ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ



ประวัติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี เดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ของ   วัดโบสถ์ก่อตั้งโดยอดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ พระเทพสุทธิโมลี เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี – อุทัยธานี ฝ่ายธรรมยุต ในขณะที่เป็น         พระครูวิสุทธิธรรม ได้รวบรวมจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่มีคุณค่า ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๘๓  โดยดำเนินงานในรูปของคณะกรรมการ   มีอดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์เป็นประธานบริหารงาน ในพ.ศ. ๒๔๙๖  พิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ได้รับการจัดตั้งเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำอำเภออินทร์บุรี  ต่อมาพ.ศ. ๒๕๐๔           คณะกรรมการพิพิธภัณฑสถานได้พิจารณาเห็นว่าอาคาร  ไม้หลังเก่าไม่เพียงพอสำหรับจัดเก็บรักษาโบราณวัตถุที่มีจำนวนมากขึ้น  จึงได้รับบริจาคเงินก่อสร้างอาคารหลังใหม่จาก นางเพิ่ม  ดุริยางกูร  และตั้งชื่ออาคารว่า ตึกเพิ่ม  ดุริยางกูร  และปรับปรุงศาลาการเปรียญของวัดหลังเดิมคือ ศาลาศักดิ์บุรินทร์ เป็นอาคารจัดแสดงอีกหลังหนึ่ง ต่อมาในพ.ศ. ๒๕๑๔ อดีตเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ เมื่อครั้งมีสมศักดิ์เป็นพระราชเมธาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี  ได้ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนกรมศิลปากรในการดำเนินงานปรับปรุงการจัดแสดงให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และต่อมาในพ.ศ. ๒๕๑๖ สาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี  ได้เปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี


พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง ขอนแก่น: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/khonkaen พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น      เริ่มก่อสร้างเมื่อปี  พ.ศ. 2510  เพื่อเป็นสถานที่รวบรวม สงวนรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุ  ศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  ต่อมา พ.ศ. 2511 - 2512 ได้รับงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์และก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2515 ดำเนินการจัดแสดงแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2515         ต่อมา พ.ศ. 2535  กรมศิลปากรมีนโยบายที่จะพัฒนาและปรับปรุงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น   ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานและห้องประชุมเป็นเงิน 3,000,000.- บาท และ พ.ศ. 2536 จัดสรรงบประมาณ 985,300.- บาท จัดซื้อวัสดุและครุภัณฑ์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น  ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนในท้องถิ่นตามแนวทางการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมัยใหม่ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญของกรมศิลปากร  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น จึงนับเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญอีกแห่งหนึ่งในท้องถิ่นสำหรับผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมเพื่อสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมให้ยังคงอยู่ต่อไป 


วันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๖.๔๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ทอดพระเนตรโบราณสถาน พร้อมเสวยพระกระยาหารค่ำและทอดพระเนตรการแสดงนาฏศิลป์จากกรมศิลปากร ณ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี   ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วยคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๘ และจะเสด็จฯ ไปยังอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ เพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน พร้อมเสวยพระกระยาหารค่ำและทอดพระเนตรการแสดงนาฏศิลป์ นั้น   กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้เตรียมความพร้อมในการรับเสด็จฯ โดยหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี จะถวายการนำชม ส่วนการแสดงนาฏศิลป์ทางสำนักการสังคีต จะจัดแสดงระบำโบราณคดี ๒ ชุด ได้แก่ ชุด ระบำศรีชัยสิงห์ และชุดระบำทวารวดี ทั้งนี้ ทางกรมศิลปากรได้เตรียมการรับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างสมพระเกียรติ เรียบร้อยแล้ว


อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 26 มีนาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02-2222222





          โคลงกวีโบราณ  เป็นหนังสือประชุมโคลงกวีโบราณที่แต่งขึ้นตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  และเป็นที่ยอมรับนับถือกันในหมู่กวีแต่ครั้งโบราณว่าเป็นโคลงกวีชั้นดี  โคลงโบราณที่รวบรวมพิมพ์ไว้ในเล่มนี้  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่า เข้าใจว่าพระยาตรังรวบรวมถวายกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ เมื่อครั้งกลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ...



ชื่อผู้แต่ง         อำไพ นิยมาคม ชื่อเรื่อง          จำเรียงถ้อยร้อยคำอันล้ำหวาน ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์    พระนคร          สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์ส่งเสริมอาชีพ ปีที่พิมพ์         2509          จำนวน           25     หน้า หมายเหตุ       หนังสือที่ระลึกงานศพ น.ส.อำไพ นิยมาคม หนังสือที่ระลึกงานศพเล่มนี้ เป็นการรวบรวมคำประพันธ์ร้อยกรองสดุดีพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถประกอบด้วยพระบรมฉายาลักษณ์ที่ น.ส.อำไพ นิยมาคม สะสมเอาไว้หลายอริยบท


หมวดหมู่                        นิทานพื้นเมืองภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          นิทานพื้นเมือง                                    นิทาน -- ไทยประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    46 หน้า : กว้าง 67.5 ซม. ยาว 60 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


สาระสังเขป               :     เนื่อเรื่องแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนต้นเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา อีกตอนว่าด้วยพระราชวังหลวงผู้แต่ง                       :      โบราณราชธานินทร์, พระยาโรงพิมพ์                   :       โสภณพิพรรฒธนากรปีที่พิมพ์                   :       2469ภาษา                       :      ไทยรูปแบบ                     :      PDFเลขทะเบียน              :      น.32บ.1945จบเลขหมู่                      :     913.593                                      อ914บ


เลขทะเบียน : นพ.บ.26/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า  ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 13 (138-151) ผูก 10หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


Messenger