ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,869 รายการ


การปฏิบัติงานภาคสนามดำเนินการค้ำยันโบราณสถานปราสาทเมืองทีอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์โดยการเชื่อมเหล็กเป็นโครงสร้างกั้นรอบตัวปราสาทดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๗นายนุกูล ดงสันเทียะ นายช่างโยธาปฏิบัติงานและคณะ


ชื่อเรื่อง : ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2474 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์ จำนวนหน้า : 52 หน้า สาระสังเขป : หนังสือตำนานพระธาตุพนม แต่งด้วยภาษาไทยเหนือ มีเนื้อหากล่าวถึงคำนมัสการพระธาตุพนม และประวัติของพระธาตุพนม เนื้อหามีอยู่ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในเค้าไม้โพธิ์ไทรก่อน และได้ให้พญาทั้ง 5 ขุดหลุมสร้างอุโมงค์นำของมีค่ามาบรรจุไว้เป็นพุทธบูชา จากนั้นจึงอัญเชิญพระอุรังคธาตุเข้ามาบรรจุไว้ในอุโมงค์แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน


แบบสอนอ่านภาษาไทย ตอนที่ 1 เรื่องเราช่วยกันชั้นปีที่ 1




          นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากที่มีการค้นพบการฝังศพสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ที่บ้านสีบัวทอง ตำบลสีบัวทอง อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง มีหน่วยงานภาครัฐและมหาวิทยาลัยเข้าสำรวจจนระบุได้ว่าเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ของจังหวัดอ่างทอง ปัจจุบันสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา เข้าดำเนินการในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทโดยตรงต่อการศึกษาทางวิชาการ จนค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่จะเป็นข้อมูลสำคัญต่อพัฒนาการของจังหวัดอ่างทอง           การขุดค้นดำเนินการทั้งหมด ๓ หลุม พบโครงกระดูกมนุษย์ทั้งหมด ๗ โครง โดยเป็นผู้ใหญ่ ๖ โครง เป็นเด็ก ๑ โครง การฝังศพอยู่ลึกลงจากผิวดินชั้นวัฒนธรรมประมาณ ๒๐ – ๗๐ เซนติเมตร เป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงพิธีกรรมการฝังศพของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ทุกโครงถูกฝังในลักษณะนอนหงายเหยียดยาว มีข้อสังเกตุเกี่ยวกับการมัดบริเวณเข่าในทุกโครง (ยกเว้นโครงเด็ก) หันศีรษะไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีเครื่องอุทิศที่ฝังร่วมกับโครงกระดูก ได้แก่ ภาชนะดินเผา พบร่วมกับโครงกระดูก ๕ โครง วางอยู่ด้านบนหรือด้านข้างของโครงกระดูกตำแหน่งตั้งแต่สะโพกจนถึงปลายเท้า จำนวนตั้งแต่ ๑ ใบจนถึง ๙ ใบ หม้ออุทิศเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน (Earthenware) ประเภทหม้อก้นกลม ชาม ตกแต่งผิวด้วยลายเชือกทาบหรือทาน้ำดินสีแดง ขวานหินขัดวางอยู่ที่กระดูกสะโพกข้างขวาของโครงกระดูกโครงหนึ่งที่ไม่พบภาชนะดินเผา กำไลสำริด พบสวมอยู่ที่กระดูกปลายแขนข้างซ้ายของโครงกระดูกที่อยู่ลึกที่สุดและมีสภาพไม่สมบูรณ์ที่สุด           จากการตรวจสอบชั้นดินหลุมขุดค้นในที่ทำการ อบต. สีบัวทอง ซึ่งคาดว่าเป็นผิวดินเดิม พบว่าใน ระดับผิวดินเดิมก่อนที่จะทำการขุดลอกนั้นไม่พบโบราณวัตถุ จนกระทั่งความลึกประมาณ ๑ เมตรจากผิวดินเดิม จึงพบโบราณวัตถุปะปน เช่น เศษภาชนะดินเผาหรือเศษกระดูก เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับระดับที่พบการฝังศพ ในพื้นที่ของนายสมเกียรติ บริบูรณ์ ที่ขุดลอกหน้าดินออกไป ดังนั้นพื้นที่แหล่งโบราณคดีสีบัวทอง มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่ช่วงเวลาหนึ่งแล้วจึงมีการโยกย้ายทิ้งร้างพื้นที่ไป           จากการดำเนินงานโบราณคดีในช่วงที่ผ่านมาทำให้พอทราบว่าชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่มีอายุในช่วงยุคสำริด คือประมาณ ๒,๕๐๐ – ๓,๐๐๐ ปี แม้ว่าจะยังคงพบขวานหินขัดร่วมกับหลุมฝังศพ แต่จากการที่พบโครงกระดูกที่มีสำริดฝังร่วมด้วยในชั้นที่ลึกกว่าโครงอื่น จึงควรสันนิษฐานว่าชุมชนแห่งนี้เข้าสู่ยุคสำริดแล้ว แม้ว่าระดับเทคโนโลยีจะยังคงคล้ายยุคหินใหม่อยู่ก็ตาม ทั้งนี้ในเบื้องต้นพบว่ารูปแบบภาชนะดินเผามีความใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีในจังหวัดลพบุรีมากกว่าแหล่งโบราณคดีในจังหวัดสุพรรณบุรี หากวิเคราะห์ร่วมกับชั้นวัฒนธรรมที่ไม่หนามาก อาจจะสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่าเป็นชุมชนที่มีการโยกย้ายมาอยู่ในช่วงสั้น ๆ ก่อนจะอพยพไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณอื่น


                  ภาชนะสามขาเป็นหนึ่งในหลักฐานที่แสดงถึงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ช่วง ๕,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยได้มีการพบภาชนะสามขาทั้งในภาคตะวันตก เช่นจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ต่อเนื่องลงมาทางภาคใต้ เช่นจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพบทั้งในประเทศจีน และมาเลเซียอีกด้วย สันนิษฐานว่าต้นกำเนิดหม้อสามขามาจากวัฒนธรรมยางเชา ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่มณฑลซานซี และเหอหนานของจีน ซึ่งมีอายุช่วง ๗,๐๐๐ – ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงเกิดเป็นแนวคิดว่ามีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมหม้อสามขาจากดินแดนประเทศจีนส่งผ่านเข้ามาที่ดินแดนประเทศไทย และเข้าสู่ดินแดนมาเลเซียในอดีต แต่รูปแบบที่พบในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไป การใช้งานของหม้อสามขามีการสันนิษฐานว่า ขาที่ต่อออกมาจากหม้อมีไว้ใช้ในการตั้งหม้อคร่อมไฟแทนการตั้งบนเสา และรูที่ขาภาชนะใช้เพื่อระบายความร้อน ลักษณะของขาภาชนะจะมีแบบขาแหลมและขาทู่ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน   ที่มาข้อมูล กรมศิลปากร.  คนแรกเริ่มบนแผ่นดินเรา.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,  ๒๕๕๙. ประภาสิริ อุปเทศวิศาล.  การศึกษารูปแบบภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขาจากแหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี.  เอกสารการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.  ๒๕๕๒. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้.  กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์,  ๒๕๔๒.


        การจัดทำแผนที่กรุงศรีอยุธยา          พระยาโบราณราชธานินทร์ ได้จัดทำแผนที่กรุงศรีอยุธยา ๒ ฉบับ ได้แก่ แผนที่กรุงเทพทวารวดี พ.ศ. ๒๔๕๐ และแผนที่กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๔๖๙ แผนที่ทั้งสองฉบับนี้ถือเป็นแผนที่สำรวจผังเมืองสมัยใหม่ เขียนตามหลักวิชาการการทำแผนที่แบบตะวันตก ทำให้มีความน่าเชื่อถือเรื่องความถูกต้องแม่นยำและแสดงสภาพภูมิสถานได้ดีกว่าแผนที่โบราณ ใช้เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน  รูปแผนที่กรุงเทพทวาราวดี พ.ศ. ๒๔๕๐                   แผนที่กรุงเทพทวาราวดี พ.ศ. ๒๔๕๐          เป็นแผนที่กรุงเก่าที่พิมพ์โดยกรมแผนที่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๑ เมตร ยาว ๑.๒๐ เมตร มาตราส่วน ๑:๕,๐๐๐ มีแถบมาตราส่วนบอกระยะความยาวเป็นเส้น ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็ก ๆ ระบายสีลงในรูปต่างกัน ตามด้วยคำอธิบายว่าสีน้ำ สีอิฐ ถนนดิน เขียนเส้นประเล็ก ๆ ว่าเป็นเส้นเขตร์ประมาน และสุดท้ายเป็นวงกลมรูปไข่ ภายในมีจุดเล็ก ๆ เหมือนไข่ปลา ซึ่งหมายถึงที่โคกเนินยังไม่ได้ขุด ในแผนที่แสดงที่ตั้งของวัด สถานที่ราชการสำคัญพร้อมปีสร้าง ดังเช่น จวนข้าหลวงเทศาภิบาลสร้างเมื่อ ร.ศ. ๑๒๕ หอทะเบียนสร้างเมื่อ ร.ศ. ๑๒๑ เป็นต้น          แผนที่ฉบับนี้พระยาโบราณบุรานุรักษ์ (พร เดชะคุปต์) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าเป็นผู้ตรวจให้พนักงานทำตามหลักฐานที่ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยมีนายแดง ช่างเขียนกองข้าหลวงเกษตร มณฑลกรุงเก่า เป็นผู้เขียน ใช้เวลาทำถึง ๙ ปี ตั้งแต่ ร.ศ. ๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑) ถึง ร.ศ. ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๔๕๐) ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๔๐ ปี รูปแผนที่กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๔๖๙         แผนที่กรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๔๖๙          เป็นแผนที่ที่พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้จัดทำขึ้นในขณะดำรงตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลอยุธยา และอุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกโบราณคดี ตรวจสอบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ เป็นแผนที่เขียนด้วยลายมือ มีขนาดกว้าง ๓๕ เซนติเมตร ยาว ๔๒ เมตร มาตราส่วน ๑:๑๑๕๓๐ มีแถบมาตราส่วนบอกระยะความยาวเป็นเส้น ใช้สัญลักษณ์เช่นเดียวกับในแผนที่กรุงเทพทวาราวดี          แผนที่ฉบับนี้เป็นการสำรวจและเผยแพร่ข้อมูลบริเวณเกาะเมืองขึ้นใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๖๙ มีความถูกต้องและแม่นยำยิ่งขึ้น ได้แสดงตำแหน่งวัด สถานที่ราชการหลายแห่งพร้อมด้วยปีสร้าง เช่น จวนสมุหเทศาภิบาล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ หอทะเบียนสร้าง พ.ศ. ๒๔๔๕ และโรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้น รูปภูมิสถานอยุธยาปัจจุบัน          องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียน นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น “มรดกโลก” เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยที่จะสืบทอดเป็นแหล่งเรียนรู้ของโลกสากล จึงเห็นควรเสนอองค์การยูเนสโก (UNESCO) ร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบ ๑๕๐ ปี ชาตกาล พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕



องค์ความรู้ เรื่อง สะพานติณสูลานนท์ จัดทำข้อมูลโดย หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์





ชื่อผู้แต่ง      เจ้ากรุงธนบุรี,สมเด็จพระและนายกี อยู่โพธิ์ ชื่อเรื่อง       บทละครเรื่องรามเกียรติ์และเล่าเรื่องหนังสือรามเกียรติ์ ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์  กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์    โรงพิมพ์คุรุสภา ปีที่พิมพ์        ๒๕๐๗ จำนวนหน้า    ๑๘๐ หน้า หมายเหตุ      -                  หนังสือบทละคร เรื่องรามเกียรติ์และเล่าเรื่องหนังสือรามเกียรติ์ เล่มนี้ มี ๔ เล่มสมุดไทย แบ่งเป็นตอนไว้ ดังปรากฏในฉบับพิมพ์นี้คือเล่ม ๑ ตอนพระมงกุฎ เล่ม ๒ ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานรินจนท้าวมาลีวราชมา เล่ม ๓ ตอนท้าวมาลีวราชพิพากษาความจนทศกรรฐ์เข้าเมือง เล่ม ๔ ตอนทศกรรณ์์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอกกระบิลพัสตร์ จนผูกผมทศกรรฐ์กับนางมนโท   


Messenger