ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
รวบรวมภาพ พระราชกรณียกิจ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนารถบพิตร ในขณะครองราชย์ ดำรงพระอิสริยยศเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ บรมนารถบพิตร รัชกาลที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2552 ผู้แต่ง สำนักงานเสิมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล โรงพิมพ์ ด่านสุทธาการพิมพ์ ปีที่พิมพ์ 2552 ภาษา ไทย - อังกฤษ รูปแบบ pdf เลขทะเบียน หช.จบ. 155 จบ (ร) (201)
องค์ความรู้ เรื่อง เหรียญเงินมีจารึก “ศฺรีทฺวารวตี ศฺวรปุณฺย จากโบราณสถานคอกช้างดินหมายเลข ๗ เมืองโบราณอู่ทอง จัดทำข้อมูลโดย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง
***บรรณานุกรม***
ผดุงถิ่นยุคข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 16(7)
ฉบับที่ 655(249)
วันที่ 1-15 มิถุนายน 2534
ชื่อเรื่อง ชมฺพูปติสุตฺต (มหาชมพูบดีสูตร)สพ.บ. 177/3ประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 22 หน้า กว้าง 5 ซ.ม. ยาว 55.5 ซ.ม. หัวเรื่อง มหาชมพูบดีสูตรบทคัดย่อ/บันทึก
เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม เส้นจาร ฉบับล่องชาด ภาษาบาลี-ไทย ได้รับบริจาคมาจากวัดพยัคฆาราม อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี
เนื่องในงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่และของดีเมืองกำแพงเพชร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จึงจัดทำองค์ความรู้ เรื่อง งานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ซึ่งถือเป็นงานประเพณีประจำปีของเมืองกำแพงเพชร
งานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายกล้วยไข่ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรมีความโดดเด่นตรงที่ผลดก ลูกโต เปลือกสีทอง เนื้อแน่น รสหอมหวาน จึงทำให้เมืองกำแพงเพชรได้ชื่อว่าเป็นเมืองกล้วยไข่ ทางจังหวัดกำแพงเพชรจึงได้จัดงานประเพณีนี้ขึ้นมาเป็นประจำทุกปี เพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีการทำบุญวันสารทไทย และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชรด้วย โดยในงานจะมีการจัดขบวนแห่รถกล้วยไข่ ประกวดกล้วยไข่ดิบและกล้วยไข่สุก การประกวดธิดากล้วยไข่ การกวนกระยาสารท การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของท้องถิ่น เป็นต้น
เรียบเรียงข้อมูลโดยนางสาวมาริษา เสนอิ่ม พนักงานประจำห้องพิพิธภัณฑ์
++++++++++++++++++++++++++++++
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ขอเชิญชวนเที่ยวงานประเพณีสารทไทยกล้วยไข่และของดีเมืองกำแพงเพชร ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๒๖ กันยายน ๒๕๖๓ ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองกำแพงเพชร
ไปเที่ยวงานกล้วยไข่แล้ว อย่าลืมแวะมาเที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ด้วยนะคะ
ประติมากรรมปูนปั้นรูปสิงห์ สภาพชำรุดเหลือเพียงส่วนใบหน้า มีตาโปน คิ้วหยักเป็นเส้นต่อกัน จมูกใหญ่ อ้าปากกว้าง แลบลิ้น มีร่องรอยของการปั้นแผงคอรอบใบหน้า ประติมากรรมชิ้นนี้น่าจะใช้สำหรับประดับส่วนฐานของศาสนสถาน เนื่องจากพบว่าส่วนฐานของโบราณสถานที่พบประติมากรรมชิ้นนี้ทำเป็นช่อง ซึ่งจากตัวอย่างสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมทวารวดีส่วนฐานที่เจาะเป็นช่องนี้มักประดับด้วยประติมากรรม ทั้งที่เป็นดินเผา หรือปูนปั้น บางครั้งปั้นเป็นเรื่องชาดก รูปคนแคระแบก หรือรูปสัตว์ เป็นต้น ประติมากรรมรูปสัตว์ที่ช่างสมัยทวารวดีนิยมสร้างเพื่อประดับส่วนฐานของศาสนสถาน มักทำเป็นรูปช้างหรือสิงห์ เพราะเป็นสัตว์ที่มีอำนาจและพละกำลัง หมายถึงผู้พิทักษ์ ปกปักรักษา และค้ำจุนศาสนสถานแห่งนั้น ซึ่งมีต้นแบบและคติการสร้างมาจากศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ ทั้งนี้มีการพบหลักฐานประติมากรรมรูปสิงห์ประดับศาสนสถานในเมืองโบราณวัฒนธรรมทวารวดีหลายแห่งในภาคกลางของประเทศไทย เช่น เมืองโบราณโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ เมืองโบราณคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองนครปฐมโบราณ เป็นต้น ที่มีรูปแบบศิลปะแตกต่างกันไป น่าจะเกิดจากการผสมผสานศิลปะอินเดียซึ่งเป็นต้นแบบเข้ากับงานช่างท้องถิ่นแต่ละที่ จึงสามารถกำหนดอายุประติมากรรมสิงห์นี้ได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ (ประมาณ ๑,๒๐๐ – ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว) ซึ่งเป็นช่วงที่ศิลปะทวารวดีเริ่มมีพัฒนาเป็นรูปแบบการทางศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่แตกต่างจากศิลปะอินเดียแล้ว การพบประติมากรรมรูปสิงห์ ซึ่งไม่ใช่สัตว์ประจำถิ่นที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกว่าเมืองในวัฒนธรรมทวารดี ติดต่อกับอารยธรรมภายนอก ที่สำคัญคืออินเดีย ในช่วงก่อนช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๔---------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง https://www.facebook.com/153378118193282/posts/1470400123157735/?d=n---------------------------------------------------บรรณานุกรม กรมศิลปากร. ศิลปะทวารวดี ต้นกำเนิดพุทธศิลป์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด, ๒๕๕๒. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. นนทบุรี : เมืองโบราณ, ๒๕๖๒. สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ., ศิลปะขอม. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙.
องค์ความรู้ เรื่อง "สมุทรสาคร: แม่น้ำท่าจีนและและบ้านท่าจีน" เรียบเรียงข้อมูลโดย นางสาวสุกัญญา เรือนแก้ว ภัณฑารักษ์ชำนาญการ และออกแบบโดย นางสาวสุชานันท์ ชัยคำจันทร์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี*เผยแพร่ข้อมูล : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร
เลขทะเบียน : นพ.บ.142/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 70 หน้า ; 4.6 x 55.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากชื่อชุด : มัดที่ 85 (340-345) ผูก 4 (2564)หัวเรื่อง : สงฺคีติกถา (ปถมพระสงฺคายนา-จตุตถพระสงฺคายนา)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ขอมภาษา : บาลี-ไทยบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.89/11ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 54 หน้า ; 4.6 x 50 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ชื่อชุด : มัดที่ 52 (103-117) ผูก 11 (2564)หัวเรื่อง : ธมฺมปทวณฺณนา ธมฺปทฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฐกถา (ธรรมบท)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม