ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,869 รายการ

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสิงคโปร์ ๑.      ชื่อโครงการ  การคาดการณ์การเกิดน้ำท่วมในอนาคต: การสำรวจด้วยวิธีการในศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อการพยากรณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดน้ำท่วม (Future Floods: An Exploration of a Cross-Disciplinary Approach to Flood Risk Forecasting) ๒.     วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย นักอุตุนิยมวิทยา วิศวกร นักภูมิศาสตร์ อาจารย์ด้านเภสัชศาสตร์ เจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม นักประวัติศาสตร์ นักจดหมายเหตุ ๒.๒ เพื่อมาร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เสนอข้อมูล ผลงานการศึกษาวิจัย ผลงานการออกแบบโมเดลประเมินความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมในอนาคตและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ๒.๓ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับน้ำท่วมระหว่างกัน ๒.๔ เพื่อร่วมกันจัดทำสิ่งพิมพ์ที่ได้นำเสนอในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ๒.๕ เพื่อร่วมวางแผนการประสานความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ๓.      กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘   ๔.      สถานที่ Research Division Seminar Room (AS7 06-42, Faculty of Arts and Social Sciences, มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (The National University of Singapore, NUS Kent Ridge Campus)   ๕.      หน่วยงานผู้จัด ประกอบด้วย ๒ หน่วยงาน คือ ๕.๑ The National University of Singapore - Faculty of Arts and Social Sciences - Environment Research Cluster - The Institute of Water Policy - Lee Kuan Yew School of Public Policy ๕.๒ องค์กรความเสี่ยงระดับโลก (AON Benfield Asia Pte. Ltd.) ๖.      กิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ๒ วัน ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการ วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ การคาดการณ์การเกิดน้ำท่วมในอนาคต: การสำรวจด้วยวิธีการในศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อการพยากรณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดน้ำท่วม (Future Floods: An Exploration of a Cross-Disciplinary Approach to Flood Risk Forecasting) ๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.  ลงทะเบียน ๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐ น.  กล่าวต้อนรับและบรรยายความเป็นมาของโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ วาระที่ ๑  วิธีการที่อุตสาหกรรมประกันภัยคาดการณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำ  ท่วม (Panel One:  The Insurance Industry’s Approach to Flood Forecasting      Chaired by Kieran Dunne)           ๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น.  Flooding in Singapore                                    By Clair Kennedy           ๑๑.๐๐ – ๑๑.๓๐ น.  Historical Flood Scenarios – How effective for loss estimation?                                     By Sastry Dhara            ๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.   Realistic disaster scenario development of Asia                                    By Bachu Radha and Krishna Murthy         ๑๒.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. Catastrophe Models                                   By Brad Weir           ๑๒.๓๐ – ๑๓.๐๐ น.  ถาม/ตอบ อภิปราย                                    By Kieran Dunne วาระที่ ๒ : การพยากรณ์น้ำท่วม: วิธีการ, แบบจำลอง และความท้าทาย  (Panel Two: Flood Forecasting: Method, Models and Challenges) Chaired by Brain Mcadoo           ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.  Don parametric flood frequency analysis                                    By Santhosh Dronamraju           ๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐ น.   Current challenges in flood modeling faced by the insurance                                    industry by   Marie Delalay           ๑๕.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.  ถาม/ตอบ และอภิปราย             วาระที่ ๓ : การศึกษาในภูมิภาค: วิธีการ กรณีศึกษา เทือกเขาหิมาลัยและมาเลเซีย                    (Panel Three: Regional Studies: Methods and the Himalaya & Malaysia                    Chaired by Robert Wasson)             ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. Application of Optically Stimulated Luminescence Dating                                      Technique in understanding the fluvial landscape of Himalaya                                      By Pradeep Srivastava           ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. Paleoflood records in Himalaya                                    By Pradeep Srivastava           ๑๖.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. Historic Flood Records in Colonial Malaya: Sources and                                    Context by Fiona Williamson           ๑๗.๐๐ – ๑๗.๓๐ น  ถาม/ตอบ อภิปราย by Robert Wassan                      การประชุมเชิงปฏิบัติการ วันศุกร์ ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘             ๐๙.๐๐ – ๐๙๓๐ น. บรรยายเกริ่นนำการประชุมเชิงปฏิบัติการในวาระที่ ๔ และวาระที่ ๕   วาระที่ ๔: การศึกษาในภูมิภาค: การศึกษาวิจัยน้ำท่วมในพื้นที่ประเทศไทย             (Panel Four: Regional Studies: Methods and Thailand)                               Chaired by Elisha Teo                      ๐๙.๓๐ – ๑๐๐๐ น. การศึกษาวิจัยเรื่องน้ำท่วมใหญ่จากการวิเคราะห์ชั้นตะกอนในก้อนหินจากแม่น้ำปิง  ประเทศไทย (Estimating Flood Discharges From Boulders With An Example From The Ping River System Thailand) โดย Lim Han She นักวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ๑๐.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. ประวัติศาสตร์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาของประเทศไทยที่มีการอ้างอิงว่ามีสาเหตุมาจากแม่น้ำปิงและผลจากปัญหาเชิงนโยบาย (A History of Large Floods in the Chao Phraya Catchment with Particular Reference to the Ping River, Thailand, and Some Policy Implication) โดย Robert Wassan ๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. การประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมที่มีผลต่อตลาดการค้าข้าวของโลก: การวิเคราะห์สถานการณ์สภาพอากาศ (Flood Risk Assessment for Thailand Rice Supply-Chan: Climate Scenario Analysis) โดย Poon Thiengburanathum           ๑๑.๐๐ – ๑๑.๓๐ น. หลักฐานทางประวัติศาสตร์เรื่องน้ำท่วมในประเทศไทย (Documentary                                      Evidence of Floods in Thailand) by นันทกา พลชัย           ๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. การค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุเรื่องน้ำท่วม : กรณีตัวอย่างของการ                                    ค้นคว้าในหอจดหมายเหตุประเทศไทย (Historical Archives in                                       Researching Floods: Example the National Archives of                                      Thailand) โดย วรนุช วีณะสนธิ ๑๒.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมโดยวิเคราะห์เขื่อนกั้นน้ำ กรณีศึกษาในลุ่ม                           แม่น้ำเจ้าพระยา (Flood Risk Analysis Considering Fluvial Dyke                          Systems: A Case Study in the Chao Phraya River Basin)                            โดย Julien Oliver             ๑๒.๓๐ – ๑๓.๐๐ น. ถาม / ตอบ อภิปราย by Elisha Teo                           วาระที่ ๕:  ขั้นตอนที่จะดำเนินการต่อไป (Panel Five: Next Steps)                                   by Chaired by Alan Ziegler               ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. การวางแผนจัดพิมพ์เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ (A Plan for A                                      Publication from the Workshop) โดย Alan Ziegler           ๑๔.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. แนวความคิดในการประสานความร่วมมือระหว่างกัน(Idea for Research                                      Collaboration โดย Adityam Krovvidi           ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.  พิธีปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ   ๗.      คณะผู้แทนประเทศไทยจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร มี ๒ คน คือ ๗.๑ นางสาวนันทกา พลชัย นักจดหมายเหตุชำนาญการพิเศษ บรรยายในหัวข้อ Documentary Evidence of Floods in Thailand ๗.๒ นางสาววรนุช วีณะสนธิ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ บรรยายในหัวข้อ Historical Archives in Researching Floods: Example the National Archives of Thailand ๘.     สรุปสาระของกิจกรรม สถานการณ์น้ำท่วมในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น เป็นผลมาจากการเกิดน้ำท่วมมีความถี่เพิ่มสูงขึ้น น้ำท่วมมีขนาดใหญ่ขึ้นและได้สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและผลกระทบที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อมมีมากยิ่งขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้องหาวิธีการศึกษาเพื่อคาดการณ์การเกิดน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตที่แม่นยำ ซึ่งการประเมินเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นงานที่ท้าทายอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลหลักฐานและสถิติที่จะนำมาคำนวณมีไม่มากเพียงพอ โดยเฉพาะการคำนวณความเสี่ยงในการประกันน้ำท่วมของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าทรัพย์สินมหาศาล  การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ได้นำผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มารวมตัวกันเพื่อนำเสนอข้อมูลน้ำท่วมทั้งในเชิงอุทกศาสตร์แบบดั้งเดิม และข้อมูลสมัยใหม่ในการวิเคราะห์รูปแบบและความเสี่ยงของการเกิดน้ำท่วมในเชิงอุทกศาสตร์/ สถิติธรณีสัณฐาน / ธรณีวิทยา/ อุตุนิยมวิทยา /ประวัติศาสตร์ และจดหมายเหตุ วาระการประชุมเริ่มต้นด้วยการนำเสนอโดยบริษัทอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งได้จัดyทำแบบจำลองความเสี่ยงสำหรับการพยากรณ์น้ำท่วมจากสถานการณ์น้ำท่วมที่สำคัญในประวัติศาสตร์และสถานการณ์ภัยพิบัติจริง ความท้าทายที่สำคัญสำหรับการสร้างแบบจำลองความเสี่ยงคือ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จำเป็นต้องมีการจัดเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนรอบด้าน ทั้งข้อมูลดั้งเดิม และข้อมูลใหม่ ทั้งโดยนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ประกอบการศึกษา ซึ่งเป็นความท้าทายในการศึกษาที่จะให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด แม่นยำทึ่สุด   น้ำท่วมในอนาคต: การสำรวจด้วยวิธีการในศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม วาระที่ ๑  วิธีการที่อุตสาหกรรมประกันภัยคาดการณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม   เรื่องที่ ๑ น้ำท่วมในสิงคโปร์  โดย Claire Kennedy นักวิเคราะห์อาวุโสด้านอุตุนิยมวิทยา   Claire Kennedy ได้นำเสนอการศึกษาค้นคว้าเรื่องน้ำท่วมในสิงคโปร์ โดยได้ค้นคว้าและตรวจสอบสภาพภูมิอากาศของประเทศสิงคโปร์จากหลักฐานแผนภูมิสภาพอากาศและสถิติ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดน้ำท่วม และได้ตรวจสอบเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์น้ำท่วมในเดือนธันวาคมปี ๑๙๖๙ และปี ๑๙๗๘  ที่มีผู้เสียชีวิต ๑๒ คน และทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่สำคัญ  การนำเสนอครั้งนี้ จะดูที่สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน และพยายามที่จะมองเชื่อมโยงในบริบทใหญ่ของเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซีย เพื่อหาข้อสรุปโดยตรวจสอบเหตุการณ์น้ำท่วมในอดีตและมองไปในอนาคตเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมที่อาจจะสร้างความเสียหายให้ประเทศสิงคโปร์ในอนาคต   สถานการณ์น้ำท่วมในประวัติศาสตร์ – วิธีการประมาณค่าการสูญเสียอย่างมีประสิทธิภาพ Historical Flood Scenarios – How effective for loss estimation? โดย Sastry Dhara ผู้อำนวยการด้านการประเมินค่าความเสียหาย   Sastry Dhara เสนอสถานการณ์น้ำท่วมในประวัติศาสตร์ที่ทำให้มองเห็นภาพรวมของการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นอีก การสร้างแบบจำลองการสูญเสียจากน้ำท่วมมีการพัฒนาน้อยกว่าการสร้างแบบจำลองการสูญเสียที่เกิดจากแผ่นดินไหวและพายุไต้ฝุ่น การพัฒนารูปแบบความน่าจะเกิดขึ้นจากข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมในประวัติศาสตร์นั้นมีประโยชน์ต่อการสร้างแบบจำลองน้ำท่วมสำหรับอุตสาหกรรมประกันภัยในภูมิภาคนี้ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ในการสร้างสถานการณ์ที่เป็นกรณีศึกษาจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในภูมิภาค   การพัฒนาสถานการณ์ภัยพิบัติจริงสำหรับเอเชีย (Realistic Disaster Scenario (EDS) Development for Asia) โดย Bachu Radha Krishna Murthy, นักอุทกวิทยาพื้นฐาน Principle Hydrologist, AON Benfield Ptd. Ltd.   การสร้างแบบจำลองจากเหตุการณ์ภัยพิบัติจริงที่เกิดขึ้นในเอเชียในปี ๒๐๑๑ แผ่นดินไหว Tohoku น้ำท่วมในประเทศไทยและแผ่นดินไหวที่นิวซีแลนด์ เพื่อพยากรณ์ผลกระทบ และวิเคราะห์ช่วงความถี่ของการเกิดเหตุการณ์เพื่อเตรียมรับมือภัยพิบัติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการแก้ปัญหาความเสี่ยงในการบริหารจัดการทุนและโครงสร้างการรับประกันภัยทรัพย์สิน โดยได้ศึกษาครั้งแรกในเอเชียนอกประเทศญี่ปุ่น ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม และประเทศจีน และการสร้างแบบจำลองที่มีรายละเอียด รวมถึงคำนิยามสถานการณ์การประเมินอันตราย และการวิเคราะห์ความเสี่ยงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กำหนดระยะเวลา  ๕๐ ปี ๑๐๐ ปี และ ๒๕๐ ปีี ซึ่งสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรม และพอร์ตการลงทุนด้านวิศวกรรม ซึ่งข้อมูลที่ได้จะช่วยให้ผู้ประกันมองเห็นความเสี่ยงที่มีการเปรียบเทียบจากเหตุการณ์จริงที่ได้สร้างแบบจำลองให้เห็นได้อย่างชัดเจน    Catastrophe Models โดย Brad Weir, หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ AON Benfield Ptd. Ltd.    Brand Weir ได้เสนอว่าเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีที่แบบจำลองภัยพิบัติ CAT ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมประกันภัยสำหรับการประเมินการสูญเสียของผู้ประกันที่คาดว่าจะเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นแผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่นหรือน้ำท่วม ในช่วงปลายทศวรรษที่ ๑๙๘๐ แบบจำลองภัยพิบัติ CAT ซึ่งใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการประเมินความถี่ ความรุนแรงของความเสี่ยงจากการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมประกันภัยหลังจากที่พายุเฮอริเคนแอนดรูถล่มไมอามี่ในปี ๑๙๒๑  ก่อให้กิดการสูญเสียของผู้ประกันที่มีมูลค่าสูงที่สุด ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ ในอดีต มีเพียงแบบจำลองภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวและพายุ ในขณะที่น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติใหม่ เนื่องจากมีเหตุการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงในไม่กี่ปีมานี้ แต่ข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างแบบจำลองน้ำท่วมยังคงเป็นความท้าทายที่จะหาข้อมูลที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นตัวแทนของภัยพิบัติจากน้ำท่วมที่มีปริมาณน้ำฝนในระดับสูงและข้อมูลการวัดน้ำท่วมทั้งในแง่ของความรุนแรงและความถี่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ภัยพิบัติ ดังนั้นนักพัฒนาแบบจำลองน้ำท่วมต้องมองจากหลากหลายวิธีการ และพยายามหาวิธีที่เชื่อถือได้ในการสร้างแบบจำลองน้ำท่วมสำหรับการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ ในพื้นที่ที่แตกต่างกันทั่วเอเชีย   วาระที่ 2 : การพยากรณ์น้ำท่วม: วิธีการ, แบบจำลอง และความท้าทาย                                                การวิเคราะห์ความถี่การเกิดน้ำท่วม Non-parametric Flood Frequency Analysis โดย Santhosh Dronamraju นักวิจัย Research Analyst, AON Benfield Pte. Ltd.   Santhosh Dronamraju ได้เสนอว่าน้ำท่วมทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อชีวิตและทรัพย์สินในส่วนต่าง ๆ ของโลก จึงมีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการออกแบบการประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น การศึกษาด้านอุทกศาสตร์สำหรับวิเคราะห์การเกิดน้ำท่วมมุ่งเน้นไปที่การประมาณค่าความถี่และความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องของปริมาณกระแสน้ำไหลและปริมาณน้ำท่วมสูงสุด ณ จุดที่กำหนด    ความท้าทายในปัจจุบันในการสร้างแบบจำลองน้ำท่วมของอุตสาหกรรมประกันภัย  (Current Challenges in Flood Modeling Faced by the Insurance Industry โดย Marie Delalay ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการคำนวณค่าการประกันภัย   Marie Delalay ได้เสนอการสร้างแบบจำลองทางภูมิศาสตร์เพื่อเป็นกรอบการวิจัยภัยพิบัติน้ำท่วม โดยได้อธิบายองค์ประกอบและข้อจำกัดของรูปแบบการเกิดน้ำท่วมที่พบมากที่สุดในอุตสาหกรรมประกันภัย แบบจำลองจะประกอบด้วย ๓ โมดูล โมดูลแรกคือ โมดูลที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์อันตรายจากข้อมูลเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โมดูลที่ ๒ การกระจายความเสี่ยงของการสูญเสีย และโมดูลที่ ๓ ผลกระทบทางการเงิน ทั้งสามโมดูลแสดงได้เพียงบางส่วนของรูปแบบน้ำท่วม เนื่องจากข้อจำกัด ดังนี้ ขาดข้อมูลเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ขาดข้อมูลประสบการณ์การสูญเสีย และขาดข้อมูลเกี่ยวกับข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงาน   วาระ ๓ การศึกษาในภูมิภาค: วิธีการ กรณีศึกษา เทือกเขาหิมาลัยและมาเลเซีย           การประยุกต์ใช้เทคนิคเรืองแสงในการศึกษาสภาพพื้นที่ของแม่น้ำในเทือกเขาหิมาลัย   โดย Pradeep Srivastava นักวิทยาศาสตร์ สถาบัน Wadia of Himalayan Geography           Pradeep Srivastava ได้เสนอเทคนิคพลังงานเรืองแสงในการศึกษาโครงสร้างชั้นหินที่สะท้อนให้เห็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น โดยปกติวิธีการนี้จะนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาลำดับการตกตะกอนชั้นหินในแม่น้ำ น้ำแข็ง แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ การนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคนิควิธีในการทำความเข้าใจสภาพทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขาหิมาลัย โดยเริ่มจากการสำรวจภาคสนาม ค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุธรณีสัณฐานวิทยา การก่อตัวของชั้นดินในหุบเขา แม่น้ำสำคัญ และการศึกษาผลงานของผู้เขียนอื่น ๆ                บันทึกการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในเทือกเขาหิมาลัย โดย Pradeep Srivastava นักวิทยาศาสตร์ สถาบัน Wadia of Himalayan Geography           Pradeep Srivastava ได้เสนอว่าน้ำท่วมทำให้เกิดการกัดเซาะดินอย่างสำคัญ และทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินที่น้ำนำตะกอนดินมาทับถม ทำให้ผู้คนจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยพิบัติจากกระแสน้ำท่วมบ่า ใน ค.ศ. ๒๐๑๓ น้ำท่วมได้คร่าชีวิตคน ๖,๐๐๐ คน และสร้างความเสียหาย ๒๕๐ ล้านดอลลาร์หสรัฐ ฉะนั้นเหตุการณ์น้ำท่วมแต่ละครั้งต้องการการศึกษาที่ดี การคาดการณ์น้ำท่วม การวางแผนเตรียมการ การประเมินสภาพภูเขา กระแสน้ำตามหลักภูมิศาสตร์           กรณีศึกษาเทือกเขาหิมาลัยเมื่อ ๑,๐๐๐ ปี จากตะกอนชั้นหิน แสดงให้เห็นว่าได้เคยมีการเกิดน้ำท่วมใหญ่บ่อยครั้ง การศึกษาต้นน้ำ เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่คร่าชีวิตและทรัพย์สิน ใน ค.ศ. ๑๘๙๙, ๑๙๕๐ และ ๑๙๖๘           กรณีศึกษาที่ Ladakh Himalaya ว่าเกิดจากอิทธิพลของกระแสน้ำเหนือระดับน้ำปกติ และอิทธิพลของพายุ ซึ่งความสูงของกระแสน้ำเทียบเท่าหายนะน้ำท่วมใน ค.ศ. ๒๐๑๐           เอกสารจดหมายเหตุเกี่ยวกับน้ำท่วมในอาณานิคมมาลายา: แหล่งข้อมูลและเนื้อหาสาระ โดย Fiona Williamson อาจารย์อาวุโส มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์           Fiona Williamson ได้เสนอข้อมูลจดหมายเหตุเกี่ยวกับน้ำท่วม เป็นข้อมูลการวัดปริมาตรน้ำแบบดั้งเดิมเพื่อการวิเคราะห์และคาดการณ์ จากเอกสารที่ค้นคว้าได้แสดงให้เห็นความถี่ สถานที่ สาเหตุและขนาดของน้ำท่วมที่ผ่านมา ซึ่งวิธีการแบบดั้งเดิมทางอุทกศาสตร์ได้วิเคราะห์น้ำท่วมและการคาดการณ์ นักวิชาการมาเลเซียไม่ได้สนใจศึกษาเรื่องน้ำท่วมอย่างเป็นระบบก่อนปี ค.ศ. ๑๙๕๐ ในที่นี้ได้ศึกษาประวัติศาสตร์น้ำท่วมของแหลมมลายูในยุคอาณานิคมจากเอกสารของอังกฤษขณะปกครองอาณานิคม หนังสือพิมพ์ร่วมสมัย รายงานของทางราชการจากหอจดหมายเหตุและหอสมุดประเทศมาเลเซีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และประเทศสิงคโปร์ ทำให้ทราบรายละเอียดความสูงของน้ำท่วม ระยะเวลา ผลกระทบต่อสังคมท้องถิ่น เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของมนุษย์และความรุนแรงของน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้น ที่จะส่งผลการะทบต่อชีวิตและ ทรัพย์สิน                 วาระที่ ๔ การศึกษาในภูมิภาค: วิธีการและประเทศไทย           การศึกษาวิจัยเรื่องน้ำท่วมใหญ่จากการวิเคราะห์ชั้นตะกอนในก้อนหินจากแม่น้ำปิง  ประเทศไทย โดย Lim Han She นักวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์           Lim Han She ได้เสนอผลการศึกษาก้อนหินขนาดใหญ่ที่กระแสน้ำแม่น้ำปิงได้พัดเคลื่อนย้ายมาอีกที่หนึ่ง โดยการศึกษาเชิงประจักษ์และฟิสิกส์สัณฐานในการประเมินและการเริ่มต้นเคลื่อนย้ายก้อนหิน จากสมการไฮโดรลิคในการประเมินการเคลื่อนย้ายก้อนหิน ก้อนหินที่กลมเกลี้ยงและกึ่งโค้งมนแสดงให้เห็นการถูกเคลื่อนย้ายโดยกระแสน้ำท่วม ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าน้ำท่วมที่ย้ายก้อนหินขนาดใหญ่เช่นนี้ได้จะต้องมีระดับน้ำที่มีความสูงเกิน ๑ เมตร           ประวัติศาสตร์น้ำท่วมใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาของประเทศไทยที่มีการอ้างอิงว่ามีสาเหตุมาจากแม่น้ำปิงและผลของปัญหาเชิงนโยบาย โดย Robert James Wassan ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์           Robert Wassan เสนอว่าเอกสารพงศาวดารเกี่ยวกับน้ำท่วมของแม่น้ำปิงขาดความน่าเชื่อถือ และมีข้อความสั้นเกินไปไม่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ได้ จึงต้องศึกษาโดยวิธีการอื่น ๆ อาทิ การศึกษาจากวงแหวนต้นไม้ ตะกอนน้ำท่วม การศึกษาทางธรณีวิทยา เป็นต้น           การศึกษาน้ำท่วมใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ๑๓ ครั้ง ระหว่าง ค.ศ. ๑๗๘๕ - ๒๐๑๑ จะเห็นว่าเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูฝน โดยจะเกิดจากพายุไซโคลนร้อยละ ๓๙ หลังจากช่วงอิทธิพลลานีญา ร้อยละ ๑๕ เกิดขึ้นในระหว่างอิทธิพลเอลนีโญ และร้อยละ๗ เกิดขึ้นในช่วงระหว่างอิทธิพลลานีญา และเอลนีโย  ร้อยละ ๓๑ เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำฝน ร้อยละ ๗๕ เกิดขึ้นในฤดูฝนในช่วงที่แม่น้ำปิงไหลมารวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาและไหลมาถึงกรุงเทพฯ           จากการศึกษาตะกอนน้ำท่วมทำให้ทราบว่า แม่น้ำปิงทำให้เวียงกุงกามและเชียงดาวได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ ๓ ครั้ง คือ ปี ๕๕๒ ๑๔๖๔ และ๑๖๕๘           จากการศึกษาพบว่าในปี ๑๘๓๑ แม่น้ำปิงได้ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพ ฯ ซึ่งวัดระดับน้ำได้สูงที่สุดเท่าที่เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพ ฯ           โดยสรุป ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ๖๐๐ ปี ได้มีการบันทึกเรื่องน้ำท่วมใหญ่ไว้ โดยดูเหมือนจะมีสาเหตุจากปริมาณน้ำจำนวนมากไหลจากทางภาคเหนือมาท่วมกรุงเทพ ฯ จากอิทธิพลของพายุไซโคลน และดูเหมือนว่าอิทธิพลของปรากฎการณ์ลานีญาจะทำให้น้ำท่วมมีปริมาณมากยิ่งขึ้น           การประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมที่มีผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการค้าข้าวของประเทศไทย : การวิเคราะห์สภาพอากาศ (Flood Risk Assessment for Thailand Rice Supply-Chain: Climate Scenario Analysis) โดย พูน เทียนบุรณธรรม รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่           แนวโน้มความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมในประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้น และมีความถี่เพิ่มขึ้น ผลกระทบไม่เพียงแต่จะเกิดในท้องถิ่น แต่กลายเป็นพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด โดยนายพูนได้นำเสนอให้เห็นภาพห่วงโช่การปลูกข้าวเพื่อส่งออกขายในตลาดโลก และความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วมที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานการค้าข้าวของโลก           หลักฐานทางประวัติศาสตร์เรื่องน้ำท่วมในประเทศไทย (Document Evidence of Flood in Thailand) โดย นันทกา พลชัย นักจดหมายเหตุ ชำนาญการพิเศษ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ           จดหมายเหตุได้มีการบันทึกเรื่องน้ำท่วมมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ พงศาวดารก่อน พ.ศ. ๒๔๑๑ บันทึกการเดินทางของชาวต่างชาติ ก่อน ค.ศ. ๒๔๑๑ และเอกสารจดหมายเหตุ           บันทึกการเดินทางที่สำคัญคือ บันทึกการเดินทางของลาลูแบร์ ราชทูตพระเจ้านโปเลียนที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศของสยามไว้โดยละเอียด ว่าสยามเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย มีฤดูร้อนและฤดูฝน ผู้คน บ้านเรือน และสภาพน้ำท่วมในหน้าน้ำหลากเป็นวิถีชิวิตของชาวสยามที่คุ้นชินมาแต่ดั้งเดิม           สภาพพื้นที่ประเทศไทยเป็นภูเขาทางภาคเหนือ และที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในภาคกลาง แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ได้ไหลมารวมตัวที่นครสวรรค์ จากนั้นได้แยกเป็น ๓ สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางประกง และแม่น้ำท่าจีน ไหลลงมาออกอ่าวไทย สภาพความเจริญเติบโตของเมือง ประชากร ความจำเป็นในการใช้พื้นที่เพื่ออยู่อาศัย ถนนหนทาง เขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เดิมเคยเป็นที่ลุ่มรองรับน้ำท่วมในหน้าน้ำ เมื่อประสบปัญหาพายุที่เข้ามาจำนวนมาก ทำให้เกิดปริมาณน้ำมาก ประกอบกับน้ำทะเลหนุนจึงเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมที่สร้างความเสียหายมหาศาล เอกสารจดหมายเหตุได้แสดงให้เห็นการเกิดน้ำท่วมครั้งสำคัญ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ และ ๒๔๘๕ การค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุเรื่องน้ำท่วม : กรณีตัวอย่างของการค้นคว้าในหอจดหมายเหตุประเทศไทย (Historical Archives in Researching Floods: Example the National Archives of Thailand) โดย วรนุช วีณสนธิ เจ้าหน้าที่โสตทัศนจดหมายเหตุ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารจดหมายเหตุเป็นหลักฐานชั้นต้นที่สำคัญที่ให้ข้อมูลน้ำท่วม ทั้งเหตุที่เกิด ผลกระทบ หอจดหมายเหตุแห่งชาติมีเอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับน้ำท่วม ตลอดจน ภาพ แผนที่ แบบแปลน และภาพยนตร์  โดยได้ยกตัวอย่างเอกสารจดหมายเหตุเกี่ยวกับน้ำท่วม ใน ค.ศ. ๑๙๓๒ – ๑๙๓๗ ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ การวิเคราะห์ ตีความ จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ค้นคว้าเป็นสำคัญ Flood Risk Analysis Considering Flucial Dyke System: A Case Study in the Chao Phraya River Basin โดย Julien Oliver, วิศวกรแหล่งน้ำอาวุโส, ผู้จัดการโครงการ SG-MHS KHI Water & Environment, Singapore ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ มนุษย์ใช้พื้นที่ริมน้ำเป็นที่ตั้งบ้านเรือนอาศัย  ปัจจุบันคนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง และเมืองส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มที่น้ำท่วม จึงเกิดผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นประจำ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้เกิดฝนตกหนัก  ได้มีความพยายามจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วม แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ปัญหาทวีคูณ โครงการนี้ได้ออกแบบโมเดล Digital Elevation Model โดยใช้ข้อมูลหลากหลาย ทั้งภาพถ่ายทางอากาศ โดยเฉพาะข้อมูลสถิติในเว็บไซต์แหล่งต่าง ๆ เพื่อให้โมเดลเหมาะสมกับพื้นที่ต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้เงื่อนไข สภาพอากาศในขณะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ข้อมูลน้ำทะเลหนุน ความล้มเหลวในการกั้นเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ได้มีกรณีศึกษา โดยการทดลองแบบจำลองและผลกระทบความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประเทศไทย     ๙.                 ข้อเสนอแนะของการจัดกิจกรรม           ๙.๑ สมควรส่งเสริมให้นักจดหมายเหตุได้เป็นวิทยากรบรรยายในการประชุมระดับนานาชาตินอกเหนือจากการประชุมจดหมายเหตุซึ่งมีกำหนดวาระเป็นประจำอยู่แล้ว เพื่อสร้างสมประสบการณ์การทำงานวิชาการ ๙.๒ การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการประชุมระดับนานาชาติในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้เอกสารหลักฐานข้อมูลจดหมายเหตุ เป็นการประชาสัมพันธ์เอกสารจดหมายเหตุและการเข้าไปมีส่วนร่วมในสถาบันการวิจัย ๙.๓ การรับฟังผลการศึกษาค้นคว้าของผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ทำให้ทราบความต้องการหลักฐานข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์กับงานวิชาการจดหมายเหตุในการนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินงานในขั้นตอนการติดตามรับมอบเอกสาร การประเมินคุณค่าเอกสาร และการจัดหมวดหมู่เอการจดหมายเหตุออกให้บริการ ๙.๔ ได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมสัมมนา ๙.๕ ได้มีการประสานการทำงานร่วมกันในอนาคต และต่อยอดการศึกษาค้นคว้าวิจัย ๙.๖ เปิดโอกาสให้ได้นำบทความวิชาการที่นำเสนอไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารวิชาการระดับนานาชาติ     นางสาวนันทกา พลชัย ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ


หมวดหมู่                        นิทานพื้นเมืองภาษา                            บาลี/ไทยอีสานหัวเรื่อง                          นิทานพื้นเมือง                                    นิทาน -- ไทยประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลานลักษณะวัสดุ                    32 หน้า : กว้าง 6.5 ซม. ยาว 60 ซม. บทคัดย่อ                      เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากพระอธิการเด่น ปญฺญาทีโป วัดคิรีรัตนาราม  ต.ดอนคา อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดำเนินการอนุรักษ์เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534


ผู้แต่ง               :  อักขรานุกรมภูมิศาสตร์โรงพิมพ์           :  สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรีปีที่พิมพ์           :  2504ภาษา               :  ไทยรูปแบบ             :  PDFเลขทะเบียน      :  น.31บ12479เลขหมู่             : 327.5930596                         ก452ข


สาระสังเขป     :  การติดตามเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนประเทศเวียดนาม พม่าและอินโดนีเซียของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้แต่ง             :  ชุมพล โลหะชาละ, พล.ต.ต.โรงพิมพ์         :  สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลปีที่พิมพ์         :  2515ภาษา             :  ไทยรูปแบบ           :  PDFเลขทะเบียน    :  น.32บ.3785จบเลขหมู่           :  915.9                        ช627สน


เลขทะเบียน : นพ.บ.26/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  58 หน้า  ; 4.5 x 54 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 13 (138-151) ผูก 4หัวเรื่อง : ธรรมบท --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.45/16ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  50 หน้า ; 4.4 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 27 (267-281) ผูก 15หัวเรื่อง :  ธรรมบท --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



พระเมรุ   ที่มา : กองบรรณาธิการ วารสารศิลปากร ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 มีนาคม 2539 ปกใน            ตั้งแต่สมัยโบราณกาล พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงกำหนดประเพณีขึ้นไว้ เป็นแบบอย่างที่ดีงามเพื่อให้ประชาชนในชาติได้ถือปฏิบัตินับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาม เป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม เป็นต้นว่า ประเพณีท้าย วัฒนธรรมไทยปลูกฝังให้มีจิตใจเคารพยึดมั่นในความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ที่ตัว คุณประโยชน์ไว้แก่ชาติบ้านเมือง โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี หรือ ตลอดจนพระบรมวงศ์ผู้มีคุณูปการแก่ประเทศชาติ ซึ่งได้รับการยกย่องเปรียบ เสมือนสมมติเทวราช ครั้นถึงวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ คือเมื่อเสด็จสวรรคต ซึ่งหมายความว่าเสด็จไปสู่เขาวลัยสถาน ณ เชาพระสุเมรุ และตามพระราช ประเพณีจะจัดการกวายพระเพลิงพระบรมศพ โดยอัญเชิญพระบรมศพไปกวาย พระเพลิง ณ พระเมรุที่ได้สร้างขึ้น ณ กลางในพระนคร และในการประกอบพิธี ยึดถือการบำเพ็ญพระราชกุศลตามหลักของพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ           ครั้นเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๓๘ ยังความอาดูรโศกเศร้าให้กับพสกนิกรชาวไทยทั่วประเทศ และเพื่อใช้งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นไปอย่างเรียบร้อย และยิ่งใหญ่สมพระเกียรติ รัฐบาลจึงได้แต่งตั้งคณะ กรรมการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีขึ้น โดยมีการแต่งตั้งคณะ อนุกรรมการขึ้นอีกหลายคณะ กรมศิลปากรเป็นหน่วยงานหนึ่งในคณะอนุกรรมการฝ่ายก่อสร้างพระเมรุมาศ ราชรถ พระยาน มาศ และส่วนประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ได้รับมอบหมายในการ ออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศ และอาคารส่วนประกอบเพื่อใช้ในพระราชพิธี           พระเมรุมาศขที่ใช้ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีนั้น เรืออากาศเอก อาวุธ เงินชูกลิ่น สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านบูรณะปฏิสังขรณ์ของกรมศิลปากร ได้ออกแบบอย่างงดงามสมพระเกียรติ แสดงถึงความเป็นเลิศในงานด้านสถาปัตยกรรมไทย กำหนดปลูกสร้างที่ท้องสนามหลวงด้านทิศใต้เช่นทุกครั้งที่ผ่านมา หลัง จากได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการและการให้ความเห็นชอบขององค์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการจัดงานพระราชพิธี ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีแล้ว มีมติให้ใช้แบบพระเมรุมาศทรงปราสาทขตรมซ ย่อ มุมไม้สิบสองยอดเคี้ยวยอดเดียว ซึ่งได้ดำเนินการโดยปรับเตรียมพื้นที่ การวางโครงสร้างอาคาร ขยายแบบ ได้มีการบวงสรวง เข้าที่ท้องสนามหลวงและบูชาพระพิฆเณศร์ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๕ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายสุขวิช รังสิตพล) เป็นประธานในพิธี และวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๓๕ ได้มีการทําพิธียกเสาเอกพระเมรุมาศ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา) เป็นประธาน           ลักษณะของพระเมรุมาศสร้างขึ้นด้วยไม้ โครงสร้างภายในเป็นเหล็ก ทรงปราสาทจตุรมุข ย่อมุมไม้สิบสองยอดเกี้ยว ยอดเดียว ประดับตกแต่งด้วยลวดลายและเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ ใช้สีตามแบบสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีสีแดงและ สีของเป็นหลัก ประดับตกแต่งด้วยกระดาษของย่นเกือบทั้งหมด สูงจากพื้นถึงยอด ๓๐.๕๐ ม. ไม่รวมสัปตปฎลเศวตฉัตร ๗ ชั้น ที่ยอด กว้าง ๒๖.๗๐ เมตร ยาว ๓๖.๓๐ เมตร หันหน้ามาทางทิศตะวันตก ส่วนหลังคาเป็นจตุรมุข ซ้อน ๒ ชั้น ลายซ้อนไม้ มุข ด้านทิศเหนือและใต้ยาวกว่าด้านตะวันตกและตะวันออก ที่หน้าบันทั้ง ๔ ด้านมีพระนามาภิไธยย่อ“สว” ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี           ฐานพระเมรุมาศจัดทําเป็น ๒ ระดับ ชั้นแรกเรียกว่า ฐานชาลา เป็นฐานปัทม์ย่อเก็จประดับด้วยเขาวดาถือบังแทรก ๒๐ องค์ โดยรอบ มีบันได ๑๒ แห่งๆ ละ ๙ ชั้น ฐานบนเรียกว่า พลับพระเมรุมาศ เป็นฐานสิงห์ ประดับด้วยฉัตร ๒๔ องค์โดยรอบ มีบันไดทางขึ้นจากฐานชาลา ๑๔ ชั้น ทั้ง ๔ ทิศ           องค์พระเมรุมาศ เป็นอาคารย่อมุมไม้สิบสอง มีโถงกลางตั้งพระจิตกาธาน เพดานภายในมีลายดาวเพดาน ยอดเสาเป็น เสาตัวขัว พระเมรุมาศทั้ง ๔ ด้านเปิดโต่ง มีเครื่องตกแต่งคือพระวิสูตรและฉากบังเพลิงโดยรอบ ราวหลังคาเป็นไม้ รองด้วยสังกะสี ประดับด้วยใบระกา ส่วนยอดเป็นเกี้ยว 2 ชั้น ประดิษฐานสัปตปฎลเศวตฉัตรไว้เหนือสุด           หลังจากก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ พระเมรุมาศก็ได้ใช้เป็นสถานที่สุดท้ายที่ส่งเสด็จสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สู่สรวงสวรรค์ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๙



นิตยสารรายสองเดือน กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ : เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ในสาระสำคัญต่าง ๆ และเพื่ออนุรักษ์สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของชาติ


จังหวัดนครราชสีมา. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: จังหวัดนครราชสีมา, 2522.959.332ส275อ



ชื่อเรื่อง : ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น   ผู้แต่ง : สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ   พิมพ์ครั้งที่ : ๖   ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๐   สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ   สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารอากาศ สะพานแดง บางซื่อ   หมายเหตุ :  พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เสวกเอก พระยาราชเวศม์ผดุง ท.ม.,ต.จ.ว. (สาย  สายะวิบูลย์ )              ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ เพื่อให้จัดพิมพ์แจกในงานพระศพพระบวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปรีดา ซึ่งทรงเป็นบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในด้านการเล่นเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่๕


++++ทุ่งกุลาร้องไห้ : จุดบรรจบของโลกหลังความตาย++++          ...เมื่อความตายไม่ใช่จุดสิ้นสุดของชีวิต โลกหลังความตายจึงถือกำเนิดขึ้น ความเชื่อเรื่องชีวิต หลังความตาย นำไปสู่พิธีกรรมการทำศพ จากเรื่องของคนตายจึงกลายเป็นเรื่องของคนเป็น...   -----ในภาคอีสานของประเทศไทยบริเวณแอ่งสกลนคร (อีสานตอนบน) จากข้อมูลการขุดค้นทางโบราณคดี พบว่ามนุษย์ในอดีตมีประเพณีการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวและใส่ของอุทิศร่วมกับศพ บางครั้งพบการนำภาชนะดินเผามาทุบปูรองศพ หรือปูทับศพก่อนฝังดินกลบ หากเป็นศพเด็กจะบรรจุศพลงในภาชนะดินเผาก่อนแล้วจึงนำไปฝัง ซึ่งลักษณะการฝังแบบนี้ใช้กับศพเด็กเท่านั้น แหล่งโบราณคดีที่พบรูปแบบการฝังศพ แบบนี้ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และ แหล่งโบราณคดีบ้านดอนธงชัย อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็นต้น   -----ส่วนพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนจนถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลตอนล่าง (อีสานตอนล่าง) นอกเหนือจากรูปแบบการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวและการฝังศพเด็กในภาชนะดินเผา ยังพบประเพณีการฝังศพครั้งแรกและครั้งที่สองในภาชนะดินเผา รวมถึงการใส่สิ่งของลงในภาชนะร่วมกับศพเพื่อเป็นของอุทิศให้ผู้ตาย แหล่งโบราณคดีที่พบประเพณีการฝังศพแบบนี้ ได้แก่ แหล่งโบราณคดีบ้านกระเบื้องนอก อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา แหล่งโบราณคดีบ้านกระเบื้อง (โนนป่าช้าเก่า) อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา แหล่งโบราณคดีบ้านก้านเหลือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี แหล่งโบราณคดีบ้านคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และ แหล่งโบราณคดีดอนไร่ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น แม้ว่าพื้นที่บริเวณนี้จะพบรูปแบบการฝังศพทั้งสองแบบ แต่โดยส่วนมาก ในแหล่งโบราณคดีแต่ละแห่ง จะมีรูปแบบการฝังศพอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เช่น ที่แหล่งโบราณคดีบ้านกระเบื้องนอก จังหวัดนครราชสีมา ก็จะพบแต่รูปแบบการฝังศพในภาชนะดินเผา หรือที่แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ก็จะพบแต่รูปแบบการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาว ยกเว้นกรณีศพเด็กที่จะบรรจุศพลงในภาชนะดินเผาก่อนฝัง แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพบการฝังศพทั้งสองแบบภายในแหล่งโบราณคดีเดียวกัน เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ที่มีประเพณีการฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาวหรือนอนตะแคงในหลุม แต่มีอยู่ศพหนึ่งเป็นผู้ใหญ่เพศชาย ถูกฝังในภาชนะดินเผาขนาดใหญ่ในท่านั่งมีฝาปิด มีภาชนะดินเผาขนาดเล็กและเปลือกหอยกาบเป็นของอุทิศ ซึ่งกรณีนี้อาจสันนิษฐานได้ว่ารูปแบบการฝังศพที่แตกต่างออกไปนี้ อาจเป็นคนต่างชุมชนที่มาตายต่างถิ่น หรือเป็นบุคคลที่มีการตายผิดปกติจึงมีวิธีการฝังศพที่ต่างออกไปจากคนส่วนใหญ่ ซึ่งกรณีดังกล่าวพบได้น้อยมาก   -----ย้อนกลับไปเมื่อกว่า ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในพื้นที่ตอนกลางของแอ่งโคราช (อีสานตอนกลาง) กินเนื้อที่ประมาณ ๒.๑ ล้านไร่ บริเวณที่ผู้คนต่างรู้จักกันในชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างอีสานตอนบน (แอ่งสกลนคร) และอีสานตอนล่าง (บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล) ดินแดนแห่งนี้เป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณหลายแห่ง แม้ชุมชนเหล่านี้จะตั้งกระจายห่างกันออกไป มีทั้งใกล้และไกล แต่กลุ่มคนในชุมชนเหล่านี้ล้วนมีแบบแผนในการดำรงชีวิต ความคิด ความเชื่อ ที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเรื่องพิธีกรรมความตายที่มีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า “วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้” ด้วยสภาพภูมิประเทศ ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างกลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ทำให้วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้มีการผสมผสานรูปแบบประเพณีต่างๆเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นรูปแบบประเพณีของตนเอง ดังหลักฐานพิธีกรรมการฝังศพที่พบ โดยปรากฏลักษณะการฝังศพครั้งแรก ทั้งแบบนอนหงายเหยียดยาว และแบบฝังศพในภาชนะดินเผา (พบทั้งศพเด็กทารก เด็ก วัยรุ่น และ ผู้ใหญ่) รวมถึงยังพบการฝังศพครั้งที่สอง ทั้งแบบเก็บกระดูกมาวางรวมกัน และแบบเก็บมาใส่ในภาชนะดินเผา ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ เครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ภายในชุมชน ลักษณะเนื้อดิน การตกแต่งรูปทรง และหน้าที่การใช้งาน ก็ต่างออกไปจากวัฒนธรรมอื่น โดยเฉพาะภาชนะบรรจุศพรูปทรงต่างๆ รวมถึงการวางภาชนะบรรจุศพในแนวนอน แบบที่นิยมเรียกว่า “แคปซูล” (Capsules) ก็ถือว่าเป็นลักษณะเด่นของวัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้ เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด แหล่งโบราณคดีบ้านโพนทอง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และแหล่งโบราณคดีเมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น   -----รูปแบบประเพณีการฝังศพในภาคอีสาน ที่ปรากฏในช่วงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ต่อเนื่องมายังสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น สะท้อนให้เห็นถึงระบบความคิด ความเชื่อ ของคนในสมัยนั้น เกี่ยวกับเรื่องโลกหลังความตาย จึงเป็นหน้าที่ของคนเป็นที่จะต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ และประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้วายชนม์พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในโลกหลังความตาย สุดแล้วแต่ความเชื่อและพิธีกรรมของสังคมในวัฒนธรรมนั้นๆที่ถูกกำหนดขึ้น ภาชนะดินเผาที่เกี่ยวกับพิธีกรรมศพจึงมักมีรูปแบบพิเศษเพื่อตอบสนองความต้องการทางจิตวิทยาของผู้คนในสังคม เมื่อรูปแบบเหล่านี้ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่จึงกลายเป็นระเบียบแบบแผนที่เป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ---------------------------------------------------------------- ข้อมูล : นางสาวศุภภัสสร หิรัญเตียรณกุล นักโบราณคดีชำนาญการ   อ้างอิง   สุกัญญา เบาเนิด. โบราณคดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้. สำนักศิลปากรที่ ๑๑ อุบลราชธานี : กรมศิลปากร, ๒๕๕๓.   สุรพล นาถะพินธุ. รากเหง้าบรรพชนคนไทย : พัฒนาการทางวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์. สำนักพิมพ์ มติชน : กรุงเทพฯ, ๒๕๕๐.   ศิลปากร, กรม. โดย สำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด. โบราณคดีลุ่มน้ำสงคราม ก่ำ ชีตอนล่าง มูลตอนกลาง. บริษัทเพ็ญพรินติ้งจำกัด : ขอนแก่น, ๒๕๕๗.


องค์ความรู้ เรื่อง ภาพถ่ายเก่าเมืองร้อยเอ็ด ตอน ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ดหลังที่ ๒ จัดทำโดยพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด


Messenger