ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,868 รายการ
เลขทะเบียน : นพ.บ.339/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 64 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : รักทึบ-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 133 (359-369) ผูก 1 (2565)หัวเรื่อง : นิพฺพาน สุตฺต (มูลมหานิพพาน)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
มหามกุฏราชสันตติวงศ์ ๒๑ กันยายน ๒๓๑๐ วันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า บุญรอด พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๓๑๐ ณ ตำบลอัมพวา เมืองราชบุรี (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสมุทรสงคราม) เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ (พระพี่นางพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด ในเวลาต่อมาได้มีพระราชปฏิพัทธ์ด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งในเวลาได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สมเด็จเจ้าฟ้าบุญรอด มีพระประสูติกาลพระราชโอรส สามพระองค์
๑. สมเด็จเจ้าฟ้าชายสิ้นพระชนม์ในวันประสูติ
๒. สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงศ์อิศรกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร เป็นพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๒ ต่อมา เสวยราชเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช
๓. สมเด็จเจ้าฟ้าจุธามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ต่อมารับบวราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศร มหิศเรศรังสรรค์ฯ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชกาลที่ ๒ แม้จะมิได้โปรดเกล้าฯ สถาปนนาขึ้นเป็นพระอัครมเหสี แต่เป็นที่รู้กันในราชสำนักว่าทรงอยู่ในฐานะดังกล่าว จึงขานพระนามว่า สมเด็จพระพันวษา มาแต่ในรัชกาลนั้นจนตลอดพระชนมายุ
สมเด็จเจ้าฟ้าบุญรอด สวรรคตเมื่อวันเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๓๗๙ ด้วยพระโรคชรา สิริพระชนมายุได๖๙ พรรษา ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๓ ความว่า "วันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ เวลาเช้า ๔ โมง สมเด็จพระพันวัสสาประชวรพระโรคชราสวรรคตในวันนั้น" ส่วนในหนังสือ จดหมายเหตุโหร ฉบับพระยาประมูลธนรักษ์ บันทึกไว้ว่า "ปีวอก จ.ศ. ๑๑๙๘ วันอังคาร ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ พันวษานิพพาน เพลาเช้า ๒ โมงเศษ พระชนมายุได้ ๖๙ พรรษา"
เมื่อเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชโอรส เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์เป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระบรมอัฐิพระบรมราชชนนี ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ในคราวบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๓๙๔ ถึงรัชกาลที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ออกพระนามเป็น สมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี
ภาพ : พระแท่นบรรทมของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๒ แท่นเบื้องหน้าพระแท่นบรรทมคือพระแท่นลด จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง พระบรมราโชวาท ในรัชการที่ ๕
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รวมมิตรไทย
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๕
จำนวนหน้า ๖๔ หน้า
หมายเหตุ พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ รองอำมาตย์เอกหลวงรักษ์ระเบียบการ (ตาด ศรีโรจน์)
พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จัดพิมพ์ในเล่มนี้ เป็นพระบรมราโชวาทซึ่งมีไปพระราชทานพระบรมโอรสาธิราชขณะประทับศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศ และอีกภาคหนึ่งเป็นพระบรมโชวาท ทรงมีพระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอเนื่องในโอกาสเสด็จออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศเมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๙ เนื้อความล้วนเป็นคติสอนใจที่เป็นผลได้แก่ผู้อ่านทั่วไป โดยเฉพาะกุลบุตร กุลธิดา ที่กำลังอยู่ในวัยเล่าเรียน
กกุธภัณฑ์หรือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามรูปศัพท์แปลว่า เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ แต่มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายแห่ง ความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย ฉัตรมงกุฎ พระแสงขรรค์ ธารพระกร วาลวิชนีและฉลองพระบาท การถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นประเพณี สืบเนื่องมาจากลัทธิพราหมณ์ ที่มีพราหมณ์ (พระมหาราชครู) เป็นผู้กล่าว คำถวายตามคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงล้วนเป็นสัญลักษณ์แห่งเทพทั้งสิ้น ดังที่กล่าวใว้ใน ปัญจราชาภิเษกความว่า - เศวตฉัตร 6 ชั้น หมายถึง สวรรค์ 6 ชั้น - พระมหามงกุฎ หมายถึง ยอดวิมานของพระอินทร์ - พระขรรค์ หมายถึง พระปัญญาอันจะตัดมลทินถ้อยความไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน - เครื่องประดับผ้ารัดกัมพล หมายถึง เขาคันธมาทน์ ประดับเขาพระสุเมรุราช (ต่อมาใช้วาลวิชนีแทน) - เกือกแก้ว (ฉลองพระบาท) หมายถึงแผ่นดินอันเป็นที่รองรับเขาพระสุเมรุ ราชและเป็นที่อาศัยแก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งหลายทั่วแว่นแคว้นขอบ ขัณฑสีมา ไทยรับคติความเชื่อนี้มาจากเขมรซึ่งรับทอดมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง ประเพณีการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย มีปรากฏมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่พระมหาราชครูถวายใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย พระมหาเศวตฉัตร พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี และฉลอง พระบาทเชิงงอน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาดังนี้ พระมหาเศวตฉัตรหรือพระนพปฏล มหาเศวตฉัตร เป็นฉัตร 9 ชั้น เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ที่สำคัญยิ่งกว่าราชกกุธภัณฑ์อื่นๆ แต่เดิมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ของไทยบางรัชกาลมิได้กล่าวรวมพระมหาเศวตฉัตรเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ด้วย เพราะฉัตรเป็นของใหญ่โตมีปักอยู่แล้วเหนือ พระที่นั่งภัทรบิฐ จึงถวายธารพระกรแทน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นราชศิราภรณ์ที่สำคัญในบรรดาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระมหากษัตริย์จะทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงราชศัสตราประจำพระองค์พระ มหากษัตริย์ พระแสงขรรค์ชัยศรีเป็นพระแสงราชศัสตราที่สำคัญที่สุดใน พระราชพิธีสำคัญหลายพิธี เช่นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธี ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ธารพระกร ของเดิมทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง ครั้นถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างธารพระกรขึ้นใหม่องค์หนึ่งทำด้วยทองคำ ครั้นต่อมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับเอาธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์ออกมาใช้อีก จึงคงใช้ธารพระกรชัยพฤกษ์อยู่ต่อมา วาลวิชนี (พัดและแส้) พัดวาลวิชนีทำด้วยใบตาลแต่ปิดทองทั้ง 2 ด้าน ด้ามและเครื่องประกอบทำด้วยทองลงยาส่วนพระแส้ทำด้วยขนจามรีด้ามเป็นแก้ว “วาลวิชนี” เป็นภาษาบาลีแปลว่าเครื่องโบก ฉลองพระบาทเชิงงอน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามแบบอินเดียโบราณ----------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายเศรษฐเนตร มั่นใจจริง นักวิชาการวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
เรื่อง พลังนิทานอ่านก่อนนอน
ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. พลังนิทานอ่านก่อนนอน. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์คิดส์, 2563.
ห้องหนังสือทั่วไป 1 เลขเรียกหนังสือ 649.58 ป421พ
นิทานสำหรับเด็กจะมีความเหมาะสมแตกต่างกันไปตามช่วงวัย เป็นเรื่องที่จบในตอน มีภาพประกอบ และเนื้อหาไม่ยาวจนเกินไป อีกทั้งหนังสือภาพหรือหนังสือนิทานยังเป็นตัวช่วยในการตอบคำถามที่เด็กๆ สงสัย ซึ่งพ่อแม่ไม่อาจอธิบายอย่างตรงไปตรงมาได้จึงใช้นิทานเป็นสื่อกลางเพื่อให้เด็กๆ เข้าใจง่ายขึ้น เรียกได้ว่านิทานเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสอนวิชาชีวิตและทักษะต่างๆ ให้กับลูกน้อยก่อนที่พวกเขาจะออกไปเจอกับโลกกว้าง
พลังนิทานอ่านก่อนนอน เล่มนี้ ผู้เขียนพาเราไปพบกับวิธีเลี้ยงลูกที่ง่ายที่สุด นั่นคือ การอ่านนิทานก่อนนอน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงความรักและความเอาใจใส่ของพ่อแม่ผู้ปกครองโดยใช้เวลาสั้นๆ เพียง 30 นาทีก่อนเข้านอนแต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นมหาศาล เด็กๆ จะรับรู้ถึงความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดพัฒนาการในด้านต่างๆ อาทิ สมอง ภาษา ศิลปะ จินตนาการ และเด็กจะได้รับประโยชน์จากการอ่านนิทานก็ต่อเมื่อพวกเขารู้สึกร่วมไปกับตัวละครและเนื้อเรื่อง ทั้งยิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ หรือสะเทือนอารมณ์ ในขณะที่อ่านพ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูภาพประกอบและเมื่ออ่านจบ คำว่า “นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า” จะไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะลูกจะฝึกกระบวนการคิดและเรียนรู้ได้จากการสังเกตภาพประกอบตรงหน้า เป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่ได้จากการอ่านนิทาน พ่อแม่หลายคนมักกังวลใจที่จะเลือกอ่านนิทานที่มีเนื้อหารุนแรงให้ลูกฟัง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการโกหกและลักขโมย จนลืมไปว่าเด็กในวัยนี้จะยังไม่มีความคิดเกี่ยวกับการขโมยและโกหก เพราะพวกเขาเพิ่งจะลืมตาดูโลกได้เพียง 2-3 ปีเท่านั้น ในทางกลับกันถือเป็นโอกาสดีที่จะได้สอนในแง่มุมใหม่ๆ ของชีวิต ที่มีทั้งด้านดีและด้านมืด ภายในเล่มผู้เขียนยังได้แนะนำนิทานที่เหมาะสำหรับอ่านก่อนนอนไว้จำนวนหนึ่งโดยแบ่งหมวดหมู่ตามความสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีความพิศวง หักมุมชวนลุ้น เรื่องที่สร้างสายใยผูกพันในครอบครัว บางเรื่องใช้สีสันฉูดฉาดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และจินตนาการ เนื้อเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจให้อยากเป็นเด็กดี และเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยในสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน ชวนให้รู้สึกตื่นเต้นและเอาใจช่วยไปกับตัวละคร ผู้สนใจสามารถหาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติชลบุรี (วันอังคาร – วันเสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.)
นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ฝนตกหนักทั่วประเทศจึงได้สั่งการให้สำนักศิลปากรทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโบราณสถาน และรายงานสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยสำนักศิลปากรที่ ๓ พระนครศรีอยุธยา ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๕ ว่าจากอิทธิพลของพายุโนรูทำให้เกิดฝนตกหนัก เขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนป่าสักระบายน้ำในปริมาณสูงขึ้นจนทำให้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาสูงขึ้นมากกว่า ๑ เมตร และทางกรมชลประทานยังแจ้งเตือนว่าระดับน้ำในแม่น้ำบริเวณพื้นที่อุทยานฯ จะสูงขึ้นอีกประมาณ ๓๐ - ๖๐ เซนติเมตร จึงเตรียมการรับมือดังนี้
๑. ในพื้นที่เกาะเมืองขณะนี้ทางเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาได้ทำคันป้องกันน้ำ ซึ่งจะสามารถ
ป้องกันโบราณสถานในเกาะเมืองได้เกือบทั้งหมด จะมีเพียงป้อมเพชรและรหัสวิดน้ำในพระราชวังโบราณเท่านั้นที่ถูกน้ำท่วม
๒. พื้นที่นอกเกาะเมือง
- วัดไชยวัฒนารามระดับน้ำต่ำกว่าแผงกันน้ำ ๓๕ เซนติเมตร อุทยานฯ จึงได้ทำการต่อแผงกันน้ำและเสริมกระสอบทรายบนกำแพงด้านทิศใต้ของวัดซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำได้เพิ่มอีก ๔๐ เซนติเมตร รวมแล้วสามารถป้องกันน้ำได้อีก ๗๕ เซนติเมตร ซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำได้มากกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดใน พ.ศ.๒๕๕๔
- วัดธรรมาราม ระดับน้ำต่ำกว่าแผงกันน้ำ ๓๐ เซนติเมตร อุทยานฯ จึงทำการเสริมกระสอบทรายบนแผงกันน้ำซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำได้เพิ่มอีก ๓๐ เซนติเมตร รวมแล้วสามารถป้องกันน้ำได้อีก ๖๐ เซนติเมตร ซึ่งจะสามารถป้องกันน้ำได้เท่ากับระดับน้ำท่วมสูงสุดใน พ.ศ. ๒๕๕๔
- โบราณสถานสำคัญอื่นๆ โดยเฉพาะโบราณสถานที่เป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาและวัดที่อยู่กลาง
ชุมชม อุทยานฯ ได้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันน้ำท่วมไว้แล้ว ซึ่งจะมีการเสริมความสูงของแนวป้องกันน้ำตามระดับน้ำที่สูงขึ้น
๓. ขณะนี้ภายในพื้นที่อุทยานฯ มีโบราณสถานที่ได้ถูกน้ำท่วมแล้วกว่า ๔๐ แห่ง ส่วนใหญ่อยู่นอกเกาะเมืองด้านที่เหนือซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ แต่โบราณสถานเหล่านั้นส่วนใหญ่จะได้รับการบูรณะเสริมความมั่นคงแล้ว ซึ่งจะไม่ได้รับความเสียหายมาก ส่วนโบราณสถานที่ยังไม่ได้มีการบูรณะเสริมความมั่นคง อุทยานฯ ได้มีการตั้งนั่งร้านค้ำยันเสริมความมั่นคงไว้แล้ว
ทั้งนี้ ได้เตรียมความพร้อมสูงสุดในการรับมือ โดยในพื้นที่เกาะเมืองได้ประสานกับทางเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาทำคันดินป้องกันน้ำเข้าเกาะเมือง ซึ่งจะสามารถป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโบราณสถานได้เกือบทั้งหมด ส่วนพื้นที่นอกเกาะเมือง ในส่วนของวัดไชยวัฒนารามและวัดธรรมาราม ได้เสริมแนวป้องกันให้สามารถรับน้ำได้มากกว่าระดับน้ำท่วมใน พ.ศ. ๒๕๕๔ ส่วนโบราณสถานอื่นๆ ได้ประสานความร่วมมือกับทางวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกันโบราณสถานแล้ว
เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ได้นำเสนอนิราศท้องถิ่นจังหวัดสงขลา ๒ เรื่อง คือ นิราศเทพาและนิราศทุ่งหวัง ซึ่งประพันธ์โดยคุณกระจ่าง แสงจันทร์ สำหรับวันนี้หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอนำเสนอนิราศท้องถิ่นเพิ่มเติมอีก ๑ เรื่อง คือ นิราศเรือนจำหรือนิราศชื่น (ฉบับดั้งเดิม) ซึ่งประพันธ์โดยนายชื่อ เกื้ออสกุล ชาวอำเภอเกาะพะงัน รวบรวมและเรียบเรียงโดย กวี รังสิวรารักษ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๔นิราศเรือนจำ แต่งโดยคุณชื่น เกื้อสกุล ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๐ บันทึกเรื่องราวของครอบครัวที่มีการทะเลาะวิวาทจนเป็นเหตุให้เกิดการทำร้ายร่างกาย จึงต้องเดินทางจากเกาะพะงันเพื่อไปรับฟังการตัดสินคดีและรับโทษที่เรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี และถูกส่งไปเรือนจำชั่วคราวเขาประสงค์ อำเภอท่าชนะ เพื่อก่อสร้างทางรถไฟในเวลาต่อมาความสำคัญของนิราศเรือนจำคือ เป็นนิราศที่แต่งขึ้นโดยประชาชนทั่วไป ที่ผ่านระบบการศึกษาด้วยการบวชเรียน และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองการประพันธ์มีความไพเราะตามแบบฉบับของกลอนนิราศ ภาษาที่ใช้มีความใกล้เคียงกับปัจจุบันผสมกับภาษาถิ่นภาคใต้ หากอ่านด้วยสำเนียงจัตวาชาวเกาะพะงันหรือสำเนียงใต้ทั่วไปก็สามารถทำได้ ให้ความรู้สึกเหมือนนั่งฟังการขับกลอนหน้าโรงหนังตะลุง มโนราห์นิราศเรือนจำไม่ได้เพียงบันทึกเรื่องราวการเดินทางจากเกาะพะงันมายังเรือนจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่อีกนัยหนึ่งนิราศเรือนจำคือบันทึกเรื่องราวการเดินทางของชีวิตคน ๆ หนึ่งที่พลิกผันจากหัวหน้าครอบครัว สู่การเป็นผู้ต้องขังในเรือนจำภายในเวลาเพียงไม่กี่วันหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา ขอยกตัวอย่างบางช่วงบางตอนมานำเสนอให้ท่านลองอ่าน
องค์ความรู้ : สำนักการสังคีต
เรื่อง พุทธานุสติแห่งปวงศิลปิน มหรสพปูชนียปฏิมาทัสนานุตริยะแห่งกรมมหรสพ
เรียบเรียงเนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี
การสร้างพระพุทธรูปให้แก่กรมมหรสพ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕
พระพุทธรูป ถือเป็นปูชนียปฏิมาแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าศาสดาผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพบูชาและระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้จึงเกิดคติการสร้างพระพุทธรูปถวายไว้ที่วัดเพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาและถวายเป็นพุทธบูชา รวมถึงนิยมสร้างพระพุทธรูปไว้ตามหน่วยงานราชการและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติเตือนใจให้ข้าราชการหรือบุคคลากรในหน่วยงานนั้น ๆ ปฏิบัติงานบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมและดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตอีกด้วย
กลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานราชการหนึ่งที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ให้ดุริยางคศิลปินและคีตศิลปินได้สักการบูชาและเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติเช่นกัน ซึ่งพระพุทธรูปที่ว่านี้ มีทั้งหมด ๓ องค์ ได้รับมอบมาแต่กรมพิณพาทย์หลวง สังกัดกรมมหรสพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระพุทธรูปแต่ละองค์นั้นมีขนาด และรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
องค์ที่ ๑ ซึ่งมีอายุครบรอบ ๑๐๐ ปี ในเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ นี้ เป็นพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง ๕ นิ้ว ปางมารวิชัย วัสดุทองสำริด พระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นทรงดอกบัวตูม เม็ดพระศกใหญ่ ครองจีวรห่มเฉียง ปลายจีวรเป็นแบบเขี้ยวตะขาบยาวจรดพระนาภี ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ - บัวหงาย ฐานล่างเป็นฐานหน้ากระดาน ๖ เหลี่ยม ที่บริเวณด้านหน้าของฐานมีป้ายโลหะแกะสลักระบุข้อความและปีสร้างอย่างชัดเจนว่า “กรมพิณพาทย์หลวง สร้าง ธ,ค,พ,ศ, ๒๔๖๕”
องค์ที่ ๒ หน้าตักกว้าง ๘ นิ้ว ปางสมาธิ วัสดุทองสำริด พระพักตร์รูปไข่ พระรัศมีเป็นทรงดอกบัวตูม เม็ดพระศกใหญ่ ครองจีวรห่มเฉียง ปลายจีวรเป็นแบบเขี้ยวตะขาบยาวจรดพระนาภี ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ - บัวหงาย ฐานล่างเป็นฐานหน้ากระดาน ๖ เหลี่ยม มีรอยบิ่นที่กลางฐาน ที่บริเวณด้านหน้าของฐานแกะสลักระบุข้อความและปีสร้างซึ่งเลขพุทธศักราชค่อนข้างเลือนลาง ระบุว่า “กรมพิณพาทย์หลวง สร้าง พุทธศักราช ๒๔๕๔”
องค์ที่ ๓ หน้าตักกว้าง ๕ นิ้ว ปางมารวิชัย วัสดุทองสำริด พระพักตร์กลม พระรัศมีเป็นทรงเปลว สามารถถอดพระรัศมีได้ เม็ดพระศกใหญ่ ครองจีวรห่มเฉียง ปลายจีวรเป็นเขี้ยวตะขาบยาวจรดพระนาภี ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย ฐานล่างเป็นฐานหน้ากระดาน ๖ เหลี่ยม สำหรับพระพุทธรูปองค์ที่ ๓ นี้ ไม่มีจารึกหรือแผ่นป้ายโลหะแกะสลักระบุข้อความและปีสร้างแต่อย่างใด
จากรูปแบบและลักษณะของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ สามารถสังเกตและพอสันนิษฐานได้ว่าเป็นฝีมือการสร้างของช่างบ้านช่างหล่อซึ่งคนโดยทั่วไปนิยมเรียกพระพุทธรูปที่สร้างด้วยฝีมือช่างบ้านช่างหล่อนี้ว่า“พระรัชกาล” อันเป็นพระพุทธรูปที่นิยมหล่อกันในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรดังที่ ณัฐพงษ์แมตสองได้อธิบายถึง พระรัชกาล ไว้ว่า
พระรัชกาล เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดเล็กถึงกลาง โดยมากมีขนาดหน้าตักกว้างอยู่ที่ ๕ - ๑๐ นิ้วนิยมสร้างราวสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๘ โดยฝีมือของช่างบ้านช่างหล่อฝั่งธนบุรี ซึ่งคนในยุคนั้นนิยมสั่งพระรัชกาลไว้บูชาตามบ้านเรือนหรือถวายวัด พุทธลักษณะเด่นของพระรัชกาลฝีมือช่างบ้านช่างหล่อนี้ คือการดึงเอกลักษณ์ความงามและศิลปะของพระพุทธรูปในแต่ละยุคแต่ละสมัยมารวมไว้ในองค์เดียวกัน ดังจะเห็นได้ว่าพระรัชกาลนั้นอาจมีการใช้ฐานแบบศิลปะพระพุทธรูปล้านนาในลักษณะฐานบัวคว่ำบัวหงายและมีเกสรบัว หรือที่เรียกกันว่า ฐานบัวแบบปาละ ส่วนพระพักตร์นั้นอาจเป็นแบบศิลปะล้านนาบ้าง ศิลปะสุโขทัยบ้าง ศิลปะรัตนโกสินทร์บ้าง ฯลฯ เป็นต้น (ณัฐพงษ์แมตสอง,สัมภาษณ์, ๒๗ กันยายน ๒๕๖๔)
ข้อมูลและหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปให้แก่กรมมหรสพนี้นอกจากจารึกปีสร้างและข้อความตามปรากฏอยู่ที่ฐานพระพุทธรูปแล้ว ยังปรากฏหลักฐานเอกสารการสร้างอยู่ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓๙ หน้า ๓๓๑๘ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๕แจ้งความกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก เรื่องสร้างพระพุทธรูปให้แก่กรมมหรศพ แจ้งความมา ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ อีกด้วย ความว่า
ด้วยได้รับรายงานกรมมหรศพว่า หุ้มแพร หลวงสรรเพลงสรวง ข้าราชการกรมพิณพาทย์หลวง ได้ชักชวนข้าราชการกรมมหรศพ สร้างพระพุทธรูปมอบให้เป็นสมบัติของกรมพิณพาทย์หลวง ๓ องค์ ๆ ที่หนึ่งมีขนาดหน้าตักกว้าง ๘ นิ้ว องค์ที่สองที่สามกว้าง ๕ นิ้ว กรมมหรศพได้รับพระพุทธรูปทั้ง ๓ นี้ไว้แล้ว
กรมบัญชาการกลางมหาดเล็กขอขอบใจ หุ้มแพร หลวงสรรเพลงสรวงและข้าราชการกรมมหรศพ ที่ได้มีความเลื่อมใสศรัทธาจัดสร้างพระพุทธรูปไว้เปนสมบัติของกรมมหรศพเปนอย่างยิ่ง กับขออนุโมทนาในการกุศลนี้ด้วย (ราชกิจจานุเบกษา๓๙, ๒๔๖๕: ๓๓๑๘)
จากข้อมูลที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์และที่มาของการสร้างพระพุทธรูปให้แก่กรมมหรสพไว้อย่างชัดเจนซึ่งมีความสอดคล้องกับจารึกแผ่นป้ายโลหะที่สลักระบุปีสร้างที่บริเวณฐานของพระพุทธรูป ดังจะได้อธิบายรายละเอียดดังนี้
๑) พระพุทธรูปองค์ที่บริเวณด้านหน้าของฐานมีป้ายโลหะแกะสลักว่า “กรมพิณพาทย์หลวง สร้าง ธ,ค,พ,ศ, ๒๔๖๕”พระพุทธรูปองค์นี้สร้างแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕และได้มอบให้กรมมหรสพในเดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ (การขึ้นศักราชใหม่ก่อนวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ นั้น แต่เดิมเริ่มนับวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นศักราชใหม่)ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา
๒) พระพุทธรูปองค์ที่บริเวณด้านหน้าของฐานแกะสลักระบุข้อความและปีสร้างว่า “กรมพิณพาทย์หลวง สร้าง พุทธศักราช ๒๔๕๔”พระพุทธรูปองค์นี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างไว้ก่อนแล้วแต่เดิมในพุทธศักราช ๒๔๕๔ และได้นำมามอบให้กรมมหรสพในคราวเดียวกันนี้
๓) พระพุทธรูปองค์ที่ไม่มีจารึกและแผ่นป้ายโลหะแกะสลักระบุข้อความและปีสร้างสำหรับพระพุทธรูปองค์นี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นและมอบให้กรมมหรสพในคราวเดียวกัน เนื่องด้วยขนาดหน้าตักของพระพุทธรูปองค์นี้ มีขนาดกว้าง ๕ นิ้ว ตรงตามที่ระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษา
จากการวิเคราะห์ที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงสันนิษฐานว่าพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ที่ได้รับมอบมาจากกรมมหรสพและปัจจุบันอยู่ในการดูแลของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร นั้น น่าจะเป็นพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ตามที่ได้ระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษาเรื่องแจ้งความกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก เรื่อง “สร้างพระพุทธรูปให้แก่กรมมหรศพ”ด้วยเหตุผลทั้งในเรื่องของขนาดหน้าตักกว้างของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ที่มีขนาดตรงตามที่ระบุไว้ในในราชกิจจานุเบกษา และรูปแบบการหล่อของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ที่มีลักษณะการหล่อแบบพระรัชกาลซึ่งเป็นลักษณะการหล่อพระพุทธรูปที่นิยมกันในช่วงพุทธศักราชตามที่ระบุไว้ที่ฐานพระพุทธรูปและในราชกิจจานุเบกษาฉบับดังกล่าว
นอกจากนี้ นายปี๊บ คงลายทอง ศิลปินแห่งชาติ อดีตผู้อำนวยการกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ยังได้กล่าวถึงพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ ไว้ว่า
เห็นพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ ตั้งแต่เข้ารับราชการที่กลุ่มดุริยางค์ไทย เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปที่ได้รับมอบมาจากกรมมหรสพ โดยพระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) เป็นคนบอกบุญข้าราชการในสังกัดกรมมหรสพ ให้ร่วมกันหล่อพระถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ปี๊บ คงลายทอง, สัมภาษณ์, ๕ ตุลาคม ๒๕๖๔)
สำหรับประวัติของผู้ที่ได้ชักชวนให้ข้าราชการในกรมมหรสพสร้างและมอบพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ ให้เป็นสมบัติของกรมพิณพาทย์หลวงนั้น คือพระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) ท่านเกิดเมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๓๐ ที่ตำบลผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายจันและนางพันเริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่วัยเยาว์จากที่บ้านโดยเฉพาะซออู้นั้นสีได้ดีมาก เมื่ออายุได้ ๑๓ – ๑๔ ปี ได้มาเรียนหนังสืออยู่ที่วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร จนอายุ ๑๖ ปี จึงเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาได้ศึกษาการบรรเลงดนตรีไทยเพิ่มเติมกับพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) จนสามารถเป่าปี่ได้ดี ทั้งปี่ใน ปี่นอกและปี่ชวา ส่วนการบรรเลงเครื่องสายนั้นสามารถสีซอด้วงและสีซออู้ได้ดี โดยเฉพาะซออู้นั้น มีฝีมือจนเป็นที่เลื่องลือไปถึงเขตพระราชฐานใน หากมีการบรรเลงหรือหัดเครื่องสายกันในวังจะต้องเชิญพระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) ไปเป็นครูผู้สอนหรือบรรเลงร่วมวงอยู่เสมอ ด้านชีวิตครอบครัวนั้น สมรสครั้งแรกกับนางสาวทับทิม มีบุตรด้วยกัน ๔ คน สมรสครั้งที่ ๒ กับหม่อมหลวงชลินทร์ ทินกร มีบุตรด้วยกัน ๓ คน ส่วนนามสกุล “กมลวาทิน” นั้น เป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยมีนามเดิมว่า “บัว”
ในพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น “ขุนสรรเพลงสรวง” และในปีเดียวกันนี้ ยังได้พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลามีตำแหน่ง “รองหุ้มแพร” อีกด้วย ในพุทธศักราช ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงสรรเพลงสรวง” และในพุทธศักราช ๒๔๖๗ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระสรรเพลงสรวง” ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์สุดท้ายที่ได้รับพระราชทาน
เมื่อสิ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วพระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) ยังคงรับราชการต่อมาและได้ทำหน้าที่เป่าปี่อยู่ในวงปี่พาทย์หลวง ในบั้นปลายชีวิตขณะเตรียมตัวไปทำหน้าที่เป่าปี่ชวาลงเรือในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคท่านได้ป่วยด้วยโรคริดสีดวงทวารและตกโลหิตเสียก่อน จึงต้องเข้ารับรักษาตัวที่โรงพยาบาลกลางและไม่นานจากนั้นได้ตกโลหิตอีกครั้งและมีโรคบาดทะยักแทรกจึงเป็นเหตุให้ถึงแก่กรรมลงเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๙ ณ บ้านถนนสามเสน รวมอายุได้ ๓๙ ปี
ปัจจุบันพระพุทธรูปที่ได้รับมอบมาจากกรมมหรสพทั้ง ๓ องค์นั้น มีอายุนับตั้งแต่วันสร้างครบ ๑ ศตวรรษทุกองค์แล้ว ซึ่งถูกเก็บรักษาดูแลและประดิษฐานอยู่ที่กลุ่มดุริยางค์ไทยสำนักการสังคีต กรมศิลปากรโดยในทุกปีจะได้อัญเชิญไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพิธีไหว้ครูดนตรีไทยของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
การที่พระสรรเพลงสรวง (บัว กมลวาทิน) ได้ชักชวนข้าราชกรมมหรสพสร้างพระพุทธรูปและมอบไว้เป็นสมบัติของกรมมหรสพนี้แสดงให้เห็นถึงความเลื่อมใสและความศรัทธาของศิลปินดนตรีไทยในกรมมหรสพที่มีต่อพระพุทธศาสนาจึงสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้นไว้ เพื่อให้บรรดาศิลปินทั้งหลายเมื่อได้เห็นพระพุทธรูปแล้วสามารถพึงระลึกถึงพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อันจะส่งผลให้ศิลปินทั้งปวงเกิดความเจริญงอกงามทางสมาธิ สติปัญญาและจิตใจด้วยเหตุนี้พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ จึงถือเป็นปูชนียปฏิมาที่ควรค่าแก่การสักการบูชายิ่งของบรรดาดุริยางคศิลปินและคีตศิลปินมาเป็นเวลาถึง ๑๐๐ ปี นับตั้งแต่ยุคสร้างพระพุทธรูปและมอบให้กรมมหรสพ ในพุทธศักราช ๒๔๖๕ จนถึงยุคกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร พุทธศักราช ๒๕๖๕ในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ คือ“พุทธานุสติแห่งปวงศิลปินมหรสพปูชนียปฏิมาทัสนานุตริยะแห่งกรมมหรสพ”โดยแท้
รายการอ้างอิง
แจ้งความกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก เรื่องสร้างพระพุทธรูปให้แก่กรมมหรศพ. ราชกิจจานุเบกษา
๓๙ (๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕): ๓๓๑๘.
ณัฐพงษ์แมตสอง. ภัณฑารักษ์ชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ กรมศิลปากร.สัมภาษณ์,
๒๗ กันยายน ๒๕๖๔.
ปี๊บ คงลายทอง. ศิลปินแห่งชาติ.สัมภาษณ์,๕ ตุลาคม ๒๕๖๔.
เรียบเรียง : ดร. ธำมรงค์ บุญราช นักวิชาการละครและดนตรีปฏิบัติการ
กลุ่มวิจัยและพัฒนาการสังคีต สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
จารึกเมืองพิมาย เป็นจารึกที่ได้มาจากเมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เนื้อศิลาด้านที่ 2 หักหายไปทั้งหมด ด้านที่ 1 และ 3 เหลือเพียงครึ่งหนึ่ง ส่วนด้านที่ 4 สภาพสมบูรณ์ ข้อความในจารึก
- ด้านที่ 1 เริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า แล้วกล่าวสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
- ด้านที่ 2 ชำรุด ไม่สามารถอ่านจับใจความได้
- ด้านที่ 3 ข้อความซีกซ้ายชำรุด ข้อความซีกขวากล่าวถึงรายการสิ่งของที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชทาน เช่น โคภิกษา เสื้อผ้า เทียนไข น้ำมัน เนยใส ต้นบุนนาค ถั่ว การบูรสัตว์น้ำ (เหลือบ?/ปลิง?/ปลาไหล?) ดอกไม้ พริก ผักทอดยอด ใบไม้ ต้นไม้ จตุรเฉท ต้นมิตรเทวะ? น้ำผึ้ง
- ด้านที่ 4 กล่าวถึงสิ่งของที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระราชทาน ต่อจากด้านที่ 3 เช่น เสื้อ ภาชนะดีบุก ข้าวสาร กฤษณา(ดีปลี) ยางสนข้น ขี้ผึ้ง
จากนั้นมีการกล่าวห้ามไม่ให้มีการทำร้ายกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ลงท้ายด้วยการถวายพระพรแด่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
จารึกเมืองพิมายมีเนื้อข้อความคล้ายคลึงกับจารึกด่านประคำ จังหวัดบุรีรัมย์ จารึกปราสาทตาเมียนโตจ และจารึกปราสาท จังหวัดสุรินทร์เกือบทั้งหมด โดยจะมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น ของที่ถวาย สมุนไพร หรือจำนวนเจ้าหน้าที่ กลุ่มจารึกที่มีข้อความคล้ายกันนี้ จึงถูกเรียกว่า จารึกอโรคยศาลในอีกชื่อหนึ่ง มักพบตามศาสนสถานประเภทอโรคยศาล(สุคตาลัย) ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างขึ้นเพื่อรักษาประชาชนตามพระราชปณิธานของพระองค์ ดังปรากฏข้อความในจารึกอโรคยศาลว่า
“โรคทางกายของปวงชนนี้ เป็นโรคทางใจที่เจ็บปวดยิ่ง แม้มิใช่ความทุกข์ของพระองค์เอง แต่ความทุกข์ของราษฎร์เปรียบเหมือนความทุกข์ของผู้ปกครอง”
ภาพ : จารึกเมืองพิมาย ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ หอสมุดแห่งชาติ
ที่มาภาพ : ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศ ศูนย์มานุษยวิทยาสินธร (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม
อ้างอิงข้อมูล :
1.ฐานข้อมูลจารึกแห่งประเทศ ศูนย์มานุษยวิทยาสินธร (องค์การมหาชน) กระทรวงวัฒนธรรม
2. สมบัติ มั่งมีสุขศิริ. โรคและการเยียวยาในจารึกอาโรคยศาล. ในเอกสารการสัมมนาวิชาการเนื่องในวาระฉลอง
อายุครบ 96 ปีของ ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร เรื่อง “ภูมิปัญญาอาเซียน : เวชศาสตร์จารึกและเอกสารโบราณ”. ภาษา-จารึก ฉบับที่ 13. ภาควิชาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 38/4ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 50 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา