ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

ชื่อเรื่อง                     ประชุมพงศาวดาร เล่ม 29 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 48 (ต่อ) -50) จดหมายเหตุราชทูตฝรั่งเศสในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และตำนานเมืองระนองผู้แต่ง                       -ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียเลขหมู่                      959.3 ป247 ล.29  สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 องค์การค้าของคุรุสภาปีที่พิมพ์                    2511ลักษณะวัสดุ               320 หน้าหัวเรื่อง                     พงศาวดารภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึกหนังสือชุดพงศาวดารเป็นหนังสือที่ให้ประโยชน์อย่างยิ่ง รวบรวมเรื่องเก่าๆ ที่มีสาระและคำอธิบายของผู้มีความรู้ในวิชาดังกล่าว  สำหรับค้นคว้าทางประวิตศาสตร์และโบราณคดีของไทย


ผู้แต่ง               :  เสริม บุณยรัตพันธุ์โรงพิมพ์           :  อักษรโสภณปีที่พิมพ์           :  2493ภาษา               :  ไทยรูปแบบ             :  PDFเลขทะเบียน      :  น.32บ.2142จบเลขหมู่             :  923                         ป287



เลขทะเบียน : นพ.บ.22/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  38 หน้า  ; 5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 11 (114-122) ผูก 7หัวเรื่อง : เทวทูตสูตร --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.44/9ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  46 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 26 (254-266) ผูก 9หัวเรื่อง :  มหานิปาตวณฺณนา --เอกสารโบราณ             คัมภีร์ใบลาน             พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง        :   ขงจื้อชื่อเรื่อง         :   สุภาษิตขงจู๊ กับ เรื่องนางเคงเกียงสอนบุตรครั้งที่พิมพ์      :   พิมพ์ครั้งที่ ๑๐สถานที่พิมพ์    :   กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์      :   มงคลการพิมพ์ปีที่พิมพ์         :   ๒๕๑๘จำนวนหน้า     :   ๑๐๐ หน้าหมายเหตุ        :  อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ นางชอ้ย  จำปาแดง ณ ฌาปนสถานคุรุสภา วัดสระเกศราชวรวิหาร  วันที่  ๒  ธันวาคม  พุทธศักราช ๒๕๑๘                    หนังสือเรื่อง สุภาษิตขงจู๊นี้ พระอมรโมลี สถิต ณ วัดราชบูรณะ ได้แปลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และในต้นฉบับสุภาษิตขงจู๊ยังมีเรื่องคนร้อยจำพวกจดไว้ข้างท้ายอีกเรื่องหนึ่ง  ส่วนเรื่อง นางเคงเกียงสอนบุตรนั้น เป็นสุภาษิตจีนที่มีคติสอนใจ


ชื่อเรื่อง : จดหมายจางวางหร่ำ ชื่อผู้แต่ง : พิทยาลงกรณ์, กรมหมื่น ปีที่พิมพ์ : 2503 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : คลังพิทยา จำนวนหน้า : 148 หน้า สาระสังเขป : จดหมายจางวางหร่ำ เป็นพระนิพนธ์ชิ้นเอกเรื่องหนึ่งของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กล่าวถึงจดหมายของจางวางหร่ำ เศรษฐีเมืองฉะเชิงเทราที่มีถึงบุตรชายผู้ซึ่งออกไปเรียนวิชาอยู่ในเมืองอังกฤษ จดหมายแต่ละฉบับจะบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ และมีโอวาทที่ดีสอนบุตรเสมอ เช่น สั่งสอนให้ประหยัดอดออม ไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือย แนะนำการใช้ชีวิตในต่างแดน และแนะนำเรื่องความรักเมื่อลูกชายคิดจะมีคู่ครอง เป็นต้น


ชื่อผู้แต่ง       -                  ชื่อเรื่อง         ตำนานพระเจ้า ๗ พระองค์ เชียงใหม่และประวัตินายทิพย์ช้าง ครั้งที่พิมพ์     - สถานที่พิมพ์  กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์    กรุงเทพการพิมพ์ ปีที่พิมพ์       ๒๕๑๗ จำนวนหน้า   ๑๐๖ หน้า หมายเหตุ    พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นางจินดา อินทะเคหะ                   หนังสือเรื่องตำนานพระเจ้า ๗ พระองค์ เชียงใหม่และประวัตินายทิพย์ช้าง เล่มนี้ ต้นฉบับเป็นตัวหนังสือธรรม ภาษาทางภาคเหนือ แต่งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕


เรื่องที่ 341 พระคัมภีร์ใบลานนี้ ได้มาจากวัดบุญญวาสวิหาร ต.ท่าใหม่ อ.ท่าใหม่ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2532 เป็นคัมภีร์อักษรขอมทั้งผูก ชื่อเรื่องแปลเป็นภาษาบาลี-ไทย ตัวอักษรหนังสือเป็นเส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา มีทั้งหมด 10 ผูกเนื้อหาเกี่ยวกับอรรถกถาธรรม เรื่องวัตถุทาน ซึ่งคำว่าทาน ทานที่แปลว่า วัตถุที่พึงให้ ย่อมาจาก "ทานวัตถุ" หมายถึงสิ่งของสำหรับให้หรือสำหรับเสียสละให้ผู้อื่น ได้แก่สิ่งของที่ถวายพระ สิ่งของที่ควรนำไปให้เพื่อตอบแทนบุญคุณแก่ผู้มีพระคุณ เช่นพ่อแม่ ครู อาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ เรียกว่าไทยทาน บ้าง ไทยธรรม บ้าง มี 10 อย่าง ทานสูตร ได้แก่ อาหาร, น้ำ, เครื่องนุ่งห่ม, ยานพาหนะ, มาลัยและดอกไม้, ของหอม (ธูปเทียน), เครื่องลูบไล้ (สบู่เป็นต้น), ที่นอน, ที่อยู่อาศัย, และประทีป (ไฟหรือไฟฟ้า) การให้ทานวัตถุ 10 อย่างนี้มีผลอานิสงส์มากเพราะเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์อย่างเดียว ไม่มีโทษ ไม่มีพิษภัยแก่ผู้รับ การเลือกของที่จะให้บัณฑิตสรรเสริญ ด้วยจิตใจที่ดีงาม การให้ทานมีวัตถุประสงค์สำคัญในการคลายความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ความโลภในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้เกิดความ ใส สว่าง สะอาดของจิตใจขึ้นมาเลขทะเบียน จบ.บ.347/1-10


ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดแพร่ ผู้แต่ง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปีที่พิมพ์ : 2542 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร


ประชุมคณะทำงานโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเสมาณ ห้องประชุม สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาวันจันทร์ที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗



รวบรวมภาพ พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร ในขณะครองราชย์ ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนารถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2553                 ผู้แต่ง                           สำนักงานเสิมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล                 โรงพิมพ์                        ด่านสุทธาการพิมพ์                 ปีที่พิมพ์                        2553                ภาษา                            ไทย - อังกฤษ                 รูปแบบ                          pdf                 เลขทะเบียน                   หช.จบ. 156 จบ (ร)   (202)


ภาพที่ ๑ ทับหลังพระศิวะ พระคเณศ สกันทกุมาร จากปราสาทพิมาย           ทับหลัง ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรในประเทศไทย) พุทธศตวรรษที่ ๑๗ จากปราสาทพิมาย อำเภอ พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ตรงกลางทับหลังสลักภาพพระศิวะประทับนั่งเหนือสิงห์ ฝั่งขวาสลักภาพพระคเณศประทับนั่งเหนือช้าง ฝั่งซ้ายสลักภาพสกันทกุมารประทับนั่งเหนือนกยูง โดยทั้งสามองค์ประทับนั่งภายในซุ้มเรือนแก้ว สลักภาพท่อนพวงมาลัยออกจากงวงช้างและนกยูง ท่อนพวงมาลัยด้านบนเป็นลายใบไม้ชี้ตั้งซ้อนและด้านล่างท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ม้วนห้อยลง ด้านขวาของทับหลังปลายท่อนพวงมาลัยสลักเป็นลายพันธุ์พฤกษา           พระศิวะ เทพในศาสนาพราหมณ์ฮินดู เป็นผู้ทำลายโลกเพื่อให้เกิดการสร้างใหม่ ลักษณะเด่นทางประติมานวิทยาคือ มีพระเนตรที่สามที่พระนลาฏ มีสังวลาย์เป็นงูพันอยู่ที่คอ ถือตรีศูล ทรงโคนนทิเป็นพาหนะ ชายาคือพระนางอุมา มีพระโอรสสององค์คือ พระคเณศ สกันทกุมาร ในลัทธิไศวนิกายนั้นนับถือพระศิวะเป็นใหญ่ โดยพระศิวะเป็นผู้สร้างและเป็นแก่นแท้ของโลก           พระคเณศ ส่วนเศียรเป็นช้าง มีงาเดียว กายเป็นมนุษย์ เป็นเทพเจ้าผู้ขจัดอุปสรรคและให้สัมฤทธิ์ผล เป็นโอรสของพระศิวะกับพระนางอุมา คัมภีร์ศิวะปุราณะ กล่าวถึงการกำเนิดของพระคเณศว่า พระศิวะให้เศียรช้างต่อเข้ากับร่างมนุษย์ และชุบชีวิตให้ฟื้น นอกจากนี้พระคเณศยังปรากฎพระนามที่หลากหลาย หนึ่งในนามของพระองค์ มีชื่อเรียกว่า สกันทปูรฺวชะ แปลว่า ผู้เกิดก่อนพระสกันทะ           สกันทกุมาร หรือ ขันทกุมาร เทพเจ้าแห่งสงคราม เป็นโอรสของพระศิวะ สกันทกุมารมีหลายชื่อ เนื่องจากมีการเล่าถึงการกำเนิดของสกันทกุมารแตกต่างกันไป โดยมีนามเรียกชื่อหนึ่งคือ กรรติเกยะ เกี่ยวข้องกับการที่นางกฤติกาเป็นผู้เลี้ยงดู คัมภีร์ปุราณะกล่าวว่า สกันกุมารเป็นโอรสของพระศิวะ รูปปรากฏของพระองค์ลักษณะเป็นเด็กหนุ่มเยาว์วัย บางภาคปรากฎมีหกเศียร ถือหอก รวมทั้งมีอาวุธที่ได้รับจากเทพต่างๆที่หลากหลายเช่นกัน มีพาหนะเป็นนกยูง ถือธงรูปไก่ โดยจากรูปนั้นเป็นประติมากรรมสกันทกุมารนั่งเหนือพาหนะนกยูง (ภาพที่ ๒) ภาพที่ ๒ ประติมากรรมสกันทกุมาร จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพนมเปญ Skanda ,Toeuk Chha,Kampong Siem,Kampong Cham 7th – 8th C. ภาพที่ ๓ แผ่นหินทรายสลักภาพพระศิวะ พระคเณศ สกันทกุมาร จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพนมเปญ Triad of Shiva,Ganesa and Skanda Chikreng,Kampong Thom 12th C ภาพที่ ๔ The Hindu Gods Ganesha, Shiva, and Karttikeya on Their Mounts Cambodia, 10th century , Los Angeles County Museum of Art ที่มาภาพจาก Los Angeles County Museum of Art           การปรากฏประติมากรรมกลุ่มพระศิวะ พระคเณศ สกันทกุมาร ในลักษณะรูปภาพที่๑ ภาพที่๓ และภาพที่๔ เป็นภาพครอบครัวพระศิวะ ประกอบด้วยโอรสทั้งสองของพระศิวะ คือ พระคเณศและสกันทกุมาร องค์ประกอบของภาพคือ พระศิวะอยู่ตรงกลาง มีพระคเณศและสกันทกุมารอยู่ด้านข้างของพระศิวะ โดยแต่ละองค์นั่งเหนือพาหนะของตนหรือยืนตรงถือสิ่งของ ภาพสลักรวมตัวกันของพระศิวะ พระคเณศ สกันทกุมาร เป็นภาพปรากฏในรูปครอบครัวของพระศิวะ ซึ่งขาดเพียงแต่พระนางอุมา            เมื่อเทียบเคียงทับหลังสลักภาพพระศิวะ พระคเณศ สกันทกุมารของปราสาทพิมาย (ภาพที่ ๑) กับแผ่นหินทรายสลักภาพพระศิวะ พระคเณศ สกันทกุมารจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพนมเปญ(ภาพที่ ๓) ทั้งสามองค์ ประทับยืน โดยมีพระศิวะอยู่ตรงกลาง พระคเณศอยู่ฝั่งขวา และสกันทกุมารอยู่ฝั่งซ้าย ลักษณะทางประติมานวิทยาของภาพสลักนี้ขาดความชัดเจนในเรื่องของการถือสิ่งของและพาหนะของเทพแต่ละองค์ แต่จากรูปแบบโดยรวมแล้ว สันนิษฐานว่าเป็นรูปพระศิวะ พระคเณศ สกันทกุมาร นอกจากนี้ยังพบหินทรายแกะสลักรูปแบบใกล้เคียงกัน คือ ประติมากรรมหินทรายจาก Los Angeles County Museum of Art (ภาพที่ ๔) ลักษณะที่ปรากฏ มีความชัดเจนในการบ่งชี้ได้ว่าเป็นภาพสลักกลุ่มพระศิวะ พระคเณศ สกันทกุมาร อีกทั้งการที่กลุ่มเทพทั้งสามนั่งเหนือพาหนะของแต่ละองค์นั้น มีความคล้ายกับทับหลังภาพสลักพระศิวะ พระคเณศ สกันทกุมารจากปราสาทพิมายด้วย กล่าวโดยรวมการจัดวางตำแหน่งนั้นมีความคล้ายกันทั้งสามชิ้น(ภาพที่๑,ภาพที่๓-๔) ลักษณะดังกล่าวเป็นการปรากฏซ้ำของพระศิวะ พระคเณศ สกันทกุมาร แสดงถึงการรวมกลุ่มของเทพครอบครัวของพระศิวะ มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับพระศิวะและพระนางอุมา รวมไปถึงได้รับอาวุธจากพระศิวะในฐานะโอรส ภาคปรากฏรวมกันสามองค์นั้นเปรียบเสมือนการช่วยเสริมสร้างแนวความคิดของพระศิวะผู้เป็นใหญ่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ งานจิตรกรรมในยุคหลังนิยมวาดภาพครอบครัวของพระศิวะ โดยมีพระศิวะ พระนางอุมา พระคเณศ สกันทกุมาร และโคนนทิอยู่ในกลุ่มภาพดังกล่าวอีกด้วย (ภาพที่ ๕) ภาพที่ ๕ Shiva and his family at the burning ground. Parvati, Shiva's wife, holds Skanda while watching Ganesha (left) and Shiva string together the skulls of the dead. The bull Nandi rests behind the tree. Kangra painting, 18th century; in the Victoria and Albert Museum, London ที่มาภาพจาก Victoria and Albert Museum, London           นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมสำริดพระศิวะในกลุ่มภาพครอบครัวในรูปแบบของ โสมาสกันทะ (ภาพที่ ๖) เป็นรูปปรากฏของพระศิวะ พระอุมา โดยมีสกันทกุมารอยู่ตรงกลาง นิยมอยู่ในทางตอนใต้ของอินเดีย ภาพที่ ๖ โสมาสกันทะ ที่มาภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Somaskanda#/media/File:Somaskanda           ในขณะที่ภาคปรากฏของพระศิวะคู่กับพระอุมานั้น อยู่ในรูปแบบอุมามเหศวร (ภาพที่ ๗) และอรรธนารีศวร (ภาพที่ ๘) พระศิวะปรากฎคู่กับศักตินั้นเปรียบเสมือนการเป็นพลังอำนาจที่สนับสนุน ศักติ หมายถึง เทวีผู้เป็นชายาของเทพ กำเนิดมาเพื่อเสริมอำนาจให้แก่สามี และทำให้เกิดความสมดุลของจักรวาล ภาพที่ ๗ ทับหลังอุมามเหศวร บรรณาลัยทิศใต้ ปราสาทสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ ภาพที่ ๘ อรรธนารีศวร ศิลปะลพบุรี (ศิลปะเขมรในประเทศไทย) พุทธศวรรษที่ ๑๑ – ๑๓ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี ----------------------------------------------------ข้อมูลโดย นางสาวอทิตยา ถิระโชติ ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ----------------------------------------------------ข้อมูลอ้างอิง - อรุณศักดิ์ กิ่งมณี.ตรีมูรติ อภิมหาเทพของฮินดู.กรุงเทพ:เมืองโบราณ,๒๕๕๑. - อรุณศักดิ์ กิ่งมณี.เทพฮินดู ผู้พิทักษ์พุทธสถาน.กรุงเทพ:มิวเซียมเพรส,๒๕๕๑. - สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร.พระคเณศ เทพแห่งศิลปากร Ganesha:Lord of Fine Arts.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์สมาพันธ์ จำกัด,๒๕๕๔ - สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.ศัพทานุกรมโบราณคดี.กรุงเทพ:รุ่งศิลป์การพิมพ์(๑๙๗๗), ๒๕๕๐


   วันเยาวชนแห่งชาติ ได้เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๘ เนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นปีเยาวชนสากล และได้ขอให้ประเทศสมาชิกร่วมเฉลิมฉลองปีเยาวชนสากลภายใต้คำขวัญว่า "Participation, Development and Peace” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” โดยมีความหมายที่เยาวชนทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติได้ คือ          ร่วมแรงแข็งขัน (Participation) หมายถึง การยอมรับในศักยภาพของแต่ละบุคคล ที่จะสามารถวินิจฉัยและตัดสินใจในเรื่องของตนเอง และตระหนักว่าตนมีโอกาส และพึงพอใจที่จะใช้โอกาสด้วยตนเองอย่างเกิดคุณค่าโดยไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ใด การที่เยาวชนมีส่วนร่วมและมีบทบาทต่อชาติบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่นั้น ถือเป็นความสำเร็จของสังคมและประเทศชาติเป็นสำคัญ          ช่วยกันพัฒนา (Development) คือ การพัฒนานั้นสามารถมองได้ ๒ มิติ มิติแรก คือ การพัฒนาตนเองของแต่ละบุคคล มิติที่สองคือ การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ หากบุคคลพัฒนาตนเองได้ดีก็จะเป็นกำลังสำคัญและมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ และอีกด้านหนึ่งการพัฒนาสังคมและประเทศชาติก็จะเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาของบุคคลด้วย ดังนั้น กระบวนการพัฒนาทั้ง ๒ ส่วนนี้ จึงมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน เนื่องจากในสภาวะปัจจุบัน ความร่วมมือในระดับนานาชาติ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ          ใฝ่หาสันติ (Peace) สันติภาพถือเป็นหลักการพื้นฐานของชีวิต ความต้องการสันติภาพ เป็นความต้องการของสากลโลก ที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อให้เกิดสันติภาพ เยาวชนทุกคนจึงต้องร่วมมือกันผลักดันให้เกิดมาตรการที่จะสร้างความเชื่อมั่นในวิถีการพัฒนาด้วนสันติ และสร้างสำนึกสันติภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝัง อบรมสั่งสอนเยาวชนให้รู้จักเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และสิทธิมนุษยชน มีความอดทนอดกลั้น ความเป็นประชาธิปไตยและเสรีภาพพื้นฐาน           สำหรับในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๒๘ ให้วันที่ ๒๐ กันยายนของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ด้วยเหตุผลว่าเป็นวันที่เป็นสิริมงคล เนื่องจากตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรีถึงสองพระองค์ด้วยกัน คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) ซึ่งทั้งสองพระองค์ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในขณะที่ยังทรงพระเยาว์เหมือนกัน ดังนั้น เยาวชนไทยจึงควรสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณของล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ ด้วยการพัฒนาตนเองและประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ           นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ตั้งเป้าหมายของวันเยาวชนแห่งชาติว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป เยาวชนของชาติ จะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชนและประเทศชาติให้มีความเจริญและมั่นคง โดยต้องเริ่มจากการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีค่านิยมที่พึงประสงค์ รู้จักการอดออมและประหยัด ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตลอดจนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวมและประเทศชาติ สำหรับคุณสมบัติของเยาวชนที่พึงประสงค์นั้น จะมี ๖ ประการด้วยกัน คือ          ๑. มีความผูกพันในครอบครัว ภาคภูมิใจในความเป็นไทยและดำรงชีวิตด้วยการรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น          ๒. มีสุขภาพแข็งแรงรู้จักป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติด          ๓. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ จริยธรรม คุณธรรม และมีความรับผิดชอบเป็นไปตามวัย          ๔. มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน และภาคภูมิใจในการทำงานที่สุจริต          ๕. รู้จักคิดอย่ามีเหตุผลและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง          ๖. รู้จักช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ          เนื่องในวันเยาวชนแห่งชาติปีนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนำคำสอนของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ท่าน ว.วิชรเมธี) ที่ขอให้เยาวชนพึงระวังใน ๔ เรื่องด้วยกัน เพื่อเตือนสติไม่ให้เยาวชนไทยใช้ชีวิตด้วยความประมาท คือ          ๑. อย่าคบเพื่อนชั่ว ถ้าคบแล้วชีวิตของเราแย่ลง เราเรียกว่าเพื่อนชั่ว          ๒. คบเพื่อนที่ดี สำหรับวัยรุ่นเพื่อนคือคนที่สำคัญที่สุด บางทีสำคัญกว่าพ่อแม่ หลักของเพื่อนที่ดี นั้นหาง่ายมาก ถ้าเพื่อนคนนั้นเราคบแล้วชีวิตของเราดีขึ้นทุกวัน นั่นแหละเราเรียกว่าเพื่อนดี          ๓. อย่าไปยุ่งกับยาเสพติด พูดได้ว่า ถ้าเราไปยุ่งกับยาเสพติดเมื่อไหร่ พูดได้ว่าหมดอนาคตไปแล้วครึ่งหนึ่งอย่างแน่นอน          ๔. ให้ระมัดระวังเรื่องรักในวัยเรียน ถ้ารักเป็น การเรียนของเราก็จะดีขึ้น ในวัยเรียนสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง คือ เรื่องเรียน หากมีความรักก็ต้องรักด้วยสมอง อย่าให้รักนั้นขึ้นสมอง หากรักขึ้นสมองเมื่อไหร่ เรื่องเรียนจะแย่เมื่อนั้น          กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขอเชิญชวนให้น้องๆ เยาวชนนำคำสอนของพระอาจารย์ ว.วิชรเมธี มาเป็นคติเตือนใจในการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ดังเช่นที่พระอาจารย์ ว.วิชรเมธี ได้กล่าวไว้ว่า "หากเยาวชนทุกคนพึงระวังใน ๔ เรื่องนี้ได้ ชีวิตก็จะรุ่งโรจน์และประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน” 


Messenger