ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,351 รายการ
ชื่อเรื่อง ธรรมภาวนา (ธรรมภาวนา)
สพ.บ. 329/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 36 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
เลขทะเบียน : นพ.บ.182/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 42 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 104 (101-109) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)
ชบ.บ.88ก/1-11
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (มทฺรี-นครกัณฑ์)
ชบ.บ.106ข/1-10ก
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.345/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 134 (370-377) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : สังฮอมธาตุ--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผลงาน: วิถีแห่งความฝัน
ศิลปิน: มีเซียม ยิบอินซอย (พ.ศ. 2449 - 2531)
เทคนิค: จิตรกรรมสีน้ำมันบนกระดาษอัด
ขนาด: กว้าง 69 ซม. สูง 92 ซม.
ปี: พ.ศ. 2492
รายละเอียดเพิ่มเติม: มีเซียม ยิบอินซอย ศิลปินหญิงรุ่นแรกๆ ของเมืองไทย ถึงแม้เธอจะไม่ได้ร่ำเรียนศิลปะจากสถาบันการศึกษาใดๆ แต่ทว่าในฐานะแม่บ้านจากครอบครัวนักธุรกิจ ทำให้มีเซียมมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง รวมถึงได้มีโอกาสชื่นชมผลงานของศิลปินชั้นแนวหน้าที่จัดแสดงอยู่ในหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ศิลปะมีชื่อตามเมืองสำคัญต่างๆ ที่เธอเดินทางไป มีเซียมมีความประทับใจในงานจิตรกรรมแบบอิมเพรสชั่นนิสต์เป็นพิเศษ ภายหลังจากกลับจากต่างประเทศ ถึงแม้วัยจะล่วงเลยเข้าสู่วัยกลางคน เธอตัดสินใจเริ่มเรียนเขียนภาพกับจิตรกรชาวญี่ปุ่นที่พำนักในไทย ณ ขณะนั้น นาม มูเน่ต์ ซาโตมิ (Mounet Satomi) และด้วยความสนใจในงานภาพทิวทัศน์แบบอิมเพรสชั่นนิสต์ ที่มีเซียมมีอยู่เป็นทุนเดิมกอปรกับพรสวรรค์และความตั้งใจอันแน่วแน่ ทักษะในการเขียนภาพของมีเซียมจึงพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด ภายหลังจากเรียนเขียนภาพกับซาโตมิได้ไม่ถึงปี มีเซียมได้ส่งภาพทิวทัศน์ต้นก้ามปูสองของทางซอยชิดลม ซึ่งเธอให้ชื่อภาพว่า “วิถีแห่งความฝัน” เข้าประกวดในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งแรก พุทธศักราช 2492 และสามารถคว้ารางวัลเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งดังกล่าว นอกจากนี้ เธอยังพิสูจน์ให้เห็นถึงทักษะชั้นเยี่ยมในทางจิตรกรรม ด้วยการคว้ารางวัลรางวัลเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่สองและครั้งที่สาม ติดต่อกันถึงสามครั้ง ทำให้มีเซียมเป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “ศิลปินชั้นเยี่ยม” จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ
Title: Dreamer Avenue
Artist: Misiem Yipint Soi (1906 - 1988)
Technique: oil on paper
Size: 69 × 92 cm.
Year: 1949
Detail: Misiem Yipint Soi, considered among early generation of woman artists in Thailand around late 1950s, although she did not graduate from any art institutes. Her family background as a business family offers her an opportunity to travelling abroad on business purpose occasionally, she visited art museums and art galleries as she traveled from town to town which resulted as her impression on western art especially impressionist painting. When she came back to Bangkok, she decided to have a private painting lesson with Japanese painter Mounet Satomi. Misiem’s skill on painting developed rapidly due to her interest on impressionist landscape. Less than a year from her lesson with Satomi, she was encouraged to send this landscape painting entitled “Dreamer Avenue” to compete on the 1st National Exhibition of Art in 1949 and won honorary gold medal award on painting. And surprisingly she also won the same award from the same competition in 1950 and 1951. Due to her thrice award winning in a row, she is the first Thai artist who adopted as “Artist of Distinction” on the 3rd National Exhibition of Art.
อ้างอิง / Reference: Apinan Poshyananda, Modern Art in Thailand: Nineteenth and Twenty Centuries (Doctoral Dissertation, Cornell University) (New York: Oxford University Press, 1992) p. 72
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง สุภาษิตขงจู๊ กับ เรื่อง นางเคงเกียงสอนบุตร
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์สามมิตร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๕
จำนวนหน้า ๑๐๘ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายลักซือ (แซ่ฉั่ว) ฉัตตะละดา
หนังสือเรื่องสุภาษิตขงจู๊นี้ พระอมรโมลี สถิต ณ วัดราชบูรณะ ได้แปลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และในต้นฉบับสุภาษิตขงจู๊ ยังมีเรื่องคนร้อยจำพวกจดไว้ข้างท้ายอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งได้นำมารวมไว้เพื่อรักษาสำนวนและความคิดของเก่า ส่วนเรื่องนางเคงเกียงสอยบุตร นั้น ในบานแพนกจดไว้ว่า “เป็นของพระยาศรีสุนทรโวหาร คัดไว้” เป็นสุภาษิตจีนที่มีคติสอนใจเหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป
กรมศิลปากร โดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำหนดจัด การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เล่าเรื่องของเล่น ของสะสม (ของจิ๋ว) เจ้านายในราชสำนัก” ในวันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ผู้สนใจลงทะเบียนสำรองที่นั่ง (จำนวนจำกัด ๔๐ คน) โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ หรือชมผ่าน Facebook Live: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในพระตำหนักแดงในหัวข้อเรื่องวิถีชีวิตของเด็กไทย และเปิดให้บริการประชาชนอย่างเป็นทางการแล้ว โดยมีส่วนจัดแสดงชุดเครื่องเล่น เครื่องเรือน และของใช้จำลอง ของพระบรมวงศานุวงศ์และเจ้านายในราชสำนัก ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมค่อนข้างมาก ทั้งรูปแบบ ขนาด วิธีทำ และผู้เป็นเจ้าของ จึงได้จัดการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เล่าเรื่องของเล่น ของสะสม (ของจิ๋ว) เจ้านายในราชสำนัก” เพื่อเผยแพร่ความรู้บางมุมมองของวิทยากรและทายาทผู้เป็นเจ้าของ ประกอบด้วย การบรรยาย เรื่อง ขนบธรรมเนียมการสะสมของเล่น (ของจิ๋ว) เจ้านายในราชสำนัก วิทยากรโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ การบรรยาย เรื่อง เล่าเรื่องของสะสม ของเล่น (ของจิ๋ว) ของคุณยายในวัง (เจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ ๕) วิทยากรโดย ทันตแพทย์หญิง พิมสวาท วัฒนศิริโรจน์ ดำเนินรายการโดยนายยุทธนาวรากร แสงอร่าม ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ผู้สนใจร่วมการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “เล่าเรื่องของเล่น ของสะสม (ของจิ๋ว) เจ้านายในราชสำนัก” ในวันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ลงทะเบียนสำรองที่นั่งได้ที่ โทร. ๐ ๒๒๒๔ ๑๓๓๓ และ ๐ ๒๒๒๔ ๑๔๐๒ หรือชมผ่าน Facebook Live: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ชื่อเรื่อง ตำนานพระพุทธสิหิงค์ ฉบับพระยาปริยัติธรรมธาดา แปลผู้แต่ง กรมศิลปากรประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือหายากหมวดหมู่ ศาสนาเลขหมู่ 294.31218 พ355ตสถานที่พิมพ์ พระนครสำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพรปีที่พิมพ์ 2506ลักษณะวัสดุ 70 หน้าหัวเรื่อง พระพุทธสิหิงค์ภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก กล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานพระพุทธสิหิงค์
ทวารบาล ผู้พิทักษ์ศาสนสถานเมืองกำแพงเพชร.ทวารบาล หมายถึง นายประตูหรือผู้ปกปักรักษาประตู ไม่ให้สิ่งที่เป็นอันตรายหรือสิ่งที่ชั่วร้ายผ่านไปสู่พื้นที่ด้านหลังบานประตูนั้นได้ พื้นที่ปราสาทพระราชวังในสมัยก่อน หรือแม้กระทั่งสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในปัจจุบันก็มักจะมีองครักษ์ หรือทหารยามคอยเฝ้าระวังรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา ศาสนสถานเปรียบเสมือนที่ประทับแห่งเทพหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างรูปทวารบาลของศาสนสถานที่ดูน่าเกรงขามหรือทำให้เชื่อว่าป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้เพื่อไว้คุ้มครองและอำนวยพรแก่ผู้มาสักการะศาสนสถาน .ทวารบาลในศิลปะเขมรที่พบในประเทศไทย เมื่ออาณาจักรเขมรแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาในดินแดนไทย รวมไปถึงการรับเอารูปแบบของประติมากรรมทวารบาล โดยในศิลปะเขมรมักปรากฏทวารบาลเป็นคู่ อยู่หน้าประตูทางเข้าหลักของเทวาลัย ประตูฝั่งขวาจะเป็นที่สถิตของนนทิหรือนนทิเกศวร เทพบุตรซึ่งเป็นบริวารเอกแห่งพระศิวะ ผู้มีใบหน้ายิ้ม เปี่ยมด้วยความเมตตา ส่วนประตูฝั่งซ้ายเป็นที่สถิตของกาลหรือมหากาล ซึ่งเป็นภาคหนึ่งที่โหดร้ายของพระศิวะ หรือบางตำรากล่าวว่ามหากาลคือพระกาฬ เทพแห่งกาลเวลาผู้กลืนกินทุกอย่าง จึงแสดงออกในรูปที่ดุร้าย มีเขี้ยว และมีใบหน้าที่แสยะยิ้มน่ากลัว เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าทุกทิศของปรางค์ประธาน ปรากฏหลุมสำหรับติดตั้งประติมากรรมขนาบอยู่สองข้างสำหรับประติมากรรมทวารบาล ซึ่งมีหน้าที่เฝ้าวิมานของเทพเจ้า ดังที่พบประติมากรรมจำลองบริเวณประตูทางเข้าด้านทิศใต้ของปรางค์ประธาน เป็นประติมากรรมลอยตัวรูปบุคคล มีลักษณะแสดงความเมตตากรุณา น่าจะเป็นประติมากรรมรูปนนทิเกศวร ซึ่งสอดคล้องกับการสร้างศาสนสถานปราสาทพนมรุ้งเนื่องในไศวนิกาย.ความเชื่อเกี่ยวกับทวารบาลที่ประดับเพื่อสื่อถึงความหมายในการปกป้องศาสนสถานที่เมืองกำแพงเพชร ปรากฏประติมากรรมทวารบาลในบริเวณทางเข้าศาสนสถานทั้งที่เป็นรูปบุคคลและรูปสัตว์ โดยที่วัดช้างรอบ ด้านทิศเหนือของเจดีย์ประธานบริเวณเชิงบันไดเพื่อขึ้นสู่ลานประทักษิณ พบร่องรอยประติมากรรมทวารบาลรูปบุคคล มีลักษณะของโกลนศิลาแลงเป็นเค้าโครงบุคคลแต่ไม่พบหลักฐานชัดเจนที่สามารถบ่งบอกได้ว่าโกลนศิลาแลงดังกล่าวเป็นทวารบาลรูปเทพหรืออสูร และยังพบโกลนศิลาแลงรูปสิงห์ตั้งอยู่ด้านหน้าทวารบาลรูปบุคคลและทำหน้าที่เป็นทวารบาลเช่นเดียวกัน รูปแบบดังกล่าวยังปรากฏที่วัดสิงห์โบราณสถานวัดสิงห์ แต่พบร่องรอยประติมากรรมรูปสิงห์และด้านหลังเป็นโกลนประติมากรรมรูปบุคคลตั้งเป็นคู่กัน บริเวณด้านหน้าชานชาลาของอุโบสถ นอกจากนี้ที่วัดเขาสุวรรณคีรี เมืองศรีสัชนาลัย บริเวณซุ้มประตูด้านทิศใต้ทางเข้าของกลุ่มเจดีย์และวิหารที่ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของเจดีย์ประธาน ปรากฏโกลนศิลาแลงรูปบุคคลยืนในลักษณะเข่าแยกออกจากกัน และยังปรากฏชิ้นส่วนปูนปั้นที่สันนิษฐานว่าเป็นประติมากรรมรูปสิงห์ทำหน้าที่เป็นทวารบาลของศาสนสถานแห่งดังกล่าวด้วย.นอกจากการประดับประติมากรรมทวารบาลแบบลอยตัวบริเวณทางเข้าศาสนสถานแล้ว ยังพบการทำรูปทวารบาลสำหรับประจำบนบานประตูและบานหน้าต่าง ซึ่งมีทั้งที่จำหลักลงบนไม้และชนิดที่เป็นงานเขียนสี นิยมเป็นภาพเทวดาแต่งกายตามขนบนิยมอย่างไทย.ในสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน ศาสนสถานเนื่องในพุทธศาสนาหลายแห่งยังคงสืบต่อคติความเชื่อเรื่องทวารบาลต่อจากสมัยอยุธยาตอนปลาย จนกระทั่งในช่วงรัชกาลที่ ๔ - ๕ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของทวารบาลที่ในอดีตมักจะปรากฏเฉพาะเทพ อสูร หรือสัตว์ในนิยายเท่านั้น แต่บางพื้นที่ยังพบการทำทวารบาลให้กลายเป็นบุคคลใส่เครื่องแบบทหารถืออาวุธ เช่นที่พบบริเวณหน้าประตูทางเข้าวิหารของวัดโพธิ์ชัยศรี (วัดหลวงพ่อนาค) อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี .จากอดีตจนถึงปัจจุบันพบรูปแบบของทวารบาลที่มีรูปแบบหลากหลายแตกต่างกันไปตามความเชื่อของแต่วัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามการปรากฏลักษณะของทวารบาลบริเวณประตูทางเข้าศาสนสถานหรือสถานศักดิ์สิทธิ์ต่างสะท้อนความเชื่อเรื่องการปกป้องคุ้มครองสถานที่แห่งดังกล่าว ด้วยรูปแบบประติมานวิทยาที่แสดงถึงความมีพลังอำนาจจากอสูร เทวดา สัตว์ในเทพนิยาย และทหาร......เอกสารอ้างอิงกรมศิลปากร. ทวารบาลผู้รักษาศาสนสถาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒ .กรุงเทพฯ : บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. ๒๕๔๖.กรมศิลปากร. ปราสาทพนมรุ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.พี กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์ จำกัด. ๒๕๔๓.ศุภรัตน์ เรืองโชติ. ประติมากรรมยักษ์ทวารบาลในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รูปแบบและคติการสร้าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๐)ระพี เปรมสอน. จากทวารบาลแบบประเพณีสู่ทวารบาลแบบจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕)ปัทมา สาคร. ทวารบาลแบบไทยประเพณีในงานจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลายกับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๓)ความคิดเห็น 0 รายการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park2 มีนาคม · วันพุธที่ ๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๑๒.๒๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง ๔ (บ้านใหม่ศรีอุบล) จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๘๓ คน เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชมความคิดเห็น 0 รายการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park1 มีนาคม · วันอังคารที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๕ เวลา ๘.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านถนนน้อย จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๑๒๒ คน เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยมีนายธนากรณ์ มณีกุล และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม1 ความคิดเห็นมีการเลือกความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องมากที่สุด ดังนั้นความคิดเห็นบางส่วนอาจถูกกรองออกอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park25 กุมภาพันธ์ · วันพฤหัสบดี ที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้๑. เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๕๔ คน โดยมีนางสาวพัชราภรณ์ โพธิ์ไกร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม๒. เวลา ๐๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านลานไผ่ จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๒๓๐ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม และนางสาวพิมพ์วลัญช์ เหล่าถาวร ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม... ดูเพิ่มเติมความคิดเห็น 0 รายการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร : Kamphaeng Phet Historical Park18 กุมภาพันธ์ · วันศุกร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีคณะเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ดังนี้๑. เวลา ๙.๐๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนบ้านใหม่พัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๗๑ คน โดยมีนายธนากรณ์ มณีกุล ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชม๒. เวลา ๑๔.๓๐ น. คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนวัดราษฎร์สโมสร จังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๕๗ คน โดยมีนายชยานนท์ เจริญธรรม ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากรนำชมความคิดเห็น 0 รายการ
เมื่อครั้งริเริ่มสร้างอนุสาวรีย์พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง)
เจ้าเมืองอุบลราชธานี ได้มีการขอรับบริจาคโละหะประเภทต่างๆ จากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา เพื่อใช้ในการหล่อองค์พระ ในจำนวนเนื้อโลหะที่ได้รับการบริจาคนั้น มีโลหะเงินปนอยู่ ซึ่งถ้าหากนำโลหะเงินไปหล่อรวมกับโลหะประเภทอื่นๆ แล้วก็จะไม่สวยงาม จึงนำโลหะเงินไปหล่อเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
พิธีหล่อและพุทธาภิเษกพระพุทธเจ้าจอมเมือง จัดขึ้นที่วัดศรีอุบลรัตนาราม โดยมีพระเทพมงคลเมธี (กิ่ง มหปฺผโล) รองเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) ให้ศีลและเป็นประธานจุดเทียนชัย คุณพ่อมหาเชย จันสุตะ เป็นผู้นำคณะพราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวง พระราชสุมธี (สุทฺธจิตฺโต สิงห์ ภาระมาตย์) เจ้าคณะภาค 10 (ธ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนาราม เป็นประธานดับเทียนชัย พระโพธิญาณมุนี (ภทฺทิโย สุธีร์ ดวงมาลา) เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี(ธ) เจ้าอาวาสวัดเลียบ เป็นประธานอำนวยการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์
พิธีเททองหล่อพระพุทธเจ้าจอมเมืองจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2523 เวลา 09.09 น. มีนายทองหยด จิตตวีระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเททองฝ่ายฆราวาส ช่างที่ทำการหล่อพระพุทธเจ้าจอมเมืองเป็นช่างที่มาจากบ้านปะอาว ต.ปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อหล่อพระพุทธรูปแล้วถวายพระนามว่า "พระพุทธเจ้าจอมเมือง" และได้มอบพระพุทธรูปองค์นี้ให้กับทางจังหวัดอุบลราชธานี (ในสมัยนั้น) นำมาประดิษฐานที่ห้องประชุมศาลากลางหลังเก่า ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
ข้อมูลอ้างอิง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
ภาพประกอบ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี
(รับมอบจากนายปกรณ์ ปุกหุต)