ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,868 รายการ



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 133/4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 169/4เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           22/6ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                30 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 54.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           6/4ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              30 หน้า : กว้าง 4.6 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


         กระเบื้องมุงหลังคาแบบมีร่อง สมัยทวารวดี          กระเบื้องมุงหลังคาแบบมีร่อง จัดแสดงห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง          กระเบื้องดินเผา กว้าง ๙.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๓.๕ เซนติเมตร ชำรุดหักหายไปส่วนหนึ่ง มีรูปทรงสี่เหลี่ยม มีขอบมุมโค้งมนเล็กน้อย ผิวด้านบนมีร่องกว้างที่กึ่งกลางตามความยาวของกระเบื้อง ปลายข้างหนึ่งมีการเจาะรู  ๒ รู สันนิษฐานว่าใช้สำหรับประกอบกับสลักเดือย เพื่อยึดกับโครงสร้างหลังคาซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นระแนงไม้ ผิวด้านล่างแบนเรียบ เนื้อกระเบื้องค่อนข้างหยาบมีกรวดทรายและรูพรุนที่เกิดจากการผสมแกลบข้าวเข้าไปในเนื้อดิน สันนิษฐานว่าเพื่อช่วยในการถ่ายเทอากาศขณะเผาและช่วยไม่ให้กระเบื้องแตกง่าย เมื่อเผากระเบื้องแล้วแกลบข้าวเหล่านี้จะถูกเผาสลายไปกลายเป็นรูพรุน เนื้อกระเบื้องภายนอกเป็นสีส้ม ภายในเป็นสีดำ เนื่องจากเผาด้วยอุณหภูมิต่ำทำให้เนื้อกระเบื้องภายในสุกไม่ทั่วถึง การผสมแกลบลงในเนื้อดินและเผาด้วยอุณหภูมิต่ำนี้ยังพบในอิฐสมัยทวารวดีด้วย            นอกจากกระเบื้องชิ้นนี้แล้ว ยังพบชิ้นส่วนที่สันนิษฐานว่าเป็นกระเบื้องมุงหลังคาแบบมีร่องจากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๑๔ (บ้านศรีสรรเพชญ์ ๓) อีกจำนวนหนึ่งด้วย นอกจากนี้ที่โบราณสถานแห่งนี้ยังพบกระเบื้องมุงหลังคาอีก ๒ รูปแบบ ได้แก่ กระเบื้องมุงหลังคาแบบแผ่นเรียบมีรู และกระเบื้องมุงหลังคาแบบลอน แสดงถึงความหลากหลายของรูปแบบกระเบื้องมุงหลังคาในสมัยทวารวดี อนึ่ง นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังพบหลักฐานทางเอกสารที่กล่าวถึงกระเบื้องมุงหลังคาในสมัยทวารวดี ได้แก่ จดหมายเหตุทงเตี่ยน ซึ่งเป็นเอกสารจีนที่รวบรวบขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ มีเนื้อหาที่กล่าวถึงดินแดนโถวเหอ (นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะตรงกับคำว่า “โถโลโปตี” ที่หมายถึง “ทวารวดี”) ซึ่งเป็นที่รู้จักในสมัยราชวงศ์สุย (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒) ว่ามีบ้านเรือนหรือวังของกษัตริย์ที่มีหลายชั้นและมีการใช้กระเบื้องมุงหลังคาด้วย          แม้กระเบื้องชิ้นนี้จะอยู่ในสภาพชำรุด แต่ก็เป็นหลักฐานกระเบื้องมุงหลังคารูปแบบหนึ่งที่ชาวพื้นเมืองสมัยทวารวดีใช้สำหรับมุงหลังคาซึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องไม้ และยังแสดงถึงเทคนิคการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาของช่างพื้นเมืองสมัยทวารวดีด้วย กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ หรือประมาณ ๑,๐๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว    เอกสารอ้างอิง  เด่นดาว ศิลปานนท์. โบราณสถานบ้านศรีสรรเพชญ์ ๓ ปริศนาวิหารถ้ำเมืองอู่ทอง. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, ๒๕๕๙. สฤษดิ์พงศ์ ขุนทรง. “กระเบื้องดินเผาสมัยทวารวดี : ข้อมูลใหม่จากการขุดค้นที่เมืองนครปฐมโบราณ”. หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย. ๙ (กันยายน ๒๕๕๕ – สิงหาคม ๒๕๕๖), ๓๐๒ – ๓๑๔.


ชื่อผู้แต่ง                  - ชื่อเรื่อง                   พระไตรลักษณ์ ครั้งที่พิมพ์               - สถานที่พิมพ์             - สำนักพิมพ์               - ปีที่พิมพ์                  - จำนวนหน้า              ๑๑๒   หน้า หมายเหตุ                สด.๐๑๗ หนังสือสมุดไทยดำ อักษรไทย ภาษาไทย เส้นหรดาล (เนื้อหา)                  อธิบายธรรมะซึ่งเป็นคติสอนใจโดยการหยิบยกเอาคาถาสุภาษิตในภาษาบาลีมาแต่งเป็นกาพย์แล้วอธิบายขยายความตามหลักพุทธศาสนา


          กรมศิลปากร ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด Facebook Live รายการไขความรู้จากครูกรมศิลป์ ตอน “ปักหมุดเที่ยวแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่บ้านเชียง” วิทยากร นางสาวกนกวลี สุริยะธรรม ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ผู้ดำเนินรายการ นายสิทธิพร บุปผา นักวิชาการเผยแพร่ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๑.๐๐ – ๑๑.๔๕ น.            ผู้สนใจสามารถติดตามชมได้ทาง Facebook Live : กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม และ Facebook Live : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


จดหมายเหตุ : พระอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ณ น้ำตกพลิ้ว ครั้นสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕ เสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเกล้าอยู่หัว ได้สร้างพระอนุสาวรีย์ขึ้นหลายแห่งเพื่อเป็นที่ระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งมีลักษณะรูปลักษณ์แตกต่างกันไป โดยแต่ละที่ที่สร้างจะเป็นสถานที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เคยตามเสด็จและโปรดปรานเป็นพิเศษ หนึ่งในนั้นคือ น้ำตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี เอกสารจดหมายเหตุชุดแผนกมหาดไทย จังหวัดจันทบุรี ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี มีหนังสือโต้ตอบเกี่ยวกับการสอบถามประวัติของพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ในช่วง พ.ศ. 2502 ซึ่งพบว่าพระอนุสาวรีย์ชำรุดทรุดโทรมและไม่ทราบประวัติความเป็นมา กระทรวงมหาดไทยได้รับแจ้งจากสำนักราชเลขาธิการ โดยหม่อมเจ้าเกียรติประวัติ เกษมสันต์ ขอให้ช่วยสอบประวัติของพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ น้ำตกพลิ้ว ซึ่งได้สอบถามไปแล้วยังสำนักพระราชวังแต่ไม่ทราบข้อมูล กระทรวงมหาดไทยจึงแจ้งมายังผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี (สมัยนั้นคือหม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่) เพื่อให้ดำเนินการสอบประวัติและให้รายงานแจ้งกระทรวงมหาดไทยต่อไป ลักษณะของอนุสาวรีย์ ที่น้ำตกพลิ้ว มีลักษณะเป็นรูปทรงปิรามิดพร้อมคำจารึก มูลเหตุที่สร้างเป็นทรงปิรามิดด้วยดำริของรัชกาลที่ 5 ที่ว่า “ทำรูปอื่นอาจไม่คงทนถาวร เพราะตั้งอยู่กลางป่าเขาลำเนาไพร อันไม่มีผู้ดูแล ฉะนั้นเมื่อปิรามิดของอียิปต์ ยืนยงคงทนอยู่ได้ฉันใด ปิรามิดน้อยนี้ก็จะยืนยงคงทนอยู่เช่นกัน ณ ท่ามกลางป่าเขาและเสียงไหลรินของธารพลิ้ว” รายงานประวัติของพระอนุสาวรีย์ โดยหม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย มีการบรรยายถึงประวัติความเป็นมา รูปลักษณะ และข้อความในจารึก ความดังเอกสาร เรียบเรียง อดิศร สุพรธรรม นักจดหมายเหตุชำนาญการ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี เอกสารอ้างอิง หอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. จบ 1.1.1.6/39 เอกสารกระทรวงมหาดไทย ชุดจังหวัดจันทบุรี เรื่องพระอนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (4 สิงหาคม – 6 ตุลาคม 2502)


เลขทะเบียน : นพ.บ.467/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 28 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ-ชาดทึบ-ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 160  (174-182) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : พระธรรมนับชาติ--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.605/2                  ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 36 หน้า ; 4 x 53.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 194  (408-415) ผูก 2 (2566)หัวเรื่อง : พระธัมมสังคิณี--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


-บรรพแถลง บรรพแถลง หรือ บันแถลง เป็นซุ้มขนาดเล็กซึ่งเป็นรูปสัญลักษณ์ของอาคารหรือชั้นวิมานของเทวดา และมีการสลักหรือปั้นรูปเทวดาสถิตอยู่ภายในซุ้มนั้น บรรพแถลงมักพบได้ในสถาปัตยกรรมดังนี้ - ปราสาทขอม - ปรางค์ - มณฑป - บุษบก สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเจดีย์ขนาดเล็ก และมีเรือนยอดด้านบน ในปราสาทวัฒนธรรมเขมร บรรพแถลงเริ่มปรากฏขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ เพื่อใช้ประดับบนชั้นวิมานของหลังคาซ้อนชั้นของปราสาท และเสื่อมความนิยมไปในพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ช่วงศิลปะบายนซึ่งนิยมสร้างใบหน้าบุคคลขนาดใหญ่แทนหลังคาแบบซ้อนชั้น ทำให้ไม่เหลือที่ว่างไว้เพื่อประดับบรรพแถลง สำหรับบรรพแถลงสามารถแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ “บรรพแถลงประจำมุม” ซึ่งประดับอยู่ที่มุมรองของปราสาท โดยอยู่ขนาบทั้งสองข้างของนาคปัก หรือปราสาทจำลองตรงมุมหลัก และ“บรรพแถลงประจำทิศ” ซึ่งประดับอยู่เหนือ ซุ้มหน้าบันในแต่ละชั้นวิมานของปราสาทประธานทั้งสี่ทิศ บรรพแถลงของปราสาทสด๊กก๊อกธม สำหรับปราสาทสด๊กก๊อกธมพบหลักฐานของบรรพแถลงตามมุมของชั้นวิมาน โดยพบเพียงส่วนฐานและประติมากรรมส่วนล่าง แท่งหินจั่วรูปสามเหลี่ยมปักอยู่ด้านหน้าซุ้มบัญชรของชั้นเชิงบาตร สันนิษฐานว่าเป็นรูปลักษณ์ของวิมานจึงสลักภาพเทพต่างๆไว้ด้วย บรรพแถลงที่ปราสาทสด๊กก๊อกธม สลักเป็นรูปเทพธิดา อ้างอิง - กรมศิลปากร. สำนักโบราณคดี. (2550). ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร : หน้า 271. - กรมศิลปากร. (2565). ปราสาทสด๊กก๊อกธม: อุทยานประวัติศาสตร์ ณ ชายแดนตะวันออก. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ : หน้า 322. - สรศักดิ์ จันทร์วัฒนกุล, การกลายรูปจากอาคารจำลอง-นาคปัก- บรรพแถลงของปราสาทในศิลปะขอมมาเป็นกลีบขนุนของปรางค์ในศิลปะไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาสถาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร) หน้า 11,31. - บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุ. Access 25 April 2023. www.finearts.go.th/promotion/view/26146บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุรุ ที่มาภาพ ภาพที่ 1 (ที่มา: https://www.finearts.go.th/promotion/view/26146บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุรุ) ภาพที่ 2 ที่มา: https://www.facebook.com/photo/?fbid=5212953952075999&set=pcb.5212967228741338) ภาพที่ 3 (ที่มา: http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/phimai/index.php/th/คลังข้อมูล.html?layout=edit&id=143) ภาพที่ 4 (ที่มา: https://www.finearts.go.th/ratchaburimuseum/view/2160021600-ปราสาทเขาโล้น---โบราณวัตถุชิ้นเด่นและการกำหนดอายุ) ภาพที่ 5 (ที่มา: https://www.finearts.go.th/promotion/view/26146บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุรุ) ภาพที่ 6 (ที่มา: https://www.finearts.go.th/promotion/view/26146บรรพแถลงรูปพระไภษัชยคุรุ) ภาพที่ 7 (ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Bayon#/media/File:Bayon_0759_(277                                 ความรู้สึกทั้งหมด 3535      


กฐินกถา.  พระนคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2493.


          สถาปัตยกรรมไทย  คือ  การก่อสร้างถาวรวัตถุที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอันเป็นศิลปะประจำ  ชาติของไทย  โดยการนำเอาศิลปะไทยแขนงต่าง ๆ เข้ามาประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งอาคารบ้านเรือนของคนไทย  และที่พิเศษไปกว่านั้นก็เป็นที่ทรงประทับขององค์พระมหากษัตริย์ไทย  จะเห็นได้ว่ามีการสร้างปราสาทราชมณเฑียรสถานต่าง ๆ ขึ้นไม่ซ้ำแบบกัน  บางทีแม้จะมีแผนผังเช่นเดียวกันแต่รูปแบบแตกต่างกันไป หลังคาก็ซ้อนชั้นแตกต่างกัน  มีมุขบ้าง ลดชั้นหลังคามากบ้างน้อยบ้างที่เป็นตรีมุขก็มี  ที่เป็นจัตุรมุขก็มี           ที่มา: https://datasipmu.finearts.go.th/academic/48


          หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ จัดกิจกรรม “จิตรกรน้อย ประจำปี ๒๕๖๖” (ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต) วันเสาร์ที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร   กิจกรรมจิตรกรน้อย ประจำปี ๒๕๖๖ ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตประจำปี ๒๕๖๖ กิจกรรมจิตรกรน้อยเป็นกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสนใจการอ่านทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งให้ความรู้พื้นฐานด้านศิลปะควบคู่ไปกับการสร้างความสุขและความเพลิดเพลินอย่างสร้างสรรค์ โดยจัดเป็นรูปแบบอบรมเชิงปฏิบัติการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติ ซึ่งได้เชิญอาจารย์จากวิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม มาบรรยายให้ความรู้และสาธิตวิธีการตกแต่งภาพพื้นหลังของรูปภาพที่เป็นผลงานของศิลปินระดับโลกในหัวข้อ “เติมสีสันสานงานศิลปินโลก” สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘ ๗๐๔๖ ๑๕๘๕ (คุณยุวเรศ)


Messenger