนแทน โดยเขียนระบุบอกชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิดและเสียชีวิตไว้บนตุง. เมื่อถึงวันเผาศพหรือเสียศพ จะมีคนแบกคันตุงสามหางพร้อมสะพายถุงข้าวด่วน เดินนำหน้าขบวนแห่ศพไปสู่สุสานหรือป่าช้า และนำไปไว้ติดกับเมรุเผาศพพร้อมเผาไปพร้อมกับศพด้วย มีความเชื่อกันว่าคนถือตุงห้ามหันหลังมองกลับมาจนกว่าจะไปถึงป่าช้า เพราะหากหันกลับมาเชื่อว่าจะมีคนตายเพิ่มอีก ในอดีตจะมีการเลือกคนที่ถือตุงนำขบวนจะต้องเป็นคนที่มีความประพฤติดี มีศีลธรรม แต่ปัจจุบันจะเป็นใครก็ได้ที่รับอาสาทำหน้าที่นี้    .ความหมายเกี่ยวกับตุงสามหางมีผู้ตีความไว้หลากหลายนัย อาทิเช่น เชื่อว่าหางตุงทั้ง 3 หางหมายถึง ที่พึ่งสูงสุดของมนุษย์คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บ้างก็เชื่อว่าหมายถึง โลกทั้ง 3 ของมนุษย์คือ สวรรค์ มนุษยโลก และนรกภูมิ บ้างก็เชื่อว่าหมายถึง อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา เป็นต้น--------------------------------------------อ้างอิง- ยุพิน เข็มมุกด์. ช่อและตุง ศิลป์แห่งศรัทธา ภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์แสงศิลป์, 2553. หน้า 142, 191-199. - คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542 หน้า 151.- ดอกรัก พยัคศรี. ตุง. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566 จาก https://www.sac.or.th/.../trad.../th/equipment-detail.php...ภาพประกอบ- ตุงสามหาง จาก ร้านส.สว่าง ตุงสามหาง จังหวัดเชียงใหม่ (ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลและอนุญาตให้ถ่ายภาพ) - ตุงสามหางรูปคน จาก งานศพในจังหวัดลำปาง (ถ่ายโดยคุณอริยธัช มูลน้อย)


          หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช ขอเชิญน้องๆ นักเรียนระดับประถมศึกษา ร่วมกิจกรรมเรียนศิลปะสำหรับเด็ก ฝึกทักษะเบื้องต้น ในหัวข้อ “ศิลปะสร้างสรรค์ จากแม่พิมพ์กระดาษ” ในวันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องศิลปะและวรรณกรรม อาคาร 2 ชั้น หอสมุดแห่งนครศรีธรรมราช            ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ "ฟรี" ไม่เสียค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด) สอบถามเพิ่มเติมได้ทาง Facebook หอสมุดแห่งชาติ นครศรีธรรมราช หรือ โทร. 0 7532 4137, 083 6361949, 081 701678




         อานม้าประดับมุก          แบบศิลปะ : รัตนโกสินทร์          ลักษณะ : เครื่องรองนั่งบนหลังม้าทำจากไม้ เป็นแท่นวงรีและแอ่นโค้งทาสีแดง เจาะช่องตรงกลางตามแนวยาวสำหรับวางผ้าบุนวม และด้านข้างเจาะช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กสำหรับผูกสายโกลน มีเชิงยื่นออกมาเป็นขามุมมนด้านละสองข้าง ติดห่วงกลมทำจากโลหะใช้คล้องสายเหาและเครื่องผูก พนักรอบนอกประดับมุก ทำจากชิ้นเปลือกมุกขนาดเล็กต่อกันปูพื้นจนเต็ม ขอบรอบนอกทำจากโลหะตีลายวงกลมเรียงต่อกัน พนักด้านหลังค่อนข้างเตี้ยตกแต่งด้วยโลหะเส้นแบนทำเป็นลวดลายก้านขด ส่วนพนักด้านหน้าสูงมีความโค้งเว้าปลายงอน ใช้คล้องวางเก็บสายบังเหียน ตกแต่งด้วยโลหะเส้นแบนผูกลายเป็นก้านขดคล้ายรูปหัวใจสองดวงหัวปลายเข้าหากัน          ความสำคัญ : อานม้าประดับมุกสำหรับขุนนาง ใช้เทคนิคการตกแต่งด้วยงานประดับมุก ทำเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กเรียงต่อกัน และทำโลหะเป็นเส้นลายก้านขดวางบนมุกอีกชั้นหนึ่ง เป็นศิลปวัตถุที่ต้องอาศัยความประณีตและความชำนาญของช่างฝีมือ โดยพระยาเพ็ชรพิชัย (ทองจีน) ทำให้แก่บุตรในงานเกียรติยศฯ คือเจ้าพระยาสุรบดินทร์ (พร จารุจินดา) เป็นบุคคลที่มีความสำคัญได้รับพระราชทานนามสกุล “จารุจินดา” ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก อุปราชมณฑลพายัพ และองคมนตรีสมัยรัชกาลที่ 6          สันนิษฐานว่าเจ้าพระยาสุรบดินทร์คงมีความเชี่ยวชาญในการบังคับม้า ได้เข้ารับราชการ พ.ศ. 2428 รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายรองฉันมหาเล็กเวรศักดิ์ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และต่อมาเมื่อพ.ศ. 2429 ได้เลื่อนเป็นจ่าห้าวยุทธการในกรมพระตำรวจขวา จากการแสดงขี่ม้ารำทวนถวายทอดพระเนตรหน้าพลับพลาในงานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาฯ36 ซึ่งคุณหญิงชอุ่ม สุรบดินทร์ได้มอบเครื่องม้าโบราณที่ใช้ในการขี่ม้ารำทวนชุดนั้นให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพร้อมกันด้วย ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ          ชนิด : ไม้ทาสีแดง โลหะ ประดับมุก          อายุ/สมัย : พุทธศตวรรษที่ 25          ประวัติ/ตำนาน : เป็นของพระยาเพ็ชรพิชัย (ทองจีน จารุจินดา) ผู้เป็นบิดาเจ้าพระยาสุรบดินทร์ (พร จารุจินดา) ทำให้แก่บุตรของท่านในงานเกียรติยศฯ ได้รับมอบจากคุณหญิงชอุ่ม สุรบดินทร์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=52876   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th


Messenger