ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง การโต้วาที เล่ม ๔
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์พระจันทร์
ปีที่พิมพ์ 2478 จำนวนหน้า 45 หน้า
หมายเหตุ หนังสือการโต้วาทีเล่ม ๔ เป็นการจัดพิมพ์บันทึกการโต้วาทีแห่งกรมศิลปากรเล่มนี้เป็นบันทึกการโต้วาทีรอบที่๓และรอบสุดท้ายเรื่องตายดีกว่าไม่ตายซึ่งมีฝ่ายนำเสนอโดยพระยาโอวาทวรกิจ นายผิว กีชานนท์ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ ๑ นายทองอ่อน ยุกตะนันท์ ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ ๒ และนายสนิท เกษธนัง ผู้สนับสนุนฝ่ายเสนอคนที่ ๓ และฝ่ายค้านนำโดย นายกี อยู่โพธิ นายกิม ทัศวปรีดา ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ ๑ นายกมล บุณยประธีป ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่ ๒ และนายประหยัด ศุกระบูล ผู้สนับสนุนฝ่ายค้านคนที่๓
ผู้แต่ง : พรพรรณ วัชราภัยโรงพิมพ์ : -ปีที่พิมพ์ : -ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.32บ.4045จบเลขหมู่ : 495.9131 พ247สป
เลขทะเบียน : นพ.บ.26/10ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 13 (138-151) ผูก 9หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.46/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 68 หน้า ; 4.6 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 28 (282-294) ผูก 5หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : ตำนานวัดพระธาตุดอยน้อย
ผู้แต่ง : อุดม อานนฺโท, พระครู
ปีที่พิมพ์ : 2537
สถานที่พิมพ์ : ม.ป.ท.
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
พรศิริ บูรณเขตต์,โฉเฉ : ความงามที่มีเหตุผล,ศิลปวัฒนธรรม.(27):3;ม.ค.2549
โฉเฉ หรือโฉงเฉง เป็นภาชนะช้อนปลา มีรูปทรงสะดุดตา มีลายสานสะดุดใจ ดูเหมือนว่าความงามจะเด่นชัดกว่าประโยชน์ใช้สอย และเหมือนว่าถ้าจะใช้สอย ก็ไม่น่าจะใช้จับปลา
โฉเฉสานจากผิวไผ่ อธิบายง่ายๆ ว่าสานคล้ายชะลอม แต่สานด้านบนเป็นคอคอดคล้ายคอขวด ที่ปากคอขวดเป็นขดไม้ซึ่งใช้หวายรัดให้แน่น หวายที่รัดนี้เมื่อโดนน้ำจะยิ่งรัดแน่น หากใช้ตอก ตอกมักจะกรอบ
โฉเฉเป็นเครื่องมือทางเลือกแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านมีเครื่องมือหลากหลายและเลือกใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม
เครื่องมืออย่างโฉเฉใช้ในช่วงหน้าแล้งหรือหน้าฝนก็ได้ แต่ต้องใช้ยามที่ปลามีปัญหาช่วงปรับตัวกับสภาพแวดล้อม กับใช้เมื่อผู้คนสร้างสถานการณ์จับปลา
ช่วงหน้าแล้งราวๆ เดือนเมษายนถึงมิถุนายน น้ำจะลดงวด หนองบึงมีหญ้ารก ชาวบ้านจะฟันหญ้าให้เป็นวงกว้างราวๆ ๖-๗ เมตร นำหญ้าขึ้นมากองตามขอบ ใช้เท้าเหยียบย่ำให้แน่น ปลาจะอยู่ภายในวงหญ้า แล้วจึงใช้โฉเฉช้อนปลา ถ้าไม่อยากก้มบ่อยๆ บางคนจะเสริมด้ามไม้ใช้สะดวกสบายขึ้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระแสงดาบ. ศิลปวัฒนธรรม. 38 ,(1) :26-27 ; พฤศจิกายน 2559.
ภายในเล่ม เป็นเรื่องเกี่ยวกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้ความสนพระทัยโบราณวัตถุเป็นอย่างยิ่ง ได้เสด็จไปทอดพระเนตรบรรดาของที่ขุดได้ ณ กองกำกับการตำรวจภูธร จังหวัดพระนครอยุธยา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ในวันนั้นมี นายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิด ท่านได้เล่าถึงเหตุการณ์ในวันดังกล่าวเกี่ยวกับเรื่องที่ชาวบ้านพากันมา เพื่อจะมาดูการทรงถอดพระแสงดาบที่ขุดได้จากวัดราชบูรณะ พระองค์ทรงรับสั่งว่า สนิมจับอย่างนั้นใครจะถอดออกฯ ต่อมา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2510 คราวเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารใหม่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระบาทสมเด็จพระ-เจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ทรงถอดพระแสงดาบโบราณออกจากฝัก และด้วยกระแสพระราชดำรัสในวันนั้น เอง กรมศิลปากรได้จัดส่งนักวิทยาศาสตร์ ไปศึกษาวิชาการสงวนรักษาโบราณวัตถุยังต่างประเทศ ก่อให้เกิด ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติงานด้านนี้อย่างดีมาถึงทุกวันนี้
ชื่อเรื่อง : พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตั้งแต่พ.ศ.2417 ถึง พ.ศ.2453)
ชื่อผู้แต่ง : จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2510
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิงปากเกร็ด
จำนวนหน้า : 338 หน้า
สาระสังเขป : พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเล่มนี้ รวบรวมมาจากพระราชดำรัสซึ่งพิมพ์อยู่ในที่ต่าง ๆ เช่น ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2417 ถึง พ.ศ.2453 มีเนื้อหาอาทิเช่น พระราชดำรัส พระราชทานพระบรมราโชวาท ในการที่องคมนตรีรับพระราชทานน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พระราชดำรัสตอบพระบรมวงศานุวงศ์ผู้แทนรัฐบาลต่างประเทศ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในการต่าง ๆ ในกระแสพระราชดำรัสไม่ว่าครั้งใดและเรื่องใด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานข้อคิด และคติธรรมไว้เพื่อให้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตอีกด้วย
ชื่อเรื่อง พระผู้ทำสงฆ์ให้งาม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) : หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดชาติภูมิสถาน ป. อ. ปยุตฺโต อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 12 มกราคม 2549ผู้แต่ง ทัศนีย์ เทพไชยประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.30922 พ349ทนสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ สหธรรมมิกปีที่พิมพ์ 2549ลักษณะวัสดุ 90 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง จดหมาย หนังสือที่ระลึกภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก “พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ ท่านเป็นผู้มีบารมีทั้งในทางธรรมและทางปัญญาเป็นเลิศไม่เฉพาะในระดับประเทศของเรา แต่ในระดับสากล” 12 มกราคม 2549 คือวันประวัติศาสตร์ที่มีพิธีเปิดชาติภูมิสถาน เป็นอาจาริยบูชาแด่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
...เมื่อความตายไม่ใช่จุดสิ้นสุดของชีวิต โลกหลังความตายจึงถือกำเนิดขึ้น ความเชื่อเรื่องชีวิต หลังความตาย นำไปสู่พิธีกรรมการทำศพ จากเรื่องของคนตายจึงกลายเป็นเรื่องของคนเป็น... ในภาคอีสานของประเทศไทยบริเวณแอ่งสกลนคร (อีสานตอนบน) จากข้อมูลการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่ามนุษย์ในอดีตมีประเพณีการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวและใส่ของอุทิศร่วมกับศพ บางครั้งพบการนำภาชนะดินเผามาทุบปูรองศพ หรือปูทับศพก่อนฝังดินกลบ หากเป็นศพเด็กจะบรรจุศพลงในภาชนะดินเผาก่อนแล้วจึงนำไปฝัง ซึ่งลักษณะการฝังแบบนี้ใช้กับศพเด็กเท่านั้น แหล่งโบราณคดีที่พบรูปแบบการฝังศพ แบบนี้ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และ แหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นต้น ส่วนพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนจนถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนล่าง (อีสานตอนล่าง) นอกเหนือจากรูปแบบการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวและการฝังศพเด็กในภาชนะดินเผา ยังพบประเพณีการฝังศพครั้งแรกและครั้งที่สองในภาชนะดินเผา รวมถึงการใส่สิ่งของลงในภาชนะร่วมกับศพเพื่อเป็น ของอุทิศให้ผู้ตาย แหล่งโบราณคดีที่พบประเพณีการฝังศพแบบนี้ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านกระเบื้องนอก อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา แหล่งโบราณคดีบ้านกระเบื้อง (โนนป่าช้าเก่า) อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งโบราณคดีบ้านคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และ แหล่งโบราณคดีดอนไร่ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น แม้ว่าพื้นที่บริเวณนี้จะพบรูปแบบการฝังศพทั้งสองแบบ แต่โดยส่วนมาก ในแหล่งโบราณคดีแต่ละแห่ง จะมีรูปแบบการฝังศพอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น ที่แหล่งโบราณคดี บ้านกระเบื้องนอก จังหวัดนครราชสีมา ก็จะพบแต่รูปแบบการฝังศพในภาชนะดินเผา หรือที่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ก็จะพบแต่รูปแบบการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาว ยกเว้นกรณีศพเด็กที่จะบรรจุศพลงในภาชนะดินเผาก่อนฝัง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพบการฝังศพทั้งสองแบบภายในแหล่งโบราณคดีเดียวกัน เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ที่มีประเพณีการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวหรือนอนตะแคงในหลุม แต่มีอยู่ศพหนึ่งเป็นผู้ใหญ่เพศชาย ถูกฝังในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ในท่านั่งมีฝาปิด มีภาชนะดินเผาขนาดเล็กและเปลือกหอยกาบเป็นของอุทิศ ซึ่งกรณีนี้อาจสันนิษฐานได้ว่ารูปแบบการฝังศพที่แตกต่างออกไปนี้ อาจเป็นคนต่างชุมชนที่มาตายต่างถิ่น หรือเป็นบุคคลที่มีการตายผิดปกติจึงมีวิธีการฝังศพที่ต่างออกไปจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งกรณีดังกล่าวพบได้ น้อยมาก ย้อนกลับไปเมื่อกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในพื้นที่ตอนกลางของแอ่งโคราช (อีสานตอนกลาง) กินเนื้อที่ประมาณ ๒.๑ ล้านไร่ บริเวณที่ผู้คนต่างรู้จักกันในชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่าง อีสานตอนบน (แอ่งสกลนคร) และอีสานตอนล่าง (บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล) ดินแดนแห่งนี้เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่ง แม้ชุมชนเหล่านี้จะตั้งกระจายห่างกันออกไป มีทั้งใกล้และไกล แต่กลุ่มคนในชุมชนเหล่านี้ล้วนมีแบบแผนในการดำรงชีวิต ความคิด ความเชื่อ ที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเรื่องพิธีกรรมความตาย ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วยสภาพภูมิประเทศ ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ทำให้วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้มีการผสมผสานรูปแบบประเพณีต่างๆเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นรูปแบบประเพณีของตนเอง ดังหลักฐานพิธีกรรมการฝังศพที่พบ โดยปรากฏลักษณะการฝังศพครั้งแรก ทั้งแบบนอนหงายเหยียดยาว และแบบฝังศพในภาชนะดินเผา (พบทั้งศพเด็กทารก เด็ก วัยรุ่น และ ผู้ใหญ่) รวมถึงยังพบการฝังศพครั้งที่สอง ทั้งแบบเก็บกระดูกมาวางรวมกัน และแบบเก็บมาใส่ในภาชนะดินเผา ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ภายในชุมชน ลักษณะเนื้อดิน การตกแต่งรูปทรง และหน้าที่การใช้งาน ก็ต่างออกไปจากวัฒนธรรมอื่น โดยเฉพาะภาชนะบรรจุศพรูปทรงต่างๆ รวมถึงการวางภาชนะบรรจุศพในแนวนอน แบบที่นิยมเรียกว่า “แคปซูล” (Capsules) ก็ถือว่าเป็นลักษณะเด่นของวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด แหล่งโบราณคดีบ้านโพนทอง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และแหล่งโบราณคดีเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น รูปแบบประเพณีการฝังศพในภาคอีสาน ที่ปรากฏในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ต่อเนื่องมายังสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น สะท้อนให้เห็นถึงระบบความคิด ความเชื่อ ของคนในสมัยนั้น เกี่ยวกับเรื่องโลกหลังความตาย จึงเป็นหน้าที่ของคนเป็นที่จะต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ และประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้วายชนม์พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในโลกหลังความตาย สุดแล้วแต่ความเชื่อและพิธีกรรมของสังคม ในวัฒนธรรมนั้นๆที่ถูกกำหนดขึ้น ภาชนะดินเผาที่เกี่ยวกับพิธีกรรมศพจึงมักมีรูปแบบพิเศษเพื่อตอบสนองความต้องการทางจิตวิทยาของผู้คนในสังคม เมื่อรูปแบบเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่จึงกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่เป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล: นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี อ้างอิงสุกัญญา เบาเนิด. โบราณคดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้. สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี : กรมศิลปากร, ๒๕๕๓. สุรพล นาถะพินธุ. รากเหง้าบรรพชนคนไทย : พัฒนาการทางวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์. สำนักพิมพ์ มติชน : กรุงเทพฯ, ๒๕๕๐. ศิลปากร, กรม. โดย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด. โบราณคดีลุ่มน้ำสงคราม ก่ำ ชีตอนล่าง มูลตอนกลาง. บริษัทเพ็ญพรินติ้งจำกัด : ขอนแก่น, ๒๕๕๗.
ชื่อเรื่อง : ธรรมาธรรมะสงคราม
ชื่อผู้แต่ง : มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ
ปีที่พิมพ์ : 2500
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์มงคลการพิมพ์
จำนวนหน้า : 52 หน้า
สาระสังเขป : ธรรมาธรรมะสงครามเล่มนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทพากย์ ตามเค้าเรื่องในธรรมะชาดกเอกาทสนิบาต กล่าวถึงธรรมเทพบุตรผู้รักษาความเป็นธรรม ซึ่งทุกวันพระจะเสด็จมาตักเตือนชาวโลกให้ทำความดี ประพฤติกุศลกรรมบท 10 ประการ และฝ่ายอธรรมเทพบุตร ผู้ประพฤติชั่วคอยสอนให้ประชาชนทำชั่ว ประพฤติอกุศลกรรม วันหนึ่งเทพบุตร ทั้งสองพร้อมด้วยมบริวารมาพบกันกลางอากาศต่างฝ่าย ต่างไม่ยอมหลีกทาง อธรรมเทพบุตรถือว่ามีฤทธิ์และกำลังมากกว่าเลยเข้าโจมตีก่อน ธรรมเทพบุตรสู้ไม่ไหวจะเสียท่า แต่อธรรมเทพบุตรเกิดหน้ามืดพลัดจากรถ เมื่อถึงพื้นก็ถูกธรณีสูบ ธรรมเทพบุตรจึงเป็นฝ่ายชนะและทรงสั่งสอนประชาชนที่มาชมบารมีให้เห็นว่าธรรมและอธรรมให้ผลไม่เสมอกัน ธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ
ปราสาทกู่กาสิงห์ ตั้งอยู่ภายในวัดบูรพากู่กาสิงห์ บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ หน้า ๓๖๙๖ วันที่ ๘ มีนาคม ๒๔๗๘ และประกาศขอบเขตพื้นที่โบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา ๑๑๖ ตอนพิเศษ ๑๗ ง หน้า ๑๕ วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๒ มีพื้นที่ประมาณ ๑๒ ไร่ ๒ งาน ๓๐.๕๖ ตารางวา ชื่อ “กู่กาสิงห์” สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “กู่” ที่ชาวบ้านใช้เรียกโบราณสถานขอมที่มีลักษณะคล้ายสถูปหรือเจดีย์ ส่วนคำว่า “กา” อาจหมายถึง อีกา ซึ่งในอดีตบริเวณนี้มีอีกาอยู่จำนวนมาก ตามที่คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่าตอนเย็นมักจะมีอีกาจำนวนมาก พากันมานอนที่หนองน้ำเรียกว่า หนองกานอน ส่วนคำว่า “สิงห์” อาจมาจากประติมากรรมรูปสิงห์ ๒ ตัว ที่เคยตั้งอยู่หน้าประตูทางเข้า ซึ่งประติมากรรมรูปสิงห์ถูกขโมยไป ในช่วง พ.ศ.๒๕๐๓ แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกปราสาทแห่งนี้ว่า “กู่กาสิงห์” สืบมาจนปัจจุบัน ปราสาทกู่กาสิงห์ ลักษณะเป็นปราสาทอิฐสามหลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน สร้างหันหน้าไป ทางทิศตะวันออก มีผังการก่อสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๓๕ × ๕๐ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบปราสาทประธานทั้ง ๔ ด้าน ตั้งอยู่ในแนวแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก ประกอบด้วยกลุ่มปราสาทประธาน ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน ปราสาทประธานอยู่ตรงกลางมีมุขกระสันเชื่อมกับมณฑป มีประตูและบันไดทางขึ้นทางด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว อีกสามด้านทำเป็นประตูหลอก ถัดเข้าไปเป็นห้องครรภคฤหะ มีประติมากรรมโคนนทิ ตั้งอยู่ด้านหน้าปราสาทประธานองค์กลาง ส่วนปราสาทด้านทิศเหนือและทิศใต้ เป็นเพียงห้องครรภคฤหะสำหรับประดิษฐานประติมากรรมรูปเคารพสำหรับประกอบพิธีกรรม มีบรรณาลัยตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นอาคาร รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันตกทั้ง ๒ หลัง และมีโคปุระ (ซุ้มประตู) ทั้ง ๔ ด้าน ก่อด้วยศิลาแลงผสมอิฐ แต่สามารถใช้เข้าออกได้แค่ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศตะวันตก จากการขุดแต่งปราสาทกู่กาสิงห์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญจำนวนมาก เช่น ประติมากรรมพระคเณศ เศียรประติมากรรม ศิวลึงค์หินทราย แผ่นทองคำรูปดอกบัว ๘ กลีบ เครื่องประดับทองคำรูปนาค ๕ เศียร และ ชิ้นส่วนคานหามสำริดรูปนาค ๓ เศียร จากหลักฐานที่พบสามารถสันนิษฐานได้ว่าปราสาทกู่กาสิงห์ถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ โดยกำหนดอายุจากรูปแบบการวางผังอาคาร ที่มีลักษณะคล้ายกับปราสาทบาปวน รวมถึงความสอดคล้องของหลักฐานที่พบจากการขุดแต่งโบราณสถานที่มีรูปแบบศิลปะร่วมสมัยกับตัวโบราณสถาน ได้แก่ ทับหลัง และเสาประดับกรอบประตู จึงสันนิษฐานว่า ปราสาทกู่กาสิงห์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในลัทธิไศวนิกาย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ และโบราณสถานแห่งนี้ได้ใช้งานเรื่อยมาจนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ (ศิลปะนครวัด – บายน) เนื่องจากพบหลักฐานเป็นเครื่องเคลือบเขมร และชิ้นส่วนยอดคานหามรูปเศียรพญานาคศิลปะเขมรแบบนครวัด นอกจากนี้ ปราสาทกู่กาสิงห์ น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับโบราณสถานอีก ๒ แห่ง ที่อยู่ใกล้เคียงกัน คือ กู่โพนวิจ (อายุสมัยราว พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ศิลปะคลัง – บาปวน) และกู่โพนระฆัง (อายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สมัยบายน) ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สันนิษฐานว่ามีการรื้อศิลาแลงจากปราสาทกู่กาสิงห์ มาใช้ก่อสร้างกู่โพนระฆัง เพื่อเป็นอโรคยศาล แสดงให้เห็นถึงการหมดความสำคัญของลัทธิไศวนิกายในชุมชนแห่งนี้ และหันมานับถือพุทธศาสนานิกายมหายานแทน ----------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ----------------------------------------อ้างอิงจาก ศิลปากร, กรม. โดย หน่วยศิลปากรที่ ๖. รายงานการขุดแต่งและค้ำยันโบราณสถานกู่กาสิงห์ บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. ม.ป.ท. : ม.ป.ป., ๒๕๓๓. (อัดสำเนา) ศิลปากร, กรม. โดย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด. ทำเนียบโบราณสถานขึ้นทะเบียนสำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด (พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๕๔๕). ขอนแก่น : บริษัทเพ็ญพรินติ้งจำกัด, ๒๕๕๖.
ชื่อผู้แต่ง : วิจิตรธรรมปริวัตร, พระยา
ชื่อเรื่อง : พุทธภาษิตฉบับหอสมุดแห่งชาติ
ปีที่พิมพ์ : 2468
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์ : บรรณกิจ
จำนวนหน้า 152 หน้า
หนังสือพุทธภาษิตฉบับหอสมุดแห่งชาติ เล่มนี้ พระยาวิจิตรธรรมปริวัตร, พระยา แต่งขึ้นเพื่อจะได้เป็นหนังสือที่ระลึกในโอกาสต่างๆ หรืออีกนัยหนึ่งเขียนเพื่อเตรียมไว้สำหรับใช้ในงานศพของตัวเองนั้นเอง การแต่งเป็นโครงภาษิตนุสรณ์