ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ศีรษะนางแมว
ศิลปะรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๓๐
สมบัติของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เจ้าจอมมารดามรกฎในรัชกาลที่ ๕ มอบให้เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๙
ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข หมู่พระวิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ศีรษะนางแมว (หัวโขนนางวิฬาร์) ประดิษฐ์ด้วยโลหะทองแดง ประดับแก้ว โดยลักษณะของนางวิฬาร์ น่าจะตรงกับคุณลักษณะแมวสายพันธุ์โกญจาซึ่งมีขนสีดำละเอียด นัยน์ตาสีดอกบวบ
ศีรษะนางแมว ใช้สำหรับแสดงละครนอกเรื่อง ไชยเชษฐ์ นิทานพื้นบ้านที่มามาแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และมีผู้นำนิทานเรื่องนี้มาเล่นเป็นละครเพราะเรื่องราวที่สนุกสนาน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงนำนิทาน เรื่องไชยเชษฐ์ มาพระราชนิพนธ์เป็นบทละครนอก เดิมละครนอกเป็นละครที่ราษฎรเล่นกัน ผู้ชายแสดงเป็นตัวละครทั้งหมด พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องไชยเชษฐ์ เพื่อให้เป็นบทละครนอกของหลวง และโปรดให้ผู้หญิงที่เป็นละครหลวงแสดงอย่างละครนอก
หัวโขนนางวิฬาร์นี้ เดิมเป็นของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ผู้ก่อตั้งคณะละคร และโรงละคร “ปรินซ์เธียร์เตอร์” (Prince Theatre) กระทั่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ เครื่องละครส่วนหนึ่งตกเป็นมรดกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม* ซึ่งเจ้าจอมมารดามรกฎ (ธิดา) ได้นำมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ดังปรากฏใน “หนังสือราชการ ปี ๑๑๕ เรื่องศีศะละครที่ส่งไปไว้ในพิพิธภัณฑ์” ระบุรายการเครื่องละครทั้งสิ้น ๑๘ รายการ และหนึ่งในรายการเครื่องละครที่ส่งมาให้แก่ทางพิพิธภัณฑ์คือ “ศีรสะแมว ๑”
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งถึงเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)** ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๑๕ มีข้อความตอนหนึ่งว่า
“...ด้วยมรกฎ นำชฎาหน้าโขน กระบังหน้า เครื่องลครของเจ้าพระยามหินธรศักดิธำรงมาให้ สำหรับตั้งไว้ในโรงพิพิธภัณฑ์ตามความปรารถนาของพ่อเขา ซึ่งได้สั่งไว้ว่า ถ้าลูกชายเพ็ญ [หมายถึง พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒน์พงศ์] ไม่ได้เล่นลครต่อไปแล้ว อย่าให้ ฃายสิ่งของเหล่านี้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ให้นำมาถวายสำหรับตั้งไว้ในโรงพิพิธภัณฑ์...”
ทั้งนี้พระองค์ทรงมีความเห็นว่าควรตั้งไว้ในตู้กระจกอีกด้วย และเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลถึงพระราชกระแสเรื่องตั้งเครื่องละครไว้ในตู้กระจก ความว่า
“...ในส่วนที่ควรจะมีตู้กระจกนั้น ถ้าท่านผู้ให้ [หมายถึง เจ้าจอมมารดามรกฎ] ส่งมาแต่ชะฎาน่าโขน หรือกระบังน่าเปล่าแล้ว จะได้รับประดับตู้สำหรับมิวเซียมไว้ตู้หนึ่งต่างหาก...”
*พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๔๑ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กับเจ้าจอมมารดามรกฎ (ธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล))
** เสนาบดี กระทรวงธรรมการ
อ้างอิง
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๕ บ.๑๑/๑๐. เอกสารกรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๕ เบ็ดเตล็ด เรื่อง พิพิธภัณฑต่างๆ ในกรุงสยาม (๔ กุมภาพันธ์ ๑๑๑ - ๓ ตุลาคม ๑๑๗).
ไพโรจน์ ทองคำสุก. “แมว: วิฬาร์ในการแสดงละครนอกเรื่องไชยเชษฐ์.” ศิลปากร. ๕๒, ๑ (มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒): ๔-๑๗.
โบราณสถาน "ถ้ำวัวแดง" ที่อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ถ้ำวัวแดง เป็นโบราณสถานที่มีลักษณะเป็นถ้ำเพิงผาหินทรายสีแดง ภายในถ้ำมีภาพสลักนูนต่ำเป็นรูปพระศิวะ พระหัตถ์ขวาถือตรีศูลย์และพระแม่อุมาประทับบนหลังโคนนทิ (อุมามเหศวร) ด้านหน้าโคนนทิสลักเป็นรูปเทพนั่งคุกเข่าทำท่าแสดงความความเคารพ 2 องค์ ด้านท้ายของโคนนทิ มีเทพบริวารถือจามรและบังแทรก (บางท่านว่าเป็นพัดโบก)ลายหางนกยูง 2 องค์ และเทพบริวารยืนพนมมือ 3 องค์
อ.มานิต วัลลิโภดม ภัณฑารักษ์เอกผู้นำทีมสำรวจได้ระบุว่า ลักษณะผ้านุ่งของพระศิวะและนางอุมาคล้ายกับประติมากรรมรูปสตรีที่พบจากปราสาทบ้านถนนหักด้วย จึงกำหนดอายุให้ภาพสลักนี้มีอายุในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 - ต้นพุทธศตวรรษที่ 17 (ราวคริสตศตวรรษที่ 11) หรือเมื่อประมาณ 950 ปีมาแล้ว
เป็นที่น่าเสียดายว่าภาพสลักได้ถูกกะเทาะและโจรกรรมไปบางส่วน ทำให้ปัจจุบันต้องมีการสร้างลูกกรงเหล็กล้อมภาพสลักเอาไว้เพื่อความปลอดภัย
สำหรับใครที่สนใจหรือกำลังหาสถานที่ท่องเที่ยวในสุดสัปดาห์ ถ้ำวัวแดงนี้ตั้งอยู่ไม่ห่างจากผาสามเกลอ จุดชมวิวพระอาทิตย์ตกเหนือเขื่อนลำแซะที่สวยงามอีกจุดนึงในอำเภอครบุรี
หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญร่วมโครงการพัฒนาและส่งเสริมหอสมุดแห่งชาติเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ประจำปี 2566 กิจกรรม "อ่านเป็นเล่นสนุก สร้างความสุขให้ทุกคน" ครั้งที่ 2 ในแนวคิด "เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ด้วยพลังแห่งการอ่าน"
พบกับกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ รวมถึงกิจกรรมนันทนาการที่หลากหลายจากหน่วยงานกรมศิลปากร ในวันอังคารที่ 11 กรกฎาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ
พระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
เทคนิค : สีฝุ่นบนตาลปัตร
ศิลปิน : นายกฤษฎา กันต์แจ่ม
ตำแหน่ง : จิตรกร
กลุ่มงาน : กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร
ผลงานศิลปกรรมออกแบบและจัดสร้างโดย กลุ่มจิตรกรรม สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ “เถลิงรัชช์หัตถศิลป์” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน – ๑๗ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ – วันอังคาร)
การเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ด้วยเทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตรชิ้นนี้ จิตรกรได้บันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์สำคัญในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในวันเสาร์ที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกจากหอพระสุราลัยพิมานเข้ายังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ โดยริ้วขบวนพราหมณ์ เสด็จฯ ไปยังมณฑปพระกระยาสนาน ณ ชาลาพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เมื่อเสด็จฯ ถึงทรงจุดธูปเงินเทียนทอง สังเวยเทวดากลางหาว แล้วเสด็จขึ้นมณฑปพระกระยาสนาน ประทับเหนือตั่งอุทุมพรราชอาสน์ แปรพระพักต์สู่ทิศบูรพาเพื่อสรงพระมุรธาภิเษก ทรงรับการถวายน้ำพระพุทธมนต์จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ผู้ที่สนใจขั้นตอนการการเขียนสีฝุ่นบนตาลปัตร สามารถเข้าชมวีดิทัศน์ได้ทางลิ้งค์ด้านล่าง
https://datasipmu.finearts.go.th/knowledge/26
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ชวนมาพบกับนิทรรศการพิเศษ “เราและ (เจ้า) นาย: ส่องความสัมพันธ์ของมนุษย์และแมวในประวัติศาสตร์” ที่น้องแมวจะเป็นผู้เล่าสายสัมพันธ์อันยาวไกลระหว่างสองสายพันธุ์ด้วยตัวเอง พร้อมกับเตรียมกิจกรรมพิเศษให้ทุกคนได้ร่วมสนุกสนานไปกับการเดินทางในครั้งนี้ อาทิ
.............................................................................
Art Toy แมวกวักมงคลตามตำราไทย โดย อาร์ท ดิก ดิก Art Dig Dig มีทั้งหมด 8 แบบให้ร่วมสุ่มและสะสม โดยน้องไม่ได้มีดีเพียงความน่ารัก หากยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการบันดาลความมงคลด้านต่าง ๆ กระซิบว่าเป็นสินค้าปั้นมือ และมีจำนวนจำกัด ช้าหมด อดแน่นอน
.............................................................................
Filter Story ตามหาแมวมงคลในมิวเซียม ร่วมสนุกได้ทั้ง Facebook และ Instagram โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยในการให้คำแนะนำเรื่องการจัดทำ งานนี้เรามีของที่ระลึกน่ารัก ๆ ให้ผู้ร่วมสนุกติดไม้ติดมือกลับบ้านด้วยนะ
.............................................................................
นอกจากนี้ยังมี Standy น้องแมวมงคลตามตำรา ประดับฉากถ่ายรูปสุดน่ารัก ให้ทุกคนมีภาพอัพลงโซเชียลเก๋ ๆ รวมถึงสนุกไปกับการส่องหาน้องแมวในงานจิตรกรรมไทย
..............................................................................
โดยในวันเปิดนิทรรศการ 17 กันยายน 2566 ตั้งแต่เวลา 14.00น.-16.00น. พบกับกิจกรรมสุดพิเศษ คือ
- เปิดวงเสวนาในบรรยากาศสบาย ๆ กับ 2 ประเด็น ได้แก่ “เลี้ยงแมวแล้วดีต่อใจ” โดยผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ และ “แมวดำ แมวมงคลตามตำรา” โดยนักภาษาโบราณ หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา ในเวลา 14.00น.-15.00น.
- Pets Clinic ฉีดวัคซีนแมว ฟรี !!! โดยสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ตั้งแต่เวลา 14.00น.-16.00น. โดยเปิดรับลงทะเบียนออนไลน์ https://docs.google.com/forms/d/1nNQ4VIrvKgeVOA1z13cpRzmIx-nwYDvJQlynickXHhY/viewform?pli=1&fbclid=IwAR0OoNZM-IlYdA_mpdCFj2Wbxs44b8fQwO5a84vfdw5HUAX6HK1enVzMXFA&pli=1&edit_requested=true หรือสแกน QR Code และรับบัตรคิวหน้างาน ด่วน !! จำนวนจำกัดเพียง 30 ตัวเท่านั้น !
ปกป้องคุ้มครอง เพิ่มความเฮง เร่งความปังไหว้พระศักดิ์สิทธิ์ ๙ ส.พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดหนองคาย #หนองคาย #ท่าบ่อ #โพนพิสัย เรียบเรียงโดยนางสาวทิพย์วรรณ วงศ์อัสสไพบูลย์นักโบราณคดีชำนาญการกราฟิกนางสาวพรพิพัฒน์ เสมาเพชร⋯⋯✧⋯✦⋯⋯✧✦✧⋯⋯✦⋯✧⋯⋯สอบถามหรือแจ้งข้อมูลโบราณสถาน 043-242129 Line: finearts8kk E-mail: fad9kk@hotmail.comพื้นที่ในความรับผิดชอบขอนแก่น เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร #โบราณสถาน #กรมศิลปากร #สำนักศิลปากรที่๘ขอนแก่น #โบราณสถานหนองคาย
ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ยกเลิกประกาศรับสมัครคัดเลือกบุคคลเพื่อจ้างเป็นลูกจ้างชั่วคราว เงินนอกงบประมาณ (กองทุนโบราณคดี) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ (ครั้งที่ ๒)
กลับมาอีกครั้งด้วยชื่อใหม่ไฉไลกว่าเดิม!!! "ยามค่ำอยุธยา 2567 Ayutthaya Sundown 2024" อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขยายเวลาเยี่ยมชมโบราณสถานในยามค่ำคืนออกไปจนถึงเดือนเมษายน 2567
สำหรับโบราณสถานที่เปิดให้เข้าชมยามค่ำคืนภายใต้งาน "ยามค่ำอยุธยา 2567 Ayutthaya Sundown 2024" ประกอบด้วย
- วัดราชบูรณะ เปิดทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ https://maps.app.goo.gl/5pBcp5spathZk7J48
- วัดไชยวัฒนาราม เปิดทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และเทศกาลสำคัญ https://maps.app.goo.gl/YKfkUVqtnADsb8zL9
นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมความสวยงามของโบราณสถานยามค่ำคืนได้ตั้งแต่ เวลา 18.00 - 22.00 น. (สามารถซื้อบัตรได้ถึง 21.00 น.) ค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท (ผู้พิการ และชาวไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี เข้าชมฟรี) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โทร 0 3524 2286 ต่อ 101 E-mail Ayh_hispark@hotmail.com หรือติดตามข่าวสารกิจกรรมอื่นๆได้ที่ Facebook Page : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา Ayutthaya Historical Park
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม จังหวัดพระนครศรีอยุุธยา ขอเชิญชวนร่วมกิจกรรม "ชม ชิด แชะ" ถ่ายภาพความประทับใจในงาน “Night at The Palace ย้อนเวลา ชมวัง 4 ศตวรรษ พระราชวังจันทรเกษม” พร้อมติดแฮชแท็ก #NightatThePalace ลุ้นรับของรางวัลพิเศษทุกสัปดาห์ ประกาศรางวัลทางเพจ Facebook : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม:Chantharakasem National Museum ทุกวันพุธ ตลอดเดือนมีนาคม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อขอใช้พื้นที่ โทร. 0 3525 1 586 E-mail : wangchantra@gmail.com, Inbox Facebook: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม:Chantharakasem National Museum
องค์ความรู้ เรื่อง 9พระเครื่องเมืองสุพรรณ
ผู้เรียบเรียง :
นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ
หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ
หอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญรับชมรายการ "นิทานก่อนนอน" ที่จะนำนิทานสนุกๆ สอดแทรกทั้งความรู้ มาแบ่งปันและเล่าให้ฟังโดยคุณตุ๊บปอง ในทุกวันเสาร์ เวลา 4 โมงเย็น นิทานเรื่องที่ 1 นำเสนอนิทาน เรื่อง "กระต่ายตื่นตูม" เรื่องโดย ตุ๊บปอง (เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป) ภาพโดย นฤมล ตนะวรรณสมบัติ ผู้สนใจสามารถรับชมได้ผ่านทางเฟซบุ๊ก National Library of Thailand หรือรับชมผ่านช่องทาง YouTube ของสำนักหอสมุดแห่งชาติ https://youtu.be/R3aoaRoJdoo
สำนักหอสมุดแห่งชาติ ขอเชิญทดลองใช้บริการ "Hublet Tablet" แท็บเล็ตที่ให้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ ที่หอสมุดแห่งชาติจัดไว้ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีเนื้อหาให้เลือกหลากหลาย อาทิ หนังสือหายาก หนังสือพิมพ์เก่า หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วีดิทัศน์ คลิปนิทานสำหรับเด็ก เป็นต้น ผู้สนใจสามารถติดต่อขอทดลองใช้บริการได้ที่ กลุ่มงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศฯ อาคาร 1 ชั้น 1 ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน - 16 สิงหาคม 2567 เปิดให้บริการ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 16.30 น. ปิดบริการวันเสาร์-อาทิตย์, วันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๕พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออก ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบบังคมทูลพระกรุณาขั้นตอนการตั้งนายกรัฐมนตรีรหัสเอกสาร ฉ/ร ๕๓๗๑