เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
แผ่นพับกิจกรรม
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
กกุธภัณฑ์
กกุธภัณฑ์หรือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามรูปศัพท์แปลว่า เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ แต่มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายแห่ง ความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย ฉัตรมงกุฎ พระแสงขรรค์ ธารพระกร วาลวิชนีและฉลองพระบาท การถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นประเพณี
สืบเนื่องมาจากลัทธิพราหมณ์ ที่มีพราหมณ์ (พระมหาราชครู) เป็นผู้กล่าว คำถวายตามคติความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ เครื่องราชกกุธภัณฑ์จึงล้วนเป็นสัญลักษณ์แห่งเทพทั้งสิ้น ดังที่กล่าวใว้ใน
ปัญจราชาภิเษกความว่า
- เศวตฉัตร 6 ชั้น หมายถึง สวรรค์ 6 ชั้น - พระมหามงกุฎ หมายถึง ยอดวิมานของพระอินทร์ - พระขรรค์ หมายถึง พระปัญญาอันจะตัดมลทินถ้อยความไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน - เครื่องประดับผ้ารัดกัมพล หมายถึง เขาคันธมาทน์ ประดับเขาพระสุเมรุราช (ต่อมาใช้วาลวิชนีแทน) - เกือกแก้ว (ฉลองพระบาท) หมายถึงแผ่นดินอันเป็นที่รองรับเขาพระสุเมรุ ราชและเป็นที่อาศัยแก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งหลายทั่วแว่นแคว้นขอบ ขัณฑสีมา
ไทยรับคติความเชื่อนี้มาจากเขมรซึ่งรับทอดมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่ง ประเพณีการถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย มีปรากฏมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่พระมหาราชครูถวายใน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยรัตนโกสินทร์ ประกอบด้วย พระมหาเศวตฉัตร พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี และฉลอง พระบาทเชิงงอน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาดังนี้
พระมหาเศวตฉัตรหรือพระนพปฏล มหาเศวตฉัตร เป็นฉัตร 9 ชั้น เป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ที่สำคัญยิ่งกว่าราชกกุธภัณฑ์อื่นๆ แต่เดิมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ของไทยบางรัชกาลมิได้กล่าวรวมพระมหาเศวตฉัตรเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ด้วย เพราะฉัตรเป็นของใหญ่โตมีปักอยู่แล้วเหนือ พระที่นั่งภัทรบิฐ จึงถวายธารพระกรแทน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นราชศิราภรณ์ที่สำคัญในบรรดาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระมหากษัตริย์จะทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงราชศัสตราประจำพระองค์พระ มหากษัตริย์ พระแสงขรรค์ชัยศรีเป็นพระแสงราชศัสตราที่สำคัญที่สุดใน พระราชพิธีสำคัญหลายพิธี เช่นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธี ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ธารพระกร ของเดิมทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ปิดทอง ครั้นถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างธารพระกรขึ้นใหม่องค์หนึ่งทำด้วยทองคำ ครั้นต่อมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับเอาธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์ออกมาใช้อีก จึงคงใช้ธารพระกรชัยพฤกษ์อยู่ต่อมา
วาลวิชนี (พัดและแส้) พัดวาลวิชนีทำด้วยใบตาลแต่ปิดทองทั้ง 2 ด้าน ด้ามและเครื่องประกอบทำด้วยทองลงยาส่วนพระแส้ทำด้วยขนจามรีด้ามเป็นแก้ว “วาลวิชนี” เป็นภาษาบาลีแปลว่าเครื่องโบก
ฉลองพระบาทเชิงงอน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ตามแบบอินเดียโบราณ
----------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย นายเศรษฐเนตร มั่นใจจริง นักวิชาการวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
(จำนวนผู้เข้าชม 7864 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน