ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
พิพิธิภัณฑสถานแห่งชาติเสมือนจริง เจ้าสามพระยา: www.virtualmuseum.finearts.go.th/chaosamphraya
ประวัติสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา
พระนครศรีอยุธยาเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองหนึ่งของประเทศไทย เพราะเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของคนไทยก่อนจะย้ายไปตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีด้วยเหตุนี้จึงยังคงมีหลักฐานให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรื่องในอดีปรากฏอยู่มากมายโดยเฉพาะที่เป็นโบราณสถานดังนั้นเมื่อเราก้าวเข้าสู่เขตเมืองของพระนครศรีอยุธยาเราจะสัมผัสกับภาพของเจดีย์รูปแบบต่างๆของสมัยอยุธยา ที่ดูยิ่งใหญ่อลังการ หลายแห่งยังอยู่ในสภาพดี เพราะได้รับการอนุรักษ์ดูแลจากกรมศิลปากรมาโดยตลอดอนึ่งนอกจากสภาพแวดล้อมที่สะท้อนให้เห็นความเป็นอาณาจักรอยุธยาแล้วลักษณะพิเศษของพระนครศรีอยุธยา ก็คือ ภาพของคนในยุคปัจจุบันที่ยังดำเนินวิถีชีวิตไปควบคู่กับการเป็นเมืองเก่าในอดีต บางครั้งการใช้ชีวิตร่วมกันก็ทำให้เกิดปัญหาในด้านการอนุรักษ์และพัฒนา แต่บางครั้งก็เป็นการธำรงไว้ซึ่งความมีชีวิตของเมือง จากอดีตสู่ปัจจุบัน เมื่อมีโบราณสถานอยู่ทั้งในตัวเมืองและล้อมรอบตัวเมือง และด้วยเหตุที่คงความมีอำนาจมาถึง 417 ปี โบราณสถานเฉพาะที่มีอยู่ในเขตเมืองและสร้างโดยพระมหากษัตริย์จึงมีอยู่มากมาย ภายหลังจึงได้มีการค้นพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่คนไทยนิยมบรรจุไว้ในกรุของวัดต่างๆ ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปะหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือเมื่อพุทธศักราช 2500 เมื่อได้มีการค้นพบเครื่องทองที่เป็นชุดสถูปและเครื่องราชูปโภคจำลองซึ่งสันนิษฐานว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ได้สร้างเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเชษฐาสองพระองค์ของพระองค์โดยบรรจุไว้ในกรุวัดราชบูรณะ เมื่อพุทธศักราช 1967การค้นพบครั้งนั้นเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ของงานโบราณคดีในสมัยแรกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จเจ้าพระนางพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโบราณวัตถุเหล่านั้นและพระราชทานพระราชดำริว่สมควรจัดสร้างพิพิธภัณฑ สถานขึ้น ณ สถานที่พบคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเก็บรักษาให้เป็นมรดกของท้องถิ่นนั้นต่อไป เนื่องจากเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของที่นั่น กรมศิลปากรจึงได้จัดสร้าง “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา” ขึ้นมา ที่กลางเมืองพระนครศรีอยุธยา และเปิดเป็นทางการเมื่อพุทธศักราช 2504 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยานี้ ต้องถือว่าเป็นต้นแบบของพิพิธภัณฑสถานที่สร้างขึ้น เพื่อการเป็นพิพิธภัณฑสถานโดยตรงตั้งแต่ต้นมิใช่เป็นเพียงเพื่อการเก็บรวบรวมรักษามรดกของชาติเพียงอย่างเดียวเหมือนพิพิธภัณฑสถานรุ่นก่อนๆจึงได้มีการวางแผนงานการจัดอย่างเป็นเรื่องเป็นราวจากจุดเริ่มต้น
วัสดุ สำริด
แบบศิลปะ ศิลปะล้านช้าง
อายุสมัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22-24
สถานที่พบ พบระหว่างการไถที่ดินของนางสาวปาริชาต อุดมสี บ้านนาดูน ตำบลหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2549
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงเป็นแถบโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกเป็นสันปลายบาน พระโอษฐ์เล็ก แย้มพระโอษฐ์เล็กน้อย มีเส้นไรพระศก เม็ดพระศกเป็นทรงกรวยแหลมเรียงเป็นระเบียบ อุษณีษะเป็นต่อมกลม พระรัศมีเป็นทรงกรวยเหลี่ยม พระกรรณยาวปลายงอนเล็กน้อย พระศอเป็นปล้อง ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา สังฆาฏิเป็นแถบสี่เหลี่ยมปลายตัดตรงยาวจรดพระนาภี พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเขียงเรียบ เม็ดพระศกและพระรัศมีลงรักและปิดทอง
เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๑ คณะเจ้าหน้าที่สรรพากรจังหวัดนครราชสีมา เข้าชมโบราณสถานปราสาทพนมวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ปราสาทพนมรุ้ง ศาสนสถานเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ที่มีประวัติพัฒนาการในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๘ โดยกำหนดอายุสมัยจากศิลาจารึกและรูปแบบศิลปกรรมที่แบ่งออกได้ถึง ๔ ระยะ และอาจกล่าวได้ว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของการสร้างศาสนสถานบนเขาพนมรุ้ง เพราะมีการสถาปนาปราสาทประธานและอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบแผนผังที่แสดงถึงการจำลองเขาไกรลาสที่ประทับของพระศิวะมาไว้บนโลกมนุษย์อย่างชัดเจน “นเรนทราทิตย์” คือพระนามที่ปรากฏในจารึกช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ว่าพระองค์คือผู้สร้างปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งที่ผ่านมายังไม่พบว่าปรากฏพระนามนี้อยู่ในจารึกหลักใด นอกจากจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง พระนาม “นเรนทราทิตย์” มาจากคำว่า นเรนทร + อาทิตย์ คำว่า “นเรนทร” หมายถึง พระราชา ส่วนคำว่า “อาทิตย์” ก็คือ พระอาทิตย์ รวมกันแล้วจึงหมายถึง พระราชาแห่งดวงอาทิตย์ หรือผู้ยิ่งใหญ่ประดุจดั่งดวงอาทิตย์ และเป็นที่น่าสังเกตว่าความหมายที่เกี่ยวเนื่องกับพระอาทิตย์นี้ยังปรากฏในพระนามของกษัตริย์ในวัฒนธรรมเขมรโบราณด้วย เช่น พระเจ้าสุริยวรมัน พระเจ้าอุทัยทิตยวรมัน เป็นต้น ความในจารึกพนมรุ้งหลักที่ ๗, ๘ และ ๙ กล่าวว่า นเรนทราทิตย์เป็นโอรสของพระนางภูปตินทรลักษมี เป็นผู้มีสติปัญญาหลักแหลม มีความสามารถในการรบ ได้เข้าร่วมรบกับกองทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ ในการรวบรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่น นเรนทราทิตย์คงได้รับความดีความชอบเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองเมืองแห่งดินแดน “มหิธรปุระ” ----- พระองค์ทรงสร้างปราสาทประธาน ประดิษฐานรูปเคารพ สร้างงานศิลปกรรมที่ปรากฏเป็นลวดลายสลักต่าง ๆ เช่น หน้าบันและทับหลัง ที่ล้วนแสดงให้เห็นว่ามีความประสงค์ที่จะสร้างเป็นเทวาลัยแห่งพระศิวะ มีศิวลึงค์เป็นองค์ประธาน และยังมีการนับถือเทพองค์อื่น ๆ ซึ่งอยู่ในสถานะเทพชั้นรอง นอกจากนี้ข้อความในจารึกยังกล่าวว่า “นเรนทราทิตย์ได้สร้างปราสาทแห่งนี้เพื่อประดิษฐานรูปเคารพของตนเอง เพื่อเตรียมไว้สำหรับการเข้าไปรวมกับเทพที่ทรงนับถือหลังจากสิ้นพระชนม์” พระองค์ทรงทำนุบำรุงศาสนา อุปถัมภ์พราหมณ์ ดาบส โยคี เช่น ทรงสร้างสระน้ำ สร้างทางเดินแด่พระดาบสให้ทอดไปตามสันเขาเพื่อข้ามน้ำ ถวายทรัพย์ ข้าทาส ที่ดิน และเครื่องบวงสรวงทุกวันแด่เทวาลัย ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอันแรงกล้า ในลัทธิไศวนิกาย แบบปศุปตะ พระองค์จึงออกบวชถือองค์เป็นนักพรตจวบจนวาระสุดท้าย โอรสของพระองค์คือ “หิรัณยะ” เป็นผู้ให้จารึกเรื่องราวเพื่อสรรเสริญเกียรติคุณของพระบิดา และได้ให้ช่างหล่อรูปของนเรนทราทิตย์ด้วยทองคำ นอกจากเนื้อความในจารึกแล้ว ยังปรากฏภาพสลักสำคัญอยู่บนทับหลังประตูชั้นที่สองมุขด้านทิศใต้ของปราสาทประธาน ที่สันนิษฐานกันว่าเป็นภาพ “พิธีอภิเษกนเรนทราทิตย์” ตรงกลางเป็นรูปบุคคลฉลองพระองค์อย่างกษัตริย์ แวดล้อมด้วยเหล่าข้าราชบริพาร อาจหมายถึงพิธีอภิเษกนเรนทราทิตย์เป็นฤาษีหลังจากเสด็จจากเมืองพระนคร เพื่อมาบำเพ็ญพรต ณ เขาพนมรุ้งตามความในศิลาจารึกพนมรุ้ง ๗ (หรือ K ๓๘๔) ที่กล่าวว่า “พระองค์ผู้ปราศจากมลทิน...ไปแล้วกับหมู่คนผู้เป็นชาวนคร” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงวิเคราะห์ว่า “นคร” ในที่นี้คงหมายถึง เมืองพระนครอันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรโบราณ เนื่องจากศิลาจารึกซึ่งค้นพบในประเทศกัมพูชาหลายหลักเรียกเมืองพระนครว่า “นคร” ปัจจุบัน เรื่องราวของนเรนทราทิตย์ ผู้สร้างปราสาทพนมรุ้ง ได้รับการถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของการแสดง แสง สี เสียง เนื่องในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ซึ่งจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ----------------------------------------- ผู้เรียบเรียง: นางสาวสุรีรัตน์ ทองภู นักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เอกสารอ้างอิง: กรมศิลปากร, ปราสาทพนมรุ้ง, ๒๕๕๑. กรมศิลปากร, อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ, ๒๕๕๗. ชะเอม แก้วคล้าย, จารึกปราสาทหินพนมรุ้งที่พบใหม่ จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง ๘, ๒๕๓๐. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง, ๒๕๒๑. หม่อมราชวงศ์สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ปราสาทเขาพนมรุ้งศาสนบรรพตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย, ๒๕๓๖.