นกยูง…จากความงามสู่ความเชื่อ
นกยูง…จากความงามสู่ความเชื่อ
นกยูง (peafowl) เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ จัดอยู่ในสกุล Pavo มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวผู้จะมีหางยาวสีสันงดงามสามารถแผ่ขยายออกเป็นวง หรือที่เรามักเรียกว่า การรำแพนหาง เพื่อใช้เกี้ยวพาราสีตัวเมีย พบได้ทั้งในประเทศอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน และดินแดนแถบเอเชียอาคเนย์ นกยูงจึงเป็นสัตว์ที่ผู้คนในแถบเอเชียคุ้นเคยเป็นอย่างดี ด้วยความสวยงามและลักษณะการรำแพนหางของนกยูงตัวผู้ ทำให้นกยูงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมของหลาย ๆ วัฒนธรรมมาอย่างช้านาน
การสร้างงานศิลปกรรมที่มีนกยูงเป็นองค์ประกอบในประเทศไทยเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖) โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ดังมีการค้นพบลายปูนปั้นรูปนกยูงที่เจดีย์ ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนที่นกยูงจะปรากฏสืบเนื่องมาถึงสมัยหลัง เช่น ในสมัยสุโขทัย มีการเขียนลายรูปนกยูงลงบนเครื่องสังคโลก ซึ่งนอกจากจะเป็นการตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ว ยังสื่อถึงความหมายในเชิงบวกด้วย เนื่องจากนกยูงได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์มงคลในความเชื่อต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ ใน มหาโมรชาดก ของพระพุทธศาสนากล่าวถึงเรื่องราวเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นนกยูง หรือในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นกยูงเป็นบริวารของเทพเจ้าหลายองค์ และเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ความสูงส่ง และความรัก คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมจีนที่นับถือนกยูงว่าเป็นบริวารของเจ้าแม่กวนอิม ทั้งยังหมายความถึงพระอาทิตย์ ความรัก และความเมตตา จึงมีการปักรูปนกยูงลงบนเสื้อผ้าของชนชั้นสูงเพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงนำหางนกยูงมาประดับหมวกเพื่อแบ่งลำดับขั้นของขุนนาง ในขณะที่ชาวเปอร์เซียเปรียบนกยูงเป็นตัวแทนของกษัตริย์และพลังอำนาจ ส่วนชาวกรีก - โรมันเชื่อว่านกยูงเป็นผู้ลากราชรถของเทพีเฮร่า และชาวคริสต์ที่เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ
นกยูง (peafowl) เป็นสัตว์ปีกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ จัดอยู่ในสกุล Pavo มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวผู้จะมีหางยาวสีสันงดงามสามารถแผ่ขยายออกเป็นวง หรือที่เรามักเรียกว่า การรำแพนหาง เพื่อใช้เกี้ยวพาราสีตัวเมีย พบได้ทั้งในประเทศอินเดีย ทางตอนใต้ของประเทศจีน และดินแดนแถบเอเชียอาคเนย์ นกยูงจึงเป็นสัตว์ที่ผู้คนในแถบเอเชียคุ้นเคยเป็นอย่างดี ด้วยความสวยงามและลักษณะการรำแพนหางของนกยูงตัวผู้ ทำให้นกยูงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมของหลาย ๆ วัฒนธรรมมาอย่างช้านาน
การสร้างงานศิลปกรรมที่มีนกยูงเป็นองค์ประกอบในประเทศไทยเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖) โดยได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดีย ดังมีการค้นพบลายปูนปั้นรูปนกยูงที่เจดีย์ ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนที่นกยูงจะปรากฏสืบเนื่องมาถึงสมัยหลัง เช่น ในสมัยสุโขทัย มีการเขียนลายรูปนกยูงลงบนเครื่องสังคโลก ซึ่งนอกจากจะเป็นการตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ว ยังสื่อถึงความหมายในเชิงบวกด้วย เนื่องจากนกยูงได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์มงคลในความเชื่อต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ ใน มหาโมรชาดก ของพระพุทธศาสนากล่าวถึงเรื่องราวเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็นนกยูง หรือในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู นกยูงเป็นบริวารของเทพเจ้าหลายองค์ และเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี ความสูงส่ง และความรัก คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมจีนที่นับถือนกยูงว่าเป็นบริวารของเจ้าแม่กวนอิม ทั้งยังหมายความถึงพระอาทิตย์ ความรัก และความเมตตา จึงมีการปักรูปนกยูงลงบนเสื้อผ้าของชนชั้นสูงเพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงนำหางนกยูงมาประดับหมวกเพื่อแบ่งลำดับขั้นของขุนนาง ในขณะที่ชาวเปอร์เซียเปรียบนกยูงเป็นตัวแทนของกษัตริย์และพลังอำนาจ ส่วนชาวกรีก - โรมันเชื่อว่านกยูงเป็นผู้ลากราชรถของเทพีเฮร่า และชาวคริสต์ที่เชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ
(จำนวนผู้เข้าชม 6956 ครั้ง)