ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.142/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  64 หน้า ; 4.6 x 55.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 85 (340-345) ผูก 5 (2564)หัวเรื่อง : สงฺคีติกถา (ปถมพระสงฺคายนา-จตุตถพระสงฺคายนา)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


ชื่อผู้แต่ง              ชื่อเรื่อง            อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นางพุด  สิทธิกุล   ครั้งที่พิมพ์       พิมพ์ครั้งแรก   สถานที่พิมพ์    กรุงเทพฯ     สำนักพิมพ์       กรุงสยามการพิมพ์    ปีที่พิมพ์           2517      จำนวนหน้า       136 หน้า    หมายเหตุ               พิมพ์ในงานฌาปนกิจศพนางพุด สิทธิกุล อ.ระโนด จ.สงขลา                 เนื้อหาสาระประกอบด้วยเรื่องปลุกใจศิษย์โดยพระพิศิษฐ์ธรรมภาณ(เปลื้อง  จต.ตาวิโล)เจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต-พังงา-กระบี่ (ธรรมยุต)ทางดำเนินแห่งชีวิตโดยณัฐวุฒิ  สุทธิสงคราม อบายมุขคำกลอนโดยนายสวัสดิ์  เจยาคมน์และภาคเบ็ดเตล็ดประกอบด้วยเรื่องความถนอมเวลา  ดีช่วยดี  แม่  ขี้เมา   โลกมนุษย์   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.11/1-4 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ซิยินกุ้ย ชื่อผู้แต่ง : -ปีที่พิมพ์ : 2511 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ จำนวนหน้า : 340 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องที่ 14 จากทั้งสิ้น 35 เรื่อง จากหนังสือชุดภาษาไทย ขององค์การค้าคุรุสภาจัดพิมพ์ขึ้น เป็นการแปลพงศาวดารจีน ตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีน อธิบายถึงซิยินกุ้ย ผู้เป็นทหารเอกคนหนึ่งของพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ มีฝีมือยอดเยี่ยมในการรบ มีความชำนาญในการใช้อาวุธต่าง ๆ โดยเฉพาะฝีมือทวนและยิงธนู


     เทศกาลตรุษจีน ตอนที่ ๑  จาก “ขนมจีน” สู่ “เกาเหลา” เรื่องเล่าจาก พิธีตรุษจีนหลวง       พิธีตรุษจีน นับเป็นพิธีสำคัญของชาวจีน เป็นการเซ่นไหว้ขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สำหรับความช่วยเหลือคุ้มครองในปีที่ผ่านมา และขอพรสำหรับการเริ่มต้นปีใหม่  ซึ่งจะมีการเซ่นไหว้เทพเจ้า บรรพบุรุษ และผีไร้ญาติ ซึ่งการไหว้ผีไร้ญาติ ชาวจีนโพ้นทะเลให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการรำลึกถึงเพื่อนผู้ร่วมชะตากรรมที่ออกมาแสวงหาชีวิตใหม่ในดินแดนใหม่ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีชาวจีนเดินทางเข้ามาในแผ่นดินสยามเป็นจำนวนมากกลุ่มชาวจีนได้มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจของสยามในขณะนั้นอย่างยิ่งซึ่งกลุ่มชาวจีนได้มีบทบาทสำคัญอย่างหนึ่งในระบบเศรษฐกิจของราชสำนักสยาม นั่นคือ การเป็นเจ้าภาษีนายอากร ผู้รับประมูลเก็บภาษีต่างๆ ส่งพระคลังหลวง ชาวจีนเหล่านี้ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนาง และในเวลาต่อมาจะเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะในสังคมสยาม      รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีน กลุ่มเจ้าภาษีนายอากร หรือผู้มั่งมีชาวจีนในกรุงเทพฯ ต่างนำสิ่งของมาทูลเกล้าฯ ทูลกระหม่อมถวาย เป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่า สิ่งของเหล่านี้ ควรจะได้เป็นไปในทางการกุศล จึงโปรดให้มีการพระราชกุศลขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว โดยให้มีการเลี้ยงพระสงฆ์ที่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย สามวัน      นอกจากนี้สิ่งของที่บรรดาชาวจีนนำมาถวายในเทศกาลตรุษจีนแล้ว ยังมีสิ่งหนึ่งซึ่งโปรดให้บรรดาเจ้านายพระราชวงศ์ ท้าวนางในราชสำนัก จัดมาร่วมในเทศกาลตรุษจีนด้วย สิ่งนั้น คือ “ขนมจีน”     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพรรณนาไว้ในพระราชนิพนธ์ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” ความว่า    “....ได้โปรดให้มีเลี้ยงพระสงฆ์ที่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยขึ้นทั้งสามวัน แต่ไม่มีสวดมนต์ พระสงฆ์ฉันวันละ ๓๐ รูป เปลี่ยนทุกวัน ...โปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ และท้าวนางข้างใน จัดเรือขนมจีนมาจอดที่หน้าตำหนักแพ พวกภรรยาข้าราชการผู้ใหญ่ๆ ที่ทรงรู้จักเคยเฝ้าแหนก็จัดเรือขนมจีนมาถวายผลัดเปลี่ยนเวรกันไปทั้งสามวัน ตัวก็มาเฝ้าด้วย แล้วให้ทนายเลือกกรมวังคอยรับขึ้นมาถวาย พระสงฆ์ฉันแล้วจึงได้เลี้ยงข้าราชการต่อไป...”        เทศกาลตรุษจีน จึงได้เข้าสู่ราชสำนักนับตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา และเป็นธรรมเนียมที่จะมีการถวายภัตตาหารและเลี้ยงขนมจีน เรื่อยมาจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ ๔  พระองค์ทรงมีความสนพระทัยในทางศาสนา ตลอดจนขนบธรรมเนียมต่างๆ อย่างยิ่ง ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการพระราชกุศลเนื่องในเทศกาลตรุษจีนว่าด้วยของเลี้ยงพระในเทศกาลนี้ ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าใน “พระราชพิธีสิบสองเดือน” ว่า    “... ครั้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า การที่ทำบุญตรุษจีนเลี้ยงขนมจีนนั้นไม่ใช่ของจีน เป็นแต่สักว่าชื่อเป็นจีน ให้ทำเกาเหลาที่โรงเรือยกเข้ามาเลี้ยงพระสงฆ์แทนขนมจีน เป็นของหัวป่าก์ชาวเครื่องทำ...”        ความสำคัญของเกาเหลา เมนูอาหารอย่างหนึ่งในครั้งนั้น ทำให้เกิดตำแหน่งขึ้นราชการครั้งนั้นด้วย คือ เจ้ากรมเกาเหลาจีน ซึ่งมีหลักฐานในราชกิจจานุเบกษาครั้งรัชกาลที่ ๔ ว่า  “...ให้ตั้งจีนเอ้ง เป็น ขุนราชภัตการ จางวางจีนช่างเกาเหลา พระราชทานให้ถือศักดินา ๕๐๐  ทำราชการตั้งแต่ ณ วันจันทร์ เดือนแปด บุรพาสารทแรมสิบค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก...”       ขุนราชภัตการผู้นี้ ต่อมาได้เลื่อนขึ้น เป็น หลวงราชภัตการ มีธิดาคนหนึ่งชื่อเพ็ง ถวายตัวทำราชการฝ่ายในเป็นนางละครหลวง เจ้าจอมอยู่งาน และเป็นเจ้าจอมมารดา  มีพระราชธิดาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้านงคราญอุดมดี  ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง ที่โปรดให้มีการตั้งเครื่องเซ่นสังเวยเทวรูปจากหอแก้วในพระบรมมหาราชวัง เชิญมาประดิษฐานในศาลเก๋งจีนข้างพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย พร้อมทั้งตั้งเครื่องสังเวยทั้งสามวัน  โปรดให้อาลักษณ์อ่านประกาศ โดย “...ขอพรข้างปลายเป็นการเทวพลีให้เข้าเค้าอย่างเช่นของจีน...”  รวมถึงโปรดให้มีการตั้งเครื่องเซ่นอย่างจีน ถวายหน้าพระพุทธรูปเพิ่มเติมไปด้วย  รวมถึงมีของถวายพระอย่างจีนจัดบรรทุกบนหลังโค คือ แตงอุลิด ขนมเข่ง กระเทียมดอง สิงโตน้ำตาลทราย ส้ม เป็นต้น       การพระราชกุศลเนื่องในเทศกาลตรุษจีน ยังมีมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในต้นรัชกาล ได้กลับไปใช้แบบแผนอย่างรัชกาลที่ ๓ โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน    “...ได้ขอกลับเปลี่ยนไปอย่างแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และขอให้มีเรือขนมจีนอย่างเก่า ให้ภรรยาของท่านและเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ จัดขนมจีนมาถวายและมาเฝ้าเหมือนอย่างแต่ก่อน ในการตรุษจีนสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ข้างจะเป็นธุระเห็นสุนกสนานมาก ตัวท่านเองก็อุตส่าห์มาเฝ้าพร้อมกับขุนนางทั้ง ๓ วัน ทุกๆ ปีมิได้ขาดเลย...”       “ขนมจีน” จึงได้กลับมาอีกครั้ง ในรัชกาลที่ ๕ ขณะเดียวกัน “เกาเหลา” นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าไว้ใน พระราชพิธีสิบสองเดือนไว้สั้นๆ ว่า “...แล้วผู้ทำก็ล้มตายหายจาก กร่อยๆ ลงก็เลยละลายหายไปเอง...” สันนิษฐานว่า กรมเกาเหลาจีน คงจะสิ้นสุดบทบาทลงในรัชกาลนี้ แต่ถึงแม้ว่ากรมเกาเหลาจีน จะไม่มีแล้ว แต่ก็ปรากฏว่า ข้าราชการเชื้อสายจีนคือ พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (เถียร)  และพระยาสวัสดิ์วามดิฐ (ฟัก) ได้นำนำเครื่องอย่างจีนตั้งถวายเป็นพระกระยาหาร เลี้ยงพระบรมวงศานุวงศ์ ดังปรากฏในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ภาคที่ ๑๓ จุลศักราช ๑๒๔๔ (พุทธศักราช ๒๔๒๕)   ความตอนหนึ่งว่า  “....เวลาเช้า ๕ โมงเศษ เสด็จออกทรงพระราชยานไปประทับพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ทรงจุดเทียนนมัสการ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ถวายศีลแล้ว ทรงประเคนพระสงฆ์รับพระราชทานฉันในการตรุษจีนเป็นคำรบ ๓ โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทูลกระหม่อมฟ้าชายพระองค์ใหญ่เสด็จไปจุดเครื่องสังเวยและปล่อยปลา ครั้นพระกลับแล้ว เสด็จออกขุนนางที่นั่น...แล้วเสด็จกลับมาประทับซิตติงรูมพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระราชทานโต๊ะเกาเหลาอย่างจีนเลี้ยงพระบรมวงศานุวงศ์ประทับโต๊ะเสวยด้วย เวลาบ่าย ๓ โมงเศษเลิก เสด็จขึ้น....”    ผู้เขียน : วสันต์  ญาติพัฒ  ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี   ภาพประกอบ : ท่าราชวรดิฐ สถานที่ประกอบการพระราชกุศลเลี้ยงพระเนื่องในเทศกาลตรุษจีน ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๕   อ้างอิง  จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค ๑๓.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๗๙. (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๙)  จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๓๓. กรุงเทพฯ :  โรงพิมพ์ตีรณสาร, ๒๕๑๔.(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระ บรมราชานุญาตให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงลัย เทพาธิบดี (ลัย บุนนาค) ต.จ. ณ เมรุวัด ธาตุทอง วันอาทิตย์ที่ ๑๔พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔) จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ : แสงดาว, ๒๕๕๖. ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ ๔.กรุงเทพฯ :สำนักราชเลขาธิการ, ๒๕๓๗. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายประกอบ  หุตะสิงห์ ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลา อิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ ๒๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗)  ศิลปากร, กรม. พระราชพิธีสังเวยพระป้าย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๐.







     มหามกุฏราชสันตติวงศ์ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ “นางหนูลูกรำเพย” ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราชที่ประสูติแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๓๙๘ เป็นพระขนิษฐาร่วมพระครรโภทรพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว      มีพระยศแต่แรกประสูติคือ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล เป็นพระราชธิดาลำดับที่สิบหกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และลำดับที่สองในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระองค์มีพระเชษฐาและพระอนุชา คือ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี และสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พุทธศักราช ๒๔๐๕ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าสถาปนา พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี ทรงรักใคร่เจ้าฟ้าจันทรมณฑลอย่างมาก กล่าวกันว่าพระบรมชนกนาถทรงเลี้ยงดูด้วยพระองค์เอง เวลาเสด็จไปไหนก็ทรงอุ้มหรือวางไว้บนตัก หากเวลาเสวยน้ำนมก็จะให้พระพี่เลี้ยงบีบจากถันลงถ้วยน้ำชา แล้วทรงป้อนด้วยช้อนทองขนาดเล็ก เมื่อเจริญวัยขึ้นก็ร่วมเสวยพระกระยาหารทุกวันโดยพระบิดาจะให้ประทับบนตักแล้วทรงป้อนกระยาหารให้ เมื่อจะเสด็จประพาสไปที่ใดก็จะมีเจ้าฟ้าจันทรมณฑลติดตามไปด้วยเสมอ ชาววังล้วนรักใคร่สรรเสริญ และเรียกพระองค์ว่า "ฟ้าหญิง" และปรากฏในพระราชหัตถเลขาของพระราชบิดาเรียกพระองค์ว่า "นางหนูลูกรำเพย" (รำเพยคือพระนามของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี)      แอนนา ลีโอโนเวนส์บันทึกไว้ว่า “สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงองค์น้อยผู้งดงามราวเทพธิดา ทรงเป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระองค์หญิงละม่อมและสมเด็จพระราชบิดามาก ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระราชบิดามักโปรดให้ประทับอยู่ใกล้ ๆ เมื่อเวลาเสวยพระกระยาหาร โปรดให้ประทับบนพระเพลา และโปรดให้ตามเสด็จพระราชดำเนินไปไกล ๆ ถึงอยุธยา” สมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑล เป็นพระราชกุมารีที่เฉลียวฉลาด ขณะที่พระองค์มีพระชนมายุเพียง ๓ ชันษาก็ทรงเรียนรู้วรรณคดีไทยอย่างดี เมื่อเริ่มทรงพระอักษรภาษาอังกฤษกับแอนนา ลีโอโนเวนส์ ก็โปรดปรานทรงเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและสามารถตรัสได้อย่างคล่องแคล่วในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน      ขณะที่สมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดีมีพระชันษาได้เพียง ๘ ปี ได้เกิดอหิวาตกโรคระบาดร้ายแรงขึ้นในกรุงเทพมหานคร อหิวาตกโรคได้ระบาดเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง นางทาสในตึกที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑลได้ล้มเจ็บและตายพร้อมกันสามคน ไม่กี่ชั่วโมงต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑลเองก็ประชวร และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๔๐๖ สร้างความโศกาอาดูรแก่พระราชบิดายิ่งนัก ลีโอโนเวนส์ได้บันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวนี้ไว้ว่าเมื่อเธอไปเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว "ก็พบพระองค์ยกพระหัตถ์ทั้งสองปิดพระพักตร์กันแสงอยู่ผู้เดียว ทรงตรัสเรียกพระธิดาด้วยถ้อยคำอ่อนโยน"      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จัดพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จเจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๖ (นับปีตามแบบเก่า) ออกพระเมรุพร้อมกับพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ากนิษฐน้อยนารี พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๒      ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นพระเชษฐาร่วมพระชนนี โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอัฐิขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๒๗   อ้างอิง ศิลปากร, กรม. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว, ๒๕๕๔. สุภัตรา ภูมิประภาสและสุภิดา แก้วสุขสมบัติ (แปล). อ่านสยามตามแอนนา : การบ้านและการเมืองใน         ราชสำนักคิงมงกุฎ. กรุงเทพฯ : มติชน, ๒๕๖๒.  เรียบเรียง : ณัฐพล  ชัยมั่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี



   สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของเอกสารประวัติศาสตร์เรื่อง “เอกสารเสด็จตรวจราชการเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. ๑๑๙ - ๑๓๑ (พ.ศ. ๒๔๔๓ - ๒๔๕๕ )” ซึ่งเป็นเอกสารที่ต่อเนื่องจากหนังสือเรื่อง “เอกสารเสด็จตรวจราชการเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ร.ศ. ๑๑๑ - ๑๑๗  (พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๒๔๔ ๑)” จึงดำเนินการตรวจสอบและจัดพิมพ์เพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวให้เป็นที่ปรากฏสืบไป


ชื่อเรื่อง                         ตำนานธาตุพนม (พื้นธาตุพนม)       สพ.บ.                           384/1ค หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ภาษา                           บาลี/ไทยอีสาน หัวเรื่อง                         พุทธศาสนา                                  พระธาตุพนม ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                   16 หน้า : กว้าง 5.5 ซม. ยาว 58.5 ซม.  บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ มีความรักและใส่ใจเรื่องภาษาไทยอย่างยิ่ง ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ใช้ภาษาไทยที่ดีทั้งการพูดและการเขียน ในการแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับภาษาไทยแต่ละครั้ง ท่านจะเน้นย้ำให้ทุกคนตระหนักในคุณค่า และ ความสำคัญของภาษาไทยเสมอ ดังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ภาษาไทย ภาษาแม่” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ความว่า “คนไทยที่เกิดและอาศัยอยู่ในแผ่นดินนี้ ย่อมรักและหวงแหนแผ่นดินเกิดของตน มีหน้าที่ทำความดีเพื่อทดแทนบุญคุณของแผ่นดิน การหวงแหนรักษาภาษาไทย ก็เป็นหน้าที่และเป็นการทดแทนบุญคุณอันยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน” และปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ภาษาไทย ของเรา” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ความว่า “ภาษาไทยเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นเครื่องแสดงความเป็นเอกราช แสดงวัฒนธรรมของชาติที่ได้สั่งสมมานานหลายศตวรรษ และเป็นสมบัติล้ำค่าซึ่งคนไทยต้องรักษา ดูแล และพัฒนาให้รุ่งเรืองอย่างมั่นคงตลอดไป”          นอกจากนี้ ท่านยังเห็นว่าภาษาถิ่นและประเพณีของภาคต่าง ๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ดังปรากฏในปาฐกถาพิเศษเรื่อง “วัฒนธรรมไทย สมบัติไทย” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๗ ความว่า “ สำหรับบ้านเรากล่าวได้ว่า ภาษาถิ่นบ้านเรามีอยู่สามภาษาด้วยกัน คือ ภาษาเหนือ ภาษาอีสาน และ ภาษาใต้ ภาษาถิ่นเป็นเรื่องที่บ่งบอกถึงสภาพสังคม ลักษณะนิสัยตลอดจนประเพณีการละเล่นของถิ่นนั้น ๆ ได้ชัดเจน ภาษาถิ่นเป็นภาษาที่น่าสนใจมาก ควรแก่การศึกษาอย่างยิ่ง เพราะเป็นภาษาที่เราน่าจะอนุรักษ์และดำรงไว้ให้ยั่งยืนควบคู่กับภาษากลาง ซึ่งใช้เป็นภาษาราชการ...” ประการสำคัญ ท่านเห็นว่าการรักษาภาษานอกจากเป็นการรักษาชาติแล้ว ยังแสดงถึงการสืบสาน พระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยภาษาของชาติว่าเป็นวัฒนธรรมสำคัญที่จะต้องทำนุบำรุงและรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป           ทั้งนี้ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ แนะนำว่าการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องนั้น ผู้ใช้ภาษาควรศึกษาภาษาไทยให้เข้าใจและหมั่นฝึกฝนทั้งการพูดและการเขียน โดยออกเสียงให้ถูกต้อง ใช้คำให้ถูกความหมาย เรียงคำให้ถูกหลักไวยากรณ์ ฯลฯ เพื่อให้สื่อสารเข้าใจตรงกันและใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการดำรงตนเป็นคนไทย ------------------------------------------------------------------เรียบเรียงโดย นายบัณฑิต พูนสุข นักจดหมายเหตุ หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์------------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง- กระทรวงวัฒนธรรม. จารึกไว้ในแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธาน องคมนตรีและรัฐบุรุษ. กรุงเทพฯ: บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด, ๒๕๖๒. มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. วัฒนธรรมไทย สมบัติไทย - ปาฐกถาพิเศษของ มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ โดยฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ ประธาน กิตติมศักดิ์ มูลนิธิ. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการส่งเสริมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์, ๒๕๓๗. มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์. ความสำคัญของภาษาไทยในรายการโทรทัศน์ ปาฐกถาพิเศษโดย ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลา นนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการ ส่งเสริมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์, ๒๕๓๘.



Messenger