ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,523 รายการ
เสมา หรือที่มีนักวิชาการบางท่านเรียกว่า “สีมา”ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ หมายถึง เขตกำหนดความพร้อมเพรียงของสงฆ์ หรือเขตชุมนุมของสงฆ์ หรือเขตที่สงฆ์ตกลงไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่อยู่ภายในเขตนั้นจะต้องทำสังฆกรรมร่วมกัน เสมา แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ ๑. พัทธสีมา แปลว่า แดนที่ผูก ได้แก่เขตที่พระสงฆ์กำหนดขึ้นเอง ๒. อพัทธสีมา แปลว่า แดนที่ไม่ได้ผูก ได้แก่เขตที่ทางราชการกำหนดไว้ หรือเขตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเป็นเครื่องกำหนด และสงฆ์ถือเอาตามเขตที่กำหนดนั้น ไม่ได้ ทำหรือผูกขึ้นใหม่ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการกำหนดเขตที่ชัดเจนเป็นสัญลักษณ์ระวังไม่ให้ก้าวล่วงเข้าไปในเขต คัมภีร์อรรถกถาได้กล่าวถึงสิ่งหรือวัตถุ ซึ่งควรใช้เป็นตัวแสดงเขต ๘ ชนิด คือ ภูเขา, ศิลา, ป่าไม้, ต้นไม้, จอมปลวก, หนทาง, แม่น้ำ, และน้ำ ความสำคัญของการมีเสมานี้ เนื่องจากพระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดให้พระภิกษุต้องทำ อุโบสถ ปวารณา และสังฆกรรมร่วมกัน โดยเฉพาะการสวดปาฏิโมกข์ ซึ่งต้องสวดพร้อมกันเดือนละ ๒ ครั้ง จึงเกิดหลักแดนในการที่สงฆ์จะร่วมกันกระทำสังฆกรรม โดยมีหลักบ่งชี้คือ ใบเสมา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ได้เก็บรักษาใบเสมาหินทราย พบที่วัดประเดิม ตำบลตากแดด อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เป็นใบเสมาที่มีรูปแบบศิลปะในสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๓) จากการค้นพบใบเสมาแสดงว่าในสมัยอยุธยาภายในวัดประเดิมมีสถาปัตยกรรม คือ อุโบสถ และอาจจะมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ด้วย แต่สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นอาจจะพังหรือถูกรื้อถอนไปแล้ว และได้ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆ ในวัดประเดิมและบริเวณใกล้เคียง เช่น เศียรพระพุทธรูป, ชิ้นส่วนพระหัตถ์ของพระพุทธรูป, และแนวกำแพงวัด เป็นต้น ชุมชนวัดประเดิมจึงเป็นชุมชนโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอย่างน้อย -------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร -------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง - กรมศิลปากร. วิวัฒนาการพุทธสถานไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๓๓. - สมคิด จิระทัศนกุล. รู้เรื่อง วัด วิหาร โบสถ์ เจดีย์ พุทธสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, ๒๕๕๕. - วิสันธนี โพธิสุนธร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. - ระบบทะเบียนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร
ชื่อผู้แต่ง : ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5
ชื่อเรื่อง : ประชุมพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์ในงานศพพระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า
พวงสร้อยอางค์
ปีที่พิมพ์ : 2493
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
โรงพิมพ์ : ท่าพระจันทร์
จำนวนหน้า 42 หน้า
ในงานพระเมรุ ท้องสนามหลวง ใช้ได้กับทุกคนทุกหมู่คณะไม่เว้นแต่คณะสงฆ์ ให้รู้จักทำความเคาระต่อผู้ที่ตนควรเคารพโดยอาศัยระเบียบและธรรมเนียม และอาศัยระเบียบแบบแผนของคณะสงฆ์เป็นหลักวิชา ลำดับชั้นตั้งแต่เจ้าอาวาสขึ้นไป และครูผู้สอน ระเบียบแห่งการแสดงความเคารพเรียกว่าการขอขมา ขออัจจโยโทษ และขอให้ใช้ระเบียบนี้อบรมอย่างน้อยปี ละสองครั้งคือต้นเข้าพรรษา และปลายพรรษา
องค์ความรู้ เรื่อง สนามบินประจำจังหวัดร้อยเอ็ดและการเดินอากาศไปรษณีย์ จัดทำข้อมูลโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด
กู่โพนระฆัง ตั้งอยู่บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๔๐๐ เมตร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗๒ หน้า ๒๖ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน ๑๗ ตารางวา กู่โพนระฆัง สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยปราสาทประธาน ฐานก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานเขียง ๕ ชั้น มีบันไดทางขึ้น ๔ ด้าน เรือนธาตุก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ก่อมุขยื่นออกมาด้านหน้าและเจาะช่องหน้าต่างที่ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ ด้านหน้าปราสาทประธานมีชาลา (ทางเดิน) เชื่อมกับโคปุระ (ซุ้มประตู) อยู่กึ่งกลางแนวกำแพงทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายมีผังเป็นรูปกากบาท มีห้องมุขด้านทิศตะวันออก มีบรรณาลัยตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันตก โดยรอบก่อกำแพงแก้วด้วยศิลาแลงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน และมีสระน้ำกรุขอบสระด้วยศิลาแลง อยู่ด้านนอกของกำแพงแก้วทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากหลักฐานจารึกปราสาทตาพรหม ได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดฯให้สร้าง “อโรคยาศาล” หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ตามเส้นทางจากเมืองพระนครไปยังหัวเมืองต่างๆ จำนวน ๑๐๒ แห่ง ซึ่งในประเทศไทยพบอโรคยาศาลจำนวนหลายแห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรศิลปะแบบบายน (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘) จากลักษณะแผนผังของกู่โพนระฆัง แสดงให้เห็นว่าเป็นหนึ่งในอโรคยาศาลที่ถูกกล่าวถึงในจารึกปราสาท ตาพรหม เพราะแผนผังและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอโรคยาศาลจะเป็นแบบแผนเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อยบางอย่าง เช่น ขนาดของอาคาร การเจาะช่องหน้าต่าง และการทำมุขปราสาทประธาน เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่าโบราณสถานประเภทนี้สร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน โดยช่างฝีมือในท้องถิ่น กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นขุดแต่งกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ บูรณะสระน้ำของกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๔๗ และบูรณะกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ จากการขุดศึกษาทางโบราณคดี สันนิษฐานว่าราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ชุมชนที่อยู่บริเวณบ้านกู่กาสิงห์ในขณะนั้น ได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบมหายานแทนศาสนาฮินดู ตามแบบอย่างราชสำนักในเมือง พระนคร ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ทรงโปรดฯให้สร้างอโรคยาศาล ตามชุมชนในเขตการปกครองของพระองค์ ------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี------------------------------------------อ้างอิงจาก ศิลปากร, กรม. โดย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด. รายงานการบูรณะกู่โพนระฆัง ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑. ปุราณรักษ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ๒๕๕๑. ศิลปากร, กรม. โดย สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี. รายงานการขุดค้น-ขุดแต่งเพื่อการออกแบบบูรณะโบราณสถานกู่โพนระฆัง บ.กู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด. ม.ป.ท. : ม.ป.ป., ๒๕๔๕. (อัดสำเนา)
ต่าง คือภาชนะสำหรับบรรทุกสิ่งของ มีคานพาดไว้บนหลังสัตว์ เช่น วัว ม้า ลา มักสานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ เป็นรูปทรงกระบอกมีหูสำหรับสอดคานพาดบนหลังสัตว์ เรียกชื่อตามชนิดของสัตว์ที่ใช้บรรทุกสิ่งของ เช่น วัวต่าง ม้าต่าง ลาต่าง จากลักษณะภูมิประเทศแถบดินแดนล้านนาที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบหุบเขาขนาดเล็กซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนที่กระจายตัวกันอยู่ห่างๆ แม่น้ำส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำที่มีน้ำไหลเชี่ยวและมีเกาะแก่งจำนวนมาก ไม่สะดวกในการใช้ติดต่อสัญจรระหว่างชุมชน การเดินทางของผู้คนในดินแดนล้านนาในอดีตจึงใช้การเดินเท้าเป็นหลัก ส่วนการลำเลียงสิ่งของในการเดินทางนั้นนิยมใช้สัตว์ต่างบรรทุกสิ่งของ เนื่องจากสามารถเดินบนทางแคบๆ ทุรกันดารและปีนป่ายภูเขาได้สะดวกกว่าการใช้เกวียน อีกทั้งในอดีตไม่มีถนนเชื่อมต่อระหว่างเมือง การใช้สัตว์ต่างบรรทุกของทำให้สามารถลำเลียงสิ่งของได้มากกว่าการใช้แรงงานคน โดยชาวล้านนาและชาวไทใหญ่นิยมใช้วัวเป็นสัตว์พาหนะในการลำเลียงสิ่งของ ในขณะที่ชาวจีนฮ่อนิยมใช้ม้าและล่อในการบรรทุกสิ่งของ การบรรทุกสิ่งของโดยใช้วัวต่างนี้ เดิมน่าจะใช้เพื่อการขนสิ่งของในการเดินทางมากกว่าเพื่อการค้า เนื่องจากในอดีตผู้ที่ทำการค้าขายส่วนใหญ่เป็นเจ้านาย ขุนนาง หรือกลุ่มคนที่ได้รับสิทธิพิเศษจากรัฐ สำหรับประชาชนทั่วไปมีการค้าขายไม่มากนักเนื่องจากวิถีชีวิตในอดีตเป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเองมากกว่าการผลิตเพื่อการค้า โดยสินค้าที่มีการซื้อขายในอดีตจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ประเภท เช่น เกลือ ปลาแห้ง เครื่องใช้ที่ทำจากโลหะ เมี่ยง จนกระทั่งกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ เป็นต้นมาจึงเริ่มมีการนำสินค้าอื่นๆ ที่ผลิตจากโรงงาน เช่น ผ้า ด้าย ไม้ขีดไฟ เทียนไข น้ำมันก๊าด เป็นต้น มาขายตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกล โดยพ่อค้าจะนำสินค้าจากท้องถิ่น เช่น ผลไม้ ของป่า น้ำผึ้ง น้ำมันยาง ขี้ครั่ง หนังสัตว์ มาขายแล้วซื้อสินค้าสำเร็จรูปกลับไปขายในหมู่บ้านที่เดินทางผ่าน สำหรับเมืองน่านพ่อค้านิยมเดินทางไปซื้อสินค้าที่ท่าอิฐ ท่าเสา จ.อุตรดิตถ์ โดยท่าอิฐนี้เป็นที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีพ่อค้านำมาจากที่ต่างๆ เช่นจากมะละแหม่ง รวมถึงสินค้าจากเรือที่ล่องขึ้นมาตามลำน้ำน่าน กับสินค้าที่พ่อค้าวัวต่างนำมาจากหมู่บ้านต่างๆ หลังจากปีพ.ศ.๒๔๕๗ เป็นต้นมา ได้เริ่มมีการสร้างได้เริ่มมีการสร้างทางเกวียนซึ่งภายหลังได้ขยายเป็นทางรถยนต์เชื่อมพื้นที่ระหว่างจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ ส่งผลให้การใช้วัวต่างในการขนส่งสินค้าค่อยๆ น้อยลงจนกระทั่งหมดไปในที่สุดเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมได้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ---------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน---------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง: พจนานุกรมหัตถกรรม เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน : รศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ สนพ.เมืองโบราณ รายงานการวิจัยเรื่องพ่อค้าวัวต่าง : ชูสิทธิ์ ชูชาติ ศูนย์ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น, ๒๕๔๕
ปี้ คือสิ่งที่ใช้แทนเงินตราในบ่อนเบี้ย ทำจากวัสดุต่าง ๆ เช่น กระเบื้อง ทองเหลือง แก้ว มีรูปร่างและลวดลายหลากหลายแบบ กล่าวกันว่ามีมากกว่า ๕,๐๐๐ แบบ ในช่วงปีพ.ศ. ๒๓๑๖ สยามประสบปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก ประชาชนได้นำปี้มาใช้แทนเงินปลีก จนกระทั่งในปีพ.ศ.๒๔๑๗ ทางการได้พิมพ์อัฐกระดาษขึ้นใช้แทนเป็นการแก้ปัญหาชั่วคราว บ่อนเบี้ย เป็นสถานที่สำหรับเล่นถั่วโป ไม่แน่ชัดว่าเริ่มมีในไทยเมื่อใด สันนิษฐานว่าเริ่มมีในชุมชนที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก เนื่องจากเป็นการพนันประเภทที่ชาวจีนในอดีตนิยมเล่น การเล่นถั่วโปนั้นสามารถเล่นได้เฉพาะผู้ที่รัฐอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องเสียเงินเข้าท้องพระคลัง จึงเกิดขึ้นเป็นอากรบ่อนเบี้ยขึ้น ในสมัยอยุธยากำหนดให้สามารถเล่นถั่วโปได้เฉพาะชาวจีนเท่านั้น พบว่ามีการขอตั้งบ่อนเบี้ยขึ้นในพื้นที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาก ต่อมาในสมัยธนบุรีจึงอนุญาตให้คนไทสามารถเล่นถั่วโปได้ อาจเนื่องจากว่าเป็นช่วงศึกสงครามจึงผ่อนปรนให้ไพร่พลได้เล่นเพื่อผ่อนคลาย และอนุญาตให้เล่นต่อมาเรื่อย ๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีรายได้จากอากรบ่อนเบี้ยเพิ่มขึ้น มีการแบ่งแขวงอากรบ่อนเบี้ย โดยบ่อนเบี้ยได้แพร่หลายออกไปตามหัวเมืองมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๓ การค้าเจริญขึ้นมีการจัดระเบียบภาษีอากรต่าง ๆ และมีการตั้งอากรหวยเพิ่มขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการตั้งอากรการพนันขึ้นโดยกำหนดประเภทการพนันที่จะต้องเสียภาษีให้แก่อากรบ่อนเบี้ย ในช่วงรัชกาลที่ ๔ จึงมีรายได้จากการจัดเก็บอากรบ่อนเบี้ยในแต่ละปีเพิ่มขึ้น จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้โปรดให้ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นต้นมา โดยค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนเบี้ยลงเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ โปรดให้เลิกบ่อนเบี้ยที่อยู่ตามหัวเมืองทั้งหมดทุกมณฑล และค่อย ๆ ลดจำนวนบ่อนที่เหลือในกรุงเทพฯ ลง ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้เลิกหวยและบ่อนเบี้ยทั้งหมด และทรงตั้งพระราชบัญญัติห้ามเล่นหวยเล่นถั่วโปในพระราชอาณาจักรโดยมีพระราชประสงค์ให้ไพร่บ้านพลเมืองได้มีเงินไว้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพให้เป็นประโยชน์แก่ตน สำหรับการตั้งนายอากรบ่อนเบี้ยนั้น รัฐเป็นผู้กำหนดแขวงสำหรับทำอากร ในช่วงสิ้นปีผู้ที่ประสงค์จะเป็นนายอากรจะต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าพนักงานพระคลังมหาสมบัติว่าจะขอผูกอากรในพื้นที่แขวงใด หากแขวงนั้นมีผู้ยื่นหลายรายจะมีการประมูล ผู้ที่ประมูลได้ต้องมีผู้รับรองจากนั้นต้องส่งเงินงวดล่วงหน้า ๒ เดือน หากสิ้นปีไม่มีผู้ใดประมูลต่อนายอากรคนเดิมก็จะได้ทำต่อไป ในการเปิดบ่อนเบี้ยนายอากรได้ผลิตปี้ขึ้นใช้แทนเงินปลีก ในระยะแรกปี้ผลิตขึ้นจากโลหะหรือแก้ว ต่อมาจึงเริ่มใช้ปี้ที่ผลิตจากกระเบื้องเคลือบซึ่งสั่งผลิตจากจีน โดยนายอากรแต่ละคนใช้ปี้ที่มีลวดลายต่างกันไป แต่กำหนดมูลค่าปี้เป็นมาตรฐานที่ราคาปี้ละ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง และ ๒ ไพ เวลาคนเข้าไปเล่นเบี้ยจะต้องนำเงินไปแลกปี้ เมื่อเล่นเสร็จจึงนำเงินที่มีอยู่ไปแลกเป็นเงินกลับไป แต่บางครั้งผู้เล่นยังไม่นำปี้ไปแลกเป็นเงิน เนื่องจากเชื่อว่าจะนำมาแลกเป็นเงินเมื่อไหร่ก็ได้ จึงเริ่มมีการชำระหนี้หรือซื้อสินค้าโดยใช้ปี้แทนเงินตรา เมื่อมีการเปลี่ยนนายอากรหรือมีผู้ทำปี้ปลอมขึ้นนายอากรสามารถยกเลิกปี้แบบเดิม โดยประกาศว่าจะยกเลิกปี้แบบเดิมให้ผู้ที่มีปี้แบบเดิมนำปี้มาแลกเงินคืนในระยะเวลาที่กำหนด นายอากรจึงมักได้กำไรจากปี้ที่ไม่มีผู้นำกลับมาแลกอีกด้วย ------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน https://www.facebook.com/NanNationalMuseum1987/photos/a.1180075428787896/3115307448598008/------------------------------------------------เอกสารประกอบ เบี้ย บาท กษาปณ์ แบงค์ : นวรัตน์ เลขะกุล สนพ.สารคดี, ๒๕๔๗ ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑๗ ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ ตอน ๓๖ ประกาศวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๔๓๐ หน้า ๒๘๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ ตอน ๓๗ ประกาศวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๓๑ หน้า ๓๑๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๓๘ ประกาศวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๒ หน้า ๓๓๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖ ตอน ๕๐ ประกาศวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๓๒ หน้า ๔๓๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๘ ตอน ๔๐ ประกาศวันที่ ๓ มกราคม ๒๔๓๘ หน้า ๓๖๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐ ตอน ๘ ประกาศวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๓๖ หน้า ๙๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๕ ตอน ๑๒ ประกาศวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๔๑ หน้า ๑๒๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๑ ตอน ๔๘ ประกาศวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๗ หน้า ๘๗๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๖ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๒ หน้า ๒๔๙๕ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๘ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๔๕๔ หน้า ๒๗๓๓ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๐ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๖ หน้า ๒๘๐๗ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๑ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ หน้า ๒๗๙๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๒ ตอน ๐ง ประกาศวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๔๕๘ หน้า ๓๑๐๖ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๔ ตอน ๐ก ประกาศวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๖๐ หน้า ๔
ชื่อผู้แต่ง บุณยมานพพาณิชย์
ชื่อเรื่อง อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงบุณยมานพพาณิชย์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ไทยพณิชยการ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๘
จำนวนหน้า ๒๔๔ หน้า
หมายเหตุ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงบุณยมานพพาณิชย์ ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม พระนคร วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๘
หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงบุณยมานพพาณิชย์ เล่มนี้ ได้นำผลงานการประพันธ์และการกวีของผู้วายชนม์ที่มีอยู่มากมาย รวบรวมเอาไว้ในหนังสือเล่มนี้ ได้แก่เรื่อง แบบของกริยา ฝ่ายสูง ดงลำไย เป็นต้น
เลขทะเบียน : นพ.บ.114/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 32 หน้า ; 4.5 x 53 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 64 (197-203) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : สตฺตปกรณาภิธมฺม (ธมฺมสงฺคิณี-มหาปฎฺฺฐาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.146/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4.7 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 89 (373-376) ผูก 3 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.98/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 57 (140-153) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : ปรมตฺถมญฺชุสาอภิธมฺมตฺถสงฺคหนวฎีกาปรมัตถมัญชุสาร-อนุฎีกาอภิธัมมัตถสัคหะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม