ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ

เลขทะเบียน : นพ.บ.160/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ :  52 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา  ชื่อชุด : มัดที่ 96 (27-34) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : ปริวารปาลิ(ปาลีปริวาน) --เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)  ชบ.บ.40/1-6  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)



มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (สุวณฺณสาม,มโหสถ,วิธูร,เนมิราชชาตก)  ชบ.บ.105.7ข/1-5  เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)


เลขทะเบียน : นพ.บ.331/3ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 60 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 131  (338-342) ผูก 3 (2565)หัวเรื่อง : มิลินฺทปญฺหา(พระยามิลินทะ)--เอกสารโบราณ            คัมภีร์ใบลาน            พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา  สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม


        การกำเนิดและลักษณะของเทวดานพเคราะห์ในไทย มีกล่าวถึงพาหนะและอาวุธของแต่ละองค์ในคัมภีร์เฉลิมไตรภพกับมหาทักษาปกรณ์ โดยกล่าวว่าหลังจากเกิดไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลกแล้ว บรรดาพระเวทรวมตัวกันขึ้นมาเป็นพระอิศวร พระองค์ก็เริ่มสร้างโลกและสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ จากนั้นทรงสร้างเทวดานพเคราะห์จากสิ่งต่างๆ  เพื่อดูแลความเป็นไปในจักรราศี การเรียงลำดับเทวดานพเคราะห์จะไม่เป็นไปตามการเรียงวันในหนึ่งสัปดาห์ แต่จะเรียงลำดับตามผังทักษา ดังนี้ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระเสาร์ พระพฤหัสบดี พระราหู พระศุกร์ และพระเกตุ   ผู้เรียบเรียง : นางอภิญญานุช เผ่าพงษ์คล้าย  บรรณารักษ์ชำนาญการ   ข้อมูลอ้างอิง กรมศิลปากร  หอสมุดแห่งชาติ.  ตำราภาพเทวรูป และเทวดานพเคราะห์.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2535.       เลขหมู่ 294.5211 ศ528ต กรมศิลปากร  สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.  เทวดานพเคราะห์ = Images of the nine planets. กรุงเทพฯ : สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2560.       เลขหมู่ 731.88 ศ528ท สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม


ชื่อเรื่อง : มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ แบบสอนหนังสือไทย ชื่อผู้แต่ง : ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร), พระยา ปีที่พิมพ์ : 2510 สถานที่พิมพ์ : พระนคร สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์บำรุงนุกูลกิจ จำนวนหน้า : 290 หน้า สาระสังเขป : หนังสือแบบเรียนภาษาไทยสมัยโบราณ ประพันธ์โดยพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) มีเนื้อหา 6 เรื่อง ประกอบด้วย  1. มูลบทบรรพกิจ ว่าด้วยรูปสระและพยัญชนะ  2. วาหนิติ์นิกร ว่าด้วยอักษรนำ 3. อักษรประโยค ว่าด้วยอักษรควบและการใช้บุรพบท กับ แก่ แต่ ต่อ 4. สังโยคพิธาน ว่าด้วยพยัญชนะที่สะกดในมาตราแม่กน กก กด กบ 5. ไวพจน์พิจารณ์ ว่าด้วยคำพ้องเสียง 6. พิศาลการันต์ ว่าด้วยการใช้การันต์และการใช้วรรณยุกต์ ตรี จัตวา และไม้ไต่คู้


 "ซุ้มประตูป่า". ซุ้มประตูป่า หมายถึง ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า ซึ่งมักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน. ชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัด ด้วยซุ้มประตูป่า โดยการนำต้นกล้วย ใบมะพร้าว ต้นอ้อย โคมหูกระต่าย โคมเงี้ยวหรือโคมชนิดอื่นๆ ดอกไม้ต่างๆ ตกแต่งเป็นซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในวันยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า และเชื่อกันว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าหิมพานต์ภายในบ้านของของเรา จะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมาก. การสร้างซุ้มประตูป่า นอกจากมีคติความเชื่อ ในเรื่องการต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดรแล้ว ยังเป็นซุ้มที่ใช้จุดผางประทีป เพื่อบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ โดยจุดไว้ในโคมหูกระต่าย อีกทั้งยังมีโคมชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการประดับตกแต่งอีกด้วย""""""""""""""""""""""""""""""". เอกสารอ้างอิงมณี พยอมยงค์. (๒๕๔๗). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.ศรีเลา เกษพรหม. (๒๕๔๒). ล่องสะเพา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๑, หน้า ๕๘๕๐-๕๘๕๐). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๑). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.. ภาพถ่าย โดย คุณกานต์ธีรา ไชยนวล"""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.e-mail: cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call: +66 5322 1308+


     50Royalinmemory ๑๕ เมษายน ๒๔๔๘ (๑๑๗ ปีก่อน) – วันประสูติพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี       ธิดาของพระยาอภัยภูเบศร (เลื่อม อภัยวงศ์) กับเล็ก บุนนาค (พระนามเดิม : เครือแก้ว อภัยวงศ์) ดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี” ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ มีพระราชธิดาพระองค์เดียว สิ้นพระชนม์วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๒๘ พระชันษา ๘๐ ปี        Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๓๐ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖             (เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)


ชื่อเรื่อง                     ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ของเสฐียร โกเศศผู้แต่ง                       อนุมานราชธน (ยง เสถียรโกเศศ)ประเภทวัสดุ/มีเดีย       หนังสือหายากหมวดหมู่                   ศาสนาเลขหมู่                      392 อ197ปส สถานที่พิมพ์               พระนครสำนักพิมพ์                 โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรมปีที่พิมพ์                    2502ลักษณะวัสดุ               90 หน้าหัวเรื่อง                     พิธีกรรม                              ไทย – ความเป็นอยู่และประเพณีภาษา                       ไทยบทคัดย่อ/บันทึก             หนังสือเรื่องนี้ เป็นเรื่องหนึ่งในบรรดางานเขียนของเสฐียร โกเศศ ประเพณีไทย เรื่อง ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ประเพณีเกี่ยวกับครอบครัว เรื่องทำขวัญเดือน เรื่องบวช เรื่องแต่งงาน และเรื่องตาย


          ภาพสัญลักษณ์มงคลมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมจีนมาช้านาน เราสามารถพบเห็นภาพสัญลักษณ์มงคลเหล่านี้ได้ บนเสื้อผ้า อาวุธ ข้าวของเครื่องใช้ งานศิลปกรรม หรือแม้แต่เครื่องถ้วย สัญลักษณ์มงคลจีนมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ ต้นไม้ ดอกไม้ หรือตัวอักษรจีนที่มีความหมายเป็นมงคล เป็นต้น โดยสัตว์ชนิดหนึ่งที่มักพบในสัญลักษณ์มงคลจีน คือ ค้างคาว          ค้างคาว หรือในภาษาจีนกลางเรียกว่า เปียนฝู (蝙蝠) เป็นหนึ่งในสัตว์มงคลที่มักจะพบอยู่บนข้าวของเครื่องใช้ เชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีมีสุข เนื่องจากอักษร ฝู ในคำเรียกค้างคาวนั้นไปพ้องเสียงกับอักษร ฝู (福) ที่แปลว่า โชคดี รวมถึงพ้องเสียงกับชื่อเทพเจ้า ฝู หนึ่งในสามเทพเจ้าแห่งดวงดาวในลัทธิเต๋า ฝู ลู่ โซ่ว (福禄寿, ภาษาแต้จิ๋ว : ฮก ลก ซิ่ว) นอกจากนี้ ค้างคาวยังปรากฏอยู่ในตำนานอื่น ๆ ของจีนอีกด้วย เช่น ชาวจีนเชื่อว่าค้างคาวมีอายุยืนยาวมากเพราะดื่มกินแต่น้ำบริสุทธิ์จากในถ้ำเท่านั้น หรือเชื่อว่าหากได้กินค้างคาวสีขาวก็จะมีอายุยืนยาว          การสร้างภาพมงคลรูปค้างคาวมีหลายแบบ แต่ละแบบให้ความหมายที่แตกต่างกันไป อาทิ ค้างคาวตัวเดียว หมายถึง ความโชคดี ค้างคาวสองตัว หมายถึง ความโชคดีทวีคูณ นอกจากนี้ ค้างคาวยังถูกใช้เป็นรูปแทนเทพเจ้าฝูในฝู ลู่ โซ่วด้วย ทว่ารูปแบบหนึ่งที่พบบ่อย คือ การทำรูปค้างคาวห้าตัวซึ่งเป็นตัวแทนของอู่ฝู (五福) หรือความสุขห้าประการ คำสอนสำคัญที่ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์ซ่างซู (尚书) ของลัทธิขงจื๊อ กล่าวถึงความสุขอันแท้จริงของมนุษย์ที่พึงได้รับ ประกอบด้วยฉางโซ่ว (长寿) หมายถึง มีอายุอันยืนยาว ฟู่กุ้ย (富贵) หมายถึง มั่งคั่งร่ำรวย คังหนิง (康宁) หมายถึง สุขภาพดีปราศจากโรคภัย เห่าเต๋อ (好得) หมายถึง คุณธรรมอันประเสริฐ ซ่านจง (善终) หมายถึง การตายอย่างสงบสุข          รูปค้างคาวแต่ละตัวจึงหมายถึงความสุขแต่ละประการข้างต้นนั่นเอง และในบางครั้งจะพบว่ามีการนำอู่ฝูมาประกอบร่วมกับสัญลักษณ์มงคลอื่น ๆ เช่น ลูกท้อ ผักกาด หรือประกอบตัวอักษรจีนประดิษฐ์ เช่น ซวงสี่ (囍, มงคลคู่, ภาษาแต้จิ๋ว : ซังฮี้) เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความเป็นสิริมงคลและได้รับโชคดี และยัง สะท้อนภาพคติความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวจีนที่สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน-----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก----------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง  ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. ๑๐๘ สัญลักษณ์จีน. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. ๒๕๕๖.



          พระพุทธรูปลีลา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแบบนูนสูง แสดงอิริยาบถเดิน โดยพระบาทซ้ายก้าวไปข้างหน้า พระบาทขวายกส้นพระบาทขึ้นเล็กน้อย ยกพระหัตถ์แสดงปางประทานอภัย นับเป็นการสร้างสรรค์งานประติมากรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของศิลปะสุโขทัย เป็นการสร้างสรรค์พุทธศิลป์ตามคตินิยมเรื่อง “มหาบุรุษลักษณะ” ที่มีความงามตามอุดมคติอย่างแท้จริง คือ มีพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งงุ้ม พระเนตรเรียวยาวปลายตวัดขึ้น พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อยหยักเป็นคลื่น พระวรกายได้สัดส่วนมีความงานตามอุดมคติของสกุลช่างสุโขทัย คือ พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก พระหัตถ์เรียวทอดลงเบื้องล่างอย่างได้สัดส่วน ต้นขาเรียวไม่แสดงกล้ามเนื้อ ไม่แสดงข้อต่อใด ๆ จัดเป็นศิลปะสุโขทัยแบบหมวดใหญ่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ----------------------------------------------------ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย https://www.facebook.com/profile/100068946018506/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B2


          พระบรมสารีริกธาตุ คือ พระบรมอัฐิขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายหลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ นับเป็นปูชนียวัตถุแทนพระพุทธองค์ที่พุทธศาสนิกชนนับถือบูชาแต่แรกปรินิพพานสืบมาจนถึงปัจจุบัน ในมหาปรินิพพานสูตรกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุว่า หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว โทณพราหมณ์ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน เพื่อให้กษัตริย์และพราหมณ์อัญเชิญกลับไปยังดินแดนของตน ๘ เมือง ได้แก่ เมืองราชคฤห์ เมืองเวสาลี เมืองกบิลพัสดุ์ เมืองอัลปัปปะ เมืองรามคาม เมืองเวฏฐทีปกะ เมืองปาวา และเมืองกุสินารา กษัตริย์เมืองต่าง ๆ ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานในสถูป นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการบูชาพระบรมสารีริกธาตุในเวลาต่อมา            ในดินแดนไทยเมื่อมีการรับพุทธศาสนาจากชมพูทวีป วัฒนธรรมแรกที่รับพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นภายใต้ชื่อว่า “ทวารวดี” ที่มีช่วงอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ -๑๖ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่ามีการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ใต้ฐานของเจดีย์หมายเลข ๑ เมืองโบราณคูบัว ซึ่งถือเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในวัฒนธรรมทวารวดี โดยการขุดค้นทางโบราณคดีพบการก่ออิฐเรียงเป็นหลุมบริเวณกลางเจดีย์ในระดับพื้นดิน ลักษณะตารางเว้นช่องว่างที่มุมทั้ง ๔ และช่องตรงกลาง คือ ตำแหน่งของการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอยู่ในผอบครอบ ๓ ชั้น ซึ่งลักษณะการก่ออิฐเป็นช่องตารางนี้คล้ายคลึงกับแผ่นหินที่สลักแผ่นหินหรือก่ออิฐเป็นช่อง ๕ ช่อง หรือ ๙ ช่อง และบรรจุสิ่งของมงคลต่าง ๆ ลงไป แบบเดียวกับประเพณีวางศิลาฤกษ์ของอินเดีย ลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้            ผอบทั้ง ๓ ชั้นนั้น ชั้นแรกเป็นผอบสำริดฝาลายดอกบัว ชั้นที่ ๒ ผอบเงินฝาตกแต่งลายกลีบบัว ชั้นล่างสุดเป็นผอบทองคำเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ เซนติเมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๕ องค์ ลูกปัดแก้วสีน้ำเงินสมัยทวารวดี ชิ้นส่วนทองคำที่ยังไม่ได้แปรสภาพ และวัตถุสีแดงคล้ายก้อนดินบรรจุรวมอยู่ด้วย ช่องสำหรับบรรจุผอบถูกปิดด้วยแผ่นหิน สลักภาพพระพุทธรูปนูนต่ำขนาบข้างด้วยสถูปทรงหม้อปูรณฆฏะ (หม้อน้ำ) และธรรมจักรที่ตั้งอยู่บนเสา ซึ่งเป็นการปิดห้องกรุให้มิดชิดตามคัมภีร์ในพุทธศาสนา            การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในสถูปเจดีย์นั้นเป็นแนวคิดมาจากสถานที่ฝังศพ โดยพระบรมสารีริกธาตุเปรียบเสมือนกระดูกของคนตาย ห้องกรุใต้สถูปเปรียบได้กับหลุมฝังศพ องค์เจดีย์ที่ก่อทับพระบรมสารีริกธาตุก็พัฒนามาจากเนินดินฝังศพ พระบรมสารีริกธาตุที่ค้นพบจากเจดีย์หมายเลข ๑ ซึ่งได้รับการขุดค้น ขุดแต่งอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยนักโบราณคดีนี้ ถือได้ว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการประดิษฐานในดินแดนประเทศไทยเป็นองค์แรก ๆ   ----------------------------------------------------- ที่มาของข้อมูล: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี https://www.facebook.com/ilove.ratchaburi.national.museum/posts/pfbid02UMip7zp3p1iF3LR6Jtj6KGYojz1FXqFbwhhVMMuWwZisNCUtjxaxrK6ff1zECERrl -----------------------------------------------------   *เผยแพร่ข้อมูลทางเว็บไซต์ โดยกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร



Messenger