ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,868 รายการ
ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฉบับพิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่ 2
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : กรมศิลปากร
ปีที่พิมพ์ : 2496
หมายเหตุ : พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพ หม่อมวาสน์ กมลาสน์ ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 30 พฤษภาคม 2496
พระราชหัตเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมครั้งที่ 1 เล่มนี้ มีเนื้อหาเฉพาะตอนที่ 1 จากทั้งหมด 6 ตอน เป็นเนื้อหาซึ่งสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเขียนไปถึงผู้อื่น รวม 17 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 พระราชหัตถเลขา ถึงกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เรื่องราชการทัพ ฉบับที่ 2 พระบรมราโชวาท พระราชทานเงินพระเจ้าลูกเธอ ฉบับที่ 3 พระราชหัตถเลขา ถึงองค์สมเด็จพระหริรักษ์ ณ กรุงกัมพูชา ฉบับที่ 4 พระราชหัตถเลขาถึงพระรามัญมุนี ฉบับที่ 5 พระราชหัตถเลขา ถึงองค์พระนโรดมและองค์พระหริราชดนัย ณ กรุงกัมพูชา เป็นต้น
กู่โพนระฆัง ตั้งอยู่บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่ห่างจากกู่กาสิงห์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๔๐๐ เมตร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๗๒ หน้า ๒๖ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ มีพื้นที่ประมาณ ๒ ไร่ ๓ งาน ๑๗ ตารางวา กู่โพนระฆัง สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยปราสาทประธาน ฐานก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานเขียง ๕ ชั้น มีบันไดทางขึ้น ๔ ด้าน เรือนธาตุก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว ก่อมุขยื่นออกมาด้านหน้าและเจาะช่องหน้าต่างที่ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้ ด้านหน้าปราสาทประธานมีชาลา (ทางเดิน) เชื่อมกับโคปุระ (ซุ้มประตู) อยู่กึ่งกลางแนวกำแพงทิศตะวันออก ก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายมีผังเป็นรูปกากบาท มีห้องมุขด้านทิศตะวันออก มีบรรณาลัยตั้งอยู่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลงและหินทราย หันหน้าไปทางทิศตะวันตก โดยรอบก่อกำแพงแก้วด้วยศิลาแลงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน และมีสระน้ำกรุขอบสระด้วยศิลาแลง อยู่ด้านนอกของกำแพงแก้วทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากหลักฐานจารึกปราสาทตาพรหม ได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดฯให้สร้าง “อโรคยาศาล” หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล ตามเส้นทางจากเมืองพระนครไปยังหัวเมืองต่างๆ จำนวน ๑๐๒ แห่ง ซึ่งในประเทศไทยพบอโรคยาศาลจำนวนหลายแห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรศิลปะแบบบายน (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘) จากลักษณะแผนผังของกู่โพนระฆัง แสดงให้เห็นว่าเป็นหนึ่งในอโรคยาศาลที่ถูกกล่าวถึงในจารึกปราสาท ตาพรหม เพราะแผนผังและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอโรคยาศาลจะเป็นแบบแผนเดียวกัน แต่จะแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อยบางอย่าง เช่น ขนาดของอาคาร การเจาะช่องหน้าต่าง และการทำมุขปราสาทประธาน เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่าโบราณสถานประเภทนี้สร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน โดยช่างฝีมือในท้องถิ่น กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นขุดแต่งกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ บูรณะสระน้ำของกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๔๗ และบูรณะกู่โพนระฆัง ใน พ.ศ. ๒๕๕๕ จากการขุดศึกษาทางโบราณคดี สันนิษฐานว่าราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ชุมชนที่อยู่บริเวณบ้านกู่กาสิงห์ในขณะนั้น ได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาแบบมหายานแทนศาสนาฮินดู ตามแบบอย่างราชสำนักในเมือง พระนคร ช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ทรงโปรดฯให้สร้างอโรคยาศาล ตามชุมชนในเขตการปกครองของพระองค์ ------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี------------------------------------------อ้างอิงจาก ศิลปากร, กรม. โดย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด. รายงานการบูรณะกู่โพนระฆัง ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๑. ปุราณรักษ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ๒๕๕๑. ศิลปากร, กรม. โดย สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๘ อุบลราชธานี. รายงานการขุดค้น-ขุดแต่งเพื่อการออกแบบบูรณะโบราณสถานกู่โพนระฆัง บ.กู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด. ม.ป.ท. : ม.ป.ป., ๒๕๔๕. (อัดสำเนา)
ชื่อเรื่อง ปฐมสมโพธิ (ปฐมสมโพธิเผด็จ)สพ.บ. 140/24ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 48 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 58 ซ.ม. หัวเรื่อง พระพุทธเจ้า พุทธศาสนา วรรณกรรมพุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก
บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดศรีบัวบาน อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อผู้แต่ง มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ
ชื่อเรื่อง คำนมัสการคุณานุคุณ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ พระนคร
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์รุ่งนคร
ปีที่พิมพ์ ๒๕๐๓
จำนวนหน้า ๓๐ หน้า
หมายเหตุ บริษัทประกันชีวิตบูรพา จำกัด พิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน สำนักพระราชวัง ณ วัดทรงธรรม จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. ๒๕๐๓
หนังสือคำนมัสการคุณานุคุณ เล่มนี้ ได้กล่าวถึงบทนมัสการและสรรเสริญ รวมถึงบทร้องต่างๆ ได้แก่ บทร้องสำหรับกรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ บทร้องสำหรับกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ บทร้องสำหรับนักเรียนราชวิทยาลัย และบทสรรเสริญพระบารมี เป็นต้น
เลขทะเบียน : นพ.บ.145/2กห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4.6 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 88 (368-372) ผูก 1 (2564)หัวเรื่อง : แปดหมื่นสี่พันขันธ์ (8 หมื่น)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.97/7ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 5.3 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 57 (140-153) ผูก 7 (2564)หัวเรื่อง : อภิธมฺมตฺถภาวนี (อภิธมฺมตถสงฺคหฎีกา (ฎีกาสังคหะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อเรื่อง : เจ้าชีวิต ชื่อผู้แต่ง : จุลจักรพงษ์, พระองค์เจ้าปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : คลังวิทยาจำนวนหน้า : 860 หน้า สาระสังเขป : เจ้าชีวิต เป็นพระนิพนธ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เดิมทีเขียนขึ้นครั้งแรกเป็นภาษาอังกฤษที่ใช้ชื่อว่า Lords of Life เนื้อหาเริ่มตั้งแต่ประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนถึงรัชกาลปัจจุบันที่ พ.ศ. 2502 โดยเน้นบรรยายละเอียดในช่วงปี พ.ศ. 2325-2475 (รัชกาลที่ 1-7) จนกระทั่งพระราชกรณียกิจประจำวันของพระมหากษัตริย์ไทยและเจ้านายองค์สำคัญ ยังมีเนื้อหาครอบคลุมประวัติศาสตร์การเมือง การปกครอง การเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ต่างประเทศสังคม และขนบประเพณีในราชสำนัก โดยเฉพาะระเบียบวิธีการสถาปนายศเจ้านาย