ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 41,347 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.98/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 57 (140-153) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : ปรมตฺถมญฺชุสาอภิธมฺมตฺถสงฺคหนวฎีกาปรมัตถมัญชุสาร-อนุฎีกาอภิธัมมัตถสัคหะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
เลขที่ ชบ.บ.15/1-2
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เรือนไทดำ หรือเรือนกระดองเต่า คือเรือนที่มีหลังคาคลุมคล้ายกระดองเต่า มีที่มาจากนิทานเก่าแก่ของชาวไทดำว่า มียักษ์คอยจับกินมนุษย์เป็นอาหาร ชาวไทดำผู้มีสติปัญญา สามารถแก้ไขปัญหาได้มุดเข้าไปซ่อนตัวหลบอยู่ใต้กระดองเต่า ยักษ์มองไม่เห็น จึงทำให้รองพ้นจากอันตราย ชาวไทดำซาบซึ้งในบุญคุณของเต่า จึงสร้างบ้านทำหลังคารูปทรงกระดองเต่า เป็นธรรมเนียมแต่โบราณมา และจะแขวนกนะดองเต่าไว้ที่เสาบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล
ลักษณะเรือนไทดำ เป็นเรือนยกพื้นสูง ผสมผสานระหว่างเรือนเครื่องผูกและเรือนเครื่องสับ โดยโครงสร้างรับน้ำหนักจะใช้เสาและคานไม้เนื้อแข็ง ประเภทไม้แดง ประดู่ป่า หรือไม้สัก เนื่องจากเป็นไม้ที่มีในท้องถิ่น เป็นเสาท่อนกลมยาว มีลักษณะเด่นคือจะคัดเลือกไม้ที่มีง่ามเพื่อใช้รองรับ คาน โครงสร้างส่วนอื่นๆจะใช้ไม้ไผ่ ไม้รวก และใช้หวายเป็นเชือกผูกรัดยึดโครงสร้างทั้งหมดให้แน่นคงทน หลังคามีระดับอกไก่สูงทำให้พื้นที่ ภายในเรือนมีความโอ่โถง หลังคามุงด้วยหญ้าแฝกหรืแต้นปรือ คลุมยาวลงมาถึงระดับพื้นเรือน เพื่อป้องกันลมหนาว เมื่อมองจากระยะไกลจะเห็นพียงหลังคาสูงเด่นตั้งอยู่บนเสาไม้ ส่วนหลังคาด้านหน้าและด้านหลังสร้างเป็นส่วนโค้งเชิดขึ้นมองดูคล้ายกระดองเต่า เกิดจากการประดิฐษ์ชิ้นส่วนโครงสร้างหลังคารับน้ำหนัก เรียกว่า กว่างตุ๊บ โดยใช้ไม้รวก นำมาผูกมัดรวมกันหลายลำเป็นท่อนยาว วางพาดด้านหน้า และด้านหลังเรือน เชื่อมต่อปลายชายคาด้านข้างทั้งสองด้าน ดัดโค้งเชิดสูงขึ้นได้ตามต้องการ เกิดเป็นหลังคาโค้งคลุมบริเวณพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังเรือน
ชื่อเรื่อง ประวัติวัดป่าเลไลยก์
ผู้แต่ง พระรักขิตวันมุนี.
ครั้งที่พิมพ์ พิมพ์ครั้งที่ ๒ปีที่พิมพ์ ๒๕๑๗สถานที่พิมพ์ สุพรรณบุรีสำนักพิมพ์ วัดป่าเลไลยก์จำนวนหน้า ๘๒ หน้า
ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๑๗ นี้ จัดพิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในงานเทศกาล นมัสการ หลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ เนื้อหากล่าวถึง ประวัติวัดป่าเลไลยก์ ประวัติท่านเจ้าอาวาส เส้นทางการเดินทางจากวัดไปยังตัวจังหวัดสุพรรณบุรี การบูชาพระวัดป่าเลไลยก์ และรูปภาพประกอบ
‘รางวัลเลขท้ายสองตัวประจำวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เลขที่ออกคือ…’ หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับประโยคข้างต้น เพราะทุกวันที่ ๑ และ ๑๖ ของเดือนถือเป็นช่วงเวลาทองของนักเสี่ยงโชคจากรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล และมักปรากฏผู้โชคดีได้รับรางวัลที่ ๑ ผ่านสื่อต่าง ๆ กันอยู่เนือง ๆ แต่การถูกรางวัลนั้นจะเรียกว่าน่าจะขึ้นอยู่กับดวงชะตาของแต่ละบุคคลหรือบางครั้งอาจมีวิธีการหาตัวเลขนำโชคในรูปแบบความเชื่อและวิธีการต่าง ๆ ดังเช่นเมื่อ ๖๐ ปีที่ผ่านมา จากข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุจังหวัดนครพนม แผนกมหาดไทย เรื่อง กระทรวงมหาดไทยสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสืบสวนข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์เรื่องราษฎรในภาคอิสานปั่นป่วนเพราะการหาซื้อเงินเหรียญรัชกาลที่ ๑ และ ๔ เพื่อดูเลขท้ายลอตเตอรี่ ระบุว่า วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ได้รับรายงานวิทยุสื่อสารจากกระทรวงมหาดไทย สั่งการ เรื่อง หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าขณะนี้ราษฎรภาคอีสานปั่นป่วน เนื่องจากการหาซื้อเงินเหรียญรัชกาลที่ ๑ และ ๔ ถึงกับขายบ้าน ขายนา ไม่เป็นอันทำมาหากิน โดยให้ดำเนินการสอบสวนและหาแนวทางป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว ขณะนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม จึงดำเนินการแจ้งเวียนไปยังนายอำเภอทุกอำเภอเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า มีราษฎรจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดสกลนครบางคนลักลอบไปหาซื้อเหรียญในราคาเหรียญละ ๔๐๐ บาทขึ้นไป ในบางพื้นที่ อาทิ อำเภอเมืองนครพนม กำหนดให้เหรียญรัชกาลที่ ๑ ราคาสูงถึงราคาเหรียญละ ๑๐,๐๐๐ บาท และเหรียญรัชกาลที่ ๔ ราคาเหรียญละ ๑,๐๐๐ บาท สืบเนื่องจากมีการโฆษณาจากคนรับซื้อว่าหากนำเหรียญดังกล่าวไปให้อาจารย์ปลุกเสกจะสามารถบอกเลขท้ายลอตเตอรี่รางวัลที่ ๑ ได้อย่างแม่นยำ แต่ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการสอบถามจากราษฎรในจังหวัดนครพนม พบว่า ราษฎรในพื้นที่บางแห่งมีการตื่นตัวและรับรู้เหตุการณ์นี้แต่ยังไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้นเนื่องจากไม่มีเหรียญลักษณะดังกล่าวขายและยังไม่มีผู้ใดขายบ้านขายนาหาซื้อเงินเหรียญ เจ้าหน้าที่จึงดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการชี้แจงให้ราษฎรทราบว่า เงินเหรียญกษาปณ์เริ่มมีใช้ในรัชกาลที่ ๔ ดังนั้นจึงไม่อาจเป็นไปได้ว่าจะมีเหรียญในลักษณะดังกล่าวออกมาจำหน่าย------------------------------------------------------เรียงเรียงโดย : นางสาวพัชราภรณ์ สุวรรณะ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อุบลราชธานี------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง กองกษาปณ์. (๒๕๕๗). เงินตรา. ค้นข้อมูลเมื่อวันที่ ๑ ก.พ. ๒๕๖๔ จากhttp://www.royalthaimint.net/ ewtadmin/ewt/mint_web/ewt_newsphp?nid=46&filename=index) หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อุบลราชธานี. นพ ๑.๒/๔๔ กระทรวงมหาดไทยสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสืบสวนข่าวที่ลงในหนังสือพิมพ์ เรื่อง ราษฎรในภาคอิสานปั่นป่วนเพราะการหาซื้อเงินเหรียญรัชกาลที่ ๑ และ ๔ เพื่อดูเลขท้ายลอตเตอรี่ (๒๘ มิ.ย. - ๑๐ ก.ค. ๒๔๙๙)
วิทยากร นายดิษพงศ์ เนตรล้อมวงศ์ ภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัย สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
องค์ความรู้สำนักศิลปากรที่ ๔ ลพบุรี เรื่อง โบราณสถานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินเยือนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พระองค์ทรงพบว่าราษฎรส่วนใหญ่ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากพืชผลเสียหายทั้งจากฝนแล้งและน้ำท่วม ทำให้ทรงเกิดแนวคิดในการแก้ปัญหาดังกล่าวในขณะนั้นว่า
“...สมควรที่จะสร้างฝายหรือเขื่อนขนาดเล็ก (Check dams) และอ่างเก็บน้ำจำนวนมากขวางทางน้ำ เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงการไหลบ่า และเก็บกักน้ำไว้ในฤดูแล้งซึ่งเป็นการบรรเทาสภาวะแห้งแล้งได้ทางหนึ่ง”
นอกจากนี้ พระองค์ยังมั่นพระทัยว่าน่าจะนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาช่วยให้เกิดฝนได้ และน่าจะมีวิธีการที่จะรวมเมฆที่กระจายอยู่ในท้องฟ้าให้รวมตัวกันเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นที่แห้งแล้งได้ อันเป็นเป็นต้นกำเนิดของแนวพระราชดำริที่ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนเป็น “โครงการพระราชดำริฝนหลวง” ในปัจจุบัน
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๕ ให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายนของทุกปี เป็น “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฐานะ “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และเพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงทุ่มเทกำลังพระวรกายพระราชทานโครงการเพื่อความกินดีอยู่ดีของพสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอด
เรียบเรียง : นางสาวนัทธมน จิตเจตน์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ที่มา : ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน. ๑๔ พฤศจิกายน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔, จาก: http://huahin.royalrain.go.th/prabidaday.php
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ร.๙
ชื่อเรื่อง ธมฺมปทเทสนา (เทศนาธรรมบท)สพ.บ. 279/1
ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 4.7 ซ.ม. ยาว 56.5 ซ.ม. หัวเรื่อง พุทธศาสนา เทศนาธรรม
บทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม ภาษาบาลี-ไทย เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดบ้านหมี่ ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานาคเสน (มหานาคเสน)
สพ.บ. 328/6ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 5.5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เรื่อง "หอคำนครน่าน : จากที่ประทับเจ้าผู้ครองนคร สู่ศาลากลางจังหวัด และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน"-----พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งเป็นคุ้มหลวง อันเป็นที่ประทับ หรือที่อยู่อาศัย เปรียบได้เสมือนวังของเจ้าเมือง หรือเจ้าผู้ครองนครน่าน สนามหญ้าด้านหน้าเดิมเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ “ข่วงเมือง, ข่วงหลวง หรือข่วงสนามหลวง” ในสมัยอดีตเป็นลานโล่งขนาดใหญ่ ใช้สำหรับจัดงานราชพิธี งามสมโภช และงานเฉลิมฉลองต่างๆ เป็นสถานที่สวนสนาม ชุมนุมทัพ จัดแสดงมหรสพ และจัดตลาดนัด-----คุ้มหลวงแห่งนี้อยู่ใจกลางเมืองประวัติศาสตร์น่าน (เวียงนครน่าน หรือนันทบุรี) ที่พญาผากองสถาปนาขึ้นทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านเมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๑ ซึ่งถูกใช้งานเรื่อยมา และมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ซึ่งทิศเหนือจรดวัดหัวข่วง ทิศตะวันออกจรดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร หรือวัดหลวงกลางเวียงในอดีต ทิศใต้จรดวัดภูมินทร์ ตำแหน่งที่ตั้งของคุ้มหลวง วัดหลวง วัดหัวข่วง และข่วงหลวงที่กล่าวมา จัดเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของการวางผัง และสร้างเมืองล้านนาในสมัยโบราณ ที่เรียกว่า “ทักษาเมือง” -----พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ในปัจจุบัน มีอาณาบริเวณทั้งสิ้น ๑๔ ไร่ ๒ งาน ๓๒ ตารางวา รายล้อมด้วยถนนที่สำคัญได้แก่ ถนนผากองด้านทิศตะวันออก ถนนสุริยพงษ์ด้านทิศใต้ และถนนมหาพรหมด้านทิศเหนือ อาคารที่ใช้จัดแสดง หรือจัดนิทรรศการของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น แบบตรีมุข หรือรูปตัว T ในอักษรละติน รูปแบบทางสถาปัตยกรรมผสมปสานระหว่างศิลปะตะวันตก และศิลปะไทยประเพณี ตามสมัยนิยม อาคารดังกล่าวคือ “หอคำ” ที่ตั้งอยู่ภายในเขตคุ้มหลวง ----- คำที่เกี่ยวข้องและความหมาย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อธิบายความหมายว่า “คุ้ม” คือ ที่อยู่ของเจ้านายฝ่ายเหนือ ตรงกับภาษาไทยใต้ว่า “วัง”--“คุ้มหลวง” ใช้เรียกพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยในชีวิตประจำวันของ เจ้าผู้ครองเมือง เจ้าหลวง เจ้าฟ้า เจ้ามหาชีวิต บางครั้งใช้คำว่าคุ้มแก้ว คุ้มเวียงแก้ว โดยใช้เรียกบริเวณโดยรวมซึ่งประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เช่น โรงครัว โรงช้าง โรงม้า โรงกี่ ฉางหลวง ที่พักสำหรับไพร่ --และ “หอคำ” เป็นคำเรียกอย่ากว้างๆ หมายถึงที่นั่งที่ผู้นำสูงสุดใช้ออกว่าราชการและประกอบพระราชพิธี สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพอธิบายความหมายว่าตรงกับภาษาไทยใต้ว่า “ตำหนักทอง” เป็นเรือนที่อยู่ของเจ้าผู้ครองเมืองสร้างไว้ในบริเวณคุ้มหลวงเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ โดยอาจมีชื่อเรียกต่างกัน เช่น หอคำเจ้ามหาชีวิต หอคำเจ้าฟ้า หอคำเจ้าหลวง มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๒ ประการคือ ท้องพระโรง โรงหลวงหรือโรงไชย และสุวรรณบัลลังก์หรือแท่นคำ โดยหอคำแต่ละแห่งจะมีลักษณะและขนาดต่างกันไป-----การสร้างหอคำสำหรับเป็นที่ประทับของเจ้านครน่าน ปรากฏหลักฐานใน “พงศาวดารเมืองน่าน” ที่มีการระบุว่า ในปีจุลศักราช ๑๒๑๗ (พ.ศ.๒๓๙๘) เจ้าพระยามงคลวรยศ (พระยาอนันตยศ) เป็นเจ้านครน่าน ได้ย้ายเมืองจากเวียงเหนือกลับมาอยู่บริเวณเมืองน่านเดิม ต่อมาในปีจุลศักราช ๑๒๑๘ (พ.ศ.๒๓๙๙) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระยาอนันตยศเป็น “เจ้าอนันตวรฤทธิเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงษาธิบดีเจ้านครเมืองน่าน” ให้มีเกียรติยศสูงกว่าเจ้านครน่านที่มีมาแต่ก่อน-----เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ เจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ จึงสร้างหอคำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ โดยคุ้มหลวงที่สร้างขึ้นใหม่นี้ประกอบด้วยตัวเรือนเครื่องไม้ ๗ หลัง โดยเฉพาะตัวเรือนที่เป็นหอคำ (ตำหนักทอง) มีห้องโถงใหญ่เป็นเหมือนท้องพระโรงสำหรับที่ว่าราชการ หลังจากสร้างเสร็จแล้วได้เปลี่ยนชื่อคุ้มหลวงเป็น “คุ้มแก้ว” ให้วิเศษขึ้นตามเกียรติยศ-----เมื่อเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชเป็นเจ้านครน่านสืบต่อมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๖ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชได้เข้ามาอยู่ในพื้นที่คุ้มแก้ว และให้กลับเรียกว่าคุ้มหลวง เวลาผ่านไป ๑๐ ปี พ.ศ. ๒๔๔๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ขึ้นเป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครเมืองน่าน ท่านจึงได้รื้อเอาเรือนต่างๆ ในพื้นที่คุ้มหลวงออก เพื่อใช้เป็นสถานที่สร้างหอคำสำหรับเป็นที่ประทับตามพระเกียรติยศ -----รูปแบบสถาปัตยกรรมของหอคำน่าน สันนิษฐานว่าได้รับแรงบันดาลใจในเรื่องรูปแบบสถาปัตยกรรมจากคุ้มหลวงเมืองแพร่ ที่สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๒๔๓๕ โดยในขณะนั้นโอรสของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สมรสกับเจ้าสุพรรณวดีธิดาของเจ้าหลวงเมืองแพร่ และรับราชการอยู่ที่เมืองแพร่ในตำแหน่งเจ้าราชบุตร ต่อมาหลังจากเหตุการณ์กบฏเงี้ยวในปี พ.ศ.๒๔๔๕ เจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้ขอย้ายเจ้าราชบุตรมารับราชการที่เมืองน่านและขอรับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นเจ้าราชดนัยในปีพ.ศ.๒๔๔๖ จึงอาจเป็นได้ว่าเจ้าราชดนัยได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมของคุ้มหลวงเมืองแพร่มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบหอคำเมืองน่านในปีพ.ศ.๒๔๔๖ เช่น การสร้างอาคารเป็นอาคารตึก ๒ ชั้นมีตรีมุข ด้านในมีห้องหลายห้อง มีเฉลียงแล่นกลางมุขด้านหน้า รวมถึงมีบันไดขึ้นข้างบนทั้งสองข้าง เป็นต้น-----หอคำเมืองน่าน ได้รับความช่วยเหลือในการก่อสร้างจากบริษัท กิมเซ่งหลี โดยหลวงจิตรจำนงวานิช (จีนบุญเย็น) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ทำป่าไม้ในเขตนครเมืองน่านจากพระเจ้าน่าน โดยบริษัท กิมเซ่งหลี ได้ช่วยเหลือในเรื่องการก่อสร้างหอคำ และต่อมาได้มีการเฉลิมฉลองหอคำหลังนี้อย่างยิ่งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ ตามบันทึกของมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในเมืองน่าน-----เมื่อพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชพิราลัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเป็นเจ้านครน่าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๒ เจ้ามหาพรหมสุรธาดาเข้ามาอยู่ในพื้นที่คุ้มหลวง ตามประเพณี และได้เข้ามาอยู่ในหอคำที่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชทรงสร้าง จนถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.๒๔๗๔ รวมระยะเวลา ๑๒ ปี และเนื่องจากไม่มีการแต่งตั้งผู้ใดมาเป็นเจ้านครน่านต่อไป ทางราชการจึงได้ใช้พื้นที่คุ้มหลวงกับหอคำเป็นศาลากลางจังหวัดน่าน ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๖ เป็นต้นมา โดยพื้นที่โดยรอบอาคารหอคำถูกใช้เป็นที่ตั้งของอาคารสำนักงานหน่วยราชการต่างๆ ก่อนจะมีการโยกย้ายไปตั้งยังสถานที่ใหม่-----กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๑๗ เมื่อมีการก่อสร้างศาลากลางจังหวัดน่านหลังใหม่ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ส่งมอบหอคำ พร้อมพื้นที่คุ้มหลวงให้กรมศิลปากร เพื่อตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน------การดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน หยุดชะงักไปช่วงเวลาหนึ่งด้วยเหตุผลด้านงบประมาณ กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๔ การบูรณปฏิสังขรณ์หอคำจึงแล้วเสร็จ และกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงได้ดำเนินการจัดแสดงภายในหอคำชั้นบนแล้วเสร็จและเปิดให้เข้าชมอย่างไปเป็นทางการก่อน ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖-----ต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ชวน หลีกภัย) ได้ลงประกาศกระทรวงศึกษาธิการในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๕๓ วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๘ กำหนดให้อาคารหอคำเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ตามความในพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ จากนั้นในปีถัดมา อธิบดีกรมศิลปากร (นายทวีศักดิ์ เสนาณรงค์) ได้ลงประกาศกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เป็นโบราณสถานของชาติ ตามความในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๖๕ วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๒๙-----กระทั่ง การดำเนินงานจัดแสดงทุกส่วนของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เสร็จสมบูรณ์ สามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนอย่างเป็นทางการ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๐-----ภายหลัง หอคำ (อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารสาธารณะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ จังหวัดน่าน โดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดน่าน กำหนดให้หอคำ (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน) เป็นศูนย์กลางของพื้นที่เมืองประวัติศาสตร์น่านชั้นใน (หัวแหวนเมืองน่าน) ลงวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๖ เพื่อคุ้มครองโบราณสถาน อาคารประวัติศาสตร์ รวมทั้งปกป้องภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมอันเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของเมืองน่าน ภายในบริเวณพื้นที่แห่งนี้ให้คงอยู่เป็นมรดกของแผ่นดินสืบไป-----อาคารหอคำนครน่านได้ถูกซ่อมแซมปรับปรุงมาหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง ตามการเปลี่ยนแปลงและประโยชน์ใช้สอยของอาคารในแต่ละช่วงเวลา ผลของการเปลี่ยนแปลงทำให้รายละเอียด และองค์ประกอบส่วนต่างๆ สูญหายไป โดยแนวคิดในการบูรณะในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ต้องการบูรณะ และฟื้นฟูส่วนที่สูญหายไปนั้นให้กลับมาสมบูรณ์ครบถ้วนดังเดิมตามหลักวิชาการสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่ออนุรักษ์คุณค่า และความหมายที่เคยมีอยู่ เพื่อให้สามารถเห็นถึงเนื้อหา และสาระสำคัญของอาคารที่มีความสัมพันธ์กับพื้นที่เมืองเก่าน่าน และสามารถตอบสนองต่อการใช้งานตัวอาคารในปัจจุบันในฐานะอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดน่านได้ดีขึ้นตามความเหมาะสม โดยการบูรณะอาคารหอคำดำเนินการแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชนในปี พ.ศ.๒๕๖๐ -----เอกสารอ้างอิง-เธียรชาย อักษรดิษฐ์. หอคำ คุ้มแก้ว มณีแสงแห่งนคราศิลป์สถาน ขัตติยา ธานี. เชียงใหม่ : ภาควิชาภาษาไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ๒๕๔๘. -ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑๐ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๑๐ ตอนปลาย ภาคที่ ๑๑-๑๒). ราชวงศปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา. ๒๕๐๗. -ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. นันทบุรีศรีนครน่าน: ประวัติศาสตร์ สังคม และคริสต์ศาสนา. เชียงใหม่ : ฝ่ายประวัติศาสตร์ สภาคริสตจักรในประเทศไทย, ๒๕๓๙.-ฉัตรลดา สินธุสอน. ชลลดา สังวร. สังสรรค์เสวนาวิภาษา ฟื้นรูปคืนรอย หอคำพระเจ้าน่าน. เอกสารอัดสำเนา. ๒๕๕๘. -ศิลปากร. กรม. นิราศเมืองหลวงพระบาง และรายงานปราบเงี้ยว. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. ๒๕๔๘. -ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช่อฟ้าก่อสร้าง. โครงการบูรณะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ระยะที่ ๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. เอกสารอัดสำเนา. ๒๕๕๘. -----เอกสารยังไม่ได้ตีพิมพ์-ย่อรายงานมณฑลมหาราษฎร์ เอกสารที่ ม.ร ๖ ม/๑๔ -เอกสารคุ้มหลวง และหอคำเมืองน่าน เอกสารที่ ม.สบ. ๒/๑๖-เอกสารตึกหอคำนครน่าน พ.ศ.๒๔๗๒ – ๒๔๘๒ เอกสารที่ สร ๐๒๐๑.๓๒/๑ -เอกสารหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หมายเลข มร ๕ ม/๖๔