ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,346 รายการ
ชื่อเรื่อง : หนังสือแบบเรียนสอนอ่าน อักขระ พยัญชนะตัวไทยเหนือผู้แต่ง : ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ : ๒๔๙๕ สถานที่พิมพ์ : เชียงใหม่ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์เจริญเมืองจำนวนหน้า : ๓๔ หน้าเนื้อหา : หนังสือเล่มนี้ชื่อแบบเรียนสอนอ่านอักขระ พยัญชนะตัวไทยเหนือ พิมพ์ครั้งที่ ๔ ด้วยเครื่องพิมพ์อักษร ที่โรงพิมพ์เจริญเมือง ถนนเจริญเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ ไม่ระบุผู้แต่ง นายเมืองใจ ชัยนิลพันธ์ ผู้พิมพ์โฆษณา อักษรล้านนา ภาษาล้านนา ไม่รวมปก ลักษณะสิ่งพิมพ์ ชำรุด ฉีกขาด หน้าอักษร สมบูรณ์ ไม่เลอะเลือน แบบเรียนสอนอ่านอักขระ พยัญชนะตัวไทยเหนือ ประกอบไปด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ อักขระ พยัญชนะ สระ (แม่ไม้) แม่อักขระ (พยัญชนะ ๓๓ ตัว) ตัวอยู่โรง (ควบกล้ำ) แม่อักขระสูง แม่อักขระต่ำ คำหัดอ่าน รวมเนื้อหาทั้งสิ้น ๑๖ หน้า เลขทะเบียนหนังสือหายาก : ๒๔๙๑เลขทะเบียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ : E-book_๒๕๖๗_๐๐๒๕หมายเหตุ : โครงการจัดเก็บและอนุรักษ์หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และเอกสารโบราณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗
เนื่องในโอกาสที่กรมศิลปากร ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) โบราณสถานสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล มรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของชาติ ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ สำนักการสังคีต สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร และพื้นที่ฟากตะวันตกของสนามหลวง โดยอาคารสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ฯลฯ เป็นสถานที่ซึ่งยังคงปรากฏร่องรอยของโบราณสถานในสมัยแรกสร้างหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหาได้ยากยิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาครอบคลุมพื้นที่เฉพาะในส่วนที่อยู่ภายใต้สังกัดของกรมศิลปากร รวมพื้นที่ประมาณ ๔๓ ไร่ โดยมีกรอบความคิดในการดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟู “พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)” พื้นที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย อาณาบริเวณและกลุ่มสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้รับการจัดการที่เหมาะสม ทางกรมศิลปากรจะทำการสำรวจ สอบค้น และรวบรวมข้อมูลเพื่อประมวลเป็นองค์ความรู้ทางมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ฟื้นฟู และอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมในอดีต เพื่อนำมาใช้เป็นฐานในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม รณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อให้เยาวชนและประชาชนมีความรัก และตระหนักในคุณค่าของความเป็นไทย สร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่น ถูกต้องตามหลักวิชาการ และทันสมัย ยกระดับให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เปิดกว้าง เข้าถึงได้ง่าย และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเยาวชนและประชาชน พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียนต่อไป สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จึงได้ทำการรวบรวมรายชื่อเอกสารจดหมายเหตุ ทั้งที่เป็นภาพถ่ายและที่เป็นเอกสารลายลักษณ์ ที่มีอยู่ในสำนักหอจดหมายเหตุขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรวมถึงผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องของประวัติศาสตร์ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง โดยสามารถนำรหัสเอกสารมายื่นที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อดูเอกสารจดหมายเหตุดังกล่าวได้โดยไม่ต้องสืบค้นเองจากบัญชีเอกสาร
รายละเอียดของเอกสารมีดังนี้
รหัสเอกสาภาพถ่ายเกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล
รหัส เรื่อง
ภ 001 หวญ1-25 พระบรมฉายาลักษณ์ พระปิ่นเกล้า
ผ กต 45 พระราชวังบวรสถานมงคล
ผ กบด 4/4-12 แผนผังด้านข้างพระที่นั่งอิศเรศ
(2) ผ.กสก.4/10 พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน
ผจ.ศธ.0701/22 แผนผังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เมื่อ 2470
ผจ.ศธ0701/2 แผนที่พระราชวังบวรตอนพระราชมณเฑียร
ผจ ศธ.0701/371 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร แผนผังหมู่พระที่นั่งต่างๆ
ผจ ศธ.0701/174 แผนผังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร มีแผนผังพระที่นั่ง 4 องค์
ผจ ศธ.0701/697 พระราชวังบวรสถานมงคล พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
ผจ(2)สร.0201/112 พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน
ผ.กทม./9 ป้อมพระสุเมรุ
(2) ภ.004 หวญ 36/3 พระแท่นออกขุนนางโดยปกติในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า
(2) ภ.004 หวญ 36/4 พระแท่นทรงศีลในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์
(2) ภ.004 หวญ 50/33 พานพระภูษา รัชกาลที่ 4
(2) ภ.004 หวญ 3/1 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร (วังหน้า)
(2) ภ.004 หวญ 3/3 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
(2) ภ.004 หวญ 3/7 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พระนคร จิตรกรรมฝาผนังในพระที่นั่ง
พุทไธสวรรย์
(2) ภ.004 หวญ 3/2 พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน
ภ.ผท.8/154 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กองทหารปืนใหญ่ด้านทิศเหนือ แลเห็นพระราชวังบวรสถานมงคล
เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 6
ชุดเบ็ดเตล็ด
ร.5 บ.4 กรมพระราชวังบวรฯ
1-6
รหัส
เรื่อง
ร.ศ.
แผ่น
หมายเหตุ
ร.5 บ.4/1
เรื่องต่างๆ ของกรมพระราชวังบวรฯ
(11 มิ.ย. 76-24 มี.ค. 94
76-94
210
ร.5บ.4/2
หนังสือพระศักดาภิเดชวรฤทธิ์ทูลเกล้าถวายพระราชหัตถเลขาที่พระราชทานพระยามหามนตรี เรื่องกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จศ. 1236รศ.112
(ธ.ค. 93-7 พ.ค.112)
93-112
26
ร.5 บ.4/3
ลายพระหัตถ์ถึงกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
(6 ม.ค.93)
93
8
ร.5 บ.4/4
พระราชหัตถเลขาถึงกรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีเรื่องต่างๆ
(มี.ค.98-มิ.ย.104)
98-104
23
ร.5 บ.4/5
เงินหัวเมืองชายทะเลตะวันตกซึ่งข้นพระราชวังบวร
(เม.ษ.106-เม.ย.108)
106-108
18
ร.5.บ4/6
เสด็จประพาสสิงคโปร์ (มลายู) ทรงเยี่ยมคุก โรงทหาร โรงโปลิศ และโรงทำสับปะรด
(ม.ท.)
ม.ท.
20
บัญชีเอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล
ชุดกระทรวงศึกษาธิการ
รหัส
เรื่อง
พ.ศ.
แผ่น
หมายเหตุ
(4) ศธ 2.3.6/2
การซ่อมแซมพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย
(28 มิ.ย.2477- 14 พ.ค.2478)
2477-2478
28
(4) ศธ.2.3.6/80
การซ่อมสังคีตศาลาในบริเวณพิพิธภัณฑ์
เอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล
จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าศึกษาค้นคว้าได้ที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ในวันและเวลาราชการ และวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 น.-16.00 น.
เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๐.๓๐ น. หอสมุดแห่งชาติกรมศิลปากร จัดงานบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาหอสมุดแห่งชาติปีที่ ๑๑๐ ณ อาคาร ๒ สำนักหอสมุดแห่งชาติ โดย พระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และนายพีรพน พิสณุพงศ์ รองอธิบดีกรมศิลปากร (รักษาราชการแทนอธิบดีกรมศิลปากร) ประธานฝ่ายฆราวาส และมีดร.จรินทร์ สวนแก้ว ประธานมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช พร้อมด้วยข้าราชการ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงาน ณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการ "เก็บภาพเก่ามาเล่าต่อ" ให้ผู้เข้าร่วมงานได้ชมอีกด้วย
อบรมผู้ใช้งานระบบสัมมนาออนไลน์ ในวันที่ 28 มีนาคม 2556
ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.00 โดยเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเวิร์ค กรุ๊ป จำกัด
สถานที่ : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
ติดต่อ : เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
โทรศัพท์ 02-2222222
วันจันทร์ ที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๙ นายวุฒิ สุมิตร รองราชเลขาธิการ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงตัดไม้จันทน์หอม เพื่อนำมาจัดสร้างพระบรมโกศจันทน์ เพื่อใช้ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายฉัตรชัย ปิ่นเงิน หัวหน้างานโหรพราหมณ์ เป็นผู้อ่านโองการบวงสรวง มีข้าราชการและประชาชนร่วมงานเป็นจำนวนมาก อนึ่ง ไม้จันทน์หอมนี้ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้คัดเลือกต้นไม้จันทน์หอมที่ยืนต้นตายตามธรรมชาติ จำนวน ๑๒ ต้น โดยจะดำเนินการตัด และแปรรูป พร้อมนำส่งมอบให้แก่สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร เพื่อนำไปจัดสร้างพระบรมโกศจันทน์ เพื่อใช้ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในลำดับต่อไป
หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ นครพนมได้เข้าร่วมโครงการอบรมคุณะรรมจริยธรรมของข้าราชการ สำนักศิลปากรที่ 10 ร้อยเอ็ด ณ วัดป่าอุดมไพรสณฑ์ อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด วันที่ 14 กรกฎาคม 2557
กรมศิลปากรขอเชิญชวนเด็กและเยาวชน ร่วมกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๖ ในวันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๖ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ หอสมุดแห่งชาติ หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั่วประเทศ เด็กๆ ที่สนใจสามารถติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมในหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรใกล้บ้าน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
การจัดกิจกรรมในส่วนกลาง มีดังนี้
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมบนเวที ดนตรีประกอบการเล่านิทาน ,การแสดงของเด็กและเยาวชน กิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมตอบปัญหา, กิจกรรมแรลลี่, กิจกรรมเปิดโลกกว้างสู่อาเซียน กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อเด็กและเยาวชน ระบายสี, งานประดิษฐ์จากดินฟีโม่, ชวนน้องปั้นดิน กิจกรรมสันทนาการ โยนห่วงยาง, ปิดลูกโปง, เก้าอี้ดนตรี และกิจกรรมต่างฯ อีกมากมาย สำหรับเด็กๆที่เข้าร่วมกิจกรรม จะได้รับของขวัญของรางวัลทุกคน
- สำนักการสังคีตจัดการแสดงรายการศิลปากรคอนเสิร์ตรอบพิเศษ ชุด “Children’s Day Concert” อำนวยเพลงโดย นายสถาพร นิยมทอง การแสดงจะเป็นการบรรเลงและการขับร้องจากศิลปินกรมศิลปากรร่วมกับสถานศึกษาและสถาบันการดนตรีที่มีชื่อเสียง อาทิ โรงเรียนหลักสูตรการดนตรีกรุงเทพมหานคร โรงเรียนดนตรีวีมุส โรงเรียนราชินี โรงเรียนปราโมชวิทยา รามอินทรา โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ตลอดจนเครือข่ายศิลปินจากสถานศึกษา เข้าร่วมฟังได้โดยไม่เก็บค่าบัตรเข้าชม
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และตอบคำถามรับของรางวัล การตอบปัญหาเกี่ยวกับวันเด็ก เรื่องทั่วไป เรื่องอาเซียน การเล่นเกมส์เก้าอี้ดนตรี การต่อจิกซอว์ และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ เช่น การแข่งร้องเพลง การแข่งเต้น
- สำนักหอสมุดแห่งชาติ กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดคัดลายมือ การวาดภาพระบายสี เล่นเกมและกิจกรรมต่างๆ สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว ลุ้นรับของรางวัลมากมาย พร้อมทั้งบริการอาหารเครื่องดื่มและรับของรางวัล ฟรีตลอดงาน
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป จัดร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ กิจกรรมประกอบด้วย การแข่งขันประกวดวาดภาพระบายสี, ซุ้มกิจกรรมศิลปะ โดยคณะจารย์ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศิษย์เก่าสถาบันบัณทิตพัฒนศิลป์, การแข่งขันแรลลี่ตอบปัญหาชิงรางวัล ด้านศิลปะ กิจกรรมสันทนาการ เช่น ดนตรี ประกวดร้องเพลง เกม ฯลฯ โดยความร่วมมือกับสำนักศิลปกรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม, ฉาย DVDแนะนำ และนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ให้แก่เยาวชนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งบริการอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม
- หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงรำอวยพร การบรรเลงเพลง จากวงดนตรี “วีรพล” การแข่งขันตอบปัญหา การแสดงบนเวที ประกวดร้องเพลง การแข่งขันวาดภาพ การแข่งขันเรียงความ เกมการละเล่น พร้อมแจกของขวัญของรางวัลมากมาย
กิจกรรมในส่วนภูมิภาค อาทิ
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย กิจกรรมประกอบด้วย การละเล่น เกมต่างๆ การตอบปัญหา การประกวดร้องเพลง และแจกของรางวัล
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี กิจกรรมประกอบด้วย การประกวดวาดภาพ ระบายสี การปั้นตุ๊กตา การประกวดร้องเพลงและการแสดงออกบนเวที ฯลฯ
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ กิจกรรมประกอบด้วย การแสดงบนเวทีโดยเยาวชนจากโรงเรียนหรือชุมชนต่างๆ ในจังหวัดสุรินทร์ การละเล่นเกมต่างๆ บนเวที ฉายภาพยนตร์ตลอดทั้งวัน และจับฉลากชิงรางวัล
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมสันทนาการ การแสดงบนเวทีของกลุ่มเด็กนักเรียน การแสดงความสามารถ เล่นเกมตอบปัญหาชิงรางวัล รวมทั้งแจกของรางวัล อาหารและเครื่องดื่ม
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี กิจกรรมประกอบด้วย การแนะนำพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติชาวนาไทย ด้วยวีดิทัศน์ การบรรยายความรู้เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์/ศัพท์น่ารู้ เกมตอบคำถามและเกมที่เกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์/ข้าวและการทำนา
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จัดกิจกรรม “ค่ายเยาวชนสุขสันต์ พิพิธภัณฑ์หรรษา” กิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ให้เยาวชนได้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และเรียนรู้การปั้นตุ๊กตาพื้นบ้านล้านนาจากครูภูมิปัญญาล้านนา ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๕ ณ โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร ภายในจังหวัด สุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง
ฯลฯ
นอกจากนี้กรมศิลปากรยังเปิดให้เด็กๆ เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และอุทยานประวัติศาสตร์ทั่วประเทศ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชมอีกด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไม่เสียค่าใช้จ่าย
เป็นจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันตั้งแต่ปีมะโรง จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411 ยังเป็นรัชกาลที่ 4) จนถึงวันพุธ แรม 12 ค่ำ ปีมะโรง จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411 ยังเป็นรัชกาลที่ 5) ต้นฉบับเป็นสมุดไทยดำ เขียนดินสอขาว มีอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติเพียงเล่มเดียว นายยิ้ม ปัณฑยางกูร ผู้เชี่ยวชาญทางจดหมายเหตุได้พบและให้คัดต้นฉบับรักษาไว้
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ นายนพดล ภู่ชัย หัวหน้าหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา พร้อมด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ร่วมพิธีจุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล หน้าพระฉายาลักษณ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ ๖๓ พรรษา ณ ศาลาประชาคม จังหวัดพะเยา