ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,355 รายการ

ชื่อผู้แต่ง           กรมพระยาดำรงราชานุภาพ , สมเด็จ ชื่อเรื่อง             ตำนานเรื่องสามก๊ก ครั้งที่พิมพ์          - สถานที่พิมพ์      พระนคร สำนักพิมพ์        โรงพิมพ์พระจันทร์ ปีที่พิมพ์            ๒๕๐๕ จำนวนหน้า        ๑๑๘  หน้า หมายเหตุ          สำนักงาน ก.ต.ภ. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ร้อยตรีตวงสิทธิ์  จารุเสถียร                        ต้นตำนานของหนังสือสามก๊กนั้น ทราบว่าเดิมเรื่องสามก๊กเป็นแต่นิทานสำหรับเล่ากันอยู่ก่อน สมัยราชวงศ์ไต้เหม็ง (พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๒๑๘๖) มีนักปราชญ์จีน เมืองฮั่งจิ๋วคนหนึ่งชื่อ ล่อกวนตง คิดแต่หนังสือเรื่องสามก๊กขึ้นเป็นหนังสือ ๑๒๐ ตอน ต่อมามีนักปราชญ์จีนหลายคน นักปราชญ์จีนคนหนึ่งชื่อ จิมถ่าง เลื่อมใสในหนังสือเรื่องสามก๊ก ช่วยแก้ไขคำพังโพยของเม่าจงกัง แล้วแต่งคำอธิบายเป็นทำนองคำนำ มองให้เม่าจงกังไปแกะตัวพิมพ์ตีพิมพ์หนังสือเรื่องสามก๊กขึ้น ส่วนตำนานการแปลหนังสือสามก๊กเป็นภาษาไทยมีคำบกเล่าสืบกันมาว่าเมื่อในรัชกาลที่ ๑ มีพระราชดำรัสสั่งให้แปลหนังสือพงศาวดารจีนเป็นภาษาไทย ๒ เรื่อง คือ เรื่องไซฮั่น เรื่อง ๑ กับ เรื่องสามก๊ก เรื่อง ๑



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนทุกท่าน ร่วมรับชมการบรรยายพิเศษ เรื่อง “เส้นสาย ลายไหม ผ้าไทย เมืองสุรินทร์” ในวันศุกร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ผ่านช่องทางออนไลน์ Facebook Live พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กรมศิลปากร


ชื่อเรื่อง                     ที่ระลึกสมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปริณายก องค์ที่ 17 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ปุ่น ปุณฺณสิริ)ผู้แต่ง                       กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      294.30922 ท535สถานที่พิมพ์               สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์                 มนัสการพิมพ์ปีที่พิมพ์                    2516ลักษณะวัสดุ               130 หน้าหัวเรื่อง                     สงฆ์ – ไทย                              สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น บุญณสิริ)ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก         รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับพระชีวประวัติเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ตลอดจนพระราชพิธีสถาปนาฯ งานสมโภชที่จังหวัดสุพรรณบุรี และปฏิปทาในขณะดำรงเพศพรหมจรรย์อันจักเป็นแบบฉบับที่ดีของอนุชนรุ่นหลัง



กระเบื้องเชิงชาย ลายเทพนม เมืองกำแพงเพชร..กระเบื้องเชิงชายหรือที่เรียกว่ากระเบื้องหน้าอุด คือกระเบื้องมุงหลังคาแถวล่างสุดของหลังคาแต่ละตับ ส่วนใหญ่ทำเป็นทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ทำหน้าที่กันฝน และสัตว์เข้าไปตามแนวกระเบื้อง..เทพนม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔ หมายถึง ชื่อภาพเทวดาครึ่งตัวประนมมือ ซึ่งลายเทพนมบนกระเบื้องเชิงชายนั้นมักพบในลักษณะโครงสร้างรูปสามเหลี่ยม หันพระพักตร์ตรง ประนมพระหัตถ์เสมอพระอุระ นอกจากนี้ยังพบลายเทพนมในงานศิลปกรรมอื่น เช่น ..งานจิตรกรรม ทำลายเทพนมในพุ่มข้าวบิณฑ์บริเวณหน้าต่างอุโบสถ วัดดวงแข กรุงเทพฯงานประดับสถาปัตยกรรม พบบริเวณหน้าบัน บันแถลง ประตู หน้าต่างของโบราณสถาน เช่น ลายปูนปั้นรูปเทพนมประดับปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลกเสมาหินชนวนสลักลายพันธุ์พฤกษาและเทพนม พบที่วัดพระนอน จังหวัดกำแพงเพชรลายเทพนมบนเครื่องถ้วยเบญจรงค์..การนำกระเบื้องเชิงชายลายเทพนมมาประดับหลังคาเหนือที่ประดิษฐานรูปพระพุทธเจ้านั้น สันนิษฐานว่าเป็นการแสดงการสักการะพระพุทธเจ้าของเหล่าเทพ หรือเป็นการสื่อถึงเทพประทับในวิมาน โดยแผ่นกระเบื้องเชิงชายเปรียบเสมือนซุ้มวิมานขององค์เทพ หรืออาจเป็นความหมายทางบุคลาธิษฐานในการเปรียบเทียบมนุษย์กับบัวสี่เหล่าของพระพุทธองค์ อันเป็นการแทนภาพของผู้ที่บรรลุโพธิญาณขั้นต้นที่หลุดพ้นจากโคลนตมใต้พื้นน้ำ..จากการศึกษากระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยาประเภทลายเทพนม ของ นายประทีป เพ็งตะโก สันนิษฐานว่า กระเบื้องเชิงชายลายเทพนมนั้นปรากฏตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นตลอดจนถึงอยุธยาตอนปลาย  ลักษณะสำคัญคือ เทพนมอยู่เหนือดอกบัวในลักษณะผุด หรือถือกำเนิดจากดอกบัว ในระยะแรกสันนิษฐานว่ามีการทำรูปดอกบัวใต้รูปเทพนมมีก้านมารองรับ จากการพบลวดลายปูนปั้นลักษณะคล้ายคลึงกันประดับปรางค์วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก ส่วนรูปดอกบัวรองรับรูปเทพนมลักษณะแบบไม่มีก้านนั้น เริ่มจากดอกตูม แล้วคลี่คลายมาเป็นดอกบาน รวมถึงมงกุฎแบบมีปุ่มแหลมเหนือกรอบกระบังหน้านิยมทำร่วมกันในสมัยอยุธยาตอนต้น ส่วนกลีบบัวที่กลายเป็นลายพันธุ์พฤกษาอยู่ในราวสมัยอยุธยาตอนกลางและปรับเปลี่ยนเป็นลายกระหนกในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒ โดยลายกระหนกใต้เทพนมนั้นมักทำเป็นกระหนกสามตัวสะบัดพลิ้ว หรือทำลายอย่างอื่นแทนที่รูปดอกบัว ส่วนลักษณะมงกุฎแบบทรงเครื่องใหญ่มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๓..การกำหนดอายุโดยวิธีการเปรียบเทียบ (Relative Dating) สันนิษฐานว่าลวดลายในกระเบื้องเชิงชายที่พบจากการขุดแต่งวัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชรนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับกระเบื้องเชิงชายที่พบในโบราณสถานของเมืองพระนครศรีอยุธยา โดยอ้างอิงภาพเปรียบเทียบลายกระเบื้องเชิงชายจากการศึกษาของ นายประทีป เพ็งตะโก ได้แก่..กระเบื้องเชิงชายลายเทพนม (ราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๒) ลักษณะทรงสามเหลี่ยมมีหยักที่ขอบนอก ปรากฏรูปเทพนมอยู่เหนือดอกบัว ทำเส้นนูนล้อกับทรงกระเบื้องล้อมรอบเทพนมจำนวนสองเส้น มงกุฎมีการซ้อนชั้นอย่างเรียบ ปลายแหลมสูง สวมกระบังหน้า ดอกบัวรองรับเทพนมไม่มีก้าน กลีบดอกบัวมีลักษณะเรียว และเริ่มมีลักษณะเปลี่ยนเป็นลายกนกบริเวณส่วนปลายกลีบ จากการขุดแต่งวัดช้างรอบ พบกระเบื้องเชิงชายลายเทพนมลักษณะคล้ายกับที่พบจากการขุดแต่งวัดธรรมมิกราช วัดพลับพลาชัย และวัดสุวรรณาวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา..เอกสารอ้างอิงคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำศัพทานุกรมด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ : บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๕๐.ประทีป เพ็งตะโก. กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๐. ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และคณะ. ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : บริษัท โอสถสภาจำกัด, ๒๕๓๙.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๕๙.สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๔.



ค้นพบ “วิธีการใช้น้ำมันมะพร้าวจุดตะเกียงเจ้าพายุแทนแอลกอฮอล์” ในปี ๒๔๘๗ . เอกสารจดหมายเหตุชุดจังหวัดจันทบุรี ระบุว่าเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๗ ปลัดกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งคณะกรมการจังหวัดจันทบุรีว่า นายสถานีรถไฟสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ได้ค้นพบวิธีการใช้น้ำมันมะพร้าวจุดตะเกียงเจ้าพายุแทนแอลกอฮอล์ขึ้นสำเร็จ จึงขอให้จังหวัดเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนทราบต่อไป โดยมีคำแนะนำวิธีการใช้ดังนี้ . ---- ให้เทน้ำมันมะพร้าวใส่จานแอลกอฮอล์ ซึ่งติดอยู่ที่โคนเสาไส้ตะเกียงเจ้าพายุประมาณเศษสองส่วนสามของจาน ---- ฉีกเศษผ้า ชุบน้ำมันมะพร้าวให้ชุ่มเอาวางในจานแอลกอฮอล์ ให้บางส่วนของผ้าพ้นขึ้นมาจากน้ำมันเล็กน้อย ---- เอาไม้ขีดไฟจุดที่ผ้าซึ่งมีน้ำมันหล่อเลี้ยง พอเสาไส้ตะเกียงมีความร้อนได้ที่ จึงทำการสูบ ผลที่ได้จากการใช้น้ำมันมะพร้าวแทนแอลกอฮอล์จุดตะเกียงนี้ กรมวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองปรากฏว่าใช้แทนกันได้ดี แต่ใช้เวลานานกว่าแอลกอฮอล์เล็กน้อย . • ความเป็นมาของตะเกียงเจ้าพายุ ตะเกียงเจ้าพายุดวงแรกของโลก ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ.๑๘๙๕ โดยนาย Meyenberg, Wendorf และ Henlein ได้ทำการจดลิขสิทธิ์ “ตะเกียงไอ (Vapourlamp)” เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ค.ศ.๑๘๙๕ ตะเกียงประเภทนี้นอกจากใช้ในบ้านเรือนแล้ว ยังใช้เป็นโคมไฟตามถนนหนทาง รวมถึงประภาคารเพื่อส่องแสงเจิดจ้าฝ่าความมืดผ่านมหาสมุทรเพื่อแจ้งเตือนเรือถึงภัยจากหินโสโครก . • หลักการทำงานของตะเกียงเจ้าพายุ เกิดจากหลักการเปล่งแสงของวัสดุ อันเนื่องมาจากพลังงานความร้อน (Incandescent) เหมือนกับหลอดไฟไส้ร้อนและสว่างจ้าจากกระแสไฟฟ้านั่นเอง แต่เจ้าพายุนั้นจะให้ความร้อนกับไส้ไหม (Rayon) ที่ทำมาจากสาร ceramic พวก Thorium Oxide, Cerium Oxide และ Magnesium Oxide ซึ่งสารทั้ง ๓ ตัวนี้ จะมีคุณสมบัติพิเศษ คือเปล่งแสงได้สว่างที่สุดเมื่อได้รับความร้อน โดยแสงนั้นจะสว่างจ้ากว่าเปลวไฟจากน้ำมันถึง ๖ เท่า . การให้ความร้อนกับไส้ไหมนี้ กระทำโดยพ่นน้ำมันก๊าดที่มีความดันผ่านหัวฉีด และผสมกับอากาศ และจุดให้เปลวน้ำมันก๊าดนี้ "พ่น" ผ่านไปยังไส้ไหมที่เคลือบ Oxide ไว้ โดยไส้ไหมของเจ้าพายุ จะไม่ไหม้เป็นจุณเพราะสาร ceramic ที่เคลือบไส้นี้มีจุดหลอมเหลว สูงถึง ๒,๕๕๐ องศา แต่เปลวจากไอน้ำมันก๊าดที่เผาไส้นั้นจะร้อนเพียง ๑,๔๐๐ องศาเท่านั้น ผู้สนใจสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี และระบบสืบค้นเอกสารจดหมายเหตุ https://archives.nat.go.th ผู้เรียบเรียง นางสาวสุจิณา พานิชกุล นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี ------------------------------ อ้างอิง : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี. เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี จบ ๑.๒.๔/๓๑๗ เรื่องการใช้น้ำมันมะพร้าวธรรมดาแทนแอลกอฮอล์จุดตะเกียงเจ้าพายุ (๑๓ กุมภาพันธ์ - ๒๙ มีนาคม ๒๔๘๗). ตะเกียงเจ้าพายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.thailandoutdoor.com/.../Lantern/lantern.html สืบค้นเมื่อ ๑ กันยายน ๒๕๖๕. หลักการทำงานของตะเกียงเจ้าพายุ. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/shopoutdoorlife สืบค้นเมื่อ ๑ กันยายน ๒๕๖๕.


ศึกษาบทเรียนครั้งก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ซ้ำ ๆ จากจดหมายเหตุกรณีกราดยิง ณ ศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช นครราชสีมา


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ จัดนิทรรศการ “ไอยรา ผ้าไหม เทิดไท้พระพันปีหลวง” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อให้พสกนิกรได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ระหว่างวันที่ ๙ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ โดยบูรณาการร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนตำบลสวาย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์ สภาวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองสุรินทร์ หอการค้าจังหวัดสุรินทร์ สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ และชมรมถ่ายภาพสมัครเล่นเมืองช้าง   กิจกรรมประกอบด้วย - นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ณ ห้องธรรมชาติวิทยา - นิทรรศการผ้าไหม จากองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย - นิทรรศการผ้าไทยร่วมสมัย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ - นิทรรศการภาพถ่ายไอยรา  จากชมรมถ่ายภาพสมัครเล่นเมืองช้าง   ณ บริเวณหน้าห้องสุรินทร์ดินแดนช้าง และบริเวณระเบียงทางเข้าอาคาร - ชมการสาธิต/จำหน่าย อาหารท้องถิ่น-หากินยาก  กันตรึมดนตรีวิถีสุรินทร์ จากองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย -กิจกรรม "จาฦก ไว้ในความทรงจำ" (แต่งไหม ในพิพิธภัณฑ์) และการประกวดถ่ายภาพแต่งกายผ้าไทยในงาน “ไอยรา ผ้าไหม เทิดไท้พระพันปีหลวง” โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์    พิธีเปิด เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. โดย นางทรงลักษณ์  วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธาน ทำพิธีเปิดกรวยสักการะฯ กล่าวถวายราชสดุดี จากนั้นเป็นการแสดงแบบแฟชั่นยุวชน จากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว/สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์   การแสดงแฟชั่นผ้าไหมร่วมสมัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ การแสดงจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์  ประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรหน่วยงานที่ร่วมบูรณาการจัดกิจกรรม บันทึกภาพ และเดินเยี่ยมชมนิทรรศการ


ชื่อเรื่อง                     ที่ระลึกสยามรัฐพิพิธภัณฑ์สวนลุมพินี พุทธศักราช 2468ผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียเลขหมู่                      959.3 ท535ทสถานที่พิมพ์               กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ปีที่พิมพ์                    2470ลักษณะวัสดุ               632 หน้าหัวเรื่อง                     ไทย -- ประวัติศาสตร์                                 ภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือเล่มนี้พิมพ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ประวัติการอันเป็นตำนานแห่งชาติยุคพระราชพงษาวดารสยามตั้งแต่กรุงศุโขทัยเป็นราชธานีตลอดมาจนรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นการแพร่หลายเพิ่มจำนวนสมุดให้ไพศาลยิ่งขึ้นทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ นอกจากประวัติการดังกล่าวมาแล้วจักได้แสดงนามสถิติพยากรณ์แห่งการพาณิชและธุระการต่างๆ ไว้เป็นหลักแห่งการอาชีพของผู้พึงปรารถนาที่จะค้นคว้าหาเงื่อนเค้า ทั้งประกอบภาพอันมีค่าของพระมหานครให้เป็นที่เจริญตาแห่งผู้ประสพอีกด้วย  


         ประติมากรรมรูปคนแคระ สมัยทวารวดี          ประติมากรรมรูปคนแคระ จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           ประติมากรรมปูนปั้นนูนสูงรูปคนแคระ กว้าง ๑๘ เซนติเมตร สูง ๒๓ เซนติเมตร มีใบหน้ากลมแบน คิ้วเป็นสันนูนต่อกันเป็นปีกกา ตาโปนเหลือบต่ำ จมูกแบนใหญ่ ปากกว้างอมยิ้ม ผมเรียบ สวมตุ้มหูทรงกลมแบนขนาดใหญ่ ซึ่งลักษณะใบหน้าและการสวมตุ้มหูรูปแบบนี้เป็นลักษณะเฉพาะที่พบในประติมากรรมดินเผาและปูนปั้นรูปบุคคล ยักษ์ และคนแคระในสมัยทวารวดี ลำตัวอวบอ้วนมีหน้าท้องใหญ่ อยู่ในท่านั่งชันเข่า แยกขา วางมือบนหัวเข่า แขนขวาและขวาขวาหักหายไป กำหนดอายุสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ - ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว          ประติมากรรมปูนปั้นชิ้นนี้ สันนิษฐานว่าเป็นส่วนประกอบสถาปัตยกรรม โดยประดับอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมบริเวณส่วนฐานของอาคาร ตามคติผู้พิทักษ์และค้ำจุนศาสนา จึงนิยมเรียกว่า “คนแคระแบก” การประดับประติมากรรมรูปคนแคระที่ส่วนฐานหรือส่วนอื่น ๆ ของสถาปัตยกรรมปรากฏมาแล้วในศิลปะอินเดีย และส่งอิทธิพลทางด้านรูปแบบ และคติการสร้างให้งานศิลปกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย เป็นต้น           นอกจากประติมากรรมชิ้นนี้แล้ว ยังพบประติมากรรมรูปคนแคระได้ทั่วไปตามเมืองโบราณสมัยทวารวดี โดยพบทั้งประติมากรรมปูนปั้นและดินเผา มีลักษณะร่วมกันคือเป็นบุคคลมีรูปร่างอวบอ้วน สวมตุ้มหูทรงกลมขนาดใหญ่ นั่งชันเข่า แยกขา แสดงท่าแบกโดยมีทั้งแบบที่ยกมือทั้งสองข้างขึ้นแบก และวางมือทั้งสองข้างบนเข่าโดยใช้ไหล่แบกรับน้ำหนัก ส่วนมากมีศีรษะเป็นคน พบที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี วัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี และเมืองโบราณโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมรูปคนแคระที่มีศีรษะเป็นสัตว์ เช่น สิงห์ ลิง วัว ด้วย แต่มีจำนวนไม่มากนัก พบที่โบราณสถานเขาคลังใน เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น   เอกสารอ้างอิง ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. วรพงศ์  อภินันทเวช. “ประติมากรรมคนแคระในวัฒนธรรมทวารวดี: รูปแบบและความหมาย”. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕.


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           39/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              26 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 59 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ไฮไลท์ของแหล่งเรือจม “กลางอ่าว” ที่จะละเลยไม่ได้ นั่นก็คือ โบราณวัตถุที่ที่ถูกลักลอบนำขึ้นมาจากซากเรือ ซึ่งส่วนมากเป็นภาชนะดินเผาทั้งหมด 10,764 ชิ้น โดยในจำนวนนี้เป็นโบราณวัตถุที่ตรวจยึดมาได้ในครั้งแรกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2534 ทั้งหมด 477 ชิ้น และโบราณวัตถุที่ยึดได้จากเรือออสเตรเลียไทด์เมื่อต้นปี พ.ศ. 2535 ทั้งหมด 10,287 ชิ้น เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ เกือบทั้งหมดผลิตขึ้นจากแหล่งเตาในประเทศไทย โดยสามารถแบ่งเบื้องต้น ได้ดังต่อไปนี้ ภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาแม่น้ำน้อย อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี พบ 3,425 ใบ เป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่ง (Stoneware) แบบไหสี่หูซึ่งทำหน้าที่เป็นบรรจุภัณฑ์ มีตั้งแต่ขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ รวมไปถึงมีรูปทรงอื่นๆอีก ทั้ง ถ้วย โถ อ่าง โดยมีทั้งที่เคลือบสีน้ำตาลและแบบไม่เคลือบ นอกจากนี้ยังพบเครื่องใช้ภายในเรือจำพวก เตาเชิงกราน ตะเกียงแขวน และหม้อประกอบอาหาร ภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาบ้านป่ายาง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย พบ 6,525 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นเครื่องสังคโลกขนาดเล็กเคลือบเขียว มีลวดลายขูดขีดใต้เคลือบ อาทิ ขวดสองหู กระปุก ตลับ จาน ชาม และโถมีผาปิด ไม่เพียงเท่านี้ยังมีตีกตาที่ทำขึ้นอย่างประณีต จำพวก ตุ๊กตารูปบุคคลในชีวิตประจำวัน บุคคลขี่ม้า มีจตุรงคบาท บุคคลขี่ช้าง ภาชนะดินเผาจากต่างประเทศพบเครื่องถ้วยจีนลายคราม 5 ใบ เครื่องถ้วยอันนัมประเภทตลับ 244 ใบ ตุ๊กตารูปกระต่ายและกบ 85 ตัว อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนักที่นักโบราณคดีแทบจะไม่ทราบลักษณะการจัดเรียงสินค้าภายในระวางของเรือลำนี้เลย เนื่องจากของทุกอย่างถูกลักลอบนำขึ้นมาจนหมด ทราบเพียงว่ามีการนำแคร่ไม้ไผ่มากั้นระหว่างภาชนะดินเผาบางประเภท ข้อมูลจากโบราณวัตถุที่พบทำให้สามารถสรุปได้ว่าเรือลำนี้เป็นเรือสำเภาของอยุธยา ซึ่งมีการแล่นค้าขายช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 22 โดยการเดินทางครั้งสุดท้ายมีการเลือกซื้อสินค้าจากอยุธยาซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขาย เพื่อนำสินค้าไปขายในต่างแดน และแล่นออกจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาออกอ่าวไทย โดยขนาดของเรือกลางอ่าวนั้นยาวประมาณ 40-50 เมตร กว้างประมาณ 12 เมตร เป็นเรือสำเภาขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกค้นพบในน่านน้ำประเทศไทย ในการเดินทางจึงไม่จำเป็นต้องแล่นเรือเลียบชายฝั่งอย่างเรือสำเภาลำอื่นๆ แต่สามารถแล่นตัดอ่าวไทยมุ่งลงใต้ได้ ปลายทางนั้นมีการสันนิษฐานว่าอาจเป็นได้ทั้งการเดินทางแล่นผ่านช่องแคบมะละกาออกมหาสมุทรอินเดีย หรือไปสู่หมู่เกาะอินโดนีเซียหรือฟิลิปปินส์ แต่ก็ถึงคราวเคราะห์ร้ายประสบเหตุจมลงระหว่างการเดินทางเสียก่อน อ้างอิง จารึก วิไลแก้ว. 2535. “มรดกใต้ท้องทะเลไทย เรืออ่าวไทย 1.” นิตยสารศิลปากร 35 (2): 8-33. สายันต์ ไพรชาญจิตร์. 2535. “ความเคลื่นไหวของโบราณคดีใต้น้ำในประเทศไทยและหลักฐานการพาณิชย์นาวีสมัยกรุงศรีอยุธยา.” นิตยสารศิลปากร 35 (2): 34-70.


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 134/4เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


Messenger