ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           35/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                       คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                              80 หน้า : กว้าง 4.5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง                                        พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 130/1 เอกสารโบราณ(คัมภีร์ใบลาน)


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 165/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



ชื่อเรื่อง                                        สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม  (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ.                                           20/1ประเภทวัดุ/มีเดีย                          คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                                     พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                                32 หน้า : กว้าง 5.2 ซม. ยาว 56.5 ซม.หัวเรื่อง                                       พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก               เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา




๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖  ครบรอบ ๖๙ ปี  วันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน กองอาสารักษาดินแดน เป็นองค์กรขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน หลักการสำคัญในการจัดตั้งคือ เพื่อมีกำลังสำรองไว้ช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติ ทั้งยามปกติ และยามสงคราม โดยรับสมัครราษฎรที่สมัครใจอาสาเข้ามาเป็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (สมาชิก อส.) จุดเริ่มต้นของกองอาสารักษาดินแดน ในช่วงนั้น มีความพยายามที่จัดตั้งหน่วยพลเรือนอาสาขึ้นให้เป็นระบบ ทั้งในยามปกติและสงคราม มีการนำแนวคิดจากต่างประเทศมาใช้หลังจากมีการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้น ทำให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ พ.ศ. ๒๔๘๑ และพระราชบัญญัติให้อำนาจในการเตรียมการป้องกันประเทศ พ.ศ. ๒๔๘๔ ขึ้น เพื่อฝึกอบรมคนไทยให้รู้จักหน้าที่ในการที่จะป้องกันรักษาประเทศชาติในเวลาสงคราม โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ  มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. ๒๔๙๗ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗ ทำให้การดำเนินการด้านพลเรือนอาสา มีรูปแบบและระบบที่ชัดเจน ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน “ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ของทุกปี จึงเป็นวันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน ” ขอขอบคุณข้อมูลจาก กองอาสารักษาดินแดน จัดทำโดย พัชมณ ศรีสัตย์รสนา บรรณารักษ์ชำนาญการ


ชื่อเรื่อง : เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พร้อมด้วย พระประวัติ และพระนิพนธ์บทร้อยกรอง ฉบับตรวจสอบชำระใหม่มีภาพและแผนที่ประกอบเรื่องชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2505 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : หจก.ศิวพร จำนวนหน้า : 370 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องพระประวัติ และพระนิพนธ์บทร้อยกรอง ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศ พระราชนิพนธ์บทร้อยกรองอันได้แก่บทเห่เรือ 1. เห่ชมเรือกระบวร 2. เห่ชมปลา 3. เห่ชมไม้ บทเห่เรื่องกากี บทเห่สังวาสและเห่ครวญ กาพย์ห่อโคลง นิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลง นิราศธารทองแดง นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง เพลงยาว ในส่วนของภาคผนวก ได้อธิบายเรื่อง อธิบายตำนานเห่เรือ บันทึกเรื่องธารโศกและธารทองแดง บันทึกเรื่องนันโทปนันสูตรและพระมาลัย


ชื่อผู้แต่ง            จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ 2342-2411 ชื่อเรื่อง             พระคาถา ตำนานพระแก้วมรกฎสังเขป พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 4 ครั้งที่พิมพ์         - สถานที่พิมพ์      ม.ป.ท สำนักพิมพ์        ม.ป.พ. ปีที่พิมพ์            ๒๕25 จำนวนหน้า       28  หน้า    “คาถาตำนานพระแก้วมรกตสังเขป” นี้ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นคาถาภาษามคธไว้เมื่อพุทธศักราช 2397 คือเมื่อ 128 ปี มาแล้ว และพันพุฒอนุราช (นายสิน เปรียญ) แปลเป็นภาษาไทย มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ เห็นเป็นการสมควรและเป็นกาลที่เหมาะสม จึงได้จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานกรรมการบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อพระราชทานเป็นวิทยาทานในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พุทธศักราช 2525 นี้


เลขทะเบียน : นพ.บ.447/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 12 หน้า ; 5 x 54 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158  (149-162) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : เล่มหลวง--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


เลขทะเบียน : นพ.บ.596/1                      ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ                                                                                หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 4.5 x 56 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 191  (385-391) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : สลากริวิชาสูด--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม




          วันพฤหัสบดีที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๓.๓๐ น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกโปรดมีพระบัญชาให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้แทนพระองค์เปิดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" และนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร           เนื่องในโอกาสสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญ พระชนมายุครบ ๘ รอบ ๙๖ พรรษา นับเป็นมหามงคลสมัยยิ่ง กรมศิลปากรจึงได้จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ” ขึ้น ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดแสดงเรื่องราวของคตินิยมในการสร้างรูปแทนพระพุทธเจ้าเพื่อสักการบูชา การออกแบบท่าทางหรือการแสดงปางอันมีความหมายทางประติมานวิทยา และได้คัดเลือกพระพุทธรูป จำนวน ๘๑ องค์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปโบราณที่มีพุทธศิลป์งดงามเป็นพิเศษในแต่ละสกุลช่าง มีความโดดเด่น สะท้อนถึงคติความเชื่อทางศาสนาและสุนทรียภาพความงามที่แตกต่างกันไปในแต่ละสมัยมาจัดแสดงเพื่อให้เห็นพัฒนาการของพระพุทธรูปในประเทศไทย ได้แก่ พระพุทธรูปรุ่นเก่า หมายถึงพระพุทธรูปรุ่นแรกที่พบในดินแดนประเทศไทย ซึ่งเข้ามาพร้อม ๆ กับการติดต่อค้าขายกับโลกภายนอก ประมาณ ๘๐๐ – ๑,๗๐๐ ปีมาแล้ว พระพุทธรูปศิลปะทวารวดี พระพุทธรูปศิลปะศรีวิชัย พระพุทธรูปศิลปะลพบุรี พระพุทธรูปศิลปะล้านนา พระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย พระพุทธรูปศิลปะอยุธยา และพระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ โดยเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่จัดแสดงและเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทั่วประเทศ อาทิ หลวงพ่อเพชร วัดพระบรมธาตุวรวิหาร จังหวัดชัยนาท ศิลปะสุโขทัย จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะสุโขทัย จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก จังหวัดสุโขทัย พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน จังหวัดเชียงราย พระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา และพระเจ้าเข้านิพพาน ศิลปะรัตนโกสินทร์ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี            สำหรับนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โบราณวัตถุที่นำมาจัดแสดง อาทิ แผ่นไม้สลักเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงิน สมัยรัตนโกสินทร์ หนังสือสมุดไทย ฝาบาตรและเชิงบาตรประดับมุกที่ระลึกงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๕ นอกจากนี้ ยังมีงานศิลปกรรมในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และผลงานศิลปกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศ์ ซึ่งสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากรได้สร้างสรรค์ขึ้น อาทิ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ คนโทน้ำอภิเษก จังหวัดนนทบุรี หีบพระศรีพร้อมลูกหีบ ๓ องค์            ขอเชิญเข้าชมนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "พระพุทธรูปสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ" ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๐ กันยายน ๒๕๖๖ และนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)  


ปราสาทโคกงิ้วหรือปราสาทโคกปราสาท ตำบลปะคำ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์  ปราสาทโคกงิ้ว เป็นอาคารในส่วนของสุคตาลัยหรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล (อาโรคยศาลา) ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวคริสตศตวรรษที่ 12-13 หรือราว 800 ปีมาแล้ว ผังประกอบไปด้วยปราสาทประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีอาคารที่เรียกกันว่าบรรณาลัยอยู่ทางที่ตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อาคารทั้งสองหลังมีกำแพงแก้วโอบล้อมอาคารไว้ โดยมีโคปุระเป็นซุ้มประตูทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก ด้านนอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นสระน้ำผังสี่เหลี่ยม    จากการสำรวจเมื่อพ.ศ.2502 โดยภัณฑารักษ์เอกมานิต วัลลิโภดม พบโบราณวัตถุสำคัญได้แก่ 1. ประติมากรรมพระไภษัชยคุรุ 2. พระโพธิสัตว์อโวลกิเตศวประทับนั่ง 4 กร 3. กรอบคันฉ่อง ซึ่งปรากฏจารึกภาษาเขมร อักษรขอมโบราณ กล่าวถึงการถวายไทยธรรม (ซึ่งน่าจะหมายถึงกรอบคันฉ่องนี้) โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แก่อาโรคยศาลา ณ วิเรนทรปุระ เมื่อมหาศักราช 1115 (บางท่านอ่านเป็น 1114) ตรงกับ พ.ศ.1736 (หรือ 1735) นอกจากนี้จากการขุดศึกษาและบูรณะเมื่อ พ.ศ.2554 ยังพบโบราณวัตถุสำคัญอีกหลายชิ้น เช่น ทับหลังสลักภาพคชลักษมี, เสาประดับกรอบประตู ,ประติมากรรมรูปพระโพธิสัตว์วัชรปาณีทรงครุฑ,พระหัตถ์ด้านซ้าย ขวา ของพระอวโลกิเตศวร, เครื่องมือเครื่องใช้ และภาชนะดินเผาอีกจำนวนหนึ่ง จากการดำเนินงานทางโบราณคดีนี้ทำให้ทราบว่า คงมีการเคลื่อนย้ายองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมจากปราสาทหลังอื่นที่สร้างขึ้นในช่วงก่อนหน้ามาใช้ในปราสาทโคกงิ้วด้วย เนื่องจากทับหลังสลักภาพคชลักษมี และเสาประดับกรอบประตูที่พบ ภาพการบูรณะจากกลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ภาพถ่ายเก่าปราสาทโคกงิ้วจากโครงการและรายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2502


Messenger