ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,869 รายการ

วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2560 หัวหน้าหอสมุดแห่งชาติฯ กาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมทำกิจกรรม Big Cleaning Day” ณ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก กาญจนบุรี เพื่อผู้ใช้บริการได้บรรยากาศดี สถานที่สะอาด นั่งอ่านหนังสือสบายตา และรับความร่มรื่นจากธรรมชาติ



          สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ โดยกลุ่มแปลและเรียบเรียง ได้จัดพิมพ์หนังสือบันทึกการเดินทางสำรวจประเทศสยาม โดยเจมส์ แมคคาร์ธี ซึ่งเป็นผลงานการแปลและเรียบเรียงของนางพรพรรณ ทองตัน นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ จำหน่ายในราคาเล่มละ ๒๗๐ บาท            หนังสือเรื่องนี้เป็นผลงานของนายเจมส์ แมคคาร์ธี มีเนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงการเดินทางสำรวจ พื้นที่ เขตแดน และสถานที่ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรสยาม อาทิ คาบสมุทรมลายู เชียงใหม่ เชียงราย หัวเมืองภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนถึงเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง ฯลฯ เขาได้บันทึกข้อมูลเรื่องราว จากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นไว้อย่างละเอียด เช่น ได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์สู้รบ เพื่อปราบฮ่อที่ทุ่งเชียงคำใน พ.ศ. ๒๔๒๘ ได้เข้าพบสนทนากับบุคคลสำคัญ ในสถานที่ต่าง ๆ ได้พบเห็นสภาพบ้านเมือง ขนบธรรมเนียมประเพณีและชีวิต ความเป็นอยู่ของผู้คนในสถานที่เหล่านั้น ตลอดจนสอดแทรกเกร็ดความรู้ ในเรื่องความเชื่อและแนวความคิดของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นที่มีวัฒนธรรม แตกต่างกัน ฯลฯ รวมทั้งมีภาพประกอบจำนวนมาก            ผู้สนใจสามารถติดต่อซื้อหนังสือผ่านระบบขายหนังสือกรมศิลปากรออนไลน์ ทางเว็บไซต์ http://bookshop.finearts.go.th จำหน่ายเล่มละ ๒๗๐ บาท (ไม่รวมค่าจัดส่ง) หรือซื้อได้ที่ร้านหนังสือกรมศิลปากร ชั้น ๑ ภายในอาคารกรมศิลปากร (เทเวศร์) เขตดุสิต กรุงเทพฯ สอบถามเพิ่มเติม โทร. ๐๘ ๑๖๕๙ ๕๓๕๙ (คุณคูณ)



รายงานการเดินทางไปราชการประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   ตามโครงการจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา     สมเดช ลีลามโนธรรม นักโบราณคดีชำนาญการ                    สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา ดำเนินการโครงการจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณเสมา จังหวัดนครราชสีมา โดยว่าจ้างคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ศึกษา ซึ่งแนวทางการศึกษาได้กำหนดให้มีการศึกษาดูงานโบราณสถานในต่างประเทศ ๑ ครั้ง และในประเทศ ๑ ครั้ง เพื่อให้คณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้และเข้าใจการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานและเมืองโบราณของประเทศใกล้เคียงและภายในประเทศ                คณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย                ๑. ข้าราชการและเจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา และสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร                ๒. คณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม                ๓. ข้าราชการจากหน่วยงานในจังหวัดนครราชสีมา                ๔. ผู้แทนชุมชนเมืองโบราณเสมา                การศึกษาดูงานโบราณสถานในต่างประเทศ กำหนดให้มีการศึกษาโบราณสถานในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ ๕ – ๗ มีนาคม ๒๕๕๘  โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้                ๑. จัดทำแผนการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณเสมา จังหวัดนครราชสีมา                ๒. ศึกษาโบราณสถานปราสาทวัดพูและเมืองโบราณเศรษฐปุระ  ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับชุมชนโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และเป็นโบราณสถานที่ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(UNESCO)                ๓. ศึกษาการอนุรักษ์และการบริหารจัดการโบราณสถานปราสาทวัดพูและเมืองโบราณเศรษฐปุระในฐานะของแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม                กิจกรรมหลักของการปฏิบัติราชการ                ๑. ศึกษาดูงานการอนุรักษ์และบริหารจัดการโบราณสถานปราสาทวัดพูและเมืองโบราณเศรษฐปุระ แขวงจำปาสัก ทางตอนใต้ของประเทศลาว โดยคณะได้เข้าพบและฟังการบรรยายประวัติ ที่มา แนวคิด การอนุรักษ์และการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก จากนายบุนลับ แก้วกันยา(Bonlap Keokangna) ผู้อำนวยการห้องการคุ้มครองมรดกโลกจำปาสักวัดพู กระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว                ๒. ศึกษาดูงานโบราณสถานวัดพู เมืองโบราณเศรษฐปุระ เมืองจำปาสักเก่า ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ โบราณสถานประเภทวัด เช่น วัดเชียงทอง  พระธาตุภูศรี  วัดวิชุนราช  วัดใหม่สุวรรณภูมาราม  เป็นต้น  และโบราณสถานประเภทอาคารที่พักอาศัยซึ่งเป็นอาคารเก่าสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสปกครองประเทศลาว  ชมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติหลวงพระบาง                ๓. ศึกษาภูมิประเทศและสภาพทางธรรมชาติ ได้แก่ น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี                ๔. สัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเสมา จากการศึกษาเปรียบเทียบกับการอนุรักษ์และบริการจัดการโบราณสถานของรัฐบาลลาวที่ปราสาทวัดพูและเมืองโบราณเศรษฐปุระ สาระสำคัญของการศึกษาดูงาน สรุปได้ดังนี้                ๑. การศึกษาโบราณสถานโบราณสถานวัดพู เมืองโบราณเศรษฐปุระ เมืองจำปาสักเก่า ประเทศลาว ทำให้คณะทำงานได้รับความรู้ใหม่ๆ เข้าใจและเห็นภาพของชุมชนและโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมรโบราณที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมเขมรโบราณในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย จากร่องรอยหลักฐานและรูปแบบของโบราณสถานที่หลงเหลืออยู่ การใช้พื้นที่ และการใช้งานที่ยังคงต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน หลักและแนวความคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานของรัฐบาลลาว ยังคงรักษารูปแบบความเป็นของแท้ดั้งเดิม การให้ความเคารพศรัทธาในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งสำคัญทางจิตใจของประชาชนที่มีส่วนช่วยในการดูแลรักษาโบราณสถาน                ๒. โบราณสถานวัดพู เมืองโบราณเศรษฐปุระ ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี ค.ศ.๒๐๐๑(พ.ศ.๒๕๔๔) โดยรัฐบาลลาวได้เสนอความสำคัญตามหลักเกณฑ์ ๕ ข้อ ดังนี้                    ข้อ ๑ แสดงถึงอัจฉริยะภาพในการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ                    ปราสาทวัดพูมีการวางผังที่เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนากับภูมิทัศน์ทางธรรมชาติ เป็นผลงานสร้างสรรค์ทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมชั้นเลิศ เป็นหลักฐานที่ที่สมบูรณ์ที่แสดงให้เห็นการตั้งถิ่นฐานในรูปแบบของเมืองยุคแรกๆของภูมิภาค                    ข้อ ๒ นำเสนอจุดเปลี่ยนที่สำคัญของคุณค่าของมนุษย์ผ่านกาลเวลาหรือในพื้นที่วัฒนธรรมของโลก บนพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมหรือเทคโนโลยี, อนุสรณ์สถาน, การวางผังเมืองหรือการออกแบบภูมิทัศน์                    ภูมิทัศน์ของที่ราบจำปาสักแสดงให้เห็นถึงการวางผังเมืองโบราณ, เทคนิคทางวิศวกรรม, การใช้พื้นที่ที่สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางศาสนา การใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม การดำรงชีวิตของชาวเมือง สถาบันทางสาสนาและชนชั้นสูงของสังคม หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นถึงการขยายตัวและการวางผังเมืองเพื่อตอบสนองการใช้สอย โดยเมืองโบราณเศรษฐปุระเป็นเมืองโบราณที่ยังสามารถใช้ศึกษาในฐานะตัวแทนของเมืองที่การตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร จึงจัดเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญอย่างสูง นอกจากนี้การวางผังของเมืองยังแสดงให้เห็นการผสมผสานแนวความคิดทางศาสนาฮินดูและศรัทธาของพื้นที่เกี่ยวกับการนับถือน้ำและภูเขา                    ข้อ ๓ เป็นหลักฐานแสดงความเป็นเอกลักษณ์อย่างน้อยในความไม่เหมือนใครถึงประเพณีวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ยังคงอยู่หรือสูญหายไปแล้ว                    วัฒนธรรมเขมรเป็นวัฒนธรรมที่ทรงอิทธิพลมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งพื้นที่จำปาสักเป็นพื้นที่ที่แสดงให้เห็นภาพรวมของทุกองค์ประกอบทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ วิถีชีวิต ศรัทาในศาสนา และแนวคิดทางวัฒนธรรมการปกครองที่สุญหายไปแล้ว                    ข้อ ๔ เป็นตัวแทนที่โดดเด่นของสถาปัตยกรรม รูปแบบอาคาร เทคโนโลยี ภูมิทัศน์ ซึ่งมีคุณค่าของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ                    ข้อ ๕ สามารถสัมผัสได้ของความสัมพันธ์ของเหตุการณ์สำคัญ ประเพณี แนวความคิด ความศรัทธา สุนทรีย์ และวรรณคดีที่มีคุณค่าโดดเด่น                    พื้นที่จำปาสักแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางศาสนาฮินดูที่ส่งผลต่อแนวความคิด เทคนิคทางวิศวกรรมเพื่อการสร้างศาสนสถานให้สมบูรณ์ตามคติจักรวาล ซึ่งแนวความคิดได้ถูกนำเสนอในรูปของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มีการประยุกต์เอาลักษณะทางกายภาพของธรรมชาติ ความเชื่อทางศาสนา แรงบันดาลใจของคนดั้งเดิมในพื้นที่ วิทยาการ จนกลายเป็นมาตรฐานทางศิลปกรรมแห่งศตวรรษและพัฒนาคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์                    นอกจากนี้ ในปัจจุบันปราสาทวัดพูเป็นพุทธสถานที่สำคัญของชาวจำปาสักและลาวตอนใต้ ตลอดจนแนวความเชื่อเรื่องผีและสิ่งศักดิ์สิทิ์ก็ยังปรากฏร่วมกันในพื้นที่ วัดพูเป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชุมชนท้องถิ่นมาโดยตลอด                    ซึ่งความสำคัญของวัดพูได้รับการพิจารณาและประเมินคุณค่าเข้าเกณฑ์ของมรดกโลก ๓ ข้อ ได้แก่                    ข้อ ๓ เป็นเอกลักษณ์หรือเป็นหลักฐานสำคัญทางด้านขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม หรือทางด้านวิวัฒนาการของวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่กำลังจะหมดไป                    ข้อ ๔ เป็นตัวอย่างลักษณะหรือรูปแบบของสิ่งก่อสร้าง การตกแต่งทางด้านสถาปัตยกรรมหรือทางเทคนิควิทยาการหรือเป็นภูมิทัศน์ซึ่งแสดงให้เห็นสถานภาพที่โดดเด่นทางด้านประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ                    ข้อ ๕ เป็นตัวอย่างลักษณะที่เด่นชัด ที่เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ การใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมหรือปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมที่มีความเปราะบางหรือเสื่อมสลายได้ง่าย ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนะรรมที่ไม่สามารถกลับคืนดังเดิมได้                ๓. การกำหนดเขตในการอนุรักษ์มรดกโลกวัดพู จำปาสัก กำหนดไว้ดังนี้                    ๑.เขตปกป้องรักษาวัดพู จำปาสัก  มีเนื้อที่ ๓๙๐ ตารางกิโลเมตร                    ๒.เขตรักษาสภาพแวดล้อมทางศาสนา มีเนื้อที่ ๙๒ ตารางกิโลเมตร                    ๓.เขตอนุรักษ์เพื่อดำเนินการศึกษาค้นคว้าด้านโบราณคดี มีเนื้อที่ ๒๑ ตารางกิโลเมตร                    ๔.เขตอนุรักษ์คุ้มครองอย่างเข้มข้น มีเนื้อที่ ๒.๘๕ ตารางกิโลเมตร                ๔. แนวทางการบริหารจัดการโบราณสถานของรัฐบาลลาว                    ๔.๑ การดำเนินการต่างๆ เช่น การเสนอชื่อเพื่อขึ้นเป็นมรดกโลก แผนปฏิบัติการ ทางรัฐบาลยังได้ให้ความสำคัญกับประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณา สร้างความร่วมมือกับประชาชน มีการประชุมร่วมกัน โดยรัฐบาลดำเนินการบริหารจัดการโบราณสถาน และให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในด้านการบริการ เช่น ร้านค้า ห้องน้ำ                    ๔.๒ การอนุรักษ์เมืองโบราณเศรษฐปุระและปราสาทวัดพู                         เมืองโบราณเศรษฐปุระเป็นเมืองในวัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร ที่เรียกกันว่า เจนละ สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ตัวเมืองมีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด ๑.๘ x ๒.๔ กิโลเมตร มีกำแพงเมืองที่ก่อด้วยดิน ๒ ชั้น เมืองโบราณแห่งนี้ ในปัจจุบันมีการตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยร่วมอยู่ด้วย การอยู่อาศัยของชุมชนที่ซ้อนทับกับเมืองโบราณ ทางรัฐบาลจึงการกำหนดระเบียบการใช้พื้นที่ เพื่อการอนุรักษ์และคุ้มครองโบราณสถาน โดยคำนึงถึงประชาชนที่อยู่อาศัย และการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่จะต้องได้รับการตรวจสอบจากรัฐบาลก่อน  ปัจจุบันมีการสร้างถนนสายใหม่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและลดจำนวนรถจากถนนสายเดิมที่ผ่านเข้าไปในตัวเมืองโบราณ                          ถัดจากเมืองเศรษฐปุระไปทางทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของปราสาทวัดพูซึ่งตั้งอยู่ที่ลาดเชิงเขาภูเก้า นักวิชาการสันนิษฐานว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ๑๗    และมีการสร้างต่อเนื่องมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘  อย่างไรก็ตามบริเวณวัดพู อาจมีการใช้พื้นที่หรือให้ความสำคัญเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา                    ๔.๓ สร้างความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส อินเดีย เกาหลีใต้ ในการศึกษาทางโบราณคดี การวางแผนในการคุ้มครองและพัฒนาโบราณสถาน การบูรณะโบราณสถาน รวมทั้งการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในการบูรณะโบราณสถาน                    ๔.๔ การบูรณะโบราณสถานใช้เทคนิคเดิมผสมผสาน เช่น ใช้สิ่วสกัดหินทรายเพื่อให้ปรากฏร่องรอยเหมือนในอดีต                ๕. การจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากปราสาทวัดพูในอาคารสำนักงานมรดกโลก มีความเรียบง่าย คำบรรยายไม่มาก แต่โบราณวัตถุและที่จัดแสดง เช่น ประติมากรรม ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม ก็ให้ข้อมูลด้านโบราณคดีและวัฒนธรรมเขมรเป็นอย่างมาก และมีข้อปฏิบัติห้ามถ่ายภาพโบราณวัตถุ และมีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า บริเวณอาคารสำนักงานและโบราณสถานวัดพูจะไม่ปรากฏตราสัญลักษณ์มรดกโลกมากนัก                 ๖. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ได้มีการรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น มุมมอง และประสบการณ์ของคณะทำงานจากทั้งหน่วยงานของกรมศิลปากร สถาบันการศึกษา หน่วยงานในจังหวัดนครราชสีมาและท้องถิ่น  ในด้านการอนุรักษ์ การบริหารจัดการโบราณสถานประเภทชุมชนและเมืองโบราณ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะใช้เป็นแนวทางหนึ่งในการจัดทำแผนแม่บทที่กำลังดำเนินการ                                 ข้อเสนอแนะ                การศึกษาโบราณสถานในพื้นที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับโบราณสถานเมืองเสมา เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เนื่องจากคณะทำงานจะได้เข้าใจลักษณะ รูปแบบของโบราณสถาน การอนุรักษ์ การพัฒนาโบราณสถานที่มีรูปแบบและวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน  รวมทั้งวิธีการอนุรักษ์และบริหารจัดการโบราณสถานที่มีทั้งส่วนที่เหมือนและแตกต่างกัน                 


ผู้แต่ง               :  อักขรานุกรมภูมิศาสตร์โรงพิมพ์           :  กรมศิลปากรปีที่พิมพ์           :  2503ภาษา               :  ไทยรูปแบบ             :  PDFเลขทะเบียน      :  น.31บ.12378เลขหมู่             :  959.3                          ป247จ


      การโล้ชิงช้า เป็นประเพณีพิธีกรรมที่มีมาแต่โบราณ พบเห็นทั่วไปในหลายท้องถิ่น บางแห่งอาจเป็นเพียงการละเล่น เพื่อผ่อนคลาย แต่บางแห่งถือปฏิบัติเป็นพิธีกรรมสำคัญตามความเชื่อของผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ มีนัยสำคัญคือ มุ่งให้เกิด ความอุดมสมบูรณ์หรือเกิดสิริมงคล แล้วจึงถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณีในที่สุด


เลขทะเบียน : นพ.บ.26/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  54 หน้า  ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 13 (138-151) ผูก 5หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.46/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  78 หน้า ; 4.6 x 51.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 28 (282-294) ผูก 1หัวเรื่อง :  ธรรมบท --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ที่มา : ปกด้านในวารสารกรมศิลปากรปีที่ 7 ฉบับที่ 8           กรุงสุโขทัยอดีตราชธานีไทยอีกสมัยหนึ่ง ของประวัติศาสตร์ชาติไทย ได้ก่อกำเนิดขึ้นใน ราวปีพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ณ บริเวณเมืองสุโขทัยใน อดีตเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งมีระบบการ ปกครองอย่างมีระเบียบแบบแผนมาก่อน ร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏยืนยันเรื่องนี้ คือ ปรางค์วัด พระพายหลวงปรางค์วัดศรีสวาย ศาลตาผาแดง ซึ่งเป็น ลักษณะสถาปัตยกรรมรุ่นก่อนสมัยสุโขทัย             สุโขทัยเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมือง คูเมือง ๑๓ ชั้น ตั้งอยู่ทางฟากตะวันตกของแม่น้ำยม ห่างจากเมืองอันเป็นที่ตั้งจังหวัดสุโขทัย ๑๒ กิโลเมตร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้อัญเชิญพระพุทธรูปจากสุโขทัย จำนวน ๒,๑๒๘ องค์ไปประดิษฐานตามวัดต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่ก็ได้เสด็จถึงสุโขทัย พบซากโบราณ สถาน โบราณวัตถุมากมาย โดยเฉพาะศิลาจารึกหลัก ที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหง อันเป็นหลักฐานที่สำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย และในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ เสด็จ มาเมืองสุโขทัย และได้ทรงพระราชนิพนธ์ หนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงไว้จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมศิลปากร ได้เริ่มทำการขุดแต่งบูรณะโบราณสถานสำคัญ ๆในบริเวณเมืองสุโขทัยและ ได้ ประกาศขึ้น ทะเบียนบริเวณเมืองสุโขทัยเก่า ซึ่งมี พื้นที่ประมาณ ๔๓,๗๐๐ ไร่ โดยได้อนุรักษ์ไว้เป็น เขตโบราณสถาน พร้อมทั้งได้จัดทำโครงการระยะยาว เพื่ออนุรักษ์และบูรณะให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งภายในกำแพงเมืองสุโขทัยมีสระน้ำ คน หนองน้ำ และบ่อน้ำบาดาล ส่วนใหญ่จะอาศัยน้ำที่กักเก็บไว้นี้ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคและใช้เป็น เครื่องกำหนดขอบเขตโบราณบางแห่งสระน้ำขนาด ใหญ่ที่สำคัญภายในเขตกำแพงเมืองที่เรียกว่า “ตระพัง” ได้แก่ตระพังเงิน ตระพังทอง ตระพังสอ และ ตระพังตระกวน           วัดมหาธาตุเป็นวัดศูนย์กลงของเมืองสุโขทัยมีสิ่ง ก่อสร้างในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก สิ่งก่อสร้างที่มี ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเด่น ๆ คือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าว บิณฑ์ และพระอัฏฐารศ ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของ สถาปัตยกรรมสุโขทัย นอกจากนี้มีวัดวาอารามที่เป็น โบราณสถานที่สำคัญอีกมากมาย อาทิ วัดพระพาย หลวงศาสนสถานในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเป็น ศิลปะขอมแบบมหายาน สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ วัดศรีชุมอยู่นอกเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันตกเฉียง เหนือ และวัดเชตุพนตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองสุโขทัย ภายในวัดมีมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสื่อริยบท คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน ที่ยังคงเหลือให้เห็น ปัจจุบันมีเพียงพระพุทธรูปปางลีลาและพระพุทธรูป ประทับยืนเป็นต้น           อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยที่บูรณะและพัฒนา แล้วนี้อาจจะเป็นแหล่งวิทยาการสําหรับการศึกษา ค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และแหล่งโบราณคดี พร้อม ทั้งเป็นอุทยานสําหรับพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นสถาน ที่ท่องเที่ยวที่สําคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย ที่จะส่งผลให้ เกิดความเจริญในท้องถิ่นและประเทศชาติอีกทางหนึ่ง ด้วย ปัจจุบันโบราณสถานเมืองสุโขทัยได้ประกาศขึ้น ทะเบียนในบัญชีมรดกของโลกแห่งหนึ่งที่เป็นที่รู้จักทั่ว ไปในนานาประเทศ







Messenger