ค้นหา


รายการที่พบทั้งหมด 39,660 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.478/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 162  (195-204) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : มหามูลลนิพาน--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


         ศีรษะนางแมว          ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๐          สมบัติของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เจ้าจอมมารดามรกฎในรัชกาลที่ ๕ มอบให้เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙          ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร          ศีรษะนางแมว  (หัวโขนนางวิฬาร์) ประดิษฐ์ด้วยโลหะทองแดง ประดับแก้ว โดยลักษณะของนางวิฬาร์ น่าจะตรงกับคุณลักษณะแมวสายพันธุ์โกญจาซึ่งมีขนสีดำละเอียด นัยน์ตาสีดอกบวบ          ศีรษะนางแมว ใช้สำหรับแสดงละครนอกเรื่อง ไชยเชษฐ์ นิทานพื้นบ้านที่มามาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และมีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเรื่องราวที่สนุกสนาน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์ มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน ผู้ชายแสดงเป็นตัวละครทั้งหมด พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ เพื่อให้เป็นบทละครนอกของหลวง และโปรดให้ผู้หญิงที่เป็นละครหลวงแสดงอย่างละครนอก          หัวโขนนางวิฬาร์นี้ เดิมเป็นของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ผู้ก่อตั้งคณะละคร และโรงละคร “ปรินซ์เธียร์เตอร์” (Prince Theatre) กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ เครื่องละครส่วนหนึ่งตกเป็นมรดกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม* ซึ่งเจ้าจอมมารดามรกฎ (ธิดา) ได้นำมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ดังปรากฏใน “หนังสือราชการ ปี ๑๑๕ เรื่องศีศะละครที่ส่งไปไว้ในพิพิธภัณฑ์” ระบุรายการเครื่องละครทั้งสิ้น ๑๘ รายการ และหนึ่งในรายการเครื่องละครที่ส่งมาให้แก่ทางพิพิธภัณฑ์คือ “ศีรสะแมว ๑”          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งถึงเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)** ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๕ มีข้อความตอนหนึ่งว่า          “...ด้วยมรกฎ นำชฎาหน้าโขน กระบังหน้า เครื่องลครของเจ้าพระยามหินธรศักดิธำรงมาให้ สำหรับตั้งไว้ในโรงพิพิธภัณฑ์ตามความปรารถนาของพ่อเขา ซึ่งได้สั่งไว้ว่า ถ้าลูกชายเพ็ญ [หมายถึง พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์พงศ์] ไม่ได้เล่นลครต่อไปแล้ว อย่าให้ ฃายสิ่งของเหล่านี้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ให้นำมาถวายสำหรับตั้งไว้ในโรงพิพิธภัณฑ์...”           ทั้งนี้พระองค์ทรงมีความเห็นว่าควรตั้งไว้ในตู้กระจกอีกด้วย และเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลถึงพระราชกระแสเรื่องตั้งเครื่องละครไว้ในตู้กระจก ความว่า          “...ในส่วนที่ควรจะมีตู้กระจกนั้น ถ้าท่านผู้ให้ [หมายถึง เจ้าจอมมารดามรกฎ] ส่งมาแต่ชะฎาน่าโขน หรือกระบังน่าเปล่าแล้ว จะได้รับประดับตู้สำหรับมิวเซียมไว้ตู้หนึ่งต่างหาก...”     *พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๑ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับเจ้าจอมมารดามรกฎ (ธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล))   ** เสนาบดี กระทรวงธรรมการ   อ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ บ.๑๑/๑๐. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๕ เบ็ดเตล็ด เรื่อง พิพิธภัณฑต่างๆ ในกรุงสยาม (๔ กุมภาพันธ์ ๑๑๑ - ๓ ตุลาคม ๑๑๗). ไพโรจน์ ทองคำสุก. “แมว: วิฬาร์ในการแสดงละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์.” ศิลปากร. ๕๒, ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒): ๔-๑๗.


บริรักษ์จรรยาวัตร(สุณี ไชยวุฒ), หลวง, 2447-2513.  คำบรรยาย เรื่อง จังหวัดสุโขทัย.  พระนคร: สถานการพิมพ์ศรีวิกรมาทิตย์, 2503.




พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงบูรณะซ่อมแซมพระราชวังเมืองลพบุรี และได้พระราชทานนามใหม่ว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” เนื่องด้วยวันที่ ๑๘ สิงหาคม ตรงกับวันสำคัญในรัชสมัยของพระองค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ จึงขอนำเสนอองค์ความรู้เรื่อง “พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : กษัตริย์นักดาราศาสตร์” ------------------------------ กระแสโลกตะวันตกในสมัยรัชการที่ ๓ ทำให้ชาวสยามตื่นตัวและให้ความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เช่น การแพทย์ การพิมพ์ ดาราศาสตร์ เคมี รวมถึงการต่อเรือกลไฟ สยามจึงต้องปรับตัวเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในความเป็นสากล . หนึ่งในบุคคลสำคัญที่สร้างปรากฏการณ์ให้เป็นที่ยอมรับในสายตาชาวโลก คือ พระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ พระองค์มีความสนพระทัยในวิชาวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ตั้งแต่ยังทรงผนวช โดยศึกษาจากตำราต่าง ๆ และทรงศึกษากับมิชชันนารีชาวยุโรปและชาวอเมริกัน . พระองค์ทรงมีความรู้ในการใช้เครื่องมือดาราศาสตร์หลายชนิด เช่น กล้องโทรทัศน์ แผนที่ดาว เครื่องเซ็กสแตนท์ (sextant) เครื่องควอแดรนท์ (quadrant) และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอชัชวาลเวียงชัยเป็นหอดูดาวขึ้นบนพระนครคีรี (เขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี พระองค์ทรงใช้ประโยชน์จากเครื่องมือเหล่านี้ในการกำหนดพิกัดพื้นที่ละติจูดและลองจิจูด ทรงสังเกตปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ และได้ประกาศให้ประชาชนทราบอยู่เสมอ เช่น การเกิดอุปราคา การโคจรของดาวหาง การโคจรของดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ และผีพุ่งใต้ (อุกกาบาต) เพื่อให้สังคมสยามหลุดพ้นจากความงมงายกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ นอกจากนี้ พระองค์ยังติดตามข่าวสารด้านดาราศาสตร์จากหนังสือต่างประเทศ เช่น การค้นพบดาวเนปจูน การปรากฏขึ้นของดาวหาง เป็นต้น . พระองค์ทรงใช้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอนาฬิกาหลวงและทรงกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศด้วยการคำนวณทางดาราศาสตร์ อีกทั้งทรงคำนวณวันสำคัญต่าง ๆ ลงในประกาศมหาสงกรานต์ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าทุกปี ในประกาศบางปีได้ระบุถึงวันที่จะเกิดอุปราคาประจำปีด้วย . ความชำนาญด้านดาราศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่ยอมรับ โดยได้รับการประกาศเกียรติคุณจากราชสมาคมดาราศาสตร์แห่งอังกฤษ (Diploma of the Royal Astronomical Society) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ และในประกาศมหาสงกรานต์ แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงชำนาญเรื่องการคำนวณการเกิดอุปราคามาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๒-๒๔๐๓ ความชำนาญนี้ทำให้พระองค์สามารถคำนวณได้ว่าจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงที่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในวันอังคาร เดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๓๐ ตรงกับวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ โดยทรงคำนวณจากระบบเวลาของเส้นแวงที่ ๑๐๐ ตะวันออก ซึ่งเป็นระบบเวลามาตรฐานของไทย . การคำนวณดังกล่าว พระองค์ทรงมั่นพระทัยมาก จึงได้เชิญนักดาราศาสตร์สากลรวมทั้งชาวต่างชาติคนสำคัญโดยเฉพาะชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเข้าร่วมสังเกตปรากฏการณ์ในครั้งนี้ น่าเชื่อว่าพระองค์คงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ชาวสยามและชาวโลกได้รับรู้ว่าสยามเป็นราชอาณาจักรที่ทันสมัย ชาวต่างชาติกลุ่มนี้ได้กลับไปเขียนรายงานอันเป็นประโยชน์ทางวิชาการดาราศาสตร์และสร้างชื่อเสียงให้กับพระองค์ พร้อมทั้งสร้างเกียรติภูมิให้กับราชอาณาจักรสยาม . ปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ รัฐบาลไทยได้ประกาศให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็น “พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และกำหนดให้วันที่ ๑๘ สิงหาคมของทุกปีเป็น “วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” ต่อมาองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสื่อสารมวลชน เนื่องในโอกาสฉลองวันพระราชสมภพ ๒๐๐ พรรษา ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ------------------------------ อ้างอิง . ภูธร ภูมะธน. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : จากความสนพระทัยในวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นพระมหากษัตริย์นักดาราศาสตร์. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), ๒๕๔๒. ------------------------------ คำอธิบายภาพ: ภาพเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยชาวต่างชาติ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร


ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระของเสฐียรโกเศศ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางชุ่ม บงการอุบัตน์กิจ (ชุ่ม บงกชเกิด) ณ เมรุวัดชัยพฤกษมาลา ตลิ่งชัน ธนบุรี ๒๗ เมษายน ๒๕๐๖ ผู้แต่ง : พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), 2431-2512., กรมศิลปากร ต้นฉบับอยู่ที่ : หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี (ห้องกรมศิลปากร) โรงพิมพ์ : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม ปีที่พิมพ์ : 2506 รูปแบบ : PDF ภาษา : ไทย เลขทะเบียน : น. 30 ร. 6446  เลขหมู่ : 294.3138 อ197ปช สาระสังเขป : หนังสือเรื่องนี้เป็นผลงานหนึ่งของเสฐียรโกเศศ กล่าวถึงประเพณีการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระของคนไทย เนื้อหาประกอบด้วย ความเป็นมาของประเพณีการทำบุญเลี้ยงพระ วันมงคลและวันอวมงคล การตกแต่งสถานที่และการจัดอาสนสงฆ์ การตั้งที่สักการบูชา การจับด้ายสายสิญจน์ การวงด้ายสายสิญจน์ การสวดมนต์เย็น เรื่องพระปริตร และการเลี้ยงพระ


ชื่อเรื่อง                    วัดพระรูปเมืองสุพรรณ : คู่มือแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์วัดพระรูป ผู้แต่ง                       สิโรตม์ ภินันท์รัชต์ธรผู้แต่งเพิ่มเติม             อาสา คำภา, เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์.ประเภทวัสดุ/มีเดีย      หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN                978-616-488-355-0หมวดหมู่                  ศาสนาเลขหมู่                     294.3135 ส732วสถานที่พิมพ์              กรุงเทพฯสำนักพิมพ์                สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีที่พิมพ์                   2565ลักษณะวัสดุ              406 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.หัวเรื่อง                    วัด – สุพรรณบุรี                             พิพิธภัณฑ์ -- แหล่งเรียนรู้ภาษา                      ไทยบทคัดย่อ/บันทึก          การจัดทำพิพิธภัณฑ์วัดพระรูปให้เป็นต้นแบบพิพิธภัณฑ์วัดสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนาคต การจัดทำพิพิธภัณฑ์ตามหลักวิชาการ มีการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น    


           หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ขอเชิญขวนน้อง ๆ หนู ๆ เข้าร่วมกิจกรรมภาพวาด : นิทานเล่มโปรด พบกับกิจกรรมเล่านิทาน กิจกรรมหนังสือที่หนูชอบ กิจกรรมวาดภาพนิทานเล่มโปรดตามจินตนาการ โดยภาพที่น้อง ๆ ได้วาดนั้นจะถูกคัดเลือกมาจัดเป็นนิทรรศการภาพวาด ณ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ต่อไป กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่านการเรียนรู้ด้วยนิทาน และเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์รวมทั้งต่อยอดการอ่านให้กลายเป็นงานศิลปะตามจินตนาการ            กำหนดการจัดกิจกรรม ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 - 14.30 น. และ ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 - 14.30 น. ณ ห้องเด็กและเยาวชน หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ ทั้งนี้ กิจกรรมจะจัดเหมือนกันทั้ง 2 ครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเลือกวันเข้าร่วมได้ และร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายทุกรายการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3553 5343 ต่อ 17 หรือทางเฟสบุ๊ก เพจ : หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ



           สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ขอเชิญร่วมฟังการเสวนาทางวิชาการ "สุดยอดการค้นพบใหม่" ในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร เนื่องในงานสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช ๒๕๖๗ หัวข้อ "ข้อมูลใหม่จากวรรณกรรมอำพราง" ในวันศุกร์ที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ น. โดยมีนายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ศิลปินแห่งชาติและผู้ทรงคุณวุฒิด้านอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยนักอักษรศาสตร์กลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากรนำเสนอข้อมูลใหม่ด้านวรรณคดีไทยจากการดำเนินงานในทศวรรษที่ผ่านมาของกรมศิลปากร ผู้สนใจสามารถรับชมการถ่ายทอดสดได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


ชื่อโบราณวัตถุ : ภาชนะดินเผาแบบศิลปะ : สมัยก่อนประวัติศาสตร์ชนิด : ดินเผาขนาด : สูง 18.5 เซนติเมตร ปากกว้าง 12.5 เซนติเมตรอายุสมัย : วัฒนธรรมบ้านเชียงสมัยต้น 4,500 - 3,000 ปีมาแล้วลักษณะ : ภาชนะดินเผามีเชิง มีการตกแต่งด้วยลายเชือกทาบ ขูดขีด ปั้นแปะ และรมควันให้เป็นสีดำ มีการเจาะรูบริเวณเชิงภาชนะสภาพ : ...ประวัติ : ...สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานีแสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่  http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang/360/model/06/ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/banchiang



         เครื่องมือหินกะเทาะ แบบขุดสับ          - อายุสมัย ก่อนประวัติศาสตร์          - ชนิด หิน          - ขนาด ยาว ๑๑.๓ ซม. กว้าง ๗.๒ ซม.          รศ.วีรพันธุ์ มาลัยพันธุ์ ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สำรวจเก็บจากพื้นดินที่บ้านท่ามะนาว ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายน ๒๕๓๑ มอบให้เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๓๑   แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ https://smartmuseum-v2.finearts.go.th/3d_object/?obj=40611   ที่มา: https://smartmuseum.finearts.go.th




Messenger