ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
ภัยเงียบของศิลปวัตถุ บานไม้ประดับมุกศิลปะญี่ปุ่นในประเทศไทย พระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
ภาพเขียนกระเบื้องดินเผาที่แสดงถึงอารยธรรมและวัฒนธรรมการค้าขายของทั้งสองชาติ การเชื่อมโยงสายสัมพันธ์กันเป็นเวลากว่า 600 ปีระหว่างไทยและญี่ปุ่น ภาพกระเบื้องชุดนี้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของแต่ละชาติในการทำเครื่องปั้นดินเผาในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การกรองดิน การนวดดิน การขึ้นรูปภาชนะ การเขียนลาย การเคลือบ การบรรจุภาชนะเข้าเตา และการเผา ในรูปแบบการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของทั้งสองชาติ ลวดลายกระเบื้องที่ออกแบบได้รับการวาดอย่างประณีตบรรจงด้วยสี ครามหลากหลายเฉดลงบนแผ่นกระเบื้องพอร์ชเลนสีขาว และเคลือบใสเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส กระเบื้องทั้ง 48 แผ่น แต่ละแผ่นมีขนาด 28 x 28 เซนติเมตร และมีความหนา 12 มิลลิเมตร ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/82
การเสด็จต่างประเทศของพระมหากษัตริย์ไทย. พระนคร: กรมสารบรรณทหารเรือ, 2504.
ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/64
กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “อู่เรือพระราชพิธี” ศิลปกรรมทรงคุณค่าของชาติไทย วิทยากร นางสาวดวงใจ พิชิตณรงค์ชัย หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.
ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จัดโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทให้แก่บุคลากรในสังกัด หลักสูตร “การเสริมสร้างวัฒนธรรม ค่านิยมสุจริต การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม การต่อต้านการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อนในหน่วยงานและชุมชน ” ต่อสังคมในสถานการณ์ใหม่ New normal ในระหว่างวันที่ ๗ – ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ห้องประชุมโรงแรม เดอ วี ลอฟท์ โฮเทล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสด Facebook Live : สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา กรมศิลปากร
“เมืองโบราณศรีเทพ” ในฐานะมรดกโลกทางวัฒนธรรม ไม่ได้มีแค่ “เขาคลังนอก” อันเป็นภาพจำของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ แต่ยังครอบคลุมพื้นที่ “โบราณสถานในสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง” ประกอบด้วย ปรางค์ศรีเทพ ปรางค์สองพี่น้อง ปรางค์ฤาษี เขาคลังใน และเขาถมอรัตน์
คำว่า "ถมอ" มาจากคำว่า "ทะมอ" ในภาษามอญโบราณ (ญัฮกุร) แปลว่า หิน กองหินขนาดใหญ่ ส่วนคำว่า รัตน์ อาจมาจาก "รัตนะ" แปลว่าแก้ว จากการเสด็จเมืองวิเชียรบุรีของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แสดงให้เห็น ‘ร่องรอย’ ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองโบราณศรีเทพกับวิเชียรบุรีที่มีตำแหน่งเจ้าเมืองเดิมคือ “พระศรีถมอรัตน์” อันเป็นชื่อภูเขาศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์สำคัญของเมือง
ทั้งนี้ยังปรากฏนามในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองสมัยสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๓ โดยภายหลังโปรดให้ยกขึ้นเป็นเมืองตรี และเปลี่ยนนามเมืองเป็นวิเชียรบุรี (ท่าโรง)
ความน่าสนใจของ “เขาถมอรัตน์” ที่อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๕ กิโลเมตร คือ มีฐานะเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ประจำเมือง และมีการแนวแกนทิศที่สัมพันธ์กับศาสนสถานของเมืองศรีเทพ โดยมีลักษณะเป็นภูเขาขนาดใหญ่กลางที่ราบ ภายในถ้ำมีชะง่อนหินธรรมชาติเป็นแกนหินขนาดใหญ่ สามารถเดินรอบได้ อีกทั้งยังถูกดัดแปลงให้เป็นศาสนสถานของพุทธศาสนา มีภาพสลักนูนต่ำสถูปเจดีย์ ธรรมจักร พระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนานิกายมหายานในรูปแบบศิลปะทวารวดี กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔
ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ได้กล่าวถึงภาพสลักที่เขาถมอรัตน์ว่าเป็นภาพสลักลงบนแกนหินที่แต่เดิมอาจมีรักหรือปูนปั้นประกอบ ภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นคติในศาสนาพุทธมหายาน ภาพสลักเหล่านี้คล้ายคลึงกับศิลปะทวารวดี เขตอำเภอประโคนชัยและอำเภอลำปลายมาศของจังหวัดบุรีรัมย์
ภายหลังจากการลักลอบสกัดภาพจำหลักบริเวณผนังถ้ำเขาถมอรัตน์ และได้ติดตามโบราณวัตถุกลับคืนมานั้น ส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่คลังกลางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปัจจุบันได้นำไปจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เมืองโบราณศรีเทพ สู่มรดกโลก” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร คือ
ชิ้นส่วนพระหัตถ์ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ เดิมจำหลักที่ผนังถ้ำเขาถมอรัตน์ ตำบลโคกสะอาด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายจิม ทอมสัน นำมามอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๐๕
มีลักษณะนิ้วพระหัตถ์แบบวิตรรกมุทรา (ปางแสดงธรรม) คือ การใช้ปลายพระอังคุฐแตะปลายพระดัชนีหรือพระมัชฌิมา แล้วจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวง ส่วนนิ้วพระหัตถ์ที่เหลือชี้ขึ้น อันเป็นแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียใต้ ทว่าการแสดงวิตรรกมุทราในศิลปะทวารวดีมีอีกรูปแบบหนึ่ง คือ การหักงอนิ้วพระหัตถ์ ทั้งพระดัชนี พระมัชฌิมา พระอนามิกา และพระกนิษฐา ลงแตะฝ่าพระหัตถ์ มีแค่พระอังคุฐที่ชี้ขึ้น ซึ่งมาจากการปรับเปลี่ยนตามเทคนิคช่าง
อ้างอิง
กรมศิลปากร. “อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ”. กรุงเทพฯ : สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี กรมศิลปากร, ๒๕๕๐
เชษฐ์ ติงสัญชลี. “การวิเคราะห์การแสดงวิตรรกมุทราสองพระหัตถ์ของพระพุทธรูปในศิลปะทวารวดี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๔
สถาพร เที่ยงธรรม. “ศรีเทพ : เมืองศูนย์กลางความเจริญลุ่มน้ำป่าสัก”. เพชรบูรณ์ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔.
“ทำลายภาพสลักในถ้ำ เขาถมอรัตน์ เมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ” เข้าถึงเมื่อ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๖ เข้าถึงได้จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_189295
ขี่ม้าส่งเมือง
ผลงาน : ขี่ม้าส่งเมือง
ศิลปิน : นายเขียน ยิ้มศิริ
เทคนิค : ประติมากรรมสำริด
ขนาด : สูง 62 เซนติเมตร
ปีที่สร้างสรรค์ : พ.ศ. 2505
ประวัติ : ประติมากรรมแบบอุดมคติที่จับเอาลักษณะความรู้สึกที่อ่อนหวานของเส้นในศิลปะแบบประเพณี ผสานกับรุปทรงที่ตัดทอน ปราศจากโครงสร้างของกล้ามเนื้อและลักษณะพื้นผิวของงานที่เกลี้ยงเกลาทำให้เกิดความผสมกลมกลืนของเส้นและรูปทรง สร้างความรู้สึกให้แลดูอ่อนพริ้ว มีความเคลื่อนไหว (อำนาจ 2524 : 127 - 128)
อ้างอิง : หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (Guide to The National Gallery, Bangkok)
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/360/model/zz11ok/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/nationalgallery/
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ เฟิ่งหวง : นกมงคลในความเชื่อของวัฒนธรรมจีนจานลายครามสมัยราชวงศ์หมิงใบหนึ่ง ที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดหนานช้าง ในเขตเวียงกุมกาม อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ มีการเขียนภาพ ซาน เฟิ่งหวง หั่วจู หรือ ราชาแห่งนกทั้งสามกับไข่มุกไฟ ซึ่งมีความหมายมงคล ดังนี้.เฟิ่งหวง (凤凰) หรือ ราชาแห่งนกทั้งปวงในวัฒนธรรมจีน มักปรากฏอยู่เสมอในงานศิลปะและวรรณกรรมของจีนการปรากฏตัวของเฟิ่งหวงเป็นลางบอกถึงสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง ความเมตตา คุณธรรม ความยั่งยืน ความเป็นอมตะ เฟิ่งหวง เกิดขึ้นประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว วาดเป็นนกตัวผู้ (เฟิ่ง) และ นกตัวเมีย (หวง) ต่อมาถูกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เกิดเป็น “เฟิ่งหวง” นกเพศเมีย ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์แทนจักรพรรดินี เมื่อแปลคำว่า เฟิ่งหวง เป็นภาษาอังกฤษ มักใช้คำว่า ฟีนิกซ์ (Phoenix) เนื่องจากฟีนิกซ์มีรูปลักษณ์ที่คล้ายคลึงและมีคุณสมบัติหลายอย่างใกล้เคียงกับเฟิ่งหวง โดยเฉพาะการฟื้นคืนชีพจากความตาย หรือ ความเป็นอมตะ .หัวจู่ (火珠) หรือ ไข่มุกไฟ เป็นสัญลักษณ์มงคลในวัฒนธรรมจีน ที่รวมแสงสว่างและความอบอุ่นสาดส่องทั่วแผ่นดิน ไม่มีวันดับสูญสลายตลอดกาลนาน.ซานเฟิ่งหวง (三凤凰) ราชานก 3 ตัว เลข 3 ในวัฒนธรรมจีนเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตมนุษย์ใน 3 สถานะคือ เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส (หรือ การเกิด การแต่งงาน การสิ้นสุดของชีวิต) และคำว่า 3 (ซาน) พ้องเสียงกับคำว่า เซิง ที่หมายถึงการเกิด.ภาพ ซาน เฟิ่งหวง หั่วจู จึงมีความหมายมงคลครอบคลุมชีวิตมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดให้มีความสุข ความเจริญในทุก ๆ ด้านตลอดไป.เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2567 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้จัดทำยาดมสมุนไพรไม้หอม* ลายภาพซาน เฟิ่งหวง หัวจู่ อันมงคลนี้ (จำนวนจำกัด) มอบให้แทนความรักและความปรารถนาดี ส่งเป็นความสุขปีใหม่แด่ท่านที่เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ -----------------------------------------------------------*รับฟรี ! ยาดมสมุนไพรไม้หอมเมื่อ check-in และกด liked เพจพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ (รับได้ที่เคาน์เตอร์จำหน่ายบัตร)
สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดยกลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ กำหนดจัดโครงการส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้สูงอายุ ประจำปี ๒๕๖๗ เรื่อง “สุขกายสูงวัย สุขใจบ้านบางแค” วันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ ข่าวสาร ด้านการดูแลสุขภาพและด้านอื่น ๆ เป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้ ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อการเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
กิจกรรมเป็นการบรรยายและฝึกปฏิบัติ แบ่งเป็น ๒ ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ ๑ การบรรยายเรื่อง “การส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้สูงอายุ” โดยวิทยากร นายเรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป (อาจารย์ตุ๊บปอง) กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก ช่วงที่ ๒ กิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ “สร้างสรรค์เติมสี สร้างสุขสูงวัย” โดยวิทยากร นางสาวฐิติมา คำคุณ บรรณารักษ์ชำนาญการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ และ นางสาวกัญญ์วรา พุ่มโพธิ์ บรรณารักษ์ปฏิบัติการ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มบริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โทร. ๐ ๒๒๘๐ ๙๘๒๘ - ๓๒ ต่อ ๒๑๘
เครื่องประดาน้ำ
ลักษณะ : อุปกรณ์ดำน้ำในช่วงแรกของมนุษยชาติที่มีบันทึกได้อย่างชัดเจน เข้าใจว่าเริ่มปรากฏขึ้นราวช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกเรียกว่า Diving Bell เป็นอุปกรณ์ดำน้ำรูปร่างเหมือนกับระฆัง มีลักษณะเป็นถังขนาดใหญ่ ด้านใต้เปิดกว้างออก โดยจะเป็นการใช้หลักการเดียวกับการคว่ำแก้ว หรือขันลงในน้ำ ทำให้มีช่องว่างเก็บอากาศไว้ด้านใน เมื่อเสร็จสิ้นหน้าที่สายเคเบิลที่ติดตั้งไว้กับตัวถังก็จะถูกดึงขึ้นพาตัวถังและผู้ใช้งานขึ้นสู่น้ำ ประเภทต่อมาเป็นอุปกรณ์ดำน้ำที่อยู่ในรูปแบบของชุดสวมใส่ทั้งตัว เข้าใจว่าพัฒนามาจากอุปกรณ์ดำน้ำในข้างต้น ลักษณะของชุดในระยะแรกมักทำมาจากหนังสัตว์ มีท่อสำหรับลำเลียงอากาศอยู่บริเวณศีรษะ อย่างไรก็ตาม ก็ทำให้ผู้สวมใส่ดำน้ำได้ไปเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ และไม่ลึกมากซึ่งเป็นผลมาจากเรื่องของความทนทาน ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ได้มีการพัฒนาชุดดำน้ำแบบใหม่มีลักษณะเป็นอุปกรณ์คล้ายกับหมวกกันน็อคขนาดใหญ่ (Diving Helmet) สวมใส่พร้อมกันกับชุดผ้าใบ ทั้งนี้ประโยชน์ใช้สอยของชุดก็ยังคงทำได้เพียงแค่การใช้งานช่วงสั้นๆ (แต่นานกว่าชุดช่วงแรก) เช่น การตรวจสอบสภาพเรือ นอกจากนี้ก็ยังคงมีการพัฒนาอุปกรณ์ดำน้ำหรือชุดดำน้ำอยู่เรื่อยๆ ในระยะหลัง ส่งผลให้สามารถต้านทานสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างจากบนบกได้หลายรูปแบบ เช่น ชุดที่ทนแรงกดดันใต้น้ำ หรือชุดต้านทานความเย็นที่จะช่วยเพิ่มความอบอุ่นของร่างกายเมื่อผู้สวมใส่ลงไปในระดับน้ำที่มีความลึก หรือดำน้ำเป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายค่อยๆ สูญเสียความร้อนจนเกิดอันตรายได้ ชุดดังกล่าวจึงค่อยๆพัฒนาขึ้น จวบจนปัจจุบันถึงแม้ว่ารูปลักษณ์จะมีความแตกต่างไปมากแล้วก็ตาม
ขนาด : กว้าง 14.5 เซนติเมตร ยาว 24 เซนติเมตร สูง 58 เซนติเมตร
ชนิด : โลหะ
อายุ/สมัย : รัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25
ประวัติ/ตำนาน : ไม่ทราบนามผู้มอบ
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=53057
ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th
ชื่อเรื่อง : หนังสือธัมม์พุทธมามกะปฏิบัติผู้แต่ง : พระภิกขุ ปณฺฑิโตพรหมาปีที่พิมพ์ : ๒๔๗๖สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์อเมริกันจำนวนหน้า : ๗๒ หน้าเนื้อหา : หนังสือเล่มนี้ชื่อหนังสือธัมม์พุทธมามกะปฏิบัติ พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์อักษร ที่โรงพิมพ์อเมริกัน ถนนเจริญเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ พระภิกขุ บณฺฑิโตพรหฺมมา น.ธ. โท ผู้แต่ง อักษรล้านนา ภาษาล้านนา เนื้อหาในหนังสือเล่มเป็น ธัมม์พุทธมามกะปฏิบัติ สำนวนล้านนาที่ภิกษุล้านนาเรียบเรียง ขึ้นต้นเรื่องว่า “หนังสือธัมม์ผูกนี้หื้อชื่อว่า พุทธมามกะปฏิบัติ แปลว่า ข้อปฏิบัติของพุทธมามกะในพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสนา สัมมาสัมพุทธศาสนาของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่อโคตมโคดม พระบัณฑิโตพรหมมาอุบลฯ น.ธ.โท เรียบเรียงแต่งพิมพ์แจกศรัทธาทั้งหลายแขวงนครลำพูนแลปากบ่องเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๖ ขอจุ่งเจริญด้วยอิทธิวิบูลย์ผลวิโมกมรรคะ พละนิพพานแด่ท่านผู้บริจาคทรัพย์สร้าง แลนำไปปฏิบัติจริงทุกๆ ประการเทอญฯ” พระบัณฑิโตพรหมมา ข้าพเจ้าผู้มีนามและยศข้างท้ายนี้ ขอรับรองว่าในความแห่งข้อธรรมในตำรานี้เป็นหัวข้อปฏิบัติแห่งพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าจริง และข้าพเจ้าขออนุญาตโมทนาส่วนกุศลของท่านผู้บริจาคทรัพย์สร้างแลผู้เรียบเรียงแต่งทุกประการ แลขอหื้อธรรมผูกนี้จุ่งเจริญงอกงามในพระบวรพุทธศาสนาสิ้น๕๐๐๐ วัสสาเทอญ ลงนาม พระครูพุทธิวงษ์ธาดา ผู้รับรอง ๑๔/๘/๗๖ พระบัณฑิโตพรหมมาแต่งท้ายเล่มเป็นบัญชีรายชื่อผู้บริจาคทรัพย์ ๑๓๙ คน รวมเงินทั้งหมดในบัญชีนี้ ๖๑ บาท ๕๒ สตางค์ เงินศรัทธาที่บริจาคแต่ไม่ได้ลงบัญชี รวมเป็นเงิน ๑๗ บาท ๓๐ สตางค์ รวมเงินทั้งสองรายนี้ รวมเป็นเงิน ๑๕ บาท ๓๐ สตางค์ รวมเงินทั้งสองรายนี้ ๘๘ บาท ๘๒ สตางค์ ขอพละท่านทั้งหลายนี้จิ่งเป็นปัจจัยกระทำหื้อท่านผู้บริจาคจิ่งได้ประสบอย่างยึ่ง คืออมตฺตมหานิพานสิ้นกาลนานเทอญ เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๑๖๑๗ เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๒๖หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗