...

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสิงคโปร์ การคาดการณ์การเกิดน้ำท่วมในอนาคต: การสำรวจด้วยวิธีการในศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อการพยากรณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดน้ำท่วม (Future Floods: An Exploration of a Cross-Disciplinary Approach to Flood Risk Forecasting) ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสิงคโปร์

๑.      ชื่อโครงการ  การคาดการณ์การเกิดน้ำท่วมในอนาคต: การสำรวจด้วยวิธีการในศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อการพยากรณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดน้ำท่วม (Future Floods: An Exploration of a Cross-Disciplinary Approach to Flood Risk Forecasting)

๒.    
วัตถุประสงค์

๒.๑ เพื่อเชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ประกอบด้วย นักอุตุนิยมวิทยา วิศวกร นักภูมิศาสตร์ อาจารย์ด้านเภสัชศาสตร์ เจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม นักประวัติศาสตร์ นักจดหมายเหตุ

๒.๒ เพื่อมาร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เสนอข้อมูล ผลงานการศึกษาวิจัย ผลงานการออกแบบโมเดลประเมินความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมในอนาคตและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

๒.๓ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับน้ำท่วมระหว่างกัน

๒.๔ เพื่อร่วมกันจัดทำสิ่งพิมพ์ที่ได้นำเสนอในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้

๒.๕ เพื่อร่วมวางแผนการประสานความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต


๓.      กำหนดเวลา ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

 

๔.      สถานที่ Research Division Seminar Room (AS7 06-42, Faculty of Arts and Social Sciences, มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (The National University of Singapore, NUS Kent Ridge Campus)

 

๕.      หน่วยงานผู้จัด ประกอบด้วย ๒ หน่วยงาน คือ

๕.๑ The National University of Singapore

- Faculty of Arts and Social Sciences

- Environment Research Cluster

- The Institute of Water Policy

- Lee Kuan Yew School of Public Policy

๕.๒ องค์กรความเสี่ยงระดับโลก (AON Benfield Asia Pte. Ltd.)

๖.      กิจกรรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ ๒ วัน ประกอบด้วย

การประชุมเชิงปฏิบัติการ วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

การคาดการณ์การเกิดน้ำท่วมในอนาคต: การสำรวจด้วยวิธีการในศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อการพยากรณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดน้ำท่วม (Future Floods: An Exploration of a Cross-Disciplinary Approach to Flood Risk Forecasting)

๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.  ลงทะเบียน

๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐ น.  กล่าวต้อนรับและบรรยายความเป็นมาของโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ


วาระที่ ๑  วิธีการที่อุตสาหกรรมประกันภัยคาดการณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำ  ท่วม (Panel One:  The Insurance Industry’s Approach to Flood Forecasting      Chaired by Kieran Dunne)

          ๑๐.๐๐ – ๑๑.๐๐ น.  Flooding in Singapore

                                   By Clair Kennedy

          ๑๑.๐๐ – ๑๑.๓๐ น.  Historical Flood Scenarios – How effective for loss estimation?

                                    By Sastry Dhara 

          ๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.   Realistic disaster scenario development of Asia

                                   By Bachu Radha and Krishna Murthy

        ๑๒.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. Catastrophe Models

                                  By Brad Weir

          ๑๒.๓๐ – ๑๓.๐๐ น.  ถาม/ตอบ อภิปราย

                                   By Kieran Dunne

วาระที่ ๒ : การพยากรณ์น้ำท่วม: วิธีการ, แบบจำลอง และความท้าทาย  (Panel Two: Flood Forecasting: Method, Models and Challenges)

Chaired by Brain Mcadoo

          ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.  Don parametric flood frequency analysis

                                   By Santhosh Dronamraju

          ๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐ น.   Current challenges in flood modeling faced by the insurance

                                   industry by   Marie Delalay

          ๑๕.๐๐ – ๑๕.๓๐ น.  ถาม/ตอบ และอภิปราย

 

          วาระที่ ๓ : การศึกษาในภูมิภาค: วิธีการ กรณีศึกษา เทือกเขาหิมาลัยและมาเลเซีย

                   (Panel Three: Regional Studies: Methods and the Himalaya & Malaysia

                   Chaired by Robert Wasson)

 

          ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. Application of Optically Stimulated Luminescence Dating

                                     Technique in understanding the fluvial landscape of Himalaya

                                     By Pradeep Srivastava

          ๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น. Paleoflood records in Himalaya

                                   By Pradeep Srivastava

          ๑๖.๓๐ – ๑๗.๐๐ น. Historic Flood Records in Colonial Malaya: Sources and

                                   Context by Fiona Williamson

          ๑๗.๐๐ – ๑๗.๓๐ น  ถาม/ตอบ อภิปราย by Robert Wassan

 

                   การประชุมเชิงปฏิบัติการ วันศุกร์ ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

 

          ๐๙.๐๐ – ๐๙๓๐ น. บรรยายเกริ่นนำการประชุมเชิงปฏิบัติการในวาระที่ ๔ และวาระที่ ๕

 

วาระที่ ๔: การศึกษาในภูมิภาค: การศึกษาวิจัยน้ำท่วมในพื้นที่ประเทศไทย

            (Panel Four: Regional Studies: Methods and Thailand)

                              Chaired by Elisha Teo

 

                   ๐๙.๓๐ – ๑๐๐๐ น. การศึกษาวิจัยเรื่องน้ำท่วมใหญ่จากการวิเคราะห์ชั้นตะกอนในก้อนหินจากแม่น้ำปิง  ประเทศไทย (Estimating Flood Discharges From Boulders With An Example From The Ping River System Thailand) โดย Lim Han She นักวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

๑๐.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. ประวัติศาสตร์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาของประเทศไทยที่มีการอ้างอิงว่ามีสาเหตุมาจากแม่น้ำปิงและผลจากปัญหาเชิงนโยบาย (A History of Large Floods in the Chao Phraya Catchment with Particular Reference to the Ping River, Thailand, and Some Policy Implication) โดย Robert Wassan

๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. การประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมที่มีผลต่อตลาดการค้าข้าวของโลก: การวิเคราะห์สถานการณ์สภาพอากาศ (Flood Risk Assessment for Thailand Rice Supply-Chan: Climate Scenario Analysis) โดย Poon Thiengburanathum

          ๑๑.๐๐ – ๑๑.๓๐ น. หลักฐานทางประวัติศาสตร์เรื่องน้ำท่วมในประเทศไทย (Documentary

                                     Evidence of Floods in Thailand) by นันทกา พลชัย

          ๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. การค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุเรื่องน้ำท่วม : กรณีตัวอย่างของการ

                                   ค้นคว้าในหอจดหมายเหตุประเทศไทย (Historical Archives in

                                      Researching Floods: Example the National Archives of

                                     Thailand) โดย วรนุช วีณะสนธิ

๑๒.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมโดยวิเคราะห์เขื่อนกั้นน้ำ กรณีศึกษาในลุ่ม

                          แม่น้ำเจ้าพระยา (Flood Risk Analysis Considering Fluvial Dyke

                         Systems: A Case Study in the Chao Phraya River Basin)  

                         โดย Julien Oliver

            ๑๒.๓๐ – ๑๓.๐๐ น. ถาม / ตอบ อภิปราย by Elisha Teo

 

                        วาระที่ ๕:  ขั้นตอนที่จะดำเนินการต่อไป (Panel Five: Next Steps)

                                  by Chaired by Alan Ziegler

 

 

          ๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. การวางแผนจัดพิมพ์เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการ (A Plan for A

                                     Publication from the Workshop) โดย Alan Ziegler

          ๑๔.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. แนวความคิดในการประสานความร่วมมือระหว่างกัน(Idea for Research

                                     Collaboration โดย Adityam Krovvidi

          ๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.  พิธีปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ

 

๗.      คณะผู้แทนประเทศไทยจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร มี ๒ คน คือ

๗.๑ นางสาวนันทกา พลชัย นักจดหมายเหตุชำนาญการพิเศษ บรรยายในหัวข้อ Documentary Evidence of Floods in Thailand

๗.๒ นางสาววรนุช วีณะสนธิ นักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ บรรยายในหัวข้อ Historical Archives in Researching Floods: Example the National Archives of Thailand

๘.     สรุปสาระของกิจกรรม

สถานการณ์น้ำท่วมในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น เป็นผลมาจากการเกิดน้ำท่วมมีความถี่เพิ่มสูงขึ้น น้ำท่วมมีขนาดใหญ่ขึ้นและได้สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและผลกระทบที่มีต่อมนุษย์ สัตว์ พืช ทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อมมีมากยิ่งขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้องหาวิธีการศึกษาเพื่อคาดการณ์การเกิดน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตที่แม่นยำ ซึ่งการประเมินเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นงานที่ท้าทายอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลหลักฐานและสถิติที่จะนำมาคำนวณมีไม่มากเพียงพอ โดยเฉพาะการคำนวณความเสี่ยงในการประกันน้ำท่วมของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าทรัพย์สินมหาศาล  การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้ได้นำผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มารวมตัวกันเพื่อนำเสนอข้อมูลน้ำท่วมทั้งในเชิงอุทกศาสตร์แบบดั้งเดิม และข้อมูลสมัยใหม่ในการวิเคราะห์รูปแบบและความเสี่ยงของการเกิดน้ำท่วมในเชิงอุทกศาสตร์/ สถิติธรณีสัณฐาน / ธรณีวิทยา/ อุตุนิยมวิทยา /ประวัติศาสตร์ และจดหมายเหตุ วาระการประชุมเริ่มต้นด้วยการนำเสนอโดยบริษัทอุตสาหกรรมประกันภัย ซึ่งได้จัดyทำแบบจำลองความเสี่ยงสำหรับการพยากรณ์น้ำท่วมจากสถานการณ์น้ำท่วมที่สำคัญในประวัติศาสตร์และสถานการณ์ภัยพิบัติจริง ความท้าทายที่สำคัญสำหรับการสร้างแบบจำลองความเสี่ยงคือ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จำเป็นต้องมีการจัดเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนรอบด้าน ทั้งข้อมูลดั้งเดิม และข้อมูลใหม่ ทั้งโดยนำองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ประกอบการศึกษา ซึ่งเป็นความท้าทายในการศึกษาที่จะให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด แม่นยำทึ่สุด

 

น้ำท่วมในอนาคต:

การสำรวจด้วยวิธีการในศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม


วาระที่ ๑  วิธีการที่อุตสาหกรรมประกันภัยคาดการณ์เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม

 

เรื่องที่ ๑ น้ำท่วมในสิงคโปร์  โดย Claire Kennedy นักวิเคราะห์อาวุโสด้านอุตุนิยมวิทยา

 

Claire Kennedy ได้นำเสนอการศึกษาค้นคว้าเรื่องน้ำท่วมในสิงคโปร์ โดยได้ค้นคว้าและตรวจสอบสภาพภูมิอากาศของประเทศสิงคโปร์จากหลักฐานแผนภูมิสภาพอากาศและสถิติ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดน้ำท่วม และได้ตรวจสอบเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหตุการณ์น้ำท่วมในเดือนธันวาคมปี ๑๙๖๙ และปี ๑๙๗๘  ที่มีผู้เสียชีวิต ๑๒ คน และทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่สำคัญ  การนำเสนอครั้งนี้ จะดูที่สถานการณ์น้ำท่วมในประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบัน และพยายามที่จะมองเชื่อมโยงในบริบทใหญ่ของเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย, ไทย และอินโดนีเซีย เพื่อหาข้อสรุปโดยตรวจสอบเหตุการณ์น้ำท่วมในอดีตและมองไปในอนาคตเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมที่อาจจะสร้างความเสียหายให้ประเทศสิงคโปร์ในอนาคต

 

สถานการณ์น้ำท่วมในประวัติศาสตร์ วิธีการประมาณค่าการสูญเสียอย่างมีประสิทธิภาพ Historical Flood Scenarios – How effective for loss estimation? โดย Sastry Dhara ผู้อำนวยการด้านการประเมินค่าความเสียหาย

 

Sastry Dhara เสนอสถานการณ์น้ำท่วมในประวัติศาสตร์ที่ทำให้มองเห็นภาพรวมของการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นอีก การสร้างแบบจำลองการสูญเสียจากน้ำท่วมมีการพัฒนาน้อยกว่าการสร้างแบบจำลองการสูญเสียที่เกิดจากแผ่นดินไหวและพายุไต้ฝุ่น การพัฒนารูปแบบความน่าจะเกิดขึ้นจากข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมในประวัติศาสตร์นั้นมีประโยชน์ต่อการสร้างแบบจำลองน้ำท่วมสำหรับอุตสาหกรรมประกันภัยในภูมิภาคนี้ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ในการสร้างสถานการณ์ที่เป็นกรณีศึกษาจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในภูมิภาค

 

การพัฒนาสถานการณ์ภัยพิบัติจริงสำหรับเอเชีย (Realistic Disaster Scenario (EDS) Development for Asia) โดย Bachu Radha Krishna Murthy, นักอุทกวิทยาพื้นฐาน Principle Hydrologist, AON Benfield Ptd. Ltd.

 

การสร้างแบบจำลองจากเหตุการณ์ภัยพิบัติจริงที่เกิดขึ้นในเอเชียในปี ๒๐๑๑ แผ่นดินไหว Tohoku น้ำท่วมในประเทศไทยและแผ่นดินไหวที่นิวซีแลนด์ เพื่อพยากรณ์ผลกระทบ และวิเคราะห์ช่วงความถี่ของการเกิดเหตุการณ์เพื่อเตรียมรับมือภัยพิบัติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการแก้ปัญหาความเสี่ยงในการบริหารจัดการทุนและโครงสร้างการรับประกันภัยทรัพย์สิน โดยได้ศึกษาครั้งแรกในเอเชียนอกประเทศญี่ปุ่น ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม และประเทศจีน และการสร้างแบบจำลองที่มีรายละเอียด รวมถึงคำนิยามสถานการณ์การประเมินอันตราย และการวิเคราะห์ความเสี่ยงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กำหนดระยะเวลา  ๕๐ ปี ๑๐๐ ปี และ ๒๕๐ ปี ซึ่งสามารถใช้ในเชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรม และพอร์ตการลงทุนด้านวิศวกรรม ซึ่งข้อมูลที่ได้จะช่วยให้ผู้ประกันมองเห็นความเสี่ยงที่มีการเปรียบเทียบจากเหตุการณ์จริงที่ได้สร้างแบบจำลองให้เห็นได้อย่างชัดเจน

 

 Catastrophe Models โดย Brad Weir, หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ AON Benfield Ptd. Ltd.

 

 Brand Weir ได้เสนอว่าเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีที่แบบจำลองภัยพิบัติ CAT ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมประกันภัยสำหรับการประเมินการสูญเสียของผู้ประกันที่คาดว่าจะเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่นแผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่นหรือน้ำท่วม ในช่วงปลายทศวรรษที่ ๑๙๘๐ แบบจำลองภัยพิบัติ CAT ซึ่งใช้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับการประเมินความถี่ ความรุนแรงของความเสี่ยงจากการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมประกันภัยหลังจากที่พายุเฮอริเคนแอนดรูถล่มไมอามี่ในปี ๑๙๒๑  ก่อให้กิดการสูญเสียของผู้ประกันที่มีมูลค่าสูงที่สุด ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ

ในอดีต มีเพียงแบบจำลองภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวและพายุ ในขณะที่น้ำท่วมเป็นภัยพิบัติใหม่ เนื่องจากมีเหตุการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงในไม่กี่ปีมานี้ แต่ข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างแบบจำลองน้ำท่วมยังคงเป็นความท้าทายที่จะหาข้อมูลที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นตัวแทนของภัยพิบัติจากน้ำท่วมที่มีปริมาณน้ำฝนในระดับสูงและข้อมูลการวัดน้ำท่วมทั้งในแง่ของความรุนแรงและความถี่ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ภัยพิบัติ ดังนั้นนักพัฒนาแบบจำลองน้ำท่วมต้องมองจากหลากหลายวิธีการ และพยายามหาวิธีที่เชื่อถือได้ในการสร้างแบบจำลองน้ำท่วมสำหรับการประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ ในพื้นที่ที่แตกต่างกันทั่วเอเชีย

 

วาระที่ 2 : การพยากรณ์น้ำท่วม: วิธีการ, แบบจำลอง และความท้าทาย  

                                            

การวิเคราะห์ความถี่การเกิดน้ำท่วม Non-parametric Flood Frequency Analysis โดย Santhosh Dronamraju นักวิจัย Research Analyst, AON Benfield Pte. Ltd.

 

Santhosh Dronamraju ได้เสนอว่าน้ำท่วมทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางต่อชีวิตและทรัพย์สินในส่วนต่าง ๆ ของโลก จึงมีความสำคัญยิ่งในการพัฒนาวิธีการที่มีประสิทธิภาพสำหรับการออกแบบการประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วม เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น การศึกษาด้านอุทกศาสตร์สำหรับวิเคราะห์การเกิดน้ำท่วมมุ่งเน้นไปที่การประมาณค่าความถี่และความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องของปริมาณกระแสน้ำไหลและปริมาณน้ำท่วมสูงสุด ณ จุดที่กำหนด

 

 ความท้าทายในปัจจุบันในการสร้างแบบจำลองน้ำท่วมของอุตสาหกรรมประกันภัย  (Current Challenges in Flood Modeling Faced by the Insurance Industry โดย Marie Delalay ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการคำนวณค่าการประกันภัย

 

Marie Delalay ได้เสนอการสร้างแบบจำลองทางภูมิศาสตร์เพื่อเป็นกรอบการวิจัยภัยพิบัติน้ำท่วม โดยได้อธิบายองค์ประกอบและข้อจำกัดของรูปแบบการเกิดน้ำท่วมที่พบมากที่สุดในอุตสาหกรรมประกันภัย
แบบจำลองจะประกอบด้วย ๓ โมดูล โมดูลแรกคือ โมดูลที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์อันตรายจากข้อมูลเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โมดูลที่ ๒ การกระจายความเสี่ยงของการสูญเสีย และโมดูลที่ ๓ ผลกระทบทางการเงิน ทั้งสามโมดูลแสดงได้เพียงบางส่วนของรูปแบบน้ำท่วม เนื่องจากข้อจำกัด ดังนี้ ขาดข้อมูลเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ขาดข้อมูลประสบการณ์การสูญเสีย และขาดข้อมูลเกี่ยวกับข้อผิดพลาดในกระบวนการทำงาน

 

วาระ ๓ การศึกษาในภูมิภาค: วิธีการ กรณีศึกษา เทือกเขาหิมาลัยและมาเลเซีย

          การประยุกต์ใช้เทคนิคเรืองแสงในการศึกษาสภาพพื้นที่ของแม่น้ำในเทือกเขาหิมาลัย   โดย Pradeep Srivastava นักวิทยาศาสตร์ สถาบัน Wadia of Himalayan Geography

          Pradeep Srivastava ได้เสนอเทคนิคพลังงานเรืองแสงในการศึกษาโครงสร้างชั้นหินที่สะท้อนให้เห็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น โดยปกติวิธีการนี้จะนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาลำดับการตกตะกอนชั้นหินในแม่น้ำ น้ำแข็ง แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ การนำเสนอการประยุกต์ใช้เทคนิควิธีในการทำความเข้าใจสภาพทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขาหิมาลัย โดยเริ่มจากการสำรวจภาคสนาม ค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุธรณีสัณฐานวิทยา การก่อตัวของชั้นดินในหุบเขา แม่น้ำสำคัญ และการศึกษาผลงานของผู้เขียนอื่น ๆ     

          บันทึกการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในเทือกเขาหิมาลัย โดย Pradeep Srivastava นักวิทยาศาสตร์ สถาบัน Wadia of Himalayan Geography

          Pradeep Srivastava ได้เสนอว่าน้ำท่วมทำให้เกิดการกัดเซาะดินอย่างสำคัญ และทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินที่น้ำนำตะกอนดินมาทับถม ทำให้ผู้คนจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยพิบัติจากกระแสน้ำท่วมบ่า ใน ค.ศ. ๒๐๑๓ น้ำท่วมได้คร่าชีวิตคน ๖,๐๐๐ คน และสร้างความเสียหาย ๒๕๐ ล้านดอลลาร์หสรัฐ ฉะนั้นเหตุการณ์น้ำท่วมแต่ละครั้งต้องการการศึกษาที่ดี การคาดการณ์น้ำท่วม การวางแผนเตรียมการ การประเมินสภาพภูเขา กระแสน้ำตามหลักภูมิศาสตร์

          กรณีศึกษาเทือกเขาหิมาลัยเมื่อ ๑,๐๐๐ ปี จากตะกอนชั้นหิน แสดงให้เห็นว่าได้เคยมีการเกิดน้ำท่วมใหญ่บ่อยครั้ง การศึกษาต้นน้ำ เหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่คร่าชีวิตและทรัพย์สิน ใน ค.ศ. ๑๘๙๙, ๑๙๕๐ และ ๑๙๖๘

          กรณีศึกษาที่ Ladakh Himalaya ว่าเกิดจากอิทธิพลของกระแสน้ำเหนือระดับน้ำปกติ และอิทธิพลของพายุ ซึ่งความสูงของกระแสน้ำเทียบเท่าหายนะน้ำท่วมใน ค.ศ. ๒๐๑๐

          เอกสารจดหมายเหตุเกี่ยวกับน้ำท่วมในอาณานิคมมาลายา: แหล่งข้อมูลและเนื้อหาสาระ โดย Fiona Williamson อาจารย์อาวุโส มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

          Fiona Williamson ได้เสนอข้อมูลจดหมายเหตุเกี่ยวกับน้ำท่วม เป็นข้อมูลการวัดปริมาตรน้ำแบบดั้งเดิมเพื่อการวิเคราะห์และคาดการณ์ จากเอกสารที่ค้นคว้าได้แสดงให้เห็นความถี่ สถานที่ สาเหตุและขนาดของน้ำท่วมที่ผ่านมา ซึ่งวิธีการแบบดั้งเดิมทางอุทกศาสตร์ได้วิเคราะห์น้ำท่วมและการคาดการณ์ นักวิชาการมาเลเซียไม่ได้สนใจศึกษาเรื่องน้ำท่วมอย่างเป็นระบบก่อนปี ค.ศ. ๑๙๕๐ ในที่นี้ได้ศึกษาประวัติศาสตร์น้ำท่วมของแหลมมลายูในยุคอาณานิคมจากเอกสารของอังกฤษขณะปกครองอาณานิคม หนังสือพิมพ์ร่วมสมัย รายงานของทางราชการจากหอจดหมายเหตุและหอสมุดประเทศมาเลเซีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และประเทศสิงคโปร์ ทำให้ทราบรายละเอียดความสูงของน้ำท่วม ระยะเวลา ผลกระทบต่อสังคมท้องถิ่น เชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของมนุษย์และความรุนแรงของน้ำท่วมที่เพิ่มขึ้น ที่จะส่งผลการะทบต่อชีวิตและ ทรัพย์สิน      

          วาระที่ ๔ การศึกษาในภูมิภาค: วิธีการและประเทศไทย

          การศึกษาวิจัยเรื่องน้ำท่วมใหญ่จากการวิเคราะห์ชั้นตะกอนในก้อนหินจากแม่น้ำปิง  ประเทศไทย โดย Lim Han She นักวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

          Lim Han She ได้เสนอผลการศึกษาก้อนหินขนาดใหญ่ที่กระแสน้ำแม่น้ำปิงได้พัดเคลื่อนย้ายมาอีกที่หนึ่ง โดยการศึกษาเชิงประจักษ์และฟิสิกส์สัณฐานในการประเมินและการเริ่มต้นเคลื่อนย้ายก้อนหิน จากสมการไฮโดรลิคในการประเมินการเคลื่อนย้ายก้อนหิน ก้อนหินที่กลมเกลี้ยงและกึ่งโค้งมนแสดงให้เห็นการถูกเคลื่อนย้ายโดยกระแสน้ำท่วม ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าน้ำท่วมที่ย้ายก้อนหินขนาดใหญ่เช่นนี้ได้จะต้องมีระดับน้ำที่มีความสูงเกิน ๑ เมตร

          ประวัติศาสตร์น้ำท่วมใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาของประเทศไทยที่มีการอ้างอิงว่ามีสาเหตุมาจากแม่น้ำปิงและผลของปัญหาเชิงนโยบาย โดย Robert James Wassan ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

          Robert Wassan เสนอว่าเอกสารพงศาวดารเกี่ยวกับน้ำท่วมของแม่น้ำปิงขาดความน่าเชื่อถือ และมีข้อความสั้นเกินไปไม่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ได้ จึงต้องศึกษาโดยวิธีการอื่น ๆ อาทิ การศึกษาจากวงแหวนต้นไม้ ตะกอนน้ำท่วม การศึกษาทางธรณีวิทยา เป็นต้น

          การศึกษาน้ำท่วมใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ๑๓ ครั้ง ระหว่าง ค.ศ. ๑๗๘๕ - ๒๐๑๑ จะเห็นว่าเกิดขึ้นในช่วงปลายฤดูฝน โดยจะเกิดจากพายุไซโคลนร้อยละ ๓๙ หลังจากช่วงอิทธิพลลานีญา ร้อยละ ๑๕ เกิดขึ้นในระหว่างอิทธิพลเอลนีโญ และร้อยละ๗ เกิดขึ้นในช่วงระหว่างอิทธิพลลานีญา และเอลนีโย  ร้อยละ ๓๑ เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำฝน ร้อยละ ๗๕ เกิดขึ้นในฤดูฝนในช่วงที่แม่น้ำปิงไหลมารวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาและไหลมาถึงกรุงเทพฯ

          จากการศึกษาตะกอนน้ำท่วมทำให้ทราบว่า แม่น้ำปิงทำให้เวียงกุงกามและเชียงดาวได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ ๓ ครั้ง คือ ปี ๕๕๒ ๑๔๖๔ และ๑๖๕๘

          จากการศึกษาพบว่าในปี ๑๘๓๑ แม่น้ำปิงได้ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่กรุงเทพ ฯ ซึ่งวัดระดับน้ำได้สูงที่สุดเท่าที่เคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพ ฯ

          โดยสรุป ประวัติศาสตร์อันยาวนาน ๖๐๐ ปี ได้มีการบันทึกเรื่องน้ำท่วมใหญ่ไว้ โดยดูเหมือนจะมีสาเหตุจากปริมาณน้ำจำนวนมากไหลจากทางภาคเหนือมาท่วมกรุงเทพ ฯ จากอิทธิพลของพายุไซโคลน และดูเหมือนว่าอิทธิพลของปรากฎการณ์ลานีญาจะทำให้น้ำท่วมมีปริมาณมากยิ่งขึ้น

          การประเมินความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมที่มีผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานการค้าข้าวของประเทศไทย : การวิเคราะห์สภาพอากาศ (Flood Risk Assessment for Thailand Rice Supply-Chain: Climate Scenario Analysis) โดย พูน เทียนบุรณธรรม รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          แนวโน้มความเสี่ยงในการเกิดน้ำท่วมในประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้น และมีความถี่เพิ่มขึ้น ผลกระทบไม่เพียงแต่จะเกิดในท้องถิ่น แต่กลายเป็นพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด โดยนายพูนได้นำเสนอให้เห็นภาพห่วงโช่การปลูกข้าวเพื่อส่งออกขายในตลาดโลก และความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วมที่มีผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานการค้าข้าวของโลก

          หลักฐานทางประวัติศาสตร์เรื่องน้ำท่วมในประเทศไทย (Document Evidence of Flood in Thailand) โดย นันทกา พลชัย นักจดหมายเหตุ ชำนาญการพิเศษ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

          จดหมายเหตุได้มีการบันทึกเรื่องน้ำท่วมมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยแบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ พงศาวดารก่อน พ.ศ. ๒๔๑๑ บันทึกการเดินทางของชาวต่างชาติ ก่อน ค.ศ. ๒๔๑๑ และเอกสารจดหมายเหตุ

          บันทึกการเดินทางที่สำคัญคือ บันทึกการเดินทางของลาลูแบร์ ราชทูตพระเจ้านโปเลียนที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศของสยามไว้โดยละเอียด ว่าสยามเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสาย มีฤดูร้อนและฤดูฝน ผู้คน บ้านเรือน และสภาพน้ำท่วมในหน้าน้ำหลากเป็นวิถีชิวิตของชาวสยามที่คุ้นชินมาแต่ดั้งเดิม

          สภาพพื้นที่ประเทศไทยเป็นภูเขาทางภาคเหนือ และที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในภาคกลาง แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ได้ไหลมารวมตัวที่นครสวรรค์ จากนั้นได้แยกเป็น ๓ สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางประกง และแม่น้ำท่าจีน ไหลลงมาออกอ่าวไทย สภาพความเจริญเติบโตของเมือง ประชากร ความจำเป็นในการใช้พื้นที่เพื่ออยู่อาศัย ถนนหนทาง เขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เดิมเคยเป็นที่ลุ่มรองรับน้ำท่วมในหน้าน้ำ เมื่อประสบปัญหาพายุที่เข้ามาจำนวนมาก ทำให้เกิดปริมาณน้ำมาก ประกอบกับน้ำทะเลหนุนจึงเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมที่สร้างความเสียหายมหาศาล เอกสารจดหมายเหตุได้แสดงให้เห็นการเกิดน้ำท่วมครั้งสำคัญ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐ และ ๒๔๘๕

การค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุเรื่องน้ำท่วม : กรณีตัวอย่างของการค้นคว้าในหอจดหมายเหตุประเทศไทย (Historical Archives in Researching Floods: Example the National Archives of Thailand) โดย วรนุช วีณสนธิ เจ้าหน้าที่โสตทัศนจดหมายเหตุ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

เอกสารจดหมายเหตุเป็นหลักฐานชั้นต้นที่สำคัญที่ให้ข้อมูลน้ำท่วม ทั้งเหตุที่เกิด ผลกระทบ หอจดหมายเหตุแห่งชาติมีเอกสารจดหมายเหตุที่เกี่ยวกับน้ำท่วม ตลอดจน ภาพ แผนที่ แบบแปลน และภาพยนตร์  โดยได้ยกตัวอย่างเอกสารจดหมายเหตุเกี่ยวกับน้ำท่วม ใน ค.ศ. ๑๙๓๒ – ๑๙๓๗ ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ การวิเคราะห์ ตีความ จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ค้นคว้าเป็นสำคัญ

Flood Risk Analysis Considering Flucial Dyke System: A Case Study in the Chao Phraya River Basin โดย Julien Oliver, วิศวกรแหล่งน้ำอาวุโส, ผู้จัดการโครงการ SG-MHS KHI Water & Environment, Singapore

ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ มนุษย์ใช้พื้นที่ริมน้ำเป็นที่ตั้งบ้านเรือนอาศัย  ปัจจุบันคนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง และเมืองส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มที่น้ำท่วม จึงเกิดผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นประจำ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทำให้เกิดฝนตกหนัก  ได้มีความพยายามจะแก้ไขปัญหาน้ำท่วม แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ปัญหาทวีคูณ

โครงการนี้ได้ออกแบบโมเดล Digital Elevation Model โดยใช้ข้อมูลหลากหลาย ทั้งภาพถ่ายทางอากาศ โดยเฉพาะข้อมูลสถิติในเว็บไซต์แหล่งต่าง ๆ เพื่อให้โมเดลเหมาะสมกับพื้นที่ต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้เงื่อนไข สภาพอากาศในขณะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ข้อมูลน้ำทะเลหนุน ความล้มเหลวในการกั้นเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ได้มีกรณีศึกษา โดยการทดลองแบบจำลองและผลกระทบความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ประเทศไทย    

๙.                 ข้อเสนอแนะของการจัดกิจกรรม

          ๙.๑ สมควรส่งเสริมให้นักจดหมายเหตุได้เป็นวิทยากรบรรยายในการประชุมระดับนานาชาตินอกเหนือจากการประชุมจดหมายเหตุซึ่งมีกำหนดวาระเป็นประจำอยู่แล้ว เพื่อสร้างสมประสบการณ์การทำงานวิชาการ

๙.๒ การเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการประชุมระดับนานาชาติในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้เอกสารหลักฐานข้อมูลจดหมายเหตุ เป็นการประชาสัมพันธ์เอกสารจดหมายเหตุและการเข้าไปมีส่วนร่วมในสถาบันการวิจัย

๙.๓ การรับฟังผลการศึกษาค้นคว้าของผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา ทำให้ทราบความต้องการหลักฐานข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์กับงานวิชาการจดหมายเหตุในการนำมาประกอบการพิจารณาดำเนินงานในขั้นตอนการติดตามรับมอบเอกสาร การประเมินคุณค่าเอกสาร และการจัดหมวดหมู่เอการจดหมายเหตุออกให้บริการ

๙.๔ ได้มีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมสัมมนา

๙.๕ ได้มีการประสานการทำงานร่วมกันในอนาคต และต่อยอดการศึกษาค้นคว้าวิจัย

๙.๖ เปิดโอกาสให้ได้นำบทความวิชาการที่นำเสนอไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารวิชาการระดับนานาชาติ

 

 

นางสาวนันทกา พลชัย ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ

(จำนวนผู้เข้าชม 936 ครั้ง)


Messenger