ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,869 รายการ

         อโรคยศาล แปลตามตัวอักษรได้ว่า ศาลาไร้โรค หรือก็คือศาสนสถานพยาบาลในสมัยเขมรโบราณ สร้างขึ้นตามพระราชดำริของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยบันทึกเอาไว้ในจารึกปราสาทตาพรหมว่า ทรงให้สร้างขึ้นมากถึง 102 แห่งในแต่ละวิษัยหรือเมือง ในจำนวนนั้นอยู่ในประเทศไทยถึง 30 แห่งด้วยกัน           อโรคยศาล จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือสถานพยาบาลสร้างด้วยไม้ ซึ่งใช้ในการรักษาผู้ป่วยจริงๆ และส่วนที่สองคือวิหารหรือบรรณาลัย           รูปแบบของศาสนสถานเขมรโบราณขนาดเล็กแบบหนึ่ง มีองค์ประกอบ คือ ปราสาทประธานอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก ที่บริเวณมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาท ประธานเป็นที่ตั้งของบรรณาลัย ซึ่งเป็นอาคารแผนผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไป ด้านทิศตะวันตกของปราสาทประธาน นอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก สิ่งก่อสร้างเหล่านี้สร้างด้วยศิลาแลง           ศาสนสถานดังกล่าว บางแห่งได้พบรูปพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา (พระพุทธเจ้าผู้รักษาโรค ผู้มีประกายดั่งไพฑูรย์) บางแห่งพบศิลาจารึกของพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7 ระบุว่า ที่แห่งนั้นเป็นอโรคยาศาล          ศาสนสถานดังกล่าว บางแห่งได้พบรูปพระพุทธเจ้ากษัชยคุรุไวฑูรยประภา (พระพุทธเจ้าผู้รักษาโรค ผู้มีประกายดั่งไพฑูรย์) บางแห่งพบศิลาจารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ระบุว่า ที่แห่งนั้นเป็นอโรคยาศาล มีการพบจารึกที่บันทึก พระราชปณิธานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในการสร้างอโรยคศาลมีความว่า         “โรคทางร่างกายของประชาชนนี้ เป็นโรคทางใจที่เจ็บปวดยิ่ง เพราะว่าความทุกข์ของราษฎร แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์ แต่เป็นทุกข์ของเจ้าเมือง อีกทั้งมีจารึกเกี่ยวกับรูปพระพุทธเจ้ากษัชยคุรุไวฑูรยประภา ความว่า "พระองค์ได้สร้างโรงพยาบาล และรูปพระโพธิสัตว์ไภษัชยสุคตพร้อมด้วย รูปพระชิโนรสทั้งสองโดยรอบ เพื่อความสงบแห่งโรคของประชาชนตลอดไป " ลักษณะของพระพุทธเจ้ากษัชยคุรุไวฑูรยประภาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แตกต่างจากลักษณะของพระพุทธเจ้ากษัชยคุรุไวฑูรยประภา ที่ท่านจะถือหม้อยาอยู่ที่พระหัตถ์ เเต่ในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ท่านจะมีลักษณะคล้ายกับพระวัชรธร (พระอาทิพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสูงสุดในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นิกายวัชรยาน)      จัดทำโดยนางสาวปิยาพัชร พองพรหม นักเรียนฝึกประสบการณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นครราชสีมา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           38/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 133/5เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 169/5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           22/7ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                30 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           6/5ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              30 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


          พระพิมพ์พระสาวกมีจารึก “มหาก...” จากเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง           พระพิมพ์พระสาวกมีจารึก “มหาก...” พบร่วมกับพระพิมพ์พระสาวกมีจารึกองค์อื่น ๆ รวม ๗ องค์ จากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง           พระพิมพ์พระสาวก กว้าง ๔.๘ เซนติเมตร สูง ๙.๒ เซนติเมตร เศียรเรียบไม่มีอุษณีษะและเม็ดพระศกเหมือนพระพุทธรูป จึงสันนิษฐานว่าเป็นรูปพระสาวก มีพักตร์กลม ขนงต่อกันเป็นปีกกา เนตรเหลือบต่ำ นาสิกใหญ่ โอษฐ์แบะ ครองจีวรเรียบห่มเฉียงเปิดอังสาขวา หัตถ์ทั้งสองประสานกันในท่าสมาธิ นั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานหน้ากระดานเรียบ มีแผ่นหลังรูปสามเหลี่ยมปลายมน มุมล่างขวาหักหายไป ด้านหลังพระพิมพ์แบนเรียบ มีจารึกตัวอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี จำนวน ๑ บรรทัด ความว่า “มหาก” กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ หรือประมาณ ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว            นักวิชาการเสนอว่าจารึก “มหาก...” หมายถึงนามพระสาวกองค์หนึ่งในกลุ่ม “พระอสีติมหาสาวก” ซึ่งเป็นพระสาวกสำคัญจำนวน ๘๐ รูป ของพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์ภาษาบาลีของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท อาจแปลความได้ ๒ ประการดังนี้           ๑.  มาจากนาม “มหากสฺสโป” หมายถึง พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นเอตทัคคะในด้านผู้ทรงธุดงค์และสรรเสริญคุณของธุดงค์ นอกจากนี้ยังเป็นประธานและผู้ถามพระธรรมและพระวินัยในการสังคายนาครั้งที่ ๑ ด้วย ในการสังคายนาครั้งนี้มีพระอรหันต์สาวกประชุมกันจำนวน ๕๐๐ รูป ที่ถ้ำสัตตบรรณ ภูเขาเวภาระ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ภายหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ๓ เดือน มีพระอานนท์เป็นผู้ตอบพระธรรม พระอุบาลีเป็นผู้ตอบพระวินัย และพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์            ๒. มาจากนาม “มหากจฺจายโน” หมายถึง พระมหากัจจายนะ หรือที่ในประเทศไทยนิยมเรียกว่า พระสังกัจจายน์ พระมหากัจจายนะเป็นเอตทัคคะในด้านแสดงธรรมย่อให้พิสดาร เป็นผู้มีปัญญาหลักแหลมสามารถอธิบายขยายความได้ตรงตามพระพุทธดำรัสได้อย่างสมบูรณ์   เอกสารอ้างอิง จิรัสสา คชาชีวะ. “คำ “เมตเตยยะ” ที่เก่าที่สุดที่ได้พบจากหลักฐานประเภทจารึกในประเทศไทย”. ดำรงวิชาการ ๒, ๓ (มกราคม - มิถุนายน ๒๕๔๖) : ๒๙ - ๓๘. ธนกฤต ลออสุวรรณ. “การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน :  กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๖.  ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ. “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะ พบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี.” ใน เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง ความก้าวหน้าใน การศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี. โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี,  ๒๔ – ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๖. ปัญญา ใช้บางยาง. ๘๐ พระอรหันต์ (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๕๒.


ชื่อผู้แต่ง        หอศิลปเพชรบุรี ชื่อเรื่อง         นิทรรศการศิลปกรรมของสมาคมศิลปสมัยใหม่แห่งสิงค์โปร์ ครั้งที่พิมพ์      - สถานที่พิมพ์   กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์     ธนากิจการพิมพ์ ปีที่พิมพ์        ๒๕๑๘ จำนวนหน้า    ๒๐ หน้า รายละเอียด                   หอศิลปเพชรบุรีและสมาคมศิลปสมัยใหม่แห่งสิงคโปร์ จัดแสดงผลงานศิลปของจิตรกรชาวสิงคโปร์ เพื่อให้ศิลปิน นักศึกษาและประชาชน ได้มีโอกาสทราบถึงวิวัฒนาการแห่งศิลปปัจจุบันของจิตรกรชาวสิงคโปร์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดให้มีนิทรรศการของสมาคมขึ้นในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้ศิลปินมีโอกาสแสดงความสามารถในการสร้างสรรค์ศิลปในระดับที่สูงขึ้น


รายชื่อบุคคล จำนวน 1 ราย ที่มียอดเงินที่ยังค้างในบัญชี KTB Corporate Online (เลขที่บัญชี 0276034260)นายอิทธิพล วิรัตนภานุกรุณาติดต่อกลับ กลุ่มคลังและพัสดุ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร โทร.02-126-6291-92 ต่อ 3043


องค์ความรู้ ส่งเสริมการอ่านผ่านออนไลน์ เรื่อง "วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า 3 วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 31 มีนาคม 2330 และด้วยความสำนึกในพระเมตตาธิคุณและพระมหากรุณาธิคุณอันมีเป็นอเนกประการ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2535 กำหนดให้วันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี เป็น "วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า" หรือ "วันเจษฎา" เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระศรีสุลาลัย ทรงพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ สวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 รวมพระชนมายุ 63 พรรษา กับ 11 วัน เสด็จดำรงในสิริราชสมบัติ 25 ปี 7 เดือน 23 วัน ในปี พ.ศ. 2356 เมื่อพระชนพรรษาได้ 26 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม ทรงพระนามว่าพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ โดยทรงได้รับการไว้วางใจพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้ทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความฎีกา พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน จึงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว" ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่เจ้าฟ้ามงกุฎ (พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นพระราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรงส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงพระราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น แต่ทรงเจิญพระชนมายุมากกว่าเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งขณะนั้นยังทรงพระเยาว์และทรงผนวชอยู่ โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอกฉศก มีพระชนมายุได้ 37 พรรษา ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยได้เกิดกรณีพิพาทกับญวน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าญวน จะมายึดจันทบุรีเป็นที่มั่นเพื่อทำการต่อสู้กับไทย จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) เป็นแม่กองออกมาสร้างป้อมค่าย และเมืองขึ้นใหม่ให้มีชัยภูมิดี เหมาะแก่การต่อสู้ข้าศึก ในปี พ.ศ. 2377 และเมืองใหม่นี้ก็คือ ค่ายเนินวง หรือปัจจุบันคือ โบราณสถานค่ายเนินวง ที่ตำบลบางกะจะนั่นเอง พระองค์ทรงมีพระบรมราชคุณูปการแก่ประเทศและประชาชนด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งด้านการต่างประเทศ ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมลึกซึ้ง ได้ทรงผ่อนปรนมิให้กระทบกระเทือนทั้งผลประโยชน์ของประเทศและสัมพันธไมตรีระหว่างกัน ส่งผลให้ชาติไทยคงความเป็นเอกราชตราบจนปัจจุบัน ด้านเศรษฐกิจ บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ ด้านพระพุทธศาสนา ทรงเกื้อกูลการพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง และทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนที่สำคัญที่สุดแก่ประเทศไทย คือส่วนที่พระราชทานไว้แก่แผ่นดิน ซึ่งเก็บรักษาไว้ในถุงแดงจำนวนหลายหมื่นชั่ง ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำมาเป็นค่าชดใช้แลกเปลี่ยนอธิปไตยของชาติในกรณีพิพาทดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ร.ศ.112 ทั้งนี้ พระราชกรณียกิจตลอดเวลา 27 ปี แห่งการครองราชย์ ทรงสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่แผ่นดิน อันเป็นรากฐานแห่งความเจริญมาจนตราบทุกวันนี้ ประชาชนชาวไทยและรัฐบาลพร้อมใจกันสร้างพระราชานุสาวรีย์ ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ หน้าวัดราชนัดดาราม เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2541 ทางราชการได้มีการถวายพระราชสมัญญาว่า "พระมหาเจษฎาราชเจ้า" และได้ไช้ชื่อวันว่า "วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า" อ้างอิง : บุญเติม แสงดิษฐ์. วันสำคัญ. กรุงเทพฯ : พัชรการพิมพ์. 2541. ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี : อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ. 2533. ผู้เรียบเรียง : นายประพนธ์ รอบรู้ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี


เลขทะเบียน : นพ.บ.468/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 50 หน้า ; 4 x 53 ซ.ม. : ชาดทึบ-รักทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 161  (183-194) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พิมพา--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.605/3                  ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 40 หน้า ; 4 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 194  (408-415) ผูก 3 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมมสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ฐานโยนีโทรณะ “ฐานโยนิโทรณะ”หรือที่มักเรียกกันว่า “ฐานโยนี” โดยคำว่า “โยนี” หมายถึง “อวัยวะเพศหญิง” และ “โทรณะ” หมายถึง “ทางเข้าออก” ซึ่งก็คือร่องน้ำของฐานโยนีที่ยื่นออกมา โดยฐานโยนีโทรณะ เป็นสัญลักษณ์แทนพระนางปารวตี ซึ่งใช้เป็นฐานรองรับการประดิษฐานองค์ศิวลึงค์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะ สวามีของพระนางปารวตี บริเวณตรงกลางของฐานโยนีโทรณะเจาะรูตรงกลางเพื่อให้เดือยขององค์ศิวลึงค์ด้านล่างเสียบเข้าไปได้ ส่วนบริเวณโดยรอบสลักเป็นร่องน้ำและรูน้ำไหลออกเพื่อให้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากการทำพิธีไหลลงมายังร่องน้ำดังกล่าว ซึ่งคติการสร้างฐานโยนิโทรณะ คือการแสดงถึงการให้กำเนิดชีวิต ในคติความเชื่อของศาสนาฮินดู นอกจากคำว่าโยนีโทรณะแล้ว ยังมีการใช้คำว่า “ปีฐะ” ที่แปลว่า “ฐาน” ซึ่งใช้เรียก ฐานรูปเคารพทุกชนิด ทั้งที่มีร่องรองรับการทรงน้ำและที่ไม่มีร่องรองรับน้ำ โดยฐานรูปเคารพที่มีร่องรองรับน้ำน้ำยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า “สนานโทรณี” ร่องรอยของฐานโยนีโทรณะเริ่มปรากฏขึ้นในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (2800-800 ปีก่อนพุทธกาล) โดย John Marshall เริ่มทำการขุดค้นเมืองฮารัปปา แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน ในปี พ.ศ. 2463 และได้ค้นพบหินเจาะรูทรงกลมซึ่งเขาเสนอว่าเป็นฐานที่เสียบประติมากรรมทรงอวัยวะเพศชาย และยังพบประติมากรรมหินทรงอวัยวะเพศชายบนฐานกลมซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นฐานโยนีในยุคแรก ต่อมาหลักฐานของ ฐานโยนีจึงเริ่มปรากฏขึ้นอีกครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 โดยพบการสร้างฐานโยนีโทรณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม เพื่อใช้รองรับแท่นศิวะลึงค์ ซึ่งแต่เดิมถูกปักไว้ในดิน หรือตั้งไว้ในห้องครรภคฤหะโดยไม่มีฐานรองรับ หลักฐานของฐานโยนีโทรณะในยุคนี้ได้แก่ ฐานโยนีโทรณะของถ้ำเอเลฟานต้า รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย อายุราวพุทธศตวรรษที่12 โดยพบฐานโยนีโทรณะทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ต่อมาเมื่อวัฒนธรรมอินเดียหลั่งไหล่เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงปรากฏหลักฐานการใช้ฐานโยนีโทรณะ และฐานรูปเคารพในศาสนาต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในประเทศไทย เพื่อใช้วางรูปเคารพเทพเจ้าในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ ฐานโยนีโทรณะที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม ที่ปราสาทสด๊กก๊อกธมมีฐานโยนีโทรณะตั้งอยู่ภายในห้องครรภคฤหะ ซึ่งฐานโยนีโทรณะดังกล่าวประกอบด้วยชิ้นส่วนที่เป็นของเดิม และชิ้นส่วนที่ทำจำลองขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ยังพบหลักฐานของฐานรูปเคารพซึ่งสันนิษฐานว่าใช้วางรูปเคารพของเทพเจ้าองค์อื่นๆ ในศาสนาฮินดู และเป็นเทพเจ้าที่ถูกบูชาในฐานะเทพเจ้าองค์รองของปราสาทสด๊กก๊อกธม รู้หรือไม่ ???? ปลายท่อน้ำของฐานโยนีโทรณะตั้งอยู่ทางทิศเหนือเสมอ เนื่องจากคติความเชื่อของศาสนาฮินดูที่ว่า ทิศเหนือเป็นทิศที่แม่น้ำคงคาไหลลงมา ฉะนั้นน้ำที่ไหลลงมาจากการทำพิธีรดน้ำองค์ศิวลึงค์จึงเหมือนน้ำที่ไหลย้อนขึ้นไปยังสรวงสวรรค์


พระอุดรคณาภิรักษ์ (กิตติศักดิ์ กิตฺติวุฑฺโฒ).  กรรมเวร และพัฒนาการทางจิต.  พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2509.



Messenger