ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ

องค์ความรู้ เรื่อง เล่าเรื่องประติมานวิทยา : ราวณานุครหมูรติ เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ


องค์ความรู้ เรื่อง ปูนขาวจากระบวนการศึกษาทางด้านโบราณคดี ตอนที่ ๑ การขุดค้นแหล่งโบราณคดีเตาเผาปูนขาวบ้านภูเขาทอง หมู่ ๗ ตำบลบ้านม่วง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย  เรียบเรียงข้อมูล : กุลวดี สมัครไทย นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๘ ขอนแก่น



          การสำรวจจารึกวัดราชคฤห์เกิดขึ้นจากกลุ่มงานภาษาโบราณ กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก กรมศิลปากร ได้รับการประสานงานจาก กองโบราณคดี กรมศิลปากร ว่าพบจารึกบริเวณด้านข้างของพระพุทธบาทจำลอง ณ บริเวณมณฑป บนเขามอ ของวัดราชคฤห์ แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ จึงได้เดินทางไปดำเนินการตรวจสอบจารึกพระพุทธบาทจำลอง วัดราชคฤห์ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ สภาพจารึกฐานพระพุทธบาทในมณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ          เมื่อเข้าไปตรวจสอบสภาพของฐานพระพุทธบาทและจารึกพบว่าฐานพระพุทธบาทจำลองนี้สร้างจากปูนหล่อ มีขนาด (รวมฐาน) ความกว้างด้านบน ๙๖ ซม. ความกว้างด้านล่าง ๙๒ ซม. ความยาว ๒๖๐ ซม. ความสูง ๗๕ ซม. วัดโดยรอบรอยพระพุทธบาท ๕๒๐ ซ.ม. ลักษณะภายนอกมีการลงรักปิดทอง ประกอบกับรักที่ทาไว้มีความชื้นและเหนียว ทำให้ไม่สามารถทำสำเนาจารึกด้วยกระดาษเพลาได้ ทางคณะสำรวจฯ จึงดำเนินการทำสำเนาด้วยการลงแป้งบริเวณตัวจารึกเพื่ออ่านถ่ายถอดและตรวจสอบวิเคราะห์ จากนั้นก็ทำการบันทึกภาพ พร้อมทั้งดำเนินการลงทะเบียนจารึก นายเทิม มีเต็ม ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากรและนักภาษาโบราณ ตรวจสอบจารึก นักภาษาโบราณดำเนินการลงแป้งเพื่ออ่านตรวจสอบวิเคราะห์ ดำเนินการลงทะเบียนและอ่านตรวจสอบวิเคราะห์           ซึ่งรายละเอียดของการลงทะเบียนจารึกฐานพระพุทธบาทในมณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ กรุงเทพฯ มีดังนี้ ทะเบียนจารึก ชื่อจารึก                   จารึกพระพุทธบาทจำลอง ทะเบียนจารึก           กท.๓๐๕ อักษร                       ไทย ศักราช                     พุทธศักราช ๒๓๔๒ ภาษา                       ไทย ด้าน/บรรทัด             ๑ ด้าน ๑ บรรทัด วัตถุจารึก                 รอยพระพุทธบาท ลักษณะวัตถุ ปูนลงรักปิดทอง ขนาดวัตถุ                รอยพระพุทธบาทรวมฐาน ด้านบนกว้าง ๙๖ ซม. ด้านล่างกว้าง ๙๒ ซม. ยาว ๒๖๐ ซม. สูง ๗๕ ซ.ม. วัดโดยรอบ ๕๒๐ ซม.                                  รอยพระพุทธบาท ด้านบนกว้าง ๖๒.๕ ด้านล่างกว้าง ๔๔ ซ.ม. ยาว ๑๖๒ ซ.ม. จารึก สูง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๑๔๒ ซ.ม. พบเมื่อ                     ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ //สถานที่พบ มณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร ผู้พบ                        กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี ปัจจุบันอยู่ที่             มณฑปบนเขามอ วัดราชคฤห์ แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประวัติ                     กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี สำรวจพบเมื่อ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓           เมื่ออ่านถ่ายถอดและวิเคราะห์จารึกฐานพระพุทธบาทจำลองนี้ได้ความว่า คำอ่าน๏ วัน ๖ ๑๕ ๒ จุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมแมเอกศกเจ้าพญาพระคลังหล่อลายลักษณพระพุทธบาทฉลององคสมเดจ์พระพุทธิเจ้าไว้ในสาษนาจงเปนปัจจัย (แก่) พระนิพานขอแผ่กุสนนี้ ให้แก่สมณอาณาประชาราษฎรแลสรรพสัตวทังปวงจงทัว คำปัจจุบัน ๏ วันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมะแมเอกศก เจ้าพระยาพระคลังหล่อลายลักษณ์พระพุทธบาทฉลององค์สมเด็จพระพุทธิเจ้าไว้ในศาสนาจงเป็นปัจจัย (แก่) พระนิพพานขอแผ่กุศลนี้ ให้แก่สมณอาณาประชาราษฎรแลสรรพสัตว์ทั้งปวงจงทั่ว            จากการอ่านถ่ายถอดและวิเคราะห์พบว่ารอยพระพุทธบาทจำลองจารึกด้วยอักษรไทย ภาษาไทย จุลศักราช ๑๑๖๑ รอยพระพุทธบาทจำลองนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมะแมเอกศก ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๓๔๒ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑ )           ส่วนผู้ที่สร้างพระพุทธบาทจำลองนี้คือเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งในช่วงเวลานี้สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ซึ่งเมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าตรงกับประวัติความเป็นมาของวัดราชคฤห์ดังนี้           “วัดราชคฤห์ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลาย หรือก่อนสมัยกรุงธนบุรี โดยพวกนาย กองมอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และตั้งบ้านเรือนอยู่ในแขวงบางยี่เรือ เมื่อสร้างเสร็จแล้วมีชื่อเรียกตามสถานที่ตั้งว่า “วัดบางยี่เรือ” บางทีก็เรียกว่า “วัดบางยี่เรือมอญ” หรือ “วัดมอญ”ที่เรียกเช่นนี้ คงสืบเนื่องจากเดิมมีพระมอญจำพรรษาอยู่ ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี คงจะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเพราะเชื่อกันว่าพระยาพิชัย (พระยาพิชัยดาบหัก) แม่ทัพสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นผู้สร้างพระอุโบสถ (ปัจจุบันคือพระวิหารใหญ่) และพระปรางค์เหลี่ยมย่อไม้ยี่สิบ ด้านหน้าพระวิหารใหญ่ มาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดบางยี่เรือมอญ หรือวัดมอญ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า “วัดราชคฤห์” ในการนี้ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เสนาบดีกรมท่า ได้สร้างเขามอเป็นภูเขาประดับด้วยหินจากทะเลบนยอดเขาสร้าง “มณฑปจตุรมุข” เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง สร้างพระสถูปและนำพระบรมธาตุมาบรรจุไว้” ----------------------------------------------ข้อมูล : นางศิวพร เฉลิมศรี นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ สำนักหอสมุดแห่งชาติ----------------------------------------------บรรณานุกรม พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. จารึกเรื่องสร้างภูเขาที่วัดราชคฤห์. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, ๒๔๗๖. พระคลัง (หน), เจ้าพระยา. ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตศรีวิชัยชาดก กลอนจารึกเรื่องสร้างภูเขา วัดราชคฤห์. พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๗. ราชบัณฑิตยสถาน. ประวัติวัดราชคฤห์. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๒๘.


          ในการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของคลองคูเมืองเดิม (คลองบ้านขมิ้น) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในโครงการอนุรักษ์และพัฒนากำแพงและคูเมืองกรุงธนบุรี ระหว่าง ปี งบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ พบหลักฐานทางโบราณคดีที่น่าสนใจประเภทหนึ่ง คือ ตุ๊กตาดินเผา พบจำนวนกว่า๒๐ รายการ           ตุ๊กตาดินเผาเหล่านี้ มีวิธีทำแบ่งเป็น ๒ แบบ ได้แก่ แบบที่ ๑ ทำจากดินเหนียวขึ้นรูปด้วยพิมพ์และเผาด้วยอุณหภูมิต่ำกว่า ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส เป็นตุ๊กตาดินเผามีขนาดสูงระหว่าง ๕ – ๑๒ เซนติเมตร ปั้นเป็นรูปบุคคลเพศชายและเพศหญิง ในอิริยาบถยืนและนั่งพับเพียบ ตุ๊กตาเหล่านี้ล้วนไม่มีศีรษะ ตุ๊กตารูปคนบางชิ้นอยู่ในอิริยาบถยืนยืนข้างเด็กหรือนั่งอุ้มไก่ ส่วนตุ๊กตาเพศหญิงบางชิ้นอยู่ในอิริยาบถนั่งอุ้มเด็ก           แบบที่ ๒ พบเพียง ๑ ชิ้น เป็นตุ๊กตารูปคนนั่งชันเข่า ไม่มีส่วนศีรษะ ขนาดสูงประมาณ ๖ เซนติเมตร ทำด้วยดินขาวขึ้นรูปด้วยการปั้นและมีการเคลือบผิวด้วยน้ำเคลือบ โดยเผาในอุณหภูมิ ๑,๓๐๐ – ๑,๔๕๐ องศาเซลเซียส           ดินเผาเหล่านี้พบร่วมกับเศษเครื่องถ้วยจีนที่กำหนดอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๔ – ๒๕ จึงสันนิษฐานว่า อาจเป็นสิ่งที่ทำขึ้นตามในช่วงระยะเวลาเดียวกัน โดยลักษณะการพบที่ไม่ปรากฏส่วนศีรษะอยู่กับตัวตุ๊กตา อาจเปรียบเทียบได้กับตุ๊กตาที่ใช้ในพิธีกรรม ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงประทานอธิบายแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในสาส์นสมเด็จ ว่า “...อุบายเสียกะบาลอยูในประเภทลวงผี มักทำในเวลามีคนเจ็บไข้อาการส่อว่าถูกผีกระทำ หรือทำเมื่อขึ้นปีใหม่เพื่อจะทำให้ผีสำคัญว่าได้คนในครัวเรือนนั้นไปแล้ว ไม่มาค้นคว้าหาตัวในปีนั้น ลักษณะการเสียกะบาลที่ทำกันในกรุงเทพฯ ว่า ตามที่ได้เคยเห็นมาแต่เด็ก เอาดินเหนียวมาปั้นหุ่น(อย่างตุ๊กตา) แทนตัวคน จะให้แทนคนไหนเอาของที่คนนั้นใช้ เช่น ตัดเศษผ้านุ่งห่มเอาไปแต่งหุ่นเป็นสำคัญ แล้วเอากาบกล้วยมากรึงเป็นอย่างรูปกะบะ เรียกว่า กะบาล เอารูปหุ่นมากหรือน้อยแล้วแต่เหตุ ตั้งรวมลงในกะบาล มีข้าวปลาใส่กระทงน้อยๆ(จะหมายว่าเป็นเสบียงของหุ่นหรือเป็นเครื่องเซ่นผี ข้อนี้ไม่ทราบแน่) วางไปในกะบาลนั้นด้วย แล้วเอากะบาลนั้นไปตั้งไว้กลางแจ้งในลานบ้านสัก ๑ วัน แล้วเอาทิ้งเสียที่อื่น(เดิมเห็นจะทิ้งในป่าช้า)เป็นเสร็จพิธี... ตุ๊กตาสังคโลกรูปผู้หญิงอุ้มทารกคอหักทิ้ง หรือรูปผู้ชายอุ้มไก่สมัยสุโขทัย เรียกตุ๊กตาเสียกะบาล...ศาสตราจารย์เซเดส์ว่า คำกะบาลเป็นภาษาเขมร แปลว่า หัว...เสียกะบาล ก็คือเสียหัว ที่ตุ๊กตาสังคโลกคอหักโดยมากนั้นคงเป็นคนต่อยให้หักเมื่อทำพีธี จึงเลยเรียกกันว่า “พิธีเสียกะบาล”...รูปผู้หญิงอุ้มทารกนั้น คงทำเป็นพิธีเสียกะบาลเมื่อคลอดลูกเป็นพื้น เพราะคลอดลูกในสมัยนั้น น่าที่แม่จะเป็นอันตรายกันมาก...”           นอกจากนี้ ยังพบตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลลักษณะเหมือนรูปเคารพ ส่วนศีรษะของบุคคล และลิง ซึ่งหลักฐานเหล่านี้ อาจมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อในครั้งอดีต (ซ้าย) สภาพปัจจุบันพื้นที่ขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลองคูเมือเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ขวา) สภาพปัจจุบันพื้นที่ขุดค้นฝั่งตะวันตกของคลองคูเมือเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ซ้ายและขวา) ตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลเพศหญิงในอิริยาบถอุ้มเด็ก ไม่มีส่วนศีรษะ พบจากหลุมขุดค้นฝั่งตะวันตกของคลองคูเมืองเดิม (คลองบ้านขมิ้น) (ซ้าย) ตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลเพศชายในอิริยาบถอุ้มไก่ ไม่มีส่วนศีรษะ พบจากหลุมขุดค้นฝั่งตะวันตกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ขวา) ตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลเพศชายในอิริยาบถอุ้มไก่ พบจากหลุมขุดค้นฝั่งตะวันตกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ซ้าย) ตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลยืน ส่วนศีรษะและเท้าขาดหายไป มือขวาถือลูกกลม มือซ้ายวางบนตัวนก พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ขวา) ตุ๊กตาดินเผารูปบุคคลยืน ไม่มีส่วนศีรษะและเท้า มีเด็กยืนพิงกายทางด้านซ้าย พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลอง คูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น)  (ซ้าย) ตุ๊กตาดินเผาเคลือบรูปบุคคลนั่ง มือ ๒ ข้างประสานจับลูกกลม ส่วนศีรษะและเท้าขาดหายไป พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ขวา) ตุ๊กตาดินเผารูปเด็กทารกยืน ส่วนเท้าขาดหายไป พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น)  (ซ้าย) ตุ๊กตาดินเผารูปช้าง พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันออกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) (ขวา) ส่วนศีรษะตุ๊กตาดินเผารูปลิง พบจากการขุดค้นฝั่งตะวันตกของคลองคูเมืองเดิม(คลองบ้านขมิ้น) -----------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : เมธินี จิระวัฒนา นักโบราณคดีชำนาญการ กองโบราณคดี-----------------------------------------------




ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้เกิดเหตุการณ์อันเป็นมูลเหตุให้การผดุงครรภ์แผนตะวันตกได้รับความนิยมมากขึ้นในสมัยต่อมา กล่าวคือ เมื่อครั้งที่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ มีโอรสองค์แรกกับหม่อมเปี่ยม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๐ หม่อมเปี่ยมได้อยู่ไฟจนถึงแก่กรรม นับแต่นั้นมา พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ทรงห้ามไม่ให้หม่อมคนอื่นอยู่ไฟเมื่อประสูติโอรสธิดา และเปลี่ยนไปใช้วิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตกแทน ปรากฏว่าปลอดภัยสบายดีทุกคราวพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ให้ทรงเห็นคุณประโยชน์ของวิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตก และทำให้มีพระราชดำริจะเปลี่ยนแปลงวิธีการผดุงครรภ์ในราชสำนัก ครั้นเมื่อพระองค์มีพระประสูติการสมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ ใน พ.ศ. ๒๔๓๒ จึงทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเลิกอยู่ไฟ และให้หมอเกาแวนพยาบาลตามวิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตก ปรากฏผลเป็นที่พอพระราชหฤทัย ตั้งแต่นั้นมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้เลิกการอยู่ไฟในพระบรมมหาราชวัง และพวกผู้ดีมีบรรดาศักดิ์นอกวังก็เริ่มทำตามมากขึ้นเรื่อย ๆสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขณะนั้น โรงศิริราชพยาบาลต้องการใช้วิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตกกับผู้ที่มาคลอดบุตรในโรงศิริราชพยาบาลด้วยเช่นกัน แต่ราษฎรยังไม่นิยมเพราะยังคงกลัวผลร้ายจากการไม่อยู่ไฟ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งชี้แจงแก่ผู้ที่ไปคลอดบุตรในโรงศิริราชพยาบาลว่า พระองค์ทรงเคยอยู่ไฟมาก่อน แล้วทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตก ทรงสบายกว่าอยู่ไฟมาก จึงทรงชักชวนให้ราษฎรทำตาม และพระราชทานเงินทำขวัญลูกให้ผู้ที่ทำตามพระองค์คนละ ๔ บาท ซึ่งถือเป็นเงินจำนวนมากในสมัยนั้น ราษฎรจึงสมัครใจใช้วิธีผดุงครรภ์แผนตะวันตกมากขึ้น จนไม่เหลือผู้ที่ขอรับการอยู่ไฟในโรงศิริราชพยาบาลอีกพระบำบัดสรรพโรค (นายแพทย์ฮานส์ อดัมเซน) สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ยังโปรดให้พระบำบัดสรรพโรค (หมอฮานส์ อดัมเซน) จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลใน พ.ศ. ๒๔๓๙ ทำให้มีผู้เข้ารับการศึกษาวิชาผดุงครรภ์แผนตะวันตกเพิ่มขึ้นทุกปี และออกรักษาพยาบาลราษฎรอยู่ทั่วไป ทั้งยังมีการผลิตและเผยแพร่ตำราแพทย์และผดุงครรภ์สำหรับคนทั่วไป ทำให้การแพทย์และผดุงครรภ์แผนตะวันตกแพร่หลายในหมู่ราษฎรมากขึ้น จนกลายเป็นวิธีหลักในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ในที่สุด ส่วนการผดุงครรภ์แผนไทยและการอยู่ไฟก็ได้รับการปรับปรุงให้ถูกหลักวิชาและเหมาะกับกาลสมัยยิ่งขึ้น จนเป็นการแพทย์ทางเลือกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เรียบเรียงโดย นายธันวา วงศ์เสงี่ยม นักอักษรศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มประวัติศาสตร์


                     พระราชลัญจกรเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ไทย ที่ใช้ประทับกำกับบนเอกสารสำคัญต่าง ๆ พระราชลัญจกรแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน สำหรับประทับกำกับพระบรมนามาภิไธยในหนังสือสำคัญต่าง ๆ และพระราชลัญจกรในพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งต้องสร้างใหม่ทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนรัชกาล                      พระราชลัญจกรสยามโลกัคราชเป็นตราพระราชลัญจกรประจำแผ่นดินที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำด้วยทองคำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีรูปช้างหมอบอยู่หลังบนที่จับประทับ คำว่า สยามโลกัคราชนั้น เป็นชื่อที่นำมาจากตัวอักษรจีนว่า เสียม-โล-ก๊ก-อ๋อง แปลว่า กษัตริย์ประเทศสยาม เลียนเสียงเป็น สฺยาม-โลก+อคฺค-ราช แปลว่า กษัตริย์สยามผู้ยิ่งใหญ่ ตัวอักษรจีนดังกล่าวปรากฏอยู่ในตราพระราชลัญจกรมหาโลโต ซึ่งเป็นตราประทับที่จักรพรรดิจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงมอบให้กับพระเจ้าแผ่นดินสยามสมัยอยุธยา ตราประทับเป็นรูปอูฐ ภาษาจีนกลางเรียกว่า ลั่วถัว (駱駝) ส่วนสำเนียงฮกเกี้ยนเรียกว่า โลโท เนื่องจากในราชสำนักสยามสมัยนั้น ขุนนางเชื้อสายจีนส่วนใหญ่เป็นจีนฮกเกี้ยน จึงเป็นเหตุให้ภาษาจีนสำเนียงฮกเกี้ยนเป็นที่นิยมในราชสำนัก แต่อาจจะมีเพี้ยนเล็กน้อยเป็น “ตราโลโต” หรือ “ตราพระราชลัญจกรมหาโลโต” พระราชลัญจกรองค์นี้ใช้สำหรับประทับบนพระราชสาสน์อักษรจีน เพื่อแสดงฐานะว่า เจ้าแผ่นดินสยามเป็น "อ๋อง" (หวาง) ภายใต้อารักขาของ "ฮ่องเต้" (หวางตี้หรือจักรพรรดิ) ภายในดวงตราพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชทำรูปเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์และแกะสลักอักษรขอม ๔ บรรทัด เป็นตราที่ทำเลียนแบบตราพระราชลัญกรมหาโลโต                      เดิมพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชใช้สำหรับประทับตราสัญญาบัตร (ใบตั้งยศหรือบรรดาศักดิ์ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้ง) คู่ด้วยพระบรมราชโองการ และใช้ในการพระราชทานวิสุงคามสีมา ภายหลังพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชใช้สำหรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเท่านั้น ดังปรากฏในพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และพระราชบัญญัติพระราชลัญจกร รัตนโกสินทรศก ๑๓๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ระบุว่า “พระราชลัญจกรสยามโลกัคราช สำหรับประทับวิสุงคามสีมาในหว่างกลางองค์เดียว”   เปรียบเทียบพระราชลัญจกรสยามโลกัคราชและพระราชลัญจกรมหาโลโต ที่มา https://www.silpa-mag.com/culture/article_6938          เปรมา สัตยาวุฒิพงศ์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มประวัติศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์


ชื่อผู้แต่ง        สมพร อยู่โพธิ์ ชื่อเรื่อง         พระพุทธรูปปางต่างๆ ครั้งที่พิมพ์      พิมพ์ครั้งที่ ๑ สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์      โรงพิมพ์คุรุสภา ปีที่พิมพ์         ๒๕๑๔ จำนวนหน้า     ๑๕๘ หน้า หมายเหตุ       กรมศิลปากรพิมพ์ถวายพระภิกษุสามเณร ซึ่งเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในเทศการเข้าพรรษา พ.ศ. ๒๕๑๔                    หนังสือพระพุทธรูปปางต่างๆ เล่มนี้ เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์และ ใช้ประกอบในการศึกษาหาความรู้ทางพุทธประวัติ โดยมีภาพลายเส้นและแผนที่ประเทศอินเดียสมัยโบราณประกอบด้วยพระพุทธรูปปางต่างๆ ๕๖ ปาง  


เลขทะเบียน : นพ.บ.146/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  42 หน้า ; 4.7 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 89 (373-376) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.98/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  74 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 57 (140-153) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : ปรมตฺถมญฺชุสาอภิธมฺมตฺถสงฺคหนวฎีกาปรมัตถมัญชุสาร-อนุฎีกาอภิธัมมัตถสัคหะ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.15/1-3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ความเมืองเรื่องเขาพระวิหารชื่อผู้แต่ง : ประหยัด ศ. นาคะนาท ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : สาส์นสวรรค์ จำนวนหน้า : 1,134 หน้าสาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงปัญหาเรื่องเขาพระวิหารเป็นที่สนใจของคนไทยแทบทุกคน ผู้ประมวลจึงใคร่จะเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมด หรือส่วนมากเท่าที่จะหาได้ มีทั้งหมดสิบบท ทั้งประวัติความเป็นมา สถานที่ตั้งเขาพระวิหาร รวมถึงคำพิพากษาของศาลโลก โดยจะประมวลเอาแต่ข้อเท็จจริงล้วนๆ และหลีกเลี่ยงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้ประมวล



Messenger