ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,869 รายการ
ภาพ : จี้รูปสัตว์สองหัว
ภาพ : ตุ้มหูแบบลิง ลิง โอ
นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จัดนิทรรศการพิเศษเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567 เรื่อง “บรรพชนคนอู่ทอง” จัดแสดงโบราณวัตถุ 73 รายการ ที่พบจากแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ - ต้นประวัติศาสตร์ เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียงในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี
นิทรรศการนำเสนอข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีของมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ต้นประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง แสดงถึงพัฒนาการของชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่รับอิทธิพลจากดินแดนภายนอกและพัฒนาเข้าสู่ยุคต้นประวัติศาสตร์ คือสมัยทวารวดี ที่เมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 8 หัวข้อ ประกอบด้วย
ตู้จัดแสดงที่ 1 ร่องรอยมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่เมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดงขวานหินขัดแบบมีบ่าและไม่มีบ่า เครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เมื่อประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว ที่พบบริเวณเมืองโบราณอู่ทอง
ตู้จัดแสดงที่ 2 และ 3 แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงภาชนะดินเผารูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาชนะอุทิศในหลุมฝังศพของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ อายุประมาณ 3,000 - 4,000 ปีมาแล้ว เช่น ภาชนะก้นกลม ภาชนะทรงพาน เป็นต้น
ตู้จัดแสดงที่ 4 แหล่งโบราณคดีบ้านหัวอุด อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงภาชนะดินเผารูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นภาชนะอุทิศในหลุมฝังศพของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ อายุประมาณ 3,300 - 3,500 ปีมาแล้ว เช่น ภาชนะทรงพาน และหม้อสามขา เป็นต้น
ตู้จัดแสดงที่ 5 แหล่งโบราณคดีบ้านทะเลบก อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ อายุประมาณ 3,000 - 4,200 ปีมาแล้ว ได้แก่ ขวานหินขัด ชิ้นส่วนหม้อสามขา และชิ้นส่วนภาชนะมีนม
ตู้จัดแสดงที่ 6 แหล่งโบราณคดีบ้านดอนตาเพชร อำเภอพนมทวน จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดงโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยเหล็ก อายุประมาณ 1,700 - 2,300 ปีมาแล้ว ได้แก่ ขันสำริด และกำไลสำริด
ตู้จัดแสดงที่ 7 แหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย - ต้นประวัติศาสตร์ที่เมืองโบราณอู่ทอง จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากแหล่งโบราณคดีเนินพลับพลา ได้แก่ ขวานหินขัด ที่ประทับลาย ประติมากรรมปูนปั้น และโบราณวัตถุที่พบบริเวณสนามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ได้แก่ ลูกปัดแก้วมีตา ลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ ตะคันดินเผา ชิ้นส่วนพระพิมพ์ และเบี้ยกระดองเต่า ซึ่งมีอายุตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงทวารวดี
ตู้จัดแสดงที่ 8 จัดแสดงโบราณวัตถุที่แสดงถึงการติดต่อแลกเปลี่ยนกับดินแดนภายนอก ได้แก่ จี้รูปสัตว์สองหัว และตุ้มหูแบบลิง ลิง โอ ซึ่งเป็นเครื่องประดับของกลุ่มคนในวัฒนธรรมซาหุญหรือซาหวิ่น (Sa Huynh) ซึ่งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเวียดนาม กำหนดอายุในช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย สมัยเหล็ก ราวพุทธศตวรรษที่ 1 - 5 หรือประมาณ 2,000 - 2,500 ปีมาแล้ว ขอเชิญชวนผู้สนใจไปชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “บรรพชนคนอู่ทอง” ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ณ ห้องนิทรรศการพิเศษ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เปิดทำการวันพุธ - อาทิตย์ วันหยุดราชการพิเศษและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 - 16.00 น. ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 3555 1021
กรมศิลปากรได้สร้างงานดนตรีขึ้นน้อมเกล้าฯ ถวายในวาระสุดท้ายนี้ เป็นเครื่องแสดงความจงรักภักดี ด้วยการนำคำประพันธ์มาบรรจุลงในทำนองเพลงไทยเดิม บันทึกเสียง น้อมเกล้าฯ ถวายในงานพระราชพิธีพราะราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จัดขึ้นเป็นเพลงชุด ชื่อ "เพชรรัตนาลัย" ประกอบด้วย ๓ บทเพลงดังนี้ "เพชร" "ใบไม้ร่วง" "พสุธากันแสง"
ขอเชิญชมนิทรรศการผลงานสร้างสรรค์จากมรดกศิลปวัฒนธรรม วันที่ ๑๔-๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๐.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
วันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๒ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษา ๖๗ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ และลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ณ สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
ประเทศไทยมีวงมโหรีมาแต่โบราณ มีการประสมวงมโหรีกับวงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ วงขับไม้ และวงประเภทเครื่องกลองแขก (สุพรรณี เหลือบุญชู ๒๕๒๙ : ๕๒) ในจังหวัดสุรินทร์นิยมเล่นกันแพร่หลายในเขตอำเภอสังขะ และอำเภอเมืองสุรินทร์ จากการสัมภาษณ์นายกุน ผลแมน หัวหน้าวงมโหรีบ้านภูมิโปน ทราบว่าเริ่มเรียนดนตรีครั้งแรกจากครูนิล ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากข้าหลวง ที่รัฐบาลได้ส่งมาปกครองมณฑลอีสานในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๓๖ –๒๔๕๑ (หม่อมอมร วงศ์วิจิตร ๒๕๐๖) การเล่นมโหรีจึงได้แพร่หลายสู่ชาวบ้าน ต่อมานายกุน ผลแมน ได้ถ่ายทอดแก่คณะดนตรีหมู่บ้านภูมิโปน และบ้านดม
เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในการเล่นมโหรีของวงบ้านภูมิโปน –บ้านดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย
๑. ซอกลาง ลักษณะเหมือนซออู้ แต่มีเสียงสูงกว่าซออู้เล็กน้อย หรือเรียกว่าซออู้เสียงกลาง
๒. ซออู้ ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว ขึงหนังวัว มีสาย ๒ สาย คันชักทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มนุ่มนวล
๓. ซอด้วง เป็นซอ ๒ สาย กะโหลกซอทำด้วยไม้ไผ่ ใช้หนังงูเหลือมขึง คันชักทำด้วยขนหางม้า มีเสียงแหลม
๔. ปี่ใน(ชลัย) เป็นปี่ที่ทำด้วยไม้ชิงชัน หรือไม้พยูงกลึงให้ป่องกลาง และบานปลายทั้งสองข้างเล็กน้อย เจาะเป็นรูกลวงภายใน มีรูสำหรับปิดเปิดนิ้วเพื่อให้เกิดเสียงต่างๆ เจาะรูปี่ ๖ รู ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลตัดกลมมนซ้อนสี่ชั้น ผูกติดกับโลหะ
๕. กลองสองหน้า เป็นกลองที่ขึงด้วยหนังทั้งสองหน้าเสียงแบบเดียวกับตะโพน ใช้มือตีทั้งสองด้าน ใช้ใบเดียวตีประกอบจังหวะในวงมโหรี
๖. ฉิ่ง เป็นโลหะหล่อหนา ชุดหนึ่งมี ๒ ฝา เสียงจะดังฉิ่ง –ฉับ จำทำหน้าที่เป็นหลักในการบรรเลง
๗. ฉาบ เป็นโลหะหล่อเช่นเดียวกับฉิ่ง แต่มีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่าฉิ่ง และบางกว่า จะใช้ฉาบตีขัดกับฉิ่ง เพื่อให้การบรรเลงสนุกสนาน
จากเครื่องดนตรีที่กล่าวมาจะเห็นว่ามีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายและ ประเภทปี่พาทย์บางชิ้นมาประสมกัน โดยมีซอกลางเป็นเครื่องดนตรีหลักของวงมโหรี ใช้บรรเลงในงานต่างๆ
เพลงที่ใช้ประกอบในวงมโหรี แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. เพลงขับร้อง เป็นการบรรเลงดนตรีที่มีคำร้องประกอบ มีทั้งร้องส่ง ร้องคลอ และร้องรับกับการบรรเลงดนตรี เนื้อร้องเป็นภาษาเขมรที่ถ่ายทอดมาแต่ดั้งเดิม บางครั้งเป็นการด้นกลอนสดๆ ให้เข้ากับทำนองเพลง เรียกว่า การเจรียง(ร้อง) จังหวะของเพลงจะตีฉิ่งในอัตราจังหวะ ๒ ชั้น ประเภทเพลงขับร้อง ได้แก่
เพลงขับร้อง คำร้องของเพลงขึ้นต้นด้วยคำว่า “อาเล”
เพลงกแอกคเมา (แปลว่า กาดำ)
เพลงซองซาร แปลว่าที่รัก หรือบทเพลงแห่งความรัก ในการเจรียงเพลงนี้จะมีการเรือม(รำ) เกี้ยวกันระหว่างชายหญิง เพราะบทร้องเพลงซองซารจะเป็นบทร้องโต้ตอบระหว่างชาย –หญิง
เพลงกันตบ เป็นบทร้องสอนหญิง
เพลงลาวเสี่ยงเทียน เป็นบทเพลงไทยเดิม เนื้อร้องอาจจะใช้เพลงลาวเสี่ยงเทียน หรืออาจแปลงเนื้อร้องเป็นภาษาเขมรหากนักร้องมีความชำนาญ
เพลงอายัยโบราณ เป็นการด้นกลอนสด โดยใช้เนื้อร้องตามโอกาส หรืองานที่ไปเล่น การเล่นเพลงนี้จะมีการเรือม(รำ) ประกอบ
เพลงอมตูก หมายถึง พายเรือ เนื้อหาจะกล่าวถึงการพายเรือ และแจวเรือ มีการเรือม(รำ) ประกอบ
เพลงสีนวล เป็นเพลงไทยเดิม
เพลงเขมรปากท่อ เป็นเพลงไทยเดิม
เพลงมลบโดง หมายถึง ร่มมะพร้าว
เพลงตำแร็ยยูลได หมายถึง ช้างแกว่งงวง
เพลงก็อทกรูว
เพลงกระซิงเตียม
เพลงเขมรเป่าใบไม้
เพลงเมื้อนตึก
ฯลฯ
จะเห็นว่าเพลงขับร้องที่กล่าวมา หรืออาจมากกว่านี้จะมีทั้งเพลงที่เป็นเพลงไทยเดิม และเป็นเพลงภาษาเขมรที่นำมาจากวงกันตรึม มาใช้บรรเลงในวงมโหรีของคณะบ้านภูมิโปนและบ้านดม ลักษณะของเพลงส่วนมากจะเป็นเพลงเบ็ดเตล็ดต่างๆ จัดอยู่ในประเภทเพลงเกร็ด หมายถึง เพลงที่ไม่ได้เรียบเรียงเข้าเป็นชุดต่างๆ เช่น เพลงเรื่อง เพลงตับ เพลงเถา ใช้สำหรับบรรเลงในเวลาสั้นๆ
๒. เพลงบรรเลง หมายถึง เพลงที่ใช้ดนตรีล้วนๆ ไม่มีการร้องหรือเจรียงประกอบ แบ่งออกเป็น
เพลงโหมโรง เพื่อเป็นการไหว้ครูหรือระลึกถึงครูบาอาจารย์ นอกจากนี้เมื่อเพลงโหมโรงเป็นการประกาศให้ทราบว่า จะมีการแสดงหรือมีมหรสพ การโหมโรงยังเป็นการเตรียมตัวในการบรรเลงเพลงต่อไป เพลงโหมโรงในวงมโหรีของคณะบ้านภูมิโปน –บ้านดม เช่น เพลงหัวคำปัน เป็นเพลงที่ใช้สำหรับขบวนแห่ไม่มีเนื้อร้อง
เพลงหน้าพาทย์ ชาวไทยเขมรจะเรียกว่าเพลง “ประพาทย์”หรือ “หน้าพาทย์”ในวงมโหรีคณะบ้านภูมิโปน –บ้านดม จะบรรเลงเพลงกล่อม เพลงต้นฉิ่ง ฯลฯ ซึ่งจะเห็นว่าเป็นเพลงหน้าพาทย์ที่ใช้บรรเลงประกอบอากับกิริยา อารมณ์ ของตัวละครที่ทางภาคกลางนำมาใช้หรือใช้สำหรับนาฏศิลป์จากราชสำนัก เพลงหน้าพาทย์ดังกล่าว ชาวบ้านภูมิโปน –บ้านดม นำมาใช้บรรเลงในพิธีมงคลต่างๆ ทั้งด้านเกี่ยวกับศาสนา หรือในพิธีเชิญครู อาจารย์ ให้มาร่วมในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ ลักษณะของเพลงหน้าพาทย์จะมีทำนองและจังหวะกำหนดเป็นแบบแผน ไม่มีบทร้อง เป็นการบรรเลงดนตรีอย่างเดียว
บรรณานุกรม
เติม วิภาคย์พจนกิจ. ประวัติศาสตร์อีสาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๓๐.
ปฐม คเนจร(หม่อมอมร วงศ์วิจิตร), ม.ร.ว. ประชุมพงศาวดารภาค ๔. กรุงเทพฯ : ก้าวหน้า, ๒๕๐๗.
วิทยาลัยครูสุรินทร์ เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่องเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: วิทยาลัยครูสุรินทร์, ๒๕๒๖.
สุรินทร์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เอกสารประกอบการประชุมคณะทำงานทางวิชาการจัดทำข้อมูลการจัดแสดงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์. เอกสารอัดสำเนา.
พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ได้จัดพิมพ์ในเล่มนี้ เป็นพระบรมราโชวาทซึ่งมีไปพระราชทานพระบรมโอรสาธิราช ขณะประทับศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศภาคหนึ่ง และอีกภาคหนึ่งเป็นพระบรมราโชวาททรงมีพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอ เนื่องในโอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ เมื่อพุทธศักราช 2428 พระบรมราโชวาทภาคหลังนี้แม้จะทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเฉพาะสำหรับแนะนำสั่งสอนพระเจ้าลูกยาเธอในกาละหนึ่ง แต่เนื้อความล้วนเป็นคติสอนใจที่เป็นผลได้แก่ผู้อ่านทั่วไป โดยเฉพาะกุลบุตร กุลธิดา ซึ่งกำลังอยู่ในวัยเรียน ทั้งที่ศึกษาอยู่ในบ้านเมืองของเรา และที่ออกไปศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศ ส่วนพระบรมราโชวาทภาคแรกนั้น นอกจากเนื้อความอันเป็นคติสอนใจที่ดีเยี่ยมแล้ว ผู้อ่านยังได้มีโอกาสทราบถึงความจริงในพระราชหฤทัยของพระองค์ที่ทรงมีต่อการดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติ รวมทั้งความห่วงใยที่พระองค์มีต่อพระบรมราชโอรส ซึ่งจะเป็นผู้สืบต่อตำแหน่งพระมหากษัตริย์นั้นด้วย
วันพุธที่ ๑ เมษายน. ๒๕๕๘ ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาการเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลภูซาง อำเภอเมืองภูซาง จังหวัดพะเยา หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ พะเยา ได้จัดนิทรรศการ และร่วมวาง พานพุ่มดอกไม้สดต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเนื่องโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ ๕ รอบ ๒ เมษา ๒๕๕๘ และ