ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,868 รายการ
จวนเจ้าเมืองสงขลา : ธนบุรี - รัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของ วัง หรือ จวน หรือบ้านพักเจ้าเมืองสงขลาที่มีการโยกย้ายตามที่ตั้งเมืองแต่ละยุคสมัย ในวัง : จวนเจ้าเมืองฝั่งแหลมสน ในสมัยธนบุรีจนถึงต้นรัตนโกสินทร์เมืองสงขลายังคงตั้งอยู่ที่ฝั่งแหลมสน โดยสันนิษฐานว่าที่ว่าราชการเมืองในสมัยนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า "ในวัง" ซึ่งมีพื้นที่บนที่ราบทางทิศตะวันออกของวัดสุวรรณคีรี ทั้งนี้ในอดีตชาวบ้านเคยพบแนวกำแพง ธรณีประตูทำด้วยหินแกรนิต และปืนใหญ่ ๖-๗ กระบอกวางกองอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว การขุดค้นทางโบราณคดีในพ.ศ.๒๕๔๒ พบว่าในหลุมขุดค้นที่ ๑-๔ ได้พบเศษภาชนะดินเผาจำนวนมากซึ่งได้แก่เศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง เศษเครื่องเบญจรงค์ รวมถึงเศษเครื่องถ้วยของฮอลันดา จึงเป็นไปได้ว่าพื้นที่ในบริเวณนี้อาจเป็นที่ตั้งที่ว่าราชการเมืองสงขลามาก่อน ทั้งนี้สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช ได้บรรยายลักษณะของจวนเจ้าเมืองสงขลาแห่งนี้ในพ.ศ.๒๔๒๗ ไว้ว่า "...บ้านเจ้าเมืองเก่าทำเปนเรือนไทยหลังคามุงกระเบื้อง ฝาขัดแตะถือปูน ๓ หลัง ริมบ้านเจ้าเมืองมีศาลเทพารักษ์โบราณเปนศาลจีน..." จวนเจ้าเมืองที่แหลมสนนี้คงเป็นที่อยู่และที่ว่าราชการมาจนถึงสมัยพระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) ไนยจ้วน : จวนเจ้าเมืองฝั่งบ่อยาง ในพ.ศ.๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีท้องตราให้พระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ที่ฝั่งบ่อยาง พระราชทานเงินส่วยอากรเมืองสงขลา ให้ใช้จ่ายในการก่อกำแพงสองร้อยชั่ง พระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง)ได้กำการก่อสร้างกำแพงเมืองพร้อมกับฝังหลักเมืองเสร็จบริบูรณ์ในพ.ศ.๒๓๘๕ กับได้ก่อตึกจีนเป็นจวนผู้ว่าราชการเมืองไว้ ๕ หลังเรียกกันว่าไนยจ้วน ตัวอาคารเป็นเรือนชั้นเดียวยกพื้น หลังคามุงกระเบื้องสงขลา วิธีช่างทำทำนองจีน ทั้งนี้ตำแหน่งที่ตั้งของจวนผู้ว่าราชการเมืองสงขลาตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสงขลา ด้านหน้าจวนใช้กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือเป็นรั้วจวน ด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นหลังจวนติดกับวัดดอนรัก ด้านทิศเหนือติดกับถนนที่มาจากประตูช่องกุดมุ่งหน้าไปวัดดอนรัก ส่วนด้านทิศใต้ติดกับคลองขวาง ประตูใหญ่ที่ใช้เข้าออกจวนนั้นเป็นประตูเมืองชื่อประตูจันทีพิทักษ์ และประตูพุทธรักษา โดยมีสะพานยื่นออกไปในทะเลสาบที่ประตูนี้เรียกว่าตะพานหน้าจวน จวนแห่งนี้ถือว่าเป็นจวนกลางสำหรับผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา โดยใช้เป็นที่อยู่และที่ว่าราชการเมืองมาตั้งแต่ในสมัยพระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) เจ้าพระยาวิเชียรคีรี(บุญสัง) และเจ้าพระยาวิเชียรคีรี(เม่น) มาเป็นลำดับ และในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช และตั้งที่ว่าการมณฑลที่เมืองสงขลาแล้ว ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ “ไนยจ้วน” เป็นสถานที่ราชการเช่นเป็นที่ตั้งของศาลมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นคุกกักขังนักโทษ เป็นต้น ส่วนศาลาว่าการมณฑลนั้นใช้อาคารบ้านพักของพระยาสุนทรานุรักษ์(เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา เป็นที่ว่าราชการ จวนบ้านออก : จวนเจ้าเมืองนอกกำแพงเมือง หลังจากเจ้าพระยาวิเชียรคีรี(เม่น)ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาคนต่อๆมาก็อยู่บ้านของตัวไม่ได้อยู่ที่จวนกลางอีกต่อไป เมื่อพระยาวิเชียรคิรี(ชุ่ม) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในพ.ศ.๒๔๒๗ ก็ย้ายที่ว่าราชการเมืองไปยังบ้านส่วนตัวซึ่งเป็นบ้านของพระยาศรีสมบัติจางวางผู้เป็นปู่ (ชาวสงขลาเรียกว่าบ้านออก) สันนิษฐานว่าจวนแห่งนี้อาจเป็นอาคารทรงจีนที่ปรากฏในภาพถ่ายพ.ศ.๒๔๓๗ และถูกระเบิดทำลายไปราวพ.ศ.๒๔๘๕ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ จวนหลังสุดท้าย : จวนนอกกำแพงเมืองแห่งที่ ๒ ต่อมาเมื่อพระยาวิเชียรคิรี(ชม) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ก็ได้ใช้บ้านพักส่วนตัวเป็นที่ว่าราชการ โดยไม่ได้กลับไปใช้จวนกลางที่ใช้กันมาแต่เดิม ทั้งนี้เมื่อนาย Monsieur Claine Jules เข้ามายังเมืองสงขลาในพ.ศ.๒๔๓๒ ได้ถ่ายภาพจวนแห่งนี้ไว้ -------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา-------------------------------------------------*เผยแพร่ข้อมูล : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งส่วนราชการให้ทราบถึงรายละเอียดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน และน้ำหนักที่ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานพิจารณาตัวชี้วัด และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานและประเมินผลตามการประเมินประสิทธิภาพของส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. หลักราชการและประโยชน์แห่งการอยู่ในธรรม. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2527.
เรื่องหลักราชการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นสำหรับแจกข้าราชการในโอกาสตรุษสงกรานต์ เมื่อ พ.ศ.2457 เนื้อหาเหมาะสำหรับข้าราชการจะยึดถือเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติอยู่เสมอ
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร สร้างในสมัยอู่ทอง เดิมสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานไว้ว่า น่าจะสร้างขึ้นในสมัยอู่ทองเป็นราชธานี เพราะมีพระพุทธรูปปางประทานปฐมเทศนาแบบทวารวดี เหมือนพระประธานองค์ที่พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ภายหลังมาแปลงเป็นปางป่าเลไลยก์ก่ออิฐถือปูน ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อโต หรือ หลวงพ่อวัดป่า พระพุทธรูปองค์นี้กว้าง 3 วา 1 ศอก 1 คืบ 6 นิ้ว สูง 11 วา 1 ศอก ส่วนวิหารเดิมเป็นรูปมณฑปครอบเฉพาะองค์พระเท่านั้น
ต่อมาในสมัยอยุธยาโปรดให้พระยาสีหราช เดไชย สร้างเสริมวิหาร สมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีการกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนขึ้นเสวยราชสมบัติได้เสด็จมาที่วัด ซึ่งไม่มีหลักฐานบันทึกชัดเจนถึงการเสด็จพระราชดำเนินและเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วโปรดให้พระยานิกรบดินทรไปสร้างซ่อมแซม สร้างหลังคา ทำฝาผนังรอบนอกรวมหลังคาพระวิหารแล้วซ่อมองค์หลวงพ่อโต สร้างพระพุทธรูปในวิหาร 2 องค์ และมีการติดตรามงกุฎพระราชลัญจกรประจำพระองค์รัชกาลที่ 4 ที่หน้าบันพระวิหาร วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร พระอารามหลวงแห่งแรกในจังหวัดสุพรรณบุรี เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี จางวางเอก เสนาบดี ลงประกาศแจ้งความยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2462
ในองค์หลวงพ่อโตมีพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า 36 องค์ พงศาวดารเหนือกล่าวไว้ว่า “พระมหาเถรไลยลายองค์หนึ่ง เป็นเชื้อมาแต่พระรามเทพมาก่อน ได้พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า 650 พระองค์ กับทั้งพระศรีมหาโพธิ์สองต้นมาแต่เมืองลังกาสีหล...” “...จึงเชิญพระบรมธาตุบรรจุไว้ด้วย ๓๖ พระองค์ จึงให้ชื่อวัดพระศรีมหาโพธิลังกา แล้วจึงบรรจุไว้พระเจดีย์บ้าง ในพระพุทธรูปรูปใหญ่บ้างในพระปรางค์บ้าง เป็นพระบรมธาตุ 36 พระองค์ด้วยกัน แล้วบรรจุไว้ในพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกนั้น 36 พระองค์ ในพระปาเลไลนอกเมืองพันธุมบุรีนั้น 36 พระองค์” จากประชุมพงศาวดาร ภาค 1 หน้า 31
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดป่าเลไลยก์วรวิหารเป็นโบราณสถานในเขตสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
กรมศิลปากรได้ทำการบูรณะมาหลายครั้ง และเมื่อปี พ.ศ. 2561 สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี จัดสรรงบประมาณบูรณะซ่อมแซมภายในวิหารหลวงพ่อโตอีกครั้งหนึ่ง
ทุกๆ ปี จะมีการจัดงานไหว้พระปิดทองหลวงพ่อโตมาแต่โบราณกาลปีละ 2 ครั้ง ทางจันทรคติ โดยนับตาม คติการโคจรของดวงจันทร์ ครั้งแรกจัดขึ้นในเดือน 5 ขึ้น 5-6-7-8-9 ค่ำ ซึ่งตรงกับช่วงปลายเดือนมีนาคมถึง ต้นเดือนเมษายน และครั้งที่ 2 จัดขึ้นในเดือน 12 ขึ้น 5-6-7-8-9 ค่ำ ตรงกับช่วงเดือนตุลาคม และในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีประเพณีที่สำคัญอีกอย่างที่ยึดถือกันมาตลอดคือการสรงน้ำ “หลวงพ่อโตทองคำ”พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
#ข้อมูลอ้างอิง
พระธรรมมหาวีรานุวัตร เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี 5 ธันวาคม 2540. สุพรรณบุรี : สุพรรณการพิมพ์, 2540.
เลขหมู่ 959.373 พ335
มนัส โอภากุล. ประวัติวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี : สุพรรณการพิมพ์, 2535.
เลขหมู่ 294.3135 ม164ป
สมโภชพระอารามหลวงครบ 100 ปี วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร. กรุงเทพฯ, : สามลดา, 2562.
เลขหมู่ 294.3135 ส272
ข้อมูลภาพ
สำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี
ภาพถ่ายเก่า เมืองสุพรรณบุรี โดย เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่
ผู้เรียบเรียง นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย บรรณารักษ์ชำนาญการ หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (มโหสถ)สพ.บ. 408-3กหมวดหมู่ พุทธศาสนาภาษา บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง พุทธศาสนา ธรรมเทศนาประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ 52 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม. บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทยอีสาน ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง มหานิปาตวณฺณนา (ทสชาติ) ชาตกฏฐกถา ขุทฺทกนิกายฏฐกถา (เตมิยะ-ภูริทัต)
สพ.บ. 411/ข/3
หมวดหมู่ พุทธศาสนา
ภาษา บาลี/ไทยล้านนา
หัวเรื่อง พุทธศาสนา นิทานชาดก
ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลาน
ลักษณะวัสดุ 42 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 58.8 ซม.
บทคัดย่อ
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมล้านนา-ธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ลานดิบ ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
ชื่อเรื่อง ประเพณีเกี่ยวกับพุทธศาสนาในจังหวัดนครปฐมผู้แต่ง ลำพรรณ น่วมบุญลือประเภทวัสดุ/มีเดีย หนังสือท้องถิ่นISBN/ISSN -หมวดหมู่ ประเพณี ขนบธรรมเนียมเลขหมู่ 390.09593 ล339ปสถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ พิทักษ์อักษรปีที่พิมพ์ ม.ป.ป.ลักษณะวัสดุ 54 หน้า : มีภาพประกอบ ; 29 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา – รวมเรื่อง นครปฐม – ความเป็นอยู่และประเพณี พุทธศาสนากับวัฒนธรรมภาษา ไทยบทคัดย่อ/บันทึก หนังสือประเพณีเกี่ยวกับพุทธศาสนาในจังหวัดนครปฐมเล่มนี้ มีเนื้อหาเฉพาะประเพณีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาเท่านั้น ส่วนประเพณีที่กระทำนอกเหนือไปจากพุทธศาสนานั้นยังมีอีกส่วนหนึ่ง เช่น ประเพณีของชาวไทยโซ่ง ประเพณีของชาวจีน ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นเดียวกัน
ชื่อเรื่อง นิสัยธรรมบท (นีไสทำบด )
สพ.บ. 327/1ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 52 หน้า กว้าง 4.5 ซม. ยาว 54 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับล่องรัก ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอเชิญชวนทุกท่านเยี่ยมชมนิทรรศการพิเศษ เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย เรื่อง "เครื่องถ้วยเวียงแก้ว จากวัตถุสู่พัฒนาการวังหลวงแห่งเวียงเชียงใหม่" โดย พิพิธภัณฑ์ของเราได้รวบรวมเครื่องถ้วยที่พบจากการขุดค้นในแหล่งโบราณคดีเวียงแก้ว ทั้งเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง และสมัยสาธารณรัฐจีน เครื่องถ้วยจากญี่ปุ่นและเวียดนาม รวมถึงเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาในภาคเหนือที่ร่วมสมัยกับอาณาจักรล้านนา นำมาจัดแสดงให้ทุกท่านได้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ณ อาคารจัดแสดงชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ค่ะ.......................................................................................................................................พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) e-mail : cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308........................................................................................................................................Chiang Mai National Museum proudly presents a temporary exhibition"Wiang Kaew Potteries: From pieces to palace"Our museum exhibits special pieces of potteries that were found at the Wiang Kaew excavation site, such as Chinese ceramics from the Yuan Dynasty, Ming Dynasty, Qing Dynasty, and the Republic of China. Joined with the Vietnamese, Japanese ceramics, and potteries from northern Thailand's kilns which are contemporary aged in Lan - Na period. This special exhibition starts from 1 September - 31 December 2021 on the second floor of the exhibition building, Chiang Mai National Museum..........................................................................................................................................Chiang Mai National MuseumOpen: Wednesday - Sunday 09.00 AM. - 04.00 PM.Closes: Monday - Tuesday and public holidaysContact us: 053-221308 or inbox to our page's direct message E-mail: cm_museum@hotmail.com
เลขทะเบียน : นพ.บ.182/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 104 (101-109) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันธ์ขันธ์ --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
มงฺคลตฺถทีปนี (มงฺคลตฺถทีปนี เผด็จมงคลสูตร)
ชบ.บ.88ก/1-5
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)