ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
“คิรีธาร” ชื่อพระราชทาน รัชกาลที่ 9
ผู้เขียน เขียนบทความนี้ด้วยความเป็นห่วงในความผิดเพี้ยนของชื่อสถานที่สำคัญในจังหวัดจันทบุรี นามว่า “คิรีธาร” ที่ปัจจุบันเริ่มผิดเพี้ยนไปจากเดิม ซึ่งผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาตำหนิในภาคส่วนใด หากมีการแก้ไขได้ก็จะเป็นเรื่องที่ส่งประโยชน์ต่อสังคมอย่างยิ่ง ในปัจจุบันพบว่าผู้คนโดยส่วนมากต่างเข้าใจผิดว่าชื่อ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ “เขื่อนคิรีธาร” เป็น “คีรีธาร” เหตุอาจเกิดจากการสะกดคำที่ใกล้เคียงกัน และอาจไปพ้องเสียงกับรีสอร์ทชื่อดังในเขาใหญ่ ทำให้ปัจจุบันพบว่า ตั้งแต่ป้ายบอกทาง ป้ายงานก่อสร้าง ชื่อรีสอร์ทที่พัก อาคารร้านค้า ข้อมูลในเว็บไซด์ท่องเที่ยวต่างๆ หรือแม้แต่ Google Map ก็ต่างสะกดคำด้วย “คีรีธาร” เป็นส่วนมาก หากปล่อยนานไปและไม่สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องก็อาจส่งผลให้ชื่อพระราชทานนี้ผิดเพี้ยนไปตลอดกาลยากที่จะกลับมาแก้ไข
โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนคิรีธาร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเขื่อนสะพานหิน ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2529 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯมาทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2531 และได้ทรงพระราชทานชื่อว่า “โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนคิรีธาร” เป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กที่ให้ประโยชน์ทางด้านการผลิตไฟฟ้าเป็นสำคัญ สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เฉลี่ยปีละ 27 ล้านกิโลวัตต์
ผู้เขียน
นายอดิศร สุพรธรรม
นักจดหมายเหตุชำนาญการ
องค์ความรู้จาก งานอนุรักษ์เอกสารของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
ในสัปดาห์นี้ ขอเสนอบทความภาคต่อ เรื่อง การอนุรักษ์เอกสาร : การซ่อมเอกสาร ตอนที่ ๒ วิธีการซ่อมเอกสาร มีเนื้อหากล่าวถึง วิธีการซ่อมเอกสาร การเสริมความเเข็งแรงของเอกสาร การใช้เเท่นอัดเอกสารเพื่อเพิ่มความเรียบ สามารถอ่านได้ในแผ่นภาพ ดังต่อไปนี้
เรียบเรียงโดย : นางภารดี สุภากาญจน์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ กราฟิกและตรวจทาน : โดยนายวีรวัฒน์ เหลาธนู นักจดหมายเหตุปฏิบัติการภาพประกอบ : ภาพโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุต้นฉบับ จัดโดย หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๙ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา
ขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก
1. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา
2. ภาพเจ้าหน้าที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง (ถ่ายโดยนายวีรวัฒน์ เหลาธนู นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หจช. สงขลา ขณะประชุมคณะกรรมการติดตามประเมินงานกองทุนส่งเสริมงาน
จดหมายเหตุ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ตรัง )
กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร ร่วมกับจังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” โดยนำเครื่องเคลือบเซรามิกจากพิพิธภัณฑสถานเซรามิกแห่งคิวชู จำนวน ๘๒ รายการ ๙๗ ชิ้น มาจัดนิทรรศการพิเศษร่วมกับเครื่องปั้นดินเผาไทย จำนวน ๙๐ รายการ เปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันพุธ – อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ปิดวันจันทร์ – อังคาร
ภายในงานนิทรรศการฯ ยังมีตู้กาชาปอง Gachapon เครื่องหยอดเหรียญชนิดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะเด่นเป็นแคปซูลรูปทรงไข่ ภายในบรรจุของโมเดลของเล่นชิ้นเล็ก โดยผู้ร่วมเข้าชมนิทรรศการจะได้ร่วมสนุกลุ้นกาชาปอง ที่ภายในบรรจุเครื่องปั้นดินเผาขนาดเล็กหลากหลายแบบ เพียงหยอดเหรียญครั้งละ ๔๐ บาท จะได้รับ ๑ ชิ้น ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ลุ้นรับกาชาปองรุ่นพิเศษ มี ๓ แบบ สัปดาห์ละ ๒๐ ตัว เท่านั้น ขอเชิญชวนผู้สนใจไปชมนิทรรศการ“เซรามิกแห่งแหลมทองและแดนอาทิตย์อุทัย: สานตำนานสายใยไม่เสื่อมคลายในพาณิชยวัฒนธรรมโลก” และร่วมสะสมกาชาปองรุ่นพิเศษนี้ได้จนถึงวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๕
เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๖ กระทรวงวัฒนธรรม ได้จัดกิจกรรม “ส่งสุขวิถีใหม่ สืบสานวิถีไทย ปลอดภัยสร้างสรรค์” เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน โดยกรมศิลปากร ร่วมจัดกิจกรรม ณ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม สังกัดกรมศิลปากรทั่วประเทศ ดังนี้
๑. อุทยานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ เปิดให้เข้าชมโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชม ระหว่างวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๖ โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญออกให้พุทธศาสนิกชนได้สักการะเพื่อความป็นสิริมงคล นอกจากนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังถือฤกษ์ดีเปิดให้เข้าชมการจัดแสดงนิทรรศการภายในอาคารเครื่องทองอยุธยา ซึ่งเป็นส่วนจัดแสดงใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ๒. กิจกรรมสักการะพระพุทธรูปประจำวัน “มงคลพุทธคุณ” เนื่องในเทศกาลปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๖ กรมศิลปากร โดยสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้จัดกิจกรรมพิเศษสักการะพระพุทธรูปประจำวัน โดยมีพระพุทธสิหิงค์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นพระประธาน พร้อมด้วยพระพุทธรูปประจำวันอีก ๙ องค์ ซึ่งล้วนมีประวัติความเป็นมายาวนาน และกอปรด้วยพุทธศิลป์อันงดงาม มาประดิษฐานให้ประชาชนสักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมคลในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ประกอบด้วย พระพุทธรูปปางถวายเนตร พระพุทธรูปประจำวันอาทิตย์ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร พระพุทธรูปประจำวันจันทร์ พระพุทธรูปไสยาสน์ พระพุทธรูปประจำวันอังคาร พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระพุทธรูปประจำวันพุธ พระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ พระพุทธรูปประจำวันพุธ กลางคืน (พระพุทธรูปบูชาแทนพระราหู) พระพุทธสิหิงค์จำลอง (ปางสมาธิ) พระพุทธรูปประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปปางรำพึง พระพุทธรูปประจำวันศุกร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก พระพุทธรูปประจำวันเสาร์ พระหายโศก ปางสมาธิเพชร (พระพุทธรูปบูชาแทนพระเกตุ) จึงขอเชิญพุทธศาสนิกชนสักการะพระพุทธรูปประจำวัน “มงคลพุทธคุณ” ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
๓. การแสดงรายการ “นาฏกรรมสุขศรี สุนทรีย์ปีใหม่” สำนักการสังคีต ขอเชิญชมการแสดงชักนาคดึกดำบรรพ์ และการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ชุด “สุครีพสุริโยโอรส” ณ สังคีตศาลา เวทีกลางแจ้ง บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๗.๓๐ - ๑๙.๓๐ น. โดยไม่เก็บค่าเข้าชม
๔. ชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ (Night at the Museum) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เปิดให้เข้าชมความงามของอาคารโบราณสถาน พระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสมนต์เสน่ห์สถาปัตยกรรมวังหน้า และความเป็นมาแห่งอารยธรรมไทยในช่วงเวลาค่ำ โดยจะมีการนำชมรอบพิเศษ "สวัสดีปีใหม่ นบพระไหว้ (เทพ) เจ้า" ตามเส้นทางทักษิณาวรรต กิจกรรมปีใหม่ให้หนังสือ โดยศูนย์หนังสือกรมศิลปากร นำหนังสือที่จัดพิมพ์โดยหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรมาจำหน่ายในราคาพิเศษ และจำหน่ายสมุดภาพมรดกศิลปวัฒนธรรม พุทธศักราช ๒๕๖๖ “ภูมิบริรักษ์ : ครุฑ • ยักษ์ • นาค” เพื่อให้เลือกสรรเป็นของขวัญปีใหม่ ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าเข้าชม ระหว่างวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๖.๐๐ - ๑๙.๓๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นอกจากนี้ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ยังจัดการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ศุภวารดิถี ปีใหม่สุขสราญ” ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. พร้อมทั้งจัดนิทรรศการ เรื่อง ศุภฤกษ์เบิกชัย สวัสดีปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๕ – ๒๒ เมษายน ๒๕๖๖ ณ ห้องวชิรญาณ ๒ - ๓ อาคาร ๒ สำนักหอสมุดแห่งชาติ เนื้อหาประกอบด้วย พิธีกรรมและประเพณีอันเกี่ยวเนื่องกับการขึ้นปีใหม่ และแนวปฏิบัติทางศาสนาที่เกี่ยวกับการขึ้นปีใหม่ ตลอดจนคำอวยพรและบัตรอวยพรต่าง ๆ และ นิทรรศการ เรื่อง “ร.ศ.๒๔๒ ชมตู้ลายทองสืบสานงานศิลป์” เผยแพร่ความรู้เรื่องตู้ลายทองสมัยรัตนโกสินทร์ เปิดให้ชมตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ณ อาคารถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
กรมศิลปากรจึงขอเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อสร้างความสุข เสริมสิริมงคลให้กับชีวิตในวาระแห่งการเริ่มต้นศักราชใหม่ ณ แหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมสังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ประติมากรรมปูนปั้นเศียรยักษ์ สมัยทวารวดี
ประติมากรรมปูนปั้นเศียรยักษ์ พบบริเวณศาลเจ้าพ่อพระยาจักร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
ประติมากรรมลอยตัว กว้าง ๒๐ เซนติเมตร สูง ๒๓ เซนติเมตร อยู่ในสภาพชำรุดมีเฉพาะส่วนเศียร มีใบหน้าค่อนข้างเหลี่ยม คิ้วเป็นสันนูน ตาโปนพองโตเซาะเป็นร่อง จมูกแบนใหญ่ ปลายจมูกหักหายไป มีหนวดเหนือริมฝีปาก ปากแบะ ริมฝีปากหนา มีเขี้ยวที่มุมปากทั้งสองข้าง ใบหน้าแสดงความดุร้าย สวมเครื่องประดับศีรษะ ที่มีลักษณะเป็นกรอบกระบังหน้า ประดับด้วยตาบ รายละเอียดส่วนอื่นชำรุด นอกจากนี้ยังสวมตุ้มหูทรงแผ่นกลมขนาดใหญ่ ภายในมีลายวงกลมซ้อนลดหลั่นกัน ซึ่งตุ้มหูรูปแบบนี้พบในประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นรูปบุคคล อสูร และคนแคระในสมัยทวารวดี เมื่อพิจารณาลักษณะของใบหน้าและเครื่องประดับสันนิษฐานว่าเป็นเศียรยักษ์
ลักษณะใบหน้าของประติมากรรมชิ้นนี้เป็นแบบพื้นเมืองทวารวดี คือ มีตาโปน จมูกแบนใหญ่ ริมฝีปากหนา สวมตุ้มหูทรงแผ่นกลมขนาดใหญ่ และปรากฏอิทธิพลของศิลปะเขมรร่วมอยู่ด้วย คือ มีหนวดเหนือริมฝีปาก ซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏขึ้นในงานศิลปกรรมสมัยทวารวดีตอนปลาย จึงกำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ หรือ ประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๑๐๐ ปีมาแล้ว
สันนิษฐานว่าประติมากรรมชิ้นนี้ เป็นประติมากรรมลอยตัวสำหรับประดับบริเวณประตูหรือทางเข้า เพื่อทำหน้าที่เป็นทวารบาลผู้พิทักษ์ศาสนสถาน การประดับประติมากรรมรูปยักษ์บริเวณทางเข้าศาสนสถาน พบมาแล้วในศิลปะอินเดีย และยังส่งอิทธิพลให้ศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น สำหรับงานศิลปกรรมสมัยทวารวดี นอกจากประติมากรรมเศียรยักษ์ชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นรูปยักษ์ที่สันนิษฐานว่าเป็นทวารบาลตามแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดีแห่งอื่น เช่น เศียรยักษ์พบที่หน้าบริเวณที่ทำการไปรษณีย์ จังหวัดลพบุรี ทวารบาลดินเผารูปยักษ์ พบที่โบราณสถานวัดพระงาม จังหวัดนครปฐม เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง, ๒๕๔๕.
กรมศิลปากร. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. กรุงเทพฯ : อมรินพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, ๒๕๖๔.
เฉิดฉันท์ รัตน์ปิยะภาภรณ์. “การศึกษาคติความเชื่อและรูปแบบของ “ยักษ์” จากประติมากรรมที่พบในประเทศไทย.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๑.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 39/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 26 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ในช่วงเวลานี้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เป็นช่วงเดียวกันที่ซากเรือสำเภากลางอ่าวไทยถูกค้นพบ การค้นพบแหล่งเรือจมลำนี้คล้ายกับการค้นพบแหล่งเรือจมเกาะครามเมื่อปี พ.ศ. 2517 กล่าวคือ ถูกค้นพบโดยเรือประมงโชคแสงชัย จากจังหวัดระยอง เมื่อข่าวการค้นพบได้แพร่สะพัดออกไป แหล่งเรือจมแห่งนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก จนถูกนักล่าสมบัติบุกรุกทำลาย งมนำโบราณวัตถุขึ้นมาอย่างน้อย 3 ครั้ง
ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2534 นักล่าสมบัติงมโบราณวัตถุประเภทเครื่องถ้วยชามสังคโลกและเครื่องเคลือบดินเผาจากเตาแม่น้ำน้อยเกือบ 100 ชิ้น โดยนำไปขายได้เงินเกือบแสนบาท ครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2534 กองเรือป้องกันชายฝั่ง ได้จับกุมเรือประมงไทยพร้อมนักล่าสมบัติชาวไทยที่กำลังลักลอบงมโบราณวัตถุจากเรือกลางอ่าว ยึดโบราณวัตถุประเภทเครื่องถ้วยสังคโลกได้ทั้งหมด 477 ชิ้น เมื่อทราบเช่นนั้น กรมศิลปากรจึงเตรียมดำเนินการสำรวจและขุดค้นแหล่งเรือจมกลางอ่าว โดยขอความร่วมมือกับกองทัพเรือ
แต่ยังไม่ทันได้เริ่มดำเนินการอะไรก็เกิดเหตุขึ้นวันที่ 5-13 กุมภาพันธ์ 2535 เมื่อมีนักล่าสมบัติต่างชาตินำโดยนาย Michael Hatcher แล่นเรือเดินสมุทรชื่อ “Australia Tide” ขนาดความยาว 60 เมตร ระวางขับน้ำ 421 ตัน ที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ในการดำน้ำลึกที่ทันสมัย ลงไปลักลอบงมโบราณวัตถุจากซากเรือกลางอ่าว ต่อมากองเรือเฉพาะกิจ กองทัพเรือและตำรวจน้ำได้ทราบข่าว จึงเข้าตรวจค้นเรือลำดังกล่าว ในช่วงแรกการไกล่เกลี่ยของทั้งสองฝ่ายยังไม่ลงตัวนัก ฝ่ายเรือออสเตรเลียไทด์ตกลงจะมอบโบราณวัตถุให้เพียงบางส่วน แต่ฝ่ายไทยยังไม่ยอมรับ ขณะเดียวกันฝ่ายเรือออสเตรเลียไทด์ทำท่าทีจะถอนสมอกลับสิงคโปร์ แต่ถูกฝ่ายไทยกีดกันไว้ จนภายหลังจึงยอมมอบโบราณวัตถุทั้งหมดให้แก่ฝ่ายไทย ภายหลังการบันทึกทำทะเบียนโบราณวัตถุทั้งหมดพบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 10,760 ชิ้น เป็นภาชนะดินเผาที่ผลิตในประเทศร้อยละ 97 แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากเตาแม่น้ำน้อย จ. สิงห์บุรี ประมาณ 3,400 ชิ้น ผลิตภัณฑ์จากเตาป่ายาง จ.สุโขทัย ประมาณ 6,500 ชิ้น เครื่องถ้วยจีน 5 ใบ เครื่องถ้วยอันนัมประมาณ 320 ชิ้น ปืนขนาดเล็ก 3 กระบอก โดยโบราณวัตถุทั้งหมดกองทัพเรือมอบให้แก่กรมศิลปากรเป็นผู้ดูแล
เหตุที่เรือ “Australia Tide” กล้าที่จะเข้ามางมโบราณวัตถุนั้นก็เพราะตำแหน่งที่ตั้งของเรือจมกลางอ่าวอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะชั้นใน (Exclusive Economic Zone) ซึ่งในแง่กฎหมายทางทะเลบริเวณดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจอธิปไตยของประเทศไทย อย่างไรก็ตามกรณีการลักลอบงมโบราณวัตถุครั้งนี้ทำให้เกิดความตื่นตัวในการปกป้องคุ้มครองแหล่งโบราณคดีใต้น้ำของชาติ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีมติแก้ไขพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยขยายขอบเขตหวงห้ามการงมโบราณวัตถุในน่านน้ำไทยจากเดิม 12 ไมล์ทะเล ออกไปเป็น 200 ไมล์ทะเลจนถึงขอบเขตเศรษกิจจำเพาะ
อ้างอิง
จารึก วิไลแก้ว. 2535. “มรดกใต้ท้องทะเลไทย เรืออ่าวไทย 1.” นิตยสารศิลปากร 35 (2): 8-33.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. 2535. “ความเคลื่นไหวของโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยและหลักฐานการพาณิชย์นาวีสมัยกรุงศรีอยุธยา.” นิตยสารศิลปากร 35 (2): 34-70.
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 134/3เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 170/3เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 5/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 32 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา พระอภิธรรมบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 23/5ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 30 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 8/3ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อผู้แต่ง กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์ไพศาลศิริ
ปีที่พิมพ์ ๒๕๒๑
จำนวนหน้า ๗ หน้า
รายละเอียด
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื่องในงานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๒๕ กุมภาพันธ์ - ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๑ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ตำรา พงศาวดารและพระไตรปิฎก
เลขทะเบียน : นพ.บ.472/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 161 (183-194) ผูก 12 (2566)หัวเรื่อง : พระไตรโลกวินิจฉัย--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.606/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 16 หน้า ; 4 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 194 (408-415) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ตำนานพระธาตุพนม--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม