ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ


          วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๑ นายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้นำข้าราชการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ในจังหวัดจันทบุรี ร่วมแต่งกายชุดไทย ร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งถือเป็นวันอนุรักษ์มรดกไทย           โดยกิจกรรมในภาคเช้าเป็นพิธีทำบุญพระสงฆ์จำนวน ๑๐ รูป และมีการลงนามถวายพระพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยพลเรือตรี นพดล ปัญญาโฉม รองผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด เป็นประธานกล่าวถวายราชสดุดี           ต่อมานายวิทูรัช ศรีนาม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการซึ่งจัดโดยหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากรประกอบด้วยหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี, กองโบราณคดีใต้น้ำ และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี โดยหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรีได้จัดทำชุดนิทรรศการชุด "บรรพโบราณสร้าง ปริวงศ์วานจันท์สืบสาน"           ในช่วงค่ำ นายวิทูรัช ศรีนาม เป็นประธานในพิธีถวายราชสดุดี และถวายพระพรชัยมงคลต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ โดยมีการจัดแสดงการประกวดการแต่งกายด้วยผ้าไทย และตลาดพื้นบ้านจากสภาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี



พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง สมเด็จพระนารายณ์: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/pranarai       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้ทรงรวบรวมโบราณวัตถุที่พบในจังหวัดลพบุรี และจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงโบราณวัตถุที่พระที่นั่งจันทรพิศาลภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ เปิดให้เข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2467 และได้ประกาศเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 2504   ข้อมูลเฉพาะที่บอกลักษณะเด่นและลักษณะเฉพาะที่มีในนิทรรศการจัดแสดง         พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์   นับว่ามีการจัดแสดงนิทรรศการโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่มีลักษณะเด่น โดยสามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของเมืองลพบุรี ตั้งแต่อดีตต่อเนื่องจวบจนปัจจุบันได้อย่างลงตัว ด้วยพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของเมืองลพบุรีที่มีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว) และเข้ามาสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือศิลปะทวารวดี ศิลปะลพบุรี  ศิลปะอยุธยา  ศิลปะรัตนโกสินทร์ จนถึงวิถี ผู้คน ตัวตน คนลพบุรี  นักท่องเที่ยวสามารถศึกษาข้อมูลในอดีตโดยผ่านการลำดับเรื่องของโบราณวัตถุที่จัดแสดง ซึ่งสะท้อนพัฒนาการในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ภาษา ศาสนา ความเชื่อ เทคโนโลยีการดำรงชีวิต การติดต่อเชื่อมโยงทางด้านการค้า วัฒนธรรมกับดินแดน อื่นๆ รวมทั้งความงามทางศิลปะของประติมากรรม สถาปัตยกรรม  ที่ส่งผ่านตามยุคสมัยได้อย่างลงตัว    การจัดแสดงนิทรรศการทางประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนารายณ์   นับว่าเป็นข้อมูลที่สร้างความสนใจให้กับผู้เข้าชมเป็นจำนวนมากด้วยพระราชกรณียกิจที่สำคัญในด้านการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สถาปัตยกรรมและสิ่งก่อสร้าง ที่เป็นโบราณสถานที่บอกเล่าเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้เป็นอย่างดี



ประกาศกรมศิลปากร  เรื่อง ขยายระยะเวลาปิดให้บริการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น  เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม - 6 เมษายน 2554  ประกาศ ณ วันที่ 14 มกราคม 2554


โครงการฝึกอบรมด้านศิลปกรรมสำหรับบุคคลทั่วไป   เรื่อง “งานประดับมุก”   ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2555   ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11 - 15 มิถุนายน 2555       หลักฐานในการสมัคร (สามารถนำมาให้เจ้าหน้าที่ในวันลงทะเบียน)   1. รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1 นิ้ว (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)   2. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาทะเบียนบ้าน   หมายเหตุ  ทางสำนักช่างสิบหมู่จะออกค่าใช้จ่ายในผลงานชิ้นแรกของการฝึกอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนด       การส่งใบสมัคร (สามารถโหลดใบสมัครได้ที่ไฟล์แนบด้านล่าง)   สมัครด้วยตนเอง  ชั้น 2 อาคารศูนย์ศิลปะและการช่างไทย สำนักช่างสิบหมู่ ถนนพุทธมณฑลสาย 5 จ.นครปฐม  เวลา 09.00 - 16.00 น.   สมัครทาง E-mail : chang10mue@hotmail.com      สมัครทางโทรสาร : 02-482-1399   ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 02-482-1399 ในเวลาราชการ       ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการฝึกอบรม  ครั้งที่ 1 วันที่ 25 พฤษภาคม 2555  ครั้งที่ 2 วันที่ 8 มิถุนายน 2555   http://www.facebook.com/ศูนย์ศิลปะและการช่างไทย  หรือ  http://www.finearts.go.th/traditionalart


วันพฤหัสบดีที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ คณะครูและนักศึกษา กศน.อำเภอเมืองนครราชสีมา จำนวน ๕๓ คน เข้าเยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา รับฟังการบรรยายเรื่อง "เอกสารโบราณ" และฝึกจารใบลานด้วยอักษรขอม โดย นางสาวอุไร คำมีภา นักภาษาโบราณปฏิบัติการ และนางอุษา ลีลามโนธรรม เจ้าพนักงานห้องสมุดชำนาญงาน ปฏิบัติหน้าที่เป็นวิทยากร




การประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมาประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ (ครั้งที่ ๒)วันศุกร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา



          ในการที่มนุษย์จะเดินเรือไปยังดินแดนส่วนต่างๆ ของโลก เครื่องมือที่นักเดินเรือจำเป็นต้องมีติดตัวไว้ตลอดก็คือแผนที่ ซึ่งทำให้นักเดินเรือสามารถรู้ตำแหน่งของสถานที่ ที่จะเดินทางไป และในครั้งนี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี ขอนำเสนอแผนที่โบราณที่เก่าแก่ที่สุดฉบับหนึ่งของโลก คือ แผนที่โลกของปโตเลมี (Ptolemy World Map)           แผนที่ปโตเลมี คาดว่าเขียนขึ้นราว ค.ศ. 100 โดย คลอดิอุส ปโตเลมี นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย (เมืองท่าสำคัญในอียิปต์สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ราว 300 ปีก่อนคริสตศักราช) โดยแผนที่ปโตเลมีได้อธิบายดินแดนที่เป็นที่รับรู้ในโลกโบราณ เช่น ยุโรป คาบสมุทรอาหรับ อินเดีย จีน รวมไปถึงดินแดนที่เรียกว่าแผ่นดินทองหรือสุวรรณภูมิ โดยการเขียนแผนที่ของปโตเลมีนั้นได้รวบรวมข้อมูลจากคำบอกเล่าของพ่อค้า นักเดินทาง ที่เคยเดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของโลกมาแล้ว            จุดเด่นของแผนที่ปโตเลมีนอกจากจะอธิบายดินแดนต่างๆ แล้ว ยังมีการระบุเส้นละติจูด และลองจิจูด เพื่อบอกตำแหน่ง และใช้องค์ความรู้ด้านภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์มาใช้ในการเขียนแผนที่ สมัยต่อมาแผนที่ของปโตเลมีได้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายโดยนักเดินเรือชาวอาหรับ ส่วนในยุโรปนำมารื้อฟื้นในราวศตวรรษที่ 15 โดยเป็นแผนที่ ที่นักเดินเรือชาวโปรตุเกสและโคลัมบัส ใช้เป็นแนวทางในการเดินทางสำรวจโลก            ที่สำคัญอีกอย่างนึงคือ แผนที่ปโตเลมี มีการกล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิ โดยลักษณะของแผนที่ได้วาดเป็นรูปดินแดนที่ยื่นออกไปในมหาสมุทร และเขียนกำกับด้วยคำว่า "avrea cersonese แปลว่า แผ่นดินทอง" โดยระบุตำแหน่งให้ดินแดนนี้อยู่ระหว่างอินเดีย และจีน            แผนที่ของปโตเลมี แม้จะมีการใช้มาตราส่วน แต่ก็มีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก เนื่องจากการเขียนแผนที่ของปโตเลมีนั้น ใช้ข้อมูลจากการบอกเล่า และการคำนวนทางคณิตศาสตร์เป็นหลัก โดยผู้เขียนแผนที่ไม่ได้เดินทางไปยังดินแดนต่างๆ ด้วยตัวเอง อ้างอิง 1. แผนที่แผนทางในประวัติศาสตร์โลกและสยาม.ไมเคิล ไรท์,2548 2. ประวัติความเป็นมาของแผนที่ , รศ.ทวี ทองสว่าง ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี https://www.facebook.com/207171695986671/posts/3867519976618473/




Messenger