ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน) เลขที่ ชบ.บ.11/1-3 เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


ชื่อเรื่อง : ซุยถัง เล่ม 4 ชื่อผู้แต่ง : - ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว จำนวนหน้า : 346 หน้า สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องที่ 12 จากทั้งสิ้น 35 เรื่อง จากหนังสือชุดภาษาไทย ขององค์การค้าคุรุสภาจัดพิมพ์ขึ้น เป็นการแปลพงศาวดารจีน ตามลำดับราชวงศ์กษัตริย์จีน สมัยราชวงศ์ซุย และ ราชวงศ์ถังตอนต้น (พ.ศ.1132-1161)


     เทศกาลตรุษจีน ตอนที่ ๒ จาก “เลี้ยงพระตรุษจีน” สู่ “พระราชพิธีสังเวยพระป้าย”      การพระราชกุศลตรุษจีนในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้กลับไปใช้ธรรมเนียมอย่างรัชกาลที่ ๓ คือ เลี้ยงพระที่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ๓ วัน จัดให้มีเรือขนมจีนนำมาถวายเลี้ยงพระ ที่ท่าราชวรดิฐ รวมถึงโปรดให้พระเจ้าลูกเธอเสด็จไปปล่อยปลาทั้ง ๓ วัน ทำให้ “เกาเหลา” อาหารอย่างจีน ที่นำมาเลี้ยงครั้งรัชกาลที่ ๔ ได้หายไป จากการพระราชกุศลดังกล่าว แต่มีข้าราชการเชื้อสายจีน ประกอบอาหารอย่างจีนสำหรับเลี้ยงพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการในงานนั้นแทน      เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในพุทธศักราช ๒๔๐๘ มีการสร้างพระป้ายฉลองพระองค์ จารึกพระปรมาภิไธย ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ พระราชวังบวรสถานมงคล เพื่อเซ่นไหว้บูชาตามแบบจีน ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่โปรดแบบอย่างธรรมเนียมจีนในช่วงปลายพระชนมายุ ดังโปรดให้สร้างพระที่นั่งที่ประทับ และจัดสวนตามแบบจีน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในพุทธศักราช ๒๔๑๑ มีการสร้างพระป้าย จารึกพระปรมาภิไธย สำหรับเซ่นไหว้ตามอย่างจีนด้วย แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นตั้งเมื่อใด หากสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในตอนต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งมหิศรปราสาท      กระทั่งมีการสร้างพระราชวังบางปะอินในรัชกาลที่ ๕ กลุ่มข้าราชการ และพ่อค้าชาวจีนได้สร้างพระที่นั่งขึ้นหลังหนึ่งด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีนทั้งหลัง เมื่อแล้วเสร็จพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ” ในครั้งนั้น โปรดให้มีการสร้าง “พระป้าย” ขึ้นประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งแห่งนี้ ดังมีพระราชปรารภว่า “...การแต้มป้ายเปนธรรมเนียมของชนจีนชาติ ซึ่งเปนผู้นับถือบรรพบุรุษย์เปนที่พึ่ง เพราะเขาถือว่าการที่บูชา เส้นสรวงบรรพบุรุษย์เปนข้อสำคัญ ที่จะแสดงให้ชนทั้งปวงเปนที่นับถือว่าเปนคนดี แลถือว่าเปนความเจริญแก่ตัวได้จริงด้วย...”      ทรงมีพระราชดำริว่า พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญได้สร้างที่สำหรับนมัสการ ตามอย่างลักษณะอาคารแบบจีน สมควรจะมีพระป้ายประดิษฐานไว้ จึงโปรดให้มีการ “แต้มพระป้าย” คือสร้างพระป้ายและ “แต้ม” หรือเจิม เพื่อสมมุติว่าได้อัญเชิญดวงพระวิญญาณมาสถิตยังพระป้ายดังกล่าว ประกอบด้วยพระป้ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระป้ายกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ประกอบพิธี ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในวันที่ ๒๘ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๐๙ (พุทธศักราช ๒๔๓๓) แล้วอัญเชิญพระป้ายทั้งสอง นำมาประดิษฐานในพระที่นั่งเก๋ง ภายในพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ พระราชวังบางปะอิน โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองพระป้าย มีทั้งพิธีพุทธ และพิธีตามแบบจีน และญวน มีการถวายเครื่องภัตตาหาร และเลี้ยงเครื่องเสวยตามแบบจีนตลอดงานรวมไปถึงมีการประกวดตั้งเครื่องโต๊ะแบบจีนด้วย ในระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๕ ธันวาคม ศกนั้น      พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชวังดุสิตขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๔๑ โปรดให้สร้างพระที่นั่งที่ประทับ ตลอดจนตำหนักของพระมเหสี พระเจ้าลูกเธอ เจ้าจอมมารดา และพระราชวงศ์บางพระองค์ในบริเวณดังกล่าว ถึงพุทธศักราช ๒๔๔๙ เมื่อพระที่นั่งอัมพรสถานแล้วเสร็จ จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ “พระป้าย” และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาประดิษฐานไว้ ด้วยเหตุว่า   “...ในเวลาที่เสด็จมาประทับอยู่วังสวนดุสิตยังไม่มีสิ่งที่จะเปนที่ทรงนมัสการรลึกถึงพระเดชพระคุณ...” โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงวังเชิญพระป้ายจากพระที่นั่งมหิศรปราสาทมาประดิษฐาน ณ ห้องพระพุทธนรสีห์ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๕ (พุทธศักราช ๒๔๔๙)        พระป้ายที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตมีลักษณะพิเศษ คือ ประกอบด้วยพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องกษัตริยาธิราชพระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายจีบเสมอพระอุระ เหมือนกับรูปพระสยามเทวาธิราช แต่พระพักตร์เหมือนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานในซุ้มเรือนแก้วแบบเก๋งจีน ทำด้วยไม้จันทน์ และมีพระป้าย เป็นแผ่นไม้จำหลักลายปิดทองมีจารึกพระปรมาภิไธยภาษาจีน อยู่หลังพระบรมรูป มีฉัตรทอง ๕ ชั้น ตั้งเบื้องซ้ายและเบื้องขวาของพระบรมรูปด้วย        จากหลักฐานข้างต้น แสดงให้เห็นว่า เมื่อถึงรัชกาลที่ ๕ การพระราชกุศลตรุษจีน ที่ปฏิบัติสืบมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๓ ได้มีพิธี “สังเวยพระป้าย” เข้ามาเพิ่มเติม อันเนื่องมาจากมีการสร้าง “พระป้าย” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นต่อมาเมื่อมีการสร้างพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระป้ายสำหรับประดิษฐานไว้ ณ ที่นั้นด้วย สันนิษฐานว่าพระราชพิธีสังเวยพระป้าย จะเริ่มมีมาตั้งแต่คราวนั้น ขณะที่การพระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษจีนนั้นในช่วงประมาณครึ่งหลังของรัชกาลที่ ๕ ไม่ปรากฏว่าได้กระทำอีก โดยครั้งสุดท้ายที่ปรากฏหลักฐานคือในรัตนโกสินทรศก ๑๑๔ มีในราชกิจจานุเบกษาความว่า          “...วันที่ ๑๑ ที่ ๑๒ แลที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก ๑๑๔ สามวันนี้ เปนสมัยแห่งตรุศจีน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงาน จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสงฆ์ วันละ ๒๐ รูป ที่พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัยเช่นทุกปีมา...วันที่ ๑๒ แลที่ ๑๓ โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธเสด็จออกทรงเลี้ยงพระสงฆ์ วันที่ ๑๒ สมเด็จพระวันรัตเปนประธานสงฆ์ ขุนนิพนธ์พจนาดถ์ อ่านประกาศเทวดา วันที่ ๑๓ หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา เปนประธานสงฆ์นายช่วงเปรียญอ่านประกาศสังเวย ในการพระราชกุศลนี้ มีกัปิยาหารสำหรับการตรุศจีนบรรทุกโคต่างถวายพระสงฆ์ แลการปล่อยสัตวเช่นทุกปีมา...”        การพระราชพิธีสังเวยพระป้ายที่พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต มีกำหนดการสังเวยในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑ ตามปฏิทินจีน ซึ่งก็คือวันตรุษจีน (วันขึ้นปีใหม่) เครื่องสังเวยพระป้ายจัดเป็นเครื่องคู่ ประกอบด้วย หัวหมู เป็ด ไก่ ขนมเข่ง ขนมเปี๊ยะ ซาลาเปา ผลไม้ กระดาษเงินกระดาษทอง วิมานเทวดาทำด้วยกระดาษ เรียกตามภาษาจีนว่า กิมฮวยอั้งติ๋ว ผ้าสีชมพู ประทัด ดอกไม้ ธูป เทียนเงิน เทียนทอง      เมื่อแรกเริ่มมีพระราชพิธีดังกล่าว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงจัดเครื่องสังเวยทูลเกล้าฯ ถวายมาโดยตลอดพระชนม์ชีพ ครั้นเมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถเสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงรับพระธุระ ทรงจัดเครื่องสังเวยทูลเกล้าฯ ถวายต่อมา ขณะที่เครื่องสังเวยพระป้ายที่พระราชวังบางปะอินแต่เดิม กรมท่าซ้ายจัดถวาย ต่อมาเป็นของหลวงจากสำนักพระราชวัง      ครั้นถึงในสมัยรัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่วังสระปทุม รับหน้าที่จัดเครื่องสังเวยทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระเดชพระคุณสืบมา การพระราชพิธีสังเวยพระป้ายที่พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้เสด็จฯ มาทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เอง ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ทรงปฏิบัติแทนพระองค์ซึ่งในปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันแต่เมื่อครั้งดำรงพระยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จฯ แทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีสืบมาจนเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วโปรดให้มีพระราชพิธีดังกล่าวเช่นเดิม และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสด็จไปประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย ณ พระราชวังบางปะอินด้วยอีกแห่งหนึ่ง   ผู้เขียน : วสันต์ ญาติพัฒ ภัณฑารักษ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี   ภาพประกอบ : พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถานที่ประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕   อ้างอิง จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค ๑๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๔๗๙. (พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๙) จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พุทธศักราช ๒๔๓๓. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตีรณสาร, ๒๕๑๔.(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระ บรมราชานุญาตให้พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงลัย เทพาธิบดี (ลัย บุนนาค) ต.จ. ณ เมรุวัด ธาตุทอง วันอาทิตย์ที่ ๑๔พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๔) จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. กรุงเทพฯ : แสงดาว, ๒๕๕๖. ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ ๔.กรุงเทพฯ :สำนักราชเลขาธิการ, ๒๕๓๗. (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายประกอบ หุตะสิงห์ ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลา อิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ ๒๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗) ศิลปากร, กรม. พระราชพิธีสังเวยพระป้าย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๒๐.




      พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์       ทรงเป็นเจ้าฟ้าฯผู้เชี่ยวชาญศิลปะแขนงต่างๆ ทั้งวิจิตรศิลป์ สถาปัตยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และวรรณศิลป์ ในช่วงเวลาที่กระแสอารยธรรมตะวันตกถาโถมเข้าใส่สยาม ศิลปะของเราซึ่งมีระเบียบแบบแผนขนบธรรมเนียมเคร่งครัด ต้องเผชิญหน้ากับการท้าทายจากอิทธิพลของศิลปะตะวันตก พระองค์ทรงประยุกต์ปรับปรุงวิจิตรศิลป์ซึ่งเป็นศิลปะประจำชาติไทยด้วยการศึกษาเชิงลึกถึงรากเหง้า และคลี่คลายรูปแบบทางศิลปะให้มีความเป็นสากลจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก อันเป็นการประกาศถึงความเป็นอารยประเทศที่มีรากฐานทางศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าชาติใดในโลก     ตลอดพระชนม์ชีพฯ ทรงอุทิศเวลาให้แก่การสร้างสรรค์ “งานช่าง” หลากสาขา ผลงานที่ทรงรังสรรค์ไว้นับเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจที่สำคัญให้แก่ช่างและศิลปินในยุคหลัง ทรงเป็นกำลังสำคัญในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมไทย และทรงส่งเสริมผู้มีความรู้ความสามารถให้เป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดมรดกงานช่างศิลป์ไทยจนได้รับยกย่องให้เป็น “ สมเด็จครู “ ของช่างทั้งปวง       ภาพจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบ “สมเด็จครู“ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ในฉลองพระองค์เต็มยศ ทรงสายสะพายของเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ศักย เขียนขึ้นในโครงการภาพผลงานผู้มีคุณูปการต่อวงการศิลปวัฒนธรรมของชาติ ระหว่างปี 2548 - 2549 ในช่วงเวลาไล่เลี่ยงกับภาพสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ     ผลงานมีความเคร่งขรึม และสง่างาม รายละเอียดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ดูสมจริง การให้สีผิวหนังของสมเด็จครูนั้นน่าตื่นตา และแสดงถึงทักษะการใช้สีอันดียิ่งของศักย     ผลงานชิ้นนี้จัดแสดงในนิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปินอาวุโส พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ประจำปี 2564    ศักย ขุนพลพิทักษ์ : ศิลปินผู้ประสานจิตรกรรมไทยและตะวันตกเข้าด้วยกันอย่างลงตัว     ในบรรดางานจิตรกรรมแบบสมัยใหม่ ที่รับอิทธิพลตะวันตกในแนววิชาการแบบตะวันตก (academic) พื้นฐานงานมักเริ่มจาก ภาพหุ่นนิ่ง (still life) ภาพทิวทัศน์ (landscape) และภาพเหมือน (portrait) ซึ่งให้ความสำคัญกับเรียนรู้ในแนวเสมือนจริง ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนลดทอนรูปร่าง พัฒนาเทคนิค และนำเสนอเรื่องราวให้หลากหลายยิ่งขึ้น ในกลุ่มผลงานต่างๆที่กล่าวมานั้น งานกลุ่มภาพเหมือนถือเป็นงานที่มีความเข้มข้นและมีวิวัฒนาการต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน      ศิลปินภาพเหมือนในประเทศไทยนั้น มีอยู่จำนวนไม่น้อย แต่บุคคลที่ได้รับการยอมรับว่ามีฝีมือ และความลึกซึ้งในผลงานนั้น กลับมีไม่มากนัก ศักย ขุนพลพิทักษ์ อดีตจิตรกรเชี่ยวชาญ ของกรมศิลปากร ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในแวดวงศิลปะแนวภาพเหมือน ถึงแม้ ศักย จะเป็นชื่อที่กลุ่มคนในแวดวงงานศิลปะกลุ่มอื่นอาจจะมีความรับรู้ หรือจดจำไม่มากนัก แต่ในแวดวงศิลปะของทั้งกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากร ศักย ขุนพลพิทักษ์ คือครู คือศิลปินภาพเหมือนผู้มุ่งมั่นในสไตล์งานที่มีพื้นฐานแบบตะวันตก ในขณะเดียวกันยังเป็นศิลปินที่สามารถเขียนภาพจิตรกรรมไทยแบบดั้งเดิมและภาพจิตรกรรมแบบใหม่ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้อย่างลงตัว โดยได้ฝากฝีมือการออกแบบ เขียนภาพจิตรกรรมไทย ในวัดสำคัญๆ ทั้งในไทยและต่างประเทศไว้เป็นจำนวนมาก


     มหามกุฏราชสันตติวงศ์ : สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์      สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๖๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รัชกาลที่ ๔ ที่ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (หม่อมเจ้าหญิงแฉ่) มีพระเชษฐภคินีร่วมพระชนนี คือ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยา (พระองค์เจ้ากรรณิกาแก้ว) ประสูติเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๐๖ เมื่อแรกประสูติพระบรมชนกนาถพระราชทานพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ พร้อมคาถาพระราชทานพร         ในรัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๒๘ ต่อมาในวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๔๓๐ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๑ ทรงเป็นนายพลตรี เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ เป็นอธิบดีกรมโยธาธิการ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๒ ต่อมาในวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการพระองค์แรก ครั้นวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๔๓๕ เป็นเสนาบดีกระทรวงพระคลัง และเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๗ เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๓๙ เป็นผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ครั้นพุทธศักราช ๒๔๔๐ ได้บัญชาการกระทรวงพระคลังอยู่ชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๔๑ เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและรั้งตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ ในระหว่างพุทธศักราช ๒๔๔๒ ถึง ๒๔๔๘ เป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการครั้งที่สอง ระหว่างนี้ในพุทธศักราช ๒๔๔๔ เป็นนายพลโท ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๘ เป็นเสนาบดีกระทรวงวัง แล้วได้รับการเพิ่มพระเกียรติยศเป็น “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์”      ในรัชกาลที่ ๖ พุทธศักราช ๒๔๕๗ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ฯ ครั้นพุทธศักราช ๒๔๖๖ เป็นนายพลเอก ราชองครักษ์พิเศษ และกรรมการสภาการคลัง ในรัชกาลนี้ ทรงมีผลงานทางด้านศิลปกรรมจำนวนมากขึ้นกว่ารัชกาลก่อน ด้วยเหตุที่ทรงออกจากราชการประจำแล้ว ถึงรัชกาลที่ ๗ พุทธศักราช ๒๔๖๘ เป็นอภิรัฐมนตรี ในพุทธศักราช ๒๔๖๙ เป็นอุปนายกราชบัณฑิตยสภา แผนกศิลปากร ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๔๗๐ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้กำกับการพระราชวงศ์ เป็นเสนาบดีกระทรวงวัง (ชั่วคราว) และทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๗๖ จนถึงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ ในรัชกาลนี้ ทรงมีลายพระหัตถ์กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระเชษฐาซึ่งประทับที่ปีนัง สหพันธรัฐมาลายาของอังกฤษในขณะนั้น ซึ่งในเวลาต่อมา ลายพระหัตถ์ทั้งสองพระองค์ จะเป็นที่รู้จักในนาม “สาส์นสมเด็จ” ถึงรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เลื่อนเป็น “สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ มหามกุฏพงศนฤบดินทร์ ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ อัฐเมนทรราชอัยยกา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธิวิจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณานุวัตน์ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร”      สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๙ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๙๐ พระชันษา ๘๔ ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวงต่อจากงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๘ เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๙๓ เป็นต้นราชสกุล จิตรพงศ์   อ้างอิง ศิลปากร, กรม. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๔ .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว, ๒๕๕๔. พระประวัติและฝีพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์,  ๒๔๙๐. (หม่อมราชวงศโต จิตรพงศ พิมพ์สนองพระเดชพระคุณในงานพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ.๒๔๙๓) เรียบเรียง : ณัฐพล  ชัยมั่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี



ชื่อเรื่อง                         ตำนานธาตุพนม (พื้นธาตุพนม)       สพ.บ.                           384/1ข หมวดหมู่                       พุทธศาสนา ภาษา                           บาลี/ไทยอีสาน หัวเรื่อง                         พุทธศาสนา                                  พระธาตุพนม ประเภทวัสดุ/มีเดีย            คัมภีร์ใบลาน ลักษณะวัสดุ                   14 หน้า : กว้าง 5 ซม. ยาว 56.5 ซม.  บทคัดย่อ เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน เส้นจาร ฉบับลานดิบ ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


          การวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ความรู้ประวัติศาสตร์โบราณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาถือได้ว่าเป็นที่สนใจและถูกจับตานำมาต่อยอดโดยนักวิชาการอย่างกว้างขวาง จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ “พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา” ซึ่งเป็นการศึกษาและวิเคราะห์ตีความจากพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ และบันทึกชาวต่างชาติ ข้อมูลดังกล่าวเรียบเรียงโดย นายประทีป เพ็งตะโก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมศิลปากร และถูกตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ “สถาปัตยกรรมในสถาบันพระมหากษัตริย์” โดยสรุป พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยามีพัฒนาการการใช้พื้นที่เป็น 3 ระยะ คือ          1. ระยะแรก ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 รวม 98 ปี โดยเป็นช่วงที่พระราชวังหลวงตั้งอยู่บริเวณวัดพระศรีสรรเพชญ์ ช่วงแรกพระราชวังหลวงน่าจะประกอบด้วยพระที่นั่งอย่างน้อย 5 องค์ ที่ล้วนสร้างด้วยไม้ คือ - พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท - พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท - พระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท และ - พระที่นั่งตรีมุข          2. ระยะที่สอง ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลก ถึงรัชกาลสมเด็จพระอาทิตยวงศ์ รวม 182 ปี >> สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเขตพระราชวังเดิมให้เป็นเขตพุทธาวาส และสร้างพระราชวังใหม่ชิดไปทางด้านเหนือริมแม่น้ำลพบุรี  ในช่วงนี้จะประกอบไปด้วยพระที่นั่งองค์สำคัญได้แก่ - พระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาท - พระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท - พระที่นั่งวิหารสมเด็จ ทั้งนี้ ส่วนพระราชวังมีกำแพงกั้นกับวัดพระศรีสรรเพชญ์          3. ระยะที่สาม ตั้งแต่รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ รวม 137 ปี  เป็นช่วงที่บ้านเมืองรุ่งเรืองอย่างมาก มีการขยายพระราชวังออกไปทุกทิศทุกทาง ด้านเหนือจรดกำแพงเมือง ด้านตะวันออกจรดท้ายวัดธรรมิกราช ด้านใต้จรดวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระราชวังมีกำแพงสูง 4 เมตร มีป้อม 8 ป้อม ประตูบก 20 ประตู ประตูน้ำ 2 ประตู และช่องกุด 1 ช่อง ภายในพระราชวังประกอบด้วย - พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ตั้งอยู่ด้านเหนือสุด - พระคลังมหาสมบัติ (ด้านใต้ลงมา) - พระที่นี่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์ตั้งอยู่พระราชฐานชั้นนอกเป็นที่ประทับทอดพระเนตรฝึกพลสวนสนาม - พระที่นั่งบรรยงก์รัตนาสน์เป็นที่ประทับท้ายพระราชวัง - พระตำหนักตึกเป็นที่ประทับของพระมเหสี - พระที่นั่งทรงปืน - ตำหนักสวนกระต่าย - ตำหนักสระแก้ว - ตำหนักศาลาลวด - ถังประปา           จากข้อมูลดังกล่าวจึงได้มีการวิเคราะห์และจัดทำผังสันนิษฐานของพระราชวังหลวงในระยะต่างๆ ไว้ด้วย >> ทั้งนี้ สรุปข้อมูลมาจาก หนังสือสถาปัตยกรรมในสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้สนใจสามารถอ่านต่อได้ที่ https://pubhtml5.com/iytc/tiym           หากมีการนำข้อมูลการศึกษาวิเคราะห์ไปต่อยอด การอ้างอิงข้อมูลพื้นฐานเป็นมารยาทที่พึงกระทำในแวดวงนักวิชาการ ----------------------------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา https://www.facebook.com/AY.HI.PARK/posts/1395881527427348----------------------------------------------------------------------





ชื่อเรื่อง                                สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน) สพ.บ.                                  377/3ประเภทวัสดุมีเดีย                    คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่                               พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ                           22 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 58 ซม.หัวเรื่อง                                 ธรรมเทศนา บทคัดย่อ/บันทึก          เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี


     


Messenger