ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

     มหามกุฎราชสันตติวงศ์ ๙ มิถุนายน ๒๔๒๕ วันประสูติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์      สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓๗ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประสูติเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๒๕ ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมน้อย"       พระองค์มีพระเชษฐา พระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมพระราชชนนี คือ  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี  และสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก      เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๔ พระราชบิดาพระราชทานพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย ศตสมัยมงคลเขตร บรมนฤเบศร์จักรีวงศ์ จุฬาลงกรณ์นาถนรินทร์ สยามินทรราชวโรรส อุกฤษฐวรยศอุภัยปักษ์ วิสุทธิศักดิ์อรรควิมลรัตน์ ขัตติยราชกุมาร กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์" และได้ทรงกำกับกรมมหาดเล็ก      สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๔๔๒ สิริพระชันษา ๑๘ ปี      สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ นับเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สืบสายจากทั้งพระบรมชนกนาถและพระราชชนนี   ภาพ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ครั้งพระราชพิธีโสกันต์


          ปราสาทตำหนักไทร ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในวัดตำหนักไทร อยู่ห่างจากลำห้วยทา ซึ่งเป็นลำน้ำสายหลักของตำบลบักดอง มาทางด้านทิศตะวันออก เพียง 300 เมตร โดยปรากฏร่องรอยการก่อสร้างและใช้ประโยชน์โบราณสถานในฐานะศาสนสถานต่อเนื่อง ถึง 3 ระยะ ด้วยกัน ดังนี้           ระยะที่1 กำหนดอายุ อยู่ในช่วง ปลายพุทธศตรวรรษที่ 12 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 14 พบร่องรอยของส่วนฐานของปราสาทที่สร้างด้วยอิฐ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ 13.70 เมตร ขนาดกว้างตามแนวแกนทิศตะวันออก-ตะวันตก 11.70 เมตร พบร่องรอยการก่ออิฐเป็นช่องบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ด้านทิศตะวันออก เเละพบหลักฐานแผ่นหินทรายเป็นอัฒจันทร์วางอยู่ที่ด้านล่าง หลักฐานสำคัญของระยะที่ 1 คือ ฐานทางขึ้นก่อด้วยอิฐ, ฐานรูปเคารพในปราสาทประธาน, บัดยอดปราสาท, และอัฒจันทร์          ระยะที่2 กำหนดอายุ อยู่ในช่วง ปลายพุทธศตรวรรษที่ 15 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 16 มีการสร้างฐานของปราสาทขึ้นใหม่ โดยใช้ศิลาแลงก่อวางเรียงปิดทับ ล้อมรอบฐานอิฐของปราสาทในระยะที่ 1 ฐานเขียงมีรูปแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดด้านละ 10 เมตร ก่อศิลาแลงสูง 3 ชั้น ถัดขึ้นมาเป็นฐานอีกชั้นหนึ่ง ก่อด้วยหินทราย 3 ชั้น แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม ขนาดด้านละ 10 เมตร มีมุขยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน และก่อวางเรียงหินทรายเป็นช่องบันได ตัวเรือนธาตุก่ออิฐ อยู่ในแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม เช่นเดียวกับส่วนฐาน มีขนาดด้านละ 4.2 เมตร มีประตูทางเข้าหลักเฉพาะด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นเป็นปนะตูหลอก ถัดขึ้นไปเป็นเรือนชั้นซ้อน ซึ่งปัจจุบันหลงเหลือเพียง 2 ชั้น จากการขุดศึกษาโบราณสถานปราสาทตำหนักไทร ในปี 2554 เราพบบัวยอดปราสาทด้วย หลักฐานสำคัญของระยะที่ 2 คือ ทับหลังสลักภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ และบัวยอดปราสาท          ระยะที่3 พบหลักฐานการใช้ประโยชน์โดยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของปราสาท โดยมีการนำหินทรายและหินธรรมชาติมาเวียงเป็นแนวทางเดินบนผิวดิน มีความกว้าง 5 เเมตร ต่อเนื่องจากด้านหน้าปราสาทไปทางทิศตะวันออก กำหนดอายุ อยู่ในช่วง พุทธศตรวรรษที่ 23 ไฮไลต์สำคัญ ของงปราสาทตำหนักไทร คือ ภาพสลักคานกรอบประตูเป็นรูปวิษณุอนันตศายินปัทมนาภะ หรือ นารายณ์บรรทมสินธุ์ แวดล้อมด้วยท่อนพวงมาลัยและพรรณพฤกษา กำหนดอายุให้อยู่ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยกับปราสาทประธาน ซึ่งของจริงนำไปเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา แต่ได้มีการจำลองและติดตั้งไว้ตำแหน่งเดิม เพื่อให้ทุกๆคนได้รับชม --------------------------------------------------------เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ --------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. ทำเนียบโบราณสถานขอมในประเทศไทย เล่ม 4. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 2539. สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา. รายงานข้อมูลโบราณสถาน ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. นครราชสีมา: สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา. อัดสำเนา. 2561.



ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 66. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2503.          ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 66 นี้ ประกอบด้วยเรื่องราวทั้งสิ้นจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1) จดหมายรายวันทัพคราวปราบเมืองพุทไธมาศและเขมรสมัยกรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2314 2) จุลยุทธการวงศ์ ความเรียง (ตอนต้น) 3) เรื่องพระร่วงสุโขทัย และ 4) เทศนาจุลยุทธการวงศ์



"หงส์หิน" เป็นคร่าวซอที่ประพันธ์ขึ้นในล้านนา เรื่องหงส์หินนี้ไม่ทราบความเป็นมาว่านำเนื้อหามาจากคัมภีร์ทางศาสนาเล่มใด แต่คร่าวซอฉบับที่แพร่หลายแต่งโดยพระยาโลมานิสัย ชาวเชียงรายที่ได้เข้ารับราชการในราชสำนักลำปาง โดยประพันธ์ขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๔ ภายหลังถูกใช้เป็นต้นแบบของคร่าวซอของเจ้าสุริยวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ เรื่องราวเริ่มจากนางวิมาลา มเหสีเอกของพระเจ้าปุรันตปะ กษัตริย์แห่งกรุงพาราณสีถูกขับออกจากเมือง เนื่องจากถูกเหล่ามเหสีรองทั้ง ๖ นางใส่ร้าย แอบเอาลูกสุนัขมาสับเปลี่ยนกับโอรสของนางวิมาลาตอนคลอด นางวิมาลาจึงมาอาศัยอยู่ในบ้านพ่อเฒ่าแม่เฒ่าหลังหนึ่ง ส่วนโอรสของนางนั้นพระอินทร์นำไปเลี้ยงบนสวรรค์เมื่อเติบใหญ่ขึ้นพระอินทร์ก็เนรมิตหินคำก้อนหนึ่งให้กลายเป็นหงส์พาโอรสมาอยู่กับนางวิมาลาผู้เป็นมารดา นางวิมาลาจึงตั้งชื่อให้บุตรของนางว่าเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ วันหนึ่งกุมารทั้งหกของเหล่าชายารองจัดการเล่นสะบ้าทองคำ เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ออกไปเล่นด้วยแล้วชนะได้ลูกสะบ้าทองคำนั้นไป แถมขากลับออกจากเมืองยังสามารถปราบยักษ์ที่มาคอยจับผู้คนในเมืองกินเป็นอาหารได้ด้วย เหล่ากุมารทั้งหกเมื่อรู้ข่าวก็ไปบอกพระเจ้าปุรันตปะว่าพวกตนสังหารยักษ์ได้ พระเจ้าปุรันตปะไม่เชื่อ เนื่องจากผู้ที่จะปราบยักษ์ได้ต้องเป็นพระโพธิสัตว์เท่านั้น พระเจ้าปุรันตปะจึงให้หกกุมารออกไปตามหาพระอัยยิกาของตนที่ถูกเหล่าผีดิบจับไปเมื่อนานมาแล้ว กุมารทั้งหกก็ไปขอให้เจ้าทุตคตขขัตติวงศ์มาช่วยตามหาพระอัยยิกา เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ให้เหล่ากุมารทั้งหกและกองทัพรออยู่ที่ชายฝั่งน้ำ ส่วนเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ก็ขี่หงส์ออกไปตามหาพระอัยยิกา เจ้าทุตคตขัตติวงศ์เดินทางไปถึงเมืองยักษ์สามเมือง แต่ละเมืองก็ได้ธิดาของเจ้าเมืองนั้นๆเป็นชายา (หนุ่มเนื้อหอมที่พ่อตารักใคร่จริงๆ) เจ้าทุตคตขัตติวงศ์เข้าไปพบพระอัยยิกาในเมืองผีดิบซึ่งขณะนั้นเหล่าผีดิบไม่อยู่ในเมือง เมื่อพาพระอัยยิกาออกจากเมืองเหล่าผีดิบก็ไล่ตาม แต่เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ก็สามารถพาพระอัยยิกาหนีพ้นไปได้ เมื่อเดินทางมาถึงเมืองผีดิบเจ้าทุตคตขัตติวงศ์เข้าไปพบพระอัยยิกาในเมืองผีดิบซึ่งขณะนั้นเหล่าผีดิบไม่อยู่ในเมือง เมื่อพาพระอัยยิกาออกจากเมืองเหล่าผีดิบก็ไล่ตาม แต่เจ้าทุตคตขัตติวงศ์ก็สามารถพาพระอัยยิกาหนีพ้นไปได้ ในขากลีบเมืองเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ให้ชายาทั้ง ๓ คอยที่ริมฝั่งน้ำ โดยตนจะพาพระอัยยิกาไปส่งก่อน เมื่อโอรสทั้ง ๖ ของมเหสีรองเห็นเจ้าทุตคตขัตติวงศ์พาพระอัยยิกากลับมาได้สำเร็จก็ทำร้ายเจ้าทุตคตขัตติวงศ์จนตาย พวกตนก็พาพระอัยยิกากลับเมืองไปรับความดีความชอบจากพระเจ้าปุรันตปะ หลังจากที่เหล่าโอรสทั้ง ๖ พาพระอัยยิกากลับเมืองแล้ว พระอินทร์ก็ลงมาช่วยชุบชีวิตเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ เรื่องราวไม่ได้จบอย่าง happy ending lesiy[Fvilmyh ๖ เมื่อพระเจ้าปุรันตปะทราบจากพระอัยยิกาว่าคนที่ช่วยพระองค์คือเจ้าทุตคตขัตติวงศ์ เมื่อเจ้าทุตคตขัตติวงศ์มาร่วมงานฉลองในเมือง พระเจ้าปุรันตปะได้ไต่ถามจนทราบความจริง รับสั่งให้นำโอรสและชายารอทั้ง ๖ ไปประหารชีวิต แล้วแต่งขบวนไปรับนางวิมาลา และพ่อเฒ่าแม่เฒ่ากลับวัง อ้างอิง : จิราวดี เงินแถบ, “หงส์หิน : การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมอีสานและล้านนา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาจารึกภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร. ๒๕๓๗.


ชื่อเรื่อง                                ปฐมกัปป์ (ปฐมกัปป์) สพ.บ.                                  280/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           62 หน้า กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 59 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา                                           บทคัดย่อ/บันทึก         เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


ชื่อเรื่อง                                นิทานพระบาง (พระบางคำสอน) สพ.บ.                                  330/1ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           58 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง                                 พุทธศาสนา--คำสั่งสอน                                          บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด  ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


---ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ นับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์---ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คือ อริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา---ปฏิปทาทางสายกลางปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 คือปัญญาเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)เจรจาชอบ (สัมมาวาจา)การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ)พยายามชอบ (สัมมาวายามะ)ระลึกชอบ (สัมมาสติ)ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนาพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔มหาวรรค ภาค ๑เข้าถึงได้โดย https://84000.org/tipitaka/read/r.php?B=04&A=355https://th.wikipedia.org/wiki/ธัมมจักกัปปวัตนสูตร#:~:text=ธัมมจักกัปปวัตนสูตร%20หรือเขียนอย่าง,ศาสนา%20วันนั้นเป็นวันเพ็ญภาพ : พระพุทธรูปลีลา แสดงปางประทานอภัย ผู้ว่าราชการจังหวัดน่านรับมอบจากพระครูศิริคุณาทาน เจ้าอาวาสวัดท่าล้อ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ จัดแสดง ห้องนิทรรศการชั้นบน ห้องที่ ๖ ห้องพระพุทธรูปไม้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน




สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.45/1-1  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)  ชบ.บ.88ก/1-12  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (มทฺรี-นครกัณฑ์)  ชบ.บ.106ข/1-11  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.346/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 38 หน้า ; 4 x 55.5 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 134  (370-377) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : นิพฺพานสุตฺต (นิพพานสูตร)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


          เจดีย์หมายเลข ๑ หรือวัดปราสาท (ร้าง) ตั้งอยู่นอกเมืองโบราณอู่ทอง ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้กับวัดท่าพระยาจักร (วัดช่องลม) เดิมมีลักษณะเป็นโคกเนินขนาดใหญ่ ต่อมากรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๐๙ และได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๑๑ ปัจจุบันสำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี ได้ดำเนินการบูรณะเสริมความมั่นคงเรียบร้อยแล้ว          หลักฐานจากการดำเนินงานทางโบราณคดี พบว่า เจดีย์หมายเลข ๑ สร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยทวารวดี โดยมีการซ่อมแซมและก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยต่อมา อย่างน้อยอีก ๒ ครั้ง ได้แก่  การซ่อมแซมในสมัยทวารวดี และการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยอยุธยา นอกจากนี้ ทางด้านทิศเหนือของเจดีย์หมายเลข ๑ ยังพบซากเจดีย์บริวารขนาดเล็ก ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาอีกองค์หนึ่งด้วย          รูปแบบของเจดีย์หมายเลข ๑ เป็นเจดีย์ก่ออิฐสอปูน ปัจจุบันพังทลายเหลือแต่ส่วนฐาน โดยรูปแบบของฐานรองรับองค์เจดีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี มักจะประกอบด้วยฐานยกเก็จขนาดใหญ่รองรับเรือนธาตุ เช่นเดียวกับเจดีย์จุลประโทน และเจดีย์วัดพระประโทณเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ฐานส่วนนี้ของเจดีย์หมายเลข ๑ เป็นฐานในสมัยแรกสร้าง ซึ่งในการซ่อมในระยะเวลาต่อมา ได้มีการก่อฐานบัว เจาะช่องท้องไม้ปิดทับฐานเดิม ส่วนเรือนธาตุแม้จะพังทลายมาก แต่ก็ยังสังเกตได้ว่ามีการสร้างเสาติดผนัง          อนึ่ง เมื่อครั้งซ่อมแซมเจดีย์หมายเลข ๑ ในสมัยทวารวดี ยังได้มีการก่อฐานเป็นลานขนาดใหญ่ในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มขึ้นมาด้วย โดยฐานนี้เป็นฐานบัววลัย ที่ประกอบด้วยลวดบัวลูกแก้วขนาดใหญ่ เจาะช่องท้องไม้ ตามแบบที่นิยมในศิลปะทวารวดี การก่อฐานเพิ่มเติมจากการก่อสร้างในครั้งแรกพบในเจดีย์สมัยทวารวดีหลายองค์ และในเมืองโบราณอู่ทองก็ยังพบตัวอย่างที่เจดีย์หมายเลข ๒ อีกด้วย          ต่อมาในสมัยอยุธยา สันนิษฐานว่าเจดีย์หมายเลข ๑ คงพังทลาย มีสภาพหักพังเป็นโคกเนิน ไม่เห็นรูปแบบของเจดีย์เดิมที่สร้างและซ่อมแซมในสมัยทวารวดี ทำให้ช่างสมัยอยุธยาก่อสร้างเจดีย์ทับด้านบน โดยไม่สัมพันธ์กับแผนผังของเจดีย์เดิม ลักษณะเช่นนี้มีตัวอย่างเช่น เจดีย์วัดธรรมศาลา จังหวัดนครปฐม รูปแบบของเจดีย์สมัยอยุธยา ปัจจุบันพังทลายเหลือแต่ร่องรอยของฐานในผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดทางขึ้นด้านหน้า สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฐานไพทีรองรับเจดีย์ทรงปรางค์ เช่นเดียวกับเจดีย์วัดพระประโทณเจดีย์ จังหวัดนครปฐม           การสร้างเจดีย์สมัยอยุธยาซ้อนทับบนซากเจดีย์สมัยทวารวดี นอกจากจะช่วยเสริมรากฐานในการก่อสร้างและเพิ่มความสูงของเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่แล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ของเจดีย์องค์เดิมที่มีผลต่อความศรัทธาของผู้คนในท้องถิ่นที่เข้ามาอยู่อาศัยในสมัยอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานการก่อสร้างลักษณะเดียวกันนี้ ในเขตพื้นที่เมืองโบราณอู่ทอง เช่น โบราณสถานบนเขาพระ และเขาทำเทียม เป็นต้น   บรรณนุกรม กรมศิลปากร. โบราณวิทยาเรื่องเมืองอู่ทอง. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร, ๒๕๒๙. กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถาน เมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร, ๒๕๐๙.  เชษฐ์ สิงสัญชลี. ศิลปะไทยภายใต้แรงบัลดาลใจจากศิลปะอินเดียแบบปาละ. นนทบุรี : โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด, ๒๕๕๘ ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ในประเทศไทย รูปแบบ พัฒนาการและพลังศรัทธา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๐. สันติ เล็กสุขุม, โครงการ ออกแบบหุ่นจำลองสันนิษฐานจากซากเจดีย์ที่อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี (เพื่องานจัดทำหุ่นจำลองสันนิษฐาน ติดตั้งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง),  (เอกสารอัดสำเนา). สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา: งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๒.


Messenger