ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

***บรรณานุกรม***     ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ     ปีที่ 16(7)      ฉบับที่ 653(247)    วันที่ 2-15 พฤษภาคม 2534




---วัดตระพังเงิน--- ---วัดตระพังเงินตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสุโขทัยหรือทางทิศตะวันตกของวัดมหาธาตุ มีเจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม มีวิหารประกอบอยู่ด้านหน้า ลักษณะที่เด่นของเจดีย์ทรงดอกบัวตูมของวัดนี้ คือมีจระนำที่เรือนธาตุทั้งสี่ด้านสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปยืนและเดิน(ลีลา) ซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ทรงดอกบัวตูมในที่อื่น ๆ ---ด้านตะวันออกของเจดีย์ประธาน เป็นเกาะมีอุโบสถ(โบสถ์)ตั้งอยู่กลางสระน้ำตามคตินทีสีมาหรืออุทกสีมา ที่ใช้น้ำในความหมายของความบริสุทธิ์ของขอบเขตที่กันไว้เป็นเขตสำหรับให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรม ส่วนคำว่า ตระพัง เป็นคำภาษาเขมร แปลว่า สระน้ำ ๔. กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙



ชื่อเรื่อง                           ชมฺพูปติสุตฺต (มหาชมพูบดีสูตร)สพ.บ.                             178/2ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           60 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง                                 มหาชมพูบดีสูตรบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี



เลขทะเบียน : นพ.บ.108/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  28 หน้า ; 5.2 x 57 ซ.ม. : ทองทึบ-ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 61 (179-187) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา (เวสฺสนฺตรชาตก) ชาตกฎฺฐชาตก ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (วณฺณพระเวสส-จุลพล) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.142/6ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  44 หน้า ; 4.6 x 55.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 85 (340-345) ผูก 6 (2564)หัวเรื่อง : สงฺคีติกถา (ปถมพระสงฺคายนา-จตุตถพระสงฺคายนา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.89/12ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  56 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 12 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม



สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.11/1-5 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ประชุมพงศาวดาร เล่ม 26 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 44)ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯสำนักพิมพ์ : องค์การค้าคุรุสภา จำนวนหน้า : 316 หน้าสาระสังเขป : คำแปลจดหมายเหตุของคณะพ่อค้าฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา ภาคที่ 5 นี้นับเป็นประชุมพงศาวดารภาคที่ 44 ได้ขอคัดภาษาฝรั่งเศสมาจากประเทศฝรั่งเศสใน พ.ศ.2463 หนังสือเหล่านี้ปรากฏว่ามีอยู่ 4 แห่งคือ 1. ที่ประทรวงว่าการเมืองขึ้นแห่ง 1 เป็นรายการและจดหมายต่างๆ ที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้รับจากประเทศสยาม 2. ที่กระทรวงทหารเรือแห่ง 1 เป็นสำเนาจดหมายและคำสั่งต่างๆ ที่ได้ส่งมายังประเทศสยาม 3.ที่กระทรวงต่างประเทศแห่ง 1 เป็นสำเนาหนังสือสัญยาและรายงานสำคัญที่คณะทูตฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาเมืองไทยในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทำเสนอเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศไว้ 4. ที่หอสมุดสำหนับนครแห่ง 1 เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ดที่เกี่ยวกับเมืองไทยในเวลานั้น มีทั้งต้นฉบับและสำเนาจดหมายเหตุที่เก็บอยู่ตามกระทรวงต่างๆ


     มหามกุฏราชสันตติวงศ์ : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา พระราชธิดาจากเจ้าจอมเมืองเพชรบุรี      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ ๓๖ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน (สกุลเดิม บุนนาค) ธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ซึ่งเกิดที่เมืองเพชรบุรีขณะบิดาเป็นเจ้าเมืองอยู่ และเป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออในรัชกาลที่ ๕  ประสูติเมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๒ (นับแบบปัจจุบันเป็นพุทธศักราช ๒๔๓๓) ทรงมีพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ      หลังประสูติกาล ได้มีการสมโภชเดือนพระเจ้าลูกเธอในเดือนมีนาคมปีเดียวกันนั้น โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระราชทานนามแก่พระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้ว่า "พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา" เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงพระอักษรที่โรงเรียนราชกุมารีในพระบรมมหาราชวัง และได้ครูจากโรงเรียนสุนันทาลัยมาถวายการศึกษาภาษาอังกฤษ ต่อมาเมื่อเจริญพระชันษาถึงกำหนดโสกันต์ ได้มีการจัดงานพระราชพิธีโสกันต์ขึ้นที่พระที่นั่งจักรีองค์กลาง มีการจัดโสกันต์ ๓ พระองค์ คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา      พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นครั้งประทับที่พระบรมมหาราชวัง หรือเมื่อเสด็จไปประทับที่พระราชวังดุสิต ก็ได้ตามเสด็จไปประทับที่พลับพลาในสวนดุสิต กระทั่งสร้างพระที่นั่งวิมานเมฆก็ได้ไปประทับอยู่ชั้นล่างของพระที่นั่งดังกล่าว และได้รับพระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ในพระราชวังดุสิต เรียกว่า “สวนพุดตาน” ให้เป็นที่ประทับร่วมกับพระเชษฐภคินีและเจ้าจอมมารดา นอกจากนี้ยังได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานที่ต่างๆ  เช่น ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๔ หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ และเสด็จประพาสต้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๗ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อยังเป็นพระเจ้าลูกเธออยู่นั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภาประทับอยู่กับพระเชษฐภคินีและพระมารดาในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขนาดใหญ่ ๒ ชั้น ด้วยทรงพระราชดำริว่าธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธฯ ได้ถวายตัวรับราชการหลายคน และยังเป็นที่ประทับของพระองค์เจ้าด้วย ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมมารดาอ่อน และพระราชธิดา ได้ประทับอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพุทธศักราช ๒๔๗๕ ได้ย้ายมาอยู่ที่ตำหนักซึ่งสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนราชสีมา สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กออ เรียกว่า "สวนนอก" ตำหนักนี้เรียกว่า “วังสวนปาริจฉัตก์” และทรงพำนักอยู่ที่นั่นตลอดพระชนม์ชีพ      ในรัชกาลที่ ๙ ทรงอยู่ในฐานะพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่  พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายใน และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙ ชั้นที่ ๑ เป็นพระเกียรติยศ  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๐๖ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์    เรียบเรียง : ณัฐพล  ชัยมั่น ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี กรมศิลปากร   อ้างอิง จงจิตรถนอม  ดิศกุล, หม่อมเจ้า. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา.กรุงเทพฯ : บริษัท คณะช่าง  จำกัด,๒๕๐๖. (พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๗ มีนาคม  ๒๕๐๖)  ศิลปากร, กรม. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว, ๒๕๕๔.


      สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีพระนามเดิม พระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็น พระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ประสูติเมื่อวันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา      ขึ้นเป็น "เจ้าฟ้า" พระองค์เป็นต้นราชสกุล จิตรพงศ์        ผู้เรียบเรียง : นางสาววารุณี วิริยะชูศรี บรรณารักษ์      เรียบเรียงภาพ : นางสาวกาญจนา ศรีเหรา บรรณารักษ์      ข้อมูลอ้างอิง สุรศักดิ์ เจริญวงศ์. สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “สมเด็จครู” ช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๔๙. พระประวัติ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. กรุงเทพฯ : บ้านปลายเนิน , ๒๕๓๗.


Messenger