ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระนามเดิมว่า บุญมา ประสูติเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีกุน จ.ศ. ๑๑๐๕ (ตรงกับวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๒๘๖) พระราชบิดารับราชการในราชสำนักกรุงศรีอยุธยามีบรรดาศักดิ์เป็นพระพินิจอักษร (ทองดี) ส่วนพระชนนีมีพระนามว่า ดาวเรือง (บางเอกสารกล่าวว่าชื่อ หยก) ทรงเป็นพระอนุชาของ นายทองด้วง (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี) เมื่อเจริญพระชนมพรรษาได้รับราชการอยู่กรมมหาดเล็กในราชสำนักอยุธยา
ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระองค์หลบหนีทหารพม่าไปเข้าร่วมเป็นทหารในกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินตีเมืองจันทบุรีและขับไล่พม่าที่เมืองธนบุรี พระองค์ได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระมหามนตรีเจ้ากรมตำรวจ ตลอดสมัยกรุงธนบุรีพระองค์เป็นทหารเอกคนสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้รับการเลื่อนยศหลายครั้งในตำแหน่ง พระยาอนุชิตราชา พระยายมราช และพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก ตามลำดับ ด้วยพระอัธยาศัยที่กล้าหาญ เข้มแข็งและเด็ดขาด จึงมีพระสมัญญานามว่า “พระยาเสือ”
พ.ศ. ๒๓๒๕ เมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) พระเชษฐาของพระองค์ พระราชทานอุปราชาภิเษกเจ้าพระยาสุรสีห์ สมเด็จพระอนุชาธิราช เป็นพระมหาอุปราช ตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ประทับ ณ พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง โดยเป็นพระราชวังที่ถ่ายแบบมาจากพระราชวังจันทรเกษม กรุงศรีอยุธยา และมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แตกต่างไปจากวังหลวง อาทิ หลังคาชั้นเดียวเป็นหลังคาทรงจั่ว มุงด้วยกระเบื้องดินเผา คันทวยรองรับหลังคาเป็นรูปนาคประดับพันธุ์พฤกษา หมู่พระวิมานไม่ทำซุ้มประตูหน้าต่าง (ยกเว้นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์) รูปแบบเช่นนี้ต่างจากงานสถาปัตยกรรมในพระบรมมหาราชวังที่นิยมทำอาคารที่แสดงฐานันดรชั้นสูง อาทิ การทำซ้อนชั้นหลังคา ทรงยอดปราสาท ประตูหน้าต่างประดับด้วยซุ้มปูนปั้นอย่างไทยประเพณี เช่น ซุ้มบันแถลง ซุ้มยอดมงกุฎ เป็นต้น
ตลอดสมัยรัชกาลที่ ๑ พระองค์ยังคงมีบทบาทในการทำสงครามอยู่หลายครั้ง ได้แก่ สงครามเก้าทัพที่ตำบลลาดหญ้า (พ.ศ. ๒๓๒๘) สงครามขับไล่พม่าที่ท่าดินแดง (พ.ศ. ๒๓๒๙) สงครามตีเมืองทวาย (พ.ศ. ๒๓๓๐) สงครามขับไล่พม่าที่เมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๓๓๘) ภายหลังเสร็จศึกกับพม่า เจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย พระพุทธสิหิงค์ พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
ในคราวสงครามป้องกันพม่าที่เมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๓๔๕) สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงยกทัพออกไปรบร่วมกับสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ แต่ระหว่างทางที่พระองค์เสด็จ พระองค์เกิดประชวรด้วยพระโรคนิ่วที่เมืองเถิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงมีรับสั่งให้กรมพระราชวังหลังเสด็จขึ้นไปช่วยในการศึกจนกระทั่งสามารถชนะทัพฝ่ายพม่าได้ในที่สุด
ขณะเดียวกันสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงใส่พระทัยในพระราชกรณียกิจด้านศาสนา โดยเฉพาะการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดหลายแห่งในพื้นที่ฝั่งพระนคร ได้แก่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ (พระองค์พระราชทานนามว่า วัดนิพพานาราม) วิหารคดวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) หอมณเฑียรธรรมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดชนะสงคราม (วัดตองปุ) วัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพู) วัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง) วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) และวัดปทุมคงคา (วัดสำเพ็ง) วัดในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ได้แก่ วัดครุฑ วัดสุวรรณคีรี (วัดขี้เหล็ก) ส่วนวัดในหัวเมือง เช่น วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
นอกจากนี้พระองค์ยังมีงานวรรณกรรมที่ทรงพระนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง ได้แก่ เพลงยาวถวายพยากรณ์ (พ.ศ. ๒๓๓๒) พระนิพนธ์ในคราวที่เกิดอัสนีบาตตกมาหน้าบันมุขเด็จพระที่นั่งอินทราภิเษก (ต่อมาถูกรื้อลงแล้วสร้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นแทน) เพลงยาวรบพม่าที่นครศรีธรรมราช (พ.ศ. ๒๓๒๙) พระนิพนธ์เมื่อครั้งยกทัพไปรบพม่าที่ตั้งทัพอยู่ทางหัวเมืองภาคใต้ เพลงยาวเรื่องตีเมืองพม่า (พ.ศ. ๒๓๓๐) พระนิพนธ์ในคราวยกทัพไปตีเมืองทวาย
ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ได้กล่าวว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประชวรเป็นโรคนิ่วนับตั้งแต่ที่พระองค์ยกทัพขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ แต่ใน พระนิพนธ์เรื่อง “นิพานวังน่า” ของ พระองค์เจ้าหญิงกัมพุชฉัตร ซึ่งเป็นพระธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้บันทึกไว้ว่าสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระประชวรด้วยโรควัณโรคอย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๔๕ พระอาการก็ทรุดลงตามลำดับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมและทอดพระเนตรการรักษาเป็นเวลา ๖ วัน ถึงวันพฤหัสบดี เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ จ.ศ.๑๑๖๕ (ตรงกับวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๔๖) สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบูรพาภิมุข พระราชวังบวรสถานมงคล พระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา ทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นเวลา ๒๑ ปี
-------------------------------------------------
อ้างอิง
กรมศิลปากร. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์, ๒๕๕๕.
. สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๗.
กัมพุชฉัตร, พระองค์เจ้าหญิง. นิพานวังน่า. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๔๓.
ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑. (กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), ๒๕๓๙.
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 26/7ประเภทวัสดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 28 หน้า : ก้าง 4.5 ซม. ยาว 55 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
เวียนบรรจบครบรอบวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกครั้ง ในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน เพจคลังกลางฯ ขอร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนากรมศิลปากรขึ้นเมื่อ ๑๑๑ ปีก่อน นำเสนอเนื้อหาว่าด้วยเรื่อง “พระพิฆเนศ” องค์อุปถัมภ์ศิลปะการช่างทั้งปวง อันเป็นดวงตราประจำกรมศิลปากร ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปสำรวจร่องรอยการนับถือเทพครูช้างในสังคมไทย อาจสืบย้อนไปได้ร่วมสมัยทวารวดี ดังมีหลักฐานจากโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนของวัดและเอกชนหลายครั้งที่ผ่านมา พบว่ามีอย่างน้อย ๖ รายการ ตั้งแต่ศิลปะศรีวิชัย “พระอุเชนทร์” แห่งวัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช, ศิลปะลพบุรี, ศิลปะเขมรแบบบาปวน ตลอดจนศิลปะรัตนโกสินทร์
ความเชื่อเรื่องช้างปรากฏอยู่ในสังคมไทยรูปแบบต่าง ๆ ดังในสมัยรัตนโกสินทร์ “พระอินทร์” ถูกยกให้เป็นเทพองค์สำคัญชัดเจนขึ้นกว่าสมัยอยุธยา ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งนี้ การยกย่องให้พระอินทร์เป็นเทพหลักของเมืองใหม่ช่วยสนับสนุนพระมหากษัตริย์ว่าทรงเป็นผู้ศรัทธาและทำนุบำรุงศาสนา ด้วยพระอินทร์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุดของเทพทั้งปวง ในขณะที่โลกมนุษย์พระมหากษัตริย์ผู้เป็นอวตารของพระอินทร์ก็ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุดของมนุษย์เช่นกัน
เช่นนั้นแล้ว การที่พระอินทร์มีช้างเอราวัณเป็นพาหนะสำคัญฉันใด ตามธรรมเนียมราชสำนักไทยเมื่อพระมหากษัตริย์ขึ้นครองราชย์ก็จะช้างเผือกประจำรัชกาลฉันนั้น เพื่อแสดงถึงพระบารมีของพระมหากษัตริย์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีช้างคู่พระบารมี ๑ช้าง มีนามว่า “พระเศวตวชิรพาหฯ” เป็นช้างที่มีลักษณะต้องตามตำรา เรียกว่า “เทพามหาพิฆเนศร์ อัคนีพงษ์” คือ ตาขาว ขนโขมด ขนตัวเหลือง ขนหูขาว ขนหางเหลืองเจือแดง อัณฑโกษขาว เล็บขาว เพดานขาว สีตัวแดง สูง ๓ศอก ๑คืบ ๕นิ้ว สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับช้างในราชสำนักสยามถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะราชสำนักสยามมีความศรัทธาในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก และยังเชื่อเรื่องการอวตารของเทพมาเป็นพระมหากษัตริย์
ภาพสะท้อนแนวคิดนี้เราอาจศึกษาได้จากตราสัญลักษณ์ในงานสมโภชช้างเผือก พระเศวตวชิระพาหฯ ที่ปรากฎอยู่ในของที่ระลึกงานสมโภช เช่น ย่ามพระหรือผ้ากราบ ลักษณะเป็นรูปตราไอยราพต (ช้างสามเศียร) ทูลตราพระลัญจกรวชิราวุธประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จากภาพที่เห็นทำให้คนที่เคยเห็นภาพจิตรกรรมของพระอินทร์ที่ทรงช้างเอราวัณ รับรู้ได้ว่าภาพช้างสามเศียรที่อยู่ในตราสัญลักษณ์ที่สื่อถึงพระเศวตวชิรพาหฯ ก็คือช้างเอราวัณช้างทรงของพระอินทร์ ในขณะที่ช้างได้ทูลตราพระราชลัญจกรก็คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระนามว่า “วชิราวุธ” อันเป็นพระสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และยังเป็นอาวุธสำคัญของพระอินทร์ ภาพตราสัญลักษณ์ในงานสมโภชช้างเผือกครั้งนี้จึงช่วยย้ำแนวคิดว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์อวตารของพระอินทร์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ และวริยา โปษณเจริญ ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพโดย พลอยไพลิน ปุราทะกา ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ / ภาพโดย กิตติยา เชื้อทอง นายช่างภาพปฏิบัติงาน กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 34/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 34 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 53.5 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 129/7 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฎฺฐาน) ชบ.บ 165/6 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
นกยูง…จากความงามสู่ความเชื่อนกยูง (peafowl) เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ จัดอยู่ในสกุล Pavo มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวผู้จะมีหางยาวสีสันงดงามสามารถแผ่ขยายออกเป็นวง หรือที่เรามักเรียกว่า การรำแพนหาง เพื่อใช้เกี้ยวพาราสีตัวเมีย พบได้ทั้งในประเทศอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน และดินแดนแถบเอเชียอาคเนย์ นกยูงจึงเป็นสัตว์ที่ผู้คนในแถบเอเชียคุ้นเคยเป็นอย่างดี ด้วยความสวยงามและลักษณะการรำแพนหางของนกยูงตัวผู้ ทำให้นกยูงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมของหลาย ๆ วัฒนธรรมมาอย่างช้านานการสร้างงานศิลปกรรมที่มีนกยูงเป็นองค์ประกอบในประเทศไทยเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖) โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ดังมีการค้นพบลายปูนปั้นรูปนกยูงที่เจดีย์ ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนที่นกยูงจะปรากฏสืบเนื่องมาถึงสมัยหลัง เช่น ในสมัยสุโขทัย มีการเขียนลายรูปนกยูงลงบนเครื่องสังคโลก ซึ่งนอกจากจะเป็นการตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ว ยังสื่อถึงความหมายในเชิงบวกด้วย เนื่องจากนกยูงได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์มงคลในความเชื่อต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ ใน มหาโมรชาดก ของพระพุทธศาสนากล่าวถึงเรื่องราวเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นนกยูง หรือในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นกยูงเป็นบริวารของเทพเจ้าหลายองค์ และเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ความสูงส่ง และความรัก คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมจีนที่นับถือนกยูงว่าเป็นบริวารของเจ้าแม่กวนอิม ทั้งยังหมายความถึงพระอาทิตย์ ความรัก และความเมตตา จึงมีการปักรูปนกยูงลงบนเสื้อผ้าของชนชั้นสูงเพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงนำหางนกยูงมาประดับหมวกเพื่อแบ่งลำดับขั้นของขุนนาง ในขณะที่ชาวเปอร์เซียเปรียบนกยูงเป็นตัวแทนของกษัตริย์และพลังอำนาจ ส่วนชาวกรีก - โรมันเชื่อว่านกยูงเป็นผู้ลากราชรถของเทพีเฮร่า และชาวคริสต์ที่เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สงฺคิณี-มหาปฏฺฐาน) อย.บ. 19/7ประเภทวัดุ/มีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 44 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56 ซม.หัวเรื่อง พุทธศาสนาบทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ ไม้ประกับธรรมดา ได้รับบริจาคมาจาก จ.พระนครศรีอยุธยา
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีการจัดงานอะเมซิ่งมวยไทยเฟสติวัล เพื่อบันทึกสถิติโลก (Guinness World Records) “ไหว้ครูมวยไทย” ณ อุทยานราชภักดิ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งวันนี้หอสมุดแห่งชาติฯนครราชสีมา ก็ขอนำทุกท่านไปรู้จักกับมวยไทย สายโคราชบ้านเอ็งเพิ่มเติมอีกซักนิดนะคะ ซึ่ง “มวยโคราช” เป็นหนึ่งในสายมวยไทยที่มีความแข็งแกร่งที่สุด จนมีคำกล่าวที่ว่า “หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา”
มวยโคราช เป็นมวยที่มีในประวัติศาสตร์ไทยมาช้านาน เป็นศิลปะมวยไทยที่มีชื่อเสียงตลอดมา เท่ากับมวยลพบุรี มวยท่าเสา (อุตรดิตถ์) และมวยไชยา ซึ่งนักมวยจากหัวเมืองโคราชได้สร้างชื่อเสียงจากการไปแข่งขันชกมวยในพระนคร ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยชกชนะนักมวยภาคอื่นๆ นับไม่ถ้วน ซึ่งล้วนแต่มีชื่อเสียงโด่งดัง โดยเฉพาะหมัดเหวี่ยงควาย หรือ หมัดเขวี้ยงควาย ซึ่งถือเป็นกลวิธีและอาวุธที่สำคัญของแม่ไม้มวยโคราช ซึ่งท่าหมัดนี้ เป็นมวยเตะต่อยวงกว้าง ป้องกันตัวเองด้วยการใช้แขนโจมตีไปที่หน้าคู่ต่อสู้ เป็นหมัดชกวงกว้างที่หนักหน่วง จนสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ในหมัดเดียวค่ะ
จัดทำโดย
นางรสสุคนธ์ ตั้งนภากร
บรรณารักษ์ชำนาญการ
ชื่อผู้แต่ง -
ชื่อเรื่อง พระมโหสถ
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ -
สำนักพิมพ์ -
ปีที่พิมพ์ -
จำนวนหน้า ๑๒๐ หน้า
หมายเหตุ สข.๐๒๑ หนังสือสมุดไทยขาว อักษรไทย ภาษาไทย เส้นหมึก
(เนื้อหา) เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระราชาพระนามว่าวิเทหะ เสวยราชสมบัติในกรุงมิถิลามีบัณฑิต ๔ นายคือเสนกะ ปุกกุสะ กามินทะ และเทวินทะ ต่อมาพระโพธิสัตว์ถือกำเนิดขึ้นในบ้านปาจีนยวมัชฌคามเวลาเกิดมีแท่งยา แท่งหนึ่งวางอยู่ในมือด้วย ต่อมาก็รักษาบิดาที่เป็นโรคปวดศีรษะให้หายได้ กาลต่อมาก็สามารถใช้ยารักษาคนทั่วไปให้หายจากโรคต่างๆ และปรากฏกิตติศัพท์ในความเป็นผู้เฉลียวฉลาด
ชื่อผู้แต่ง ไตรภูมิ
ชื่อเรื่อง ไตรภูมิ(ฉบับย่อความ) อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพคุณแม่ทองคำ สิมารัตน์
ครั้งที่พิมพ์ -
สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ
สำนักพิมพ์ โรงพิมพ์อักษรพิทยา
ปีที่พิมพ์ ๒๕๓๕
จำนวนหน้า 142 หน้า
เรื่องไตรภูมินี้ เป็นวรรณกรรมที่สมเด็จพระสุริยมหาธรรมราชาธิราช (พญาลิไท) พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปีระกา พุทธศักราช ๑๘๙๖ มาถึงสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงโปรดให้สร้างสมุดภาพไตรภูมิขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๙ ให้สมเด็จพระสังฆราช ทรงกำกับการเขียนให้ถูกต้องตรงตามพระบาลี โดยเคร่งครัดทุกประการ เรื่อง ไตรภูมิ นับว่าเป็นวรรณกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าดีที่สุดในประวัติวรรณกรรมในยุคสุโขทัย เป็นที่รู้จักแพร่หลายมาถึงสมัยอยุธยา ธนบุรีและรัตนโกสินทร์
เลขทะเบียน : นพ.บ.446/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 34 หน้า ; 4.5 x 58 ซ.ม. : ล่องชาด-ล่องรัก-ลานดิบ ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 158 (149-162) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : ฌาปณกิจฺจานิสสณา--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.595/1 ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณ หมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 48 หน้า ; 5 x 59 ซ.ม. : ลานดิบ-ล่องชาด-ล่องรัก ; ไม่มีไม้ประกับชื่อชุด : มัดที่ 191 (385-391) ผูก 1 (2566)หัวเรื่อง : กฐินขัน--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ส่งเสริมการอ่านผ่าน Facebook กับหอสมุดแห่งชาติชลบุรี
เรื่อง นางสงกรานต์ ปี ๒๕๖๖