ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อเรื่อง : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพิษณุโลก
ผู้แต่ง : คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปีที่พิมพ์ : 2542
สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ : กระทรวงมหาดไทย : กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร
การประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมาประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๗วันศุกร์ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ .๒๕๕๗ณ ห้องประชุมสำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครราชสีมา
ประติมากรรมดินเผารูป “พระเจ้าสุทโธทนะ” พบจากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จัดแสดง ณ ห้องอู่ทองศรีทวารวดี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง ประติมากรรมดินเผาขนาดเล็ก รูปบุรุษนั่งประนมมือ ขัดสมาธิราบ สวมศิราภรณ์หรือเครื่องประดับศีรษะทรงสูงยอดแหลม มีกรอบหน้านาง ด้านข้างประดับลายกระจัง พระพักตร์ของประติมากรรมค่อนข้างกลม พระขนงต่อกันเป็นปีกกา พระนาสิกใหญ่และโด่งเป็นสัน พระโอษฐ์หนา พระกรรณยาว สวมตุ้มหูทรงกลมขนาดใหญ่ ไม่แสดงรายละเอียดของเครื่องแต่งกาย อันแสดงถึงอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบคุปตะ คือนิยมนุ่งห่มด้วยผ้าเนื้อบางแนบติดกับลำตัว ไม่นิยมแสดงริ้วหรือร่องรอยของเนื้อผ้า ที่พระพาหาประดับด้วยพาหุรัดหรือกำไลแขน ลายเป็นรูปใบไม้สามเหลี่ยม นุ่งผ้ายาวครึ่งแข้ง จากรูปแบบศิลปกรรม กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๔๐๐ ปีมาแล้ว) แต่เดิมมีการตีความว่าประติมากรรมดินเผานี้เป็นรูปพระโพธิสัตว์ เทวดา บุคคลชั้นสูงหรือกษัตริย์ ต่อมามีการตีความใหม่เมื่อมีผู้อ่านและแปลความหมายของจารึกที่ใต้ฐานของประติมากรรมดังกล่าว ซึ่งเป็นอักษรหลังปัลลวะ ภาษาสันสกฤต กำหนดอายุตรงกับรูปแบบศิลปกรรม คือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ จารึกบรรทัดบนอ่านว่า “ศุทฺโธ” บรรทัดที่ ๒ ซึ่งค่อนข้างสมบูรณ์กว่า อ่านว่า “ศุทฺโธทน” จึงเชื่อได้ว่าประติมากรรมรูปบุคคล ดังกล่าว หมายถึง “พระเจ้าสุทโธทนะ” หรือพระพุทธบิดา พระเจ้าสุโธทนะทรงเป็นพระพุทธบิดา เดิมนั้นทรงมุ่งหวังให้เจ้าชายสิทธัตถะ สืบราชบัลลังก์เป็นกษัตริย์แห่งศากยวงศ์ต่อจากพระองค์ ต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จโปรดพระบิดา พระเจ้าสุทโธนะได้มีโอกาสสดับพระธรรมเทศนา ทรงเกิดความเลื่อมใสและบรรลุโสดาบัน เป็นอุบาสก ต่อมาในพรรษาที่ ๕ ของพระพุทธเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนัก พระพุทธองค์ได้เสด็จจากกุฎาคาร ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี มายังเมืองกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา เป็นเวลา ๗ วัน ในวันสุดท้าย พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผล และพระนิพพาน ประติมากรรมรูปพระเจ้าสุทโธทนะ ทำมาแล้วตั้งแต่ศิลปะอินเดียสมัยโบราณ เช่น ภาพสลักพุทธประวัติหลายตอนบนซุ้มประตูทางเข้าสถูปสาญจี ประติมากรรมดินเผารูปพระเจ้าสุทโธทนะกำลังทำอัญชลีมุทรานี้ น่าจะหมายถึงทรงกำลังฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์ก่อนที่จะได้บรรลุพระอรหัตผลและพระนิพพานก็เป็นได้ ประติมากรรมชิ้นนี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากพบจากการขุดแต่งเจดีย์หมายเลข ๑๑ เมืองโบราณอู่ทอง และมีจารึกที่สามารถระบุได้ว่าหมายถึง “พระเจ้าสุทโธทนะ” พระพุทธบิดา อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงการแต่งกายของบุคคลชั้นสูงในวัฒนธรรมทวารวดีอีกด้วย ---------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง---------------------------------เอกสารอ้างอิง กรมศิลปากร. รายงานการสำรวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถาน เมืองเก่าอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. พระนคร : ศิวพร, ๒๕๐๙. กรมศิลปากร. โบราณคดีเมืองอู่ทอง. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๒ สุพรรณบุรี กรมศิลปากร จัดพิมพ์, ๒๕๔๕. กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. ปีเตอร์ สกิลลิ่ง และศานติ ภักดีคำ. “จารึกพระสาวกและจารึกพระเจ้าศุทโธทนะ พบใหม่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี”, เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา เรื่อง ความก้าวหน้าในการศึกษาโบราณคดีและเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดี, กรมศิลปากร, วันที่ ๒๔ – ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ณ โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. และใน Fragile Palm Leaves (December 2545/2002) : 11-14.
เจ้าพระยาพระคลัง (หน). กากีกลอนสุภาพ. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2504. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางหุ่น วีรธรรม วันที่ 2 พฤษภาคม 2504 หนังสือ เรื่องกากีกลอนสุภาพ เป็นนิพนธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) กวีเอกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวรรณคดีที่มีความไพเราะมาก และเป็นที่รู้จักแพร่หลายอีกเรื่องหนึ่ง 895.9112 ก413กห
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 16(7)
ฉบับที่ 654(248)
วันที่ 16-31 พฤษภาคม 2534
✦ โบราณสถานถ้ำนางทองกับรอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย ที่ประดิษฐานไว้ในเมืองบางพาน✦
.
เรียบเรียงโดยนางสาวธนิสรา พุ่มผะกา นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย
.
.
▶ เขานางทอง
.
โบราณสถานถ้ำนางทอง หรือ วัดเขานางทอง ตั้งอยู่ที่ “เขานางทอง” ซึ่งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองบางพาน ในเขตตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นภูเขาที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองบางพานและเคยเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทในสมัยสุโขทัยที่สันนิษฐานกันว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) โปรดฯ ให้สร้างไว้บนยอดเขาตามที่ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๒ (จารึกนครชุม) ความว่า
.
" …พระยาธรรมมิกราช ให้ไปพิมพ์เอารอยตีน…พระเป็นเจ้าเถิงสิงหล อันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฏบรรพต ประมาณเท่าใดเอามาพิมพ์ไว้ จุ่งคนทั้งหลายแท้…อันหนึ่งประดิษฐสถานไว้ในเมืองศรีสัชชนาลัย เหนือจอมเขา…อันหนึ่งประดิษฐสถานไว้ในเมืองสุโขทัยเหนือเขาสุมนกูฏ อันหนึ่งประดิษฐสถานไว้ในเมืองบางพานเหนือจอมเขานางทอง.... "
.
ในพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงมีพระราชาธิบายเกี่ยวกับเขานางทองไว้ ดังนี้
.
“..ยอดเขานี้มีกองแลงอยู่กองหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นพระเจดีย์ได้ตั้งอยู่บนเนินหนึ่ง อีกเนินหนึ่งมีอะไรคล้ายบุษบกอยู่บนนั้น ที่ระหว่างเนินทั้งสองนี้ มีแผ่นศิลาสลักเป็นรอยพระพุทธบาทไว้แผ่นหนึ่ง นอกจากลายก้นหอยที่นิ้วกับจักรใหญ่อยู่ตรงฝ่าพระบาทมีลายต่างๆ แบ่งเป็นห้อง ดูเป็นทำนองจีน มีอะไรคล้าย ๆ กับเก๋งจีนอยู่ในนั้นหลายห้องทางริมแผ่นศิลาข้างซ้ายพระบาท แต่นอกรอยพระบาทออกมามีตัวอักษรขอมจารึกอยู่ แต่ศิลากะเทาะออกเสียมาก อ่านไม่ได้ความ พระบาทนี้เหลือที่จะกำหนดอายุได้อาจเป็นของเก่าครั้งพระร่วง...”
.
▶ โบราณสถานบนเขานางทอง
.
โบราณสถานถ้ำนางทองตั้งอยู่บนเขานางทอง วางผังตามแนวยาวของภูเขา ด้านบนสูงสุดเป็นเจดีย์ใหญ่ทรงดอกบัวตูมหรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานเจดีย์กว้าง ๑๒ เมตร ก่อด้วยศิลาแลง ถัดมาเป็นเจดีย์รายก่ออิฐขนาดเล็ก ๓ องค์ กว้างด้านละ ๒ เมตร เท่ากันทุกองค์ และมีวิหาร ๑ หลัง ส่วนอีกเนินหนึ่งทางด้านทิศเหนือเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานว่าเป็นอาคารโถงประเภทวิหาร และมีบ่อน้ำกรุอิฐเป็นรูปวงกลม
.
▶ รอยพระพุทธบาทเขานางทอง
.
รอยพระพุทธบาทเขานางทอง ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นศิลปะสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๒๐) แกะสลักจากหินชนวน มีขนาดยาว ๑๗๒.๕ เซนติเมตร กว้าง ๑๑๔ เซนติเมตร รอยพระพุทธบาทมีรูปมงคลร้อยแปดอยู่ในช่องตารางรูปสี่เหลี่ยม ตรงกลางมีลายธรรมจักร ปลายนิ้วพระบาทสลักเป็นลายนิ้ว ที่ด้านข้างสลักลายเทวดาขนาดใหญ่ กรอบรอบขอบนอกเป็นลายบัว สภาพขอบโดยรอบกะเทาะ ขอบและมุมหักบิ่น
.
▶ การดำเนินงานทางโบราณคดีและประวัติการอนุรักษ์
.
๑. กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเขานางทอง ในราชกิจจานุเบกษา ประกาศกรมศิลปากร กำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๘ หน้าที่ ๓๖๘๐ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
.
๒. กรมศิลปากรประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานเขานางทอง ในราชกิจจานุเบกษา ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง กำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน เล่ม ๑๑๘ ตอน พิเศษ ๒๙ ง วันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เนื้อที่โบราณสถาน ๑๗๕ ไร่ ๑ งาน ๒๕ ตารางวา
.
๓. กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งทางโบราณคดีเพื่อบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘
.
๔. กรมศิลปากรดำเนินการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๙
เอกสารโบราณและบันทึกชาวต่างชาติ มักกล่าวถึงพื้นที่บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์และ กรุงธนบุรีในนาม “เมืองบางกอก” โดยในสมัยอยุธยาเมืองบางกอกอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา๑ ในสมัยธนบุรีได้รับการสถาปนาเป็นราชธานีแห่งใหม่หลังเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ เมืองถูกสร้างโดยใช้พื้นที่ทั้งสองฝั่งของแม่น้ำฯ ราชธานีอยู่ฝั่งตะวันตก วังลูกเจ้าเมืองบางกอก บ้านพระยาราชาเศรษฐี และชุมชนชาวจีนอยู่ฝั่งตะวันออก๒ กระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์พื้นที่ ฝั่งตะวันออกนี้ได้สร้างราชธานีและพระบรมมหาราชวังสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน๓ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า พื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มีร่องรอยของชุมชนเรื่อยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๖๐ บริษัท กันต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด ดำเนินงานการปรับปรุงภูมิทัศน์รวมทั้งอาคารต่าง ๆ และงานขุดค้นทางโบราณคดีในพื้นที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เริ่มขุดค้นในปี พ.ศ.๒๕๖๒ โดย นายอนันต์ กลิ่นโพธิ์กลับ จำนวน ๕ หลุมขุดค้น (ขณะวิเคราะห์เครื่องถ้วยจีนดำเนินงานเพียง ๔ หลุมขุดค้น) จากการขุดค้นพบหลักฐานประเภทต่าง ๆ เช่น สิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับวังท่าพระ เศษภาชนะดินเผาประเภทเนื้อแกร่ง (Stoneware) เศษภาชนะดินเผาประเภทเนื้อกระเบื้อง (Porcelain) รวมถึงเครื่องถ้วยจีนที่เป็นหลักฐานประเภทหนึ่งของเศษภาชนะดินเผาประเภทเนื้อกระเบื้อง พบจำนวน ๒๓๐ ชิ้น (จาก ๔ หลุมขุดค้น) จากการวิเคราะห์เครื่องถ้วยจีน แบ่งอายุสมัยได้ ๒ สมัย ได้แก่ สมัยราชวงศ์ชิง มีอายุตั้งแต่ กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ตรงกับรัชกาลที่ ๑-๕ และสมัยสาธารณรัฐ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๔ ตรงกับรัชกาลที่ ๖ ส่วนใหญ่มีแหล่งผลิตจากเตาจิ่งเต๋อเจิ้น มณฑลเจียงซี เตาเต๋อฮั่วและเตาอันซี มณฑลฝูเจี้ยน เตาต้าปู้ มณฑลกว่างตง และกลุ่มเตาในมณฑลกว่างตงหรือมณฑลฝูเจี้ยน รูปแบบของเครื่องถ้วยจีนส่วนใหญ่เป็นจาน จานเชิง ชาม ชามมีฝา ถ้วย ถ้วยชา และโถ ตกแต่ง ด้วยการเขียนลายสีครามใต้คราม รวมทั้งการพิมพ์ลายสีครามใต้คราม เขียนลายสีบนเคลือบ เขียนสีลงยาบนเคลือบ (เครื่องถ้วยเบญจรงค์และเบญจรงค์แลทอง) เคลือบสีเขียว และเคลือบสีขาว จากการวิเคราะห์เครื่องถ้วยจีนที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระนี้ สรุปได้ว่า เครื่องถ้วยจีนมีอายุร่วมสมัยกับรัชกาลที่ ๑-๖ มีความเกี่ยวข้องกับการใช้งานสำหรับชนชั้นสูงภายในวังท่าพระ แต่ยังไม่พบเครื่องถ้วยจีนที่มีอายุในช่วงสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี อาจเพราะพื้นที่นี้ถูกใช้ในกิจกรรมการทำไร่สวนในสมัยอยุธยาที่ถูกกล่าวถึงในบันทึกชาวต่างชาติ พื้นที่นี้ไม่ได้มีความสำคัญมากเท่ากับบริเวณมิวเซียมสยามและรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย ซึ่งเป็นที่ตั้งของป้อมบางกอกหรือป้อมวิไชยเยนทร์ และในสมัยธนบุรีมีระยะเวลาความเป็นราชธานีอันสั้นจึงยังไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามจากการขุดค้นยังพบภาชนะดินเผาเนื้อดินแกร่ง หากมีการศึกษาหลักฐานประเภทนี้หรือขุดค้นในพื้นที่อื่นเพิ่มเติม อาจพบหลักฐานที่มีอายุร่วมสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรีและได้ข้อมูลมากขึ้น เพราะการขุดค้นทางโบราณคดี การ “ไม่พบ” ใช่ว่าจะ “ไม่มี” แผนผังที่ ๑ ตำแหน่งหลุมขุดค้นทางโบราณคดี หลุมขุดค้นที่ ๑-๕ (TP.1-5) ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระภาพที่ ๑ ตัวอย่างเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง มีอายุตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๔๕๓)ภาพที่ ๒ ตัวอย่างเครื่องถ้วยจีนสมัยสาธารณรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๔ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๕๓ เป็นต้นมา)ภาพที่ ๒ ตัวอย่างเครื่องถ้วยจีนสมัยสาธารณรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๔ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๕๓ เป็นต้นมา)-----------------------------------------------------เชิงอรรถ (๑) อ้างอิงจากแผนที่โบราณในบันทึกชาวต่างชาติ เช่น แผนที่นิรนามเขียนขึ้นโดยชาวฮอลันดาราวปี พ.ศ.๒๑๘๕ แผนที่ใน “จดหมายเหตุลา ลู แบร์” พ.ศ.๒๒๓๑ แผนที่ใน “ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม” โดย นิโกลาส์ แซรแวส พ.ศ.๒๒๓๑ เป็นต้น (๒) อ้างอิงจากพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ หลักฐานกำแพงเมืองธนบุรีบริเวณอนุสาวรีย์สหชาติ และแผนที่สงครามจราชลพม่า (๓) อ้างอิงจากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ต านานวังเก่า และแผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๓๖๗----------------------------------------------------- ผู้เขียน : กิจสุวรรณ โพธิ์สุวรรณ์ นักวิชาการวัฒนธรรม กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กองโบราณคดี กรมศิลปากร-----------------------------------------------------รายการอ้างอิง กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์. “กรุงธนบุรี ในสมัยอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๕. _______. โบราณคดีเมือง โบราณคดีกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ๒๕๖๒. กิจสุวรรณ โพธิ์สุวรรณ์. “การศึกษาเครื่องถ้วยจีนที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หลุมขุดค้นที่ ๑-๔.” เอกสารการศึกษาเฉพาะส่วนบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๒. ซิมอน เดอ ลา ลู แบร์. จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. นนทบุรี: ศรีปัญญา, ๒๕๔๘. เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ข า บุนนาค). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (๒๐๐๖), ๒๕๖๒. ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช. กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๙. แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, หม่อมราชวงศ์, และคณะ. องค์ประกอบทางกายภาพกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๔. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๓. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๕. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒. ปริวรรต ธรรมาปรีชากร. “การใช้เครื่องถ้วยจีนและเครื่องถ้วยเวียดนามในการกำหนดอายุหลักฐาน ทางโบราณคดีและรูปแบบศิลปะ : กรณีศึกษาลวดลายปูนปั้นประดับบนโบราณสถานใน ประเทศไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๔๗. ปริวรรต ธรรมาปรีชากร และจิราภรณ์ อรัณยะนาค. เครื่องปั้นดินเผาจีนและเบญจรงค์ ที่พบใน พระราชวังหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: ศูนย์อนุรักษ์เครื่องปั้นดินเผา โบราณโรงเรียนถนอมบุตร, ๒๕๖๒. ปริวรรต ธรรมาปรีชากร, สว่าง เลิศฤทธิ์ และกฤษฎา พิณศรี. ศิลปะเครื่องถ้วยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โอสถสภา, ๒๕๓๙. รูนีย์, ดอว์น เอฟ. เครื่องถ้วยเบญจรงค์และลายน้ำทอง. แปลโดย จุฑามาศ อรุณวรกุล. กรุงเทพฯ: ริเวอร์ บุ๊คส์, ๒๕๖๐. หฤษฎ์ แสงไพโรจน์. “การใช้พื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์บริเวณฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีจากหลักฐาน ทางโบราณคดี.” เอกสารการศึกษาเฉพาะส่วนบุคคล ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๖๒.
จวนเจ้าเมืองสงขลา : ธนบุรี - รัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นเรื่องราวของ วัง หรือ จวน หรือบ้านพักเจ้าเมืองสงขลาที่มีการโยกย้ายตามที่ตั้งเมืองแต่ละยุคสมัย ในวัง : จวนเจ้าเมืองฝั่งแหลมสน ในสมัยธนบุรีจนถึงต้นรัตนโกสินทร์เมืองสงขลายังคงตั้งอยู่ที่ฝั่งแหลมสน โดยสันนิษฐานว่าที่ว่าราชการเมืองในสมัยนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า "ในวัง" ซึ่งมีพื้นที่บนที่ราบทางทิศตะวันออกของวัดสุวรรณคีรี ทั้งนี้ในอดีตชาวบ้านเคยพบแนวกำแพง ธรณีประตูทำด้วยหินแกรนิต และปืนใหญ่ ๖-๗ กระบอกวางกองอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว การขุดค้นทางโบราณคดีในพ.ศ.๒๕๔๒ พบว่าในหลุมขุดค้นที่ ๑-๔ ได้พบเศษภาชนะดินเผาจำนวนมากซึ่งได้แก่เศษเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ชิง เศษเครื่องเบญจรงค์ รวมถึงเศษเครื่องถ้วยของฮอลันดา จึงเป็นไปได้ว่าพื้นที่ในบริเวณนี้อาจเป็นที่ตั้งที่ว่าราชการเมืองสงขลามาก่อน ทั้งนี้สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงษาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงษ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงษ์วรเดช ได้บรรยายลักษณะของจวนเจ้าเมืองสงขลาแห่งนี้ในพ.ศ.๒๔๒๗ ไว้ว่า "...บ้านเจ้าเมืองเก่าทำเปนเรือนไทยหลังคามุงกระเบื้อง ฝาขัดแตะถือปูน ๓ หลัง ริมบ้านเจ้าเมืองมีศาลเทพารักษ์โบราณเปนศาลจีน..." จวนเจ้าเมืองที่แหลมสนนี้คงเป็นที่อยู่และที่ว่าราชการมาจนถึงสมัยพระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) ไนยจ้วน : จวนเจ้าเมืองฝั่งบ่อยาง ในพ.ศ.๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีท้องตราให้พระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่ที่ฝั่งบ่อยาง พระราชทานเงินส่วยอากรเมืองสงขลา ให้ใช้จ่ายในการก่อกำแพงสองร้อยชั่ง พระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง)ได้กำการก่อสร้างกำแพงเมืองพร้อมกับฝังหลักเมืองเสร็จบริบูรณ์ในพ.ศ.๒๓๘๕ กับได้ก่อตึกจีนเป็นจวนผู้ว่าราชการเมืองไว้ ๕ หลังเรียกกันว่าไนยจ้วน ตัวอาคารเป็นเรือนชั้นเดียวยกพื้น หลังคามุงกระเบื้องสงขลา วิธีช่างทำทำนองจีน ทั้งนี้ตำแหน่งที่ตั้งของจวนผู้ว่าราชการเมืองสงขลาตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองสงขลา ด้านหน้าจวนใช้กำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือเป็นรั้วจวน ด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นหลังจวนติดกับวัดดอนรัก ด้านทิศเหนือติดกับถนนที่มาจากประตูช่องกุดมุ่งหน้าไปวัดดอนรัก ส่วนด้านทิศใต้ติดกับคลองขวาง ประตูใหญ่ที่ใช้เข้าออกจวนนั้นเป็นประตูเมืองชื่อประตูจันทีพิทักษ์ และประตูพุทธรักษา โดยมีสะพานยื่นออกไปในทะเลสาบที่ประตูนี้เรียกว่าตะพานหน้าจวน จวนแห่งนี้ถือว่าเป็นจวนกลางสำหรับผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา โดยใช้เป็นที่อยู่และที่ว่าราชการเมืองมาตั้งแต่ในสมัยพระยาวิเชียรคีรี(เถี้ยนเส้ง) เจ้าพระยาวิเชียรคีรี(บุญสัง) และเจ้าพระยาวิเชียรคีรี(เม่น) มาเป็นลำดับ และในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีการตั้งมณฑลนครศรีธรรมราช และตั้งที่ว่าการมณฑลที่เมืองสงขลาแล้ว ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ “ไนยจ้วน” เป็นสถานที่ราชการเช่นเป็นที่ตั้งของศาลมณฑลนครศรีธรรมราช และเป็นคุกกักขังนักโทษ เป็นต้น ส่วนศาลาว่าการมณฑลนั้นใช้อาคารบ้านพักของพระยาสุนทรานุรักษ์(เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา เป็นที่ว่าราชการ จวนบ้านออก : จวนเจ้าเมืองนอกกำแพงเมือง หลังจากเจ้าพระยาวิเชียรคีรี(เม่น)ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาคนต่อๆมาก็อยู่บ้านของตัวไม่ได้อยู่ที่จวนกลางอีกต่อไป เมื่อพระยาวิเชียรคิรี(ชุ่ม) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลาในพ.ศ.๒๔๒๗ ก็ย้ายที่ว่าราชการเมืองไปยังบ้านส่วนตัวซึ่งเป็นบ้านของพระยาศรีสมบัติจางวางผู้เป็นปู่ (ชาวสงขลาเรียกว่าบ้านออก) สันนิษฐานว่าจวนแห่งนี้อาจเป็นอาคารทรงจีนที่ปรากฏในภาพถ่ายพ.ศ.๒๔๓๗ และถูกระเบิดทำลายไปราวพ.ศ.๒๔๘๕ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ จวนหลังสุดท้าย : จวนนอกกำแพงเมืองแห่งที่ ๒ ต่อมาเมื่อพระยาวิเชียรคิรี(ชม) ได้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา ก็ได้ใช้บ้านพักส่วนตัวเป็นที่ว่าราชการ โดยไม่ได้กลับไปใช้จวนกลางที่ใช้กันมาแต่เดิม ทั้งนี้เมื่อนาย Monsieur Claine Jules เข้ามายังเมืองสงขลาในพ.ศ.๒๔๓๒ ได้ถ่ายภาพจวนแห่งนี้ไว้ -------------------------------------------------เรียบเรียงข้อมูล : นายสารัท ชลอสันติสกุล นักโบราณคดีชำนาญการ กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา-------------------------------------------------*เผยแพร่ข้อมูล : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร