ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
วันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๑ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองนครราชสีมา นำผู้เข้าร่วมโครงการค่ายเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย เข้าชมและศึกษาข้อมูลโบราณสถานปราสาทพนมวัน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
พระพุทธเจ้าสูงสุดทางการแพทย์และโอสถ ในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน พระนามหมายถึง บรมครูแห่งโอสถ (รักษาโรค) ผู้มีรัศมีดุจไพฑูรย์ (มณีสีน้ำเงิน-lapis lazuli) พระนามอื่น ๆ คือ เภษัชราชา (Bheṣajarāja) ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต (Bhaiṣajyaguruvaiḍūryaprabhātathāgata) ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชา (Bhaiṣajyaguruvaiḍūryaprabhārāja) ผู้ปลดเปลื้องมนุษย์จากโรคภัยไข้เจ็บและความทุกข์ทรมานต่าง ๆ หากได้สดับนามของพระองค์ และน้อมจิตบูชาอย่างถูกต้อง หรือเพียงสัมผัสรูปของพระองค์ ก็อาจหายจากโรคทางกายและทางใจ กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นเภสัชกรผู้เยียวยาจิตวิญญาณของมนุษย์ให้หลุดพ้นอวิชชา มิจฉาทิฐิ ไปสู่โพธิมรรคและนิพพาน ด้วยพระมหาปณิธานที่ทรงตั้งไว้ระหว่างบำเพ็ญบารมี 12 ประการ ภาพที่ 1. พระไภษัชยคุรุ ศิลปะพม่า แบบเชียงรุ้ง พุทธศตวรรษที่ 23 - 24 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ภาพที่ 2. บันแถลง (องค์ประกอบเครื่องบนหลังคาอาคารประเภทปราสาทหรือปรางค์) ศิลา ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18 - 19 สลักภาพพระไภษัชยคุรุ ปางสมาธิ ถือหม้อน้ำหรือตลับยา ในพระหัตถ์ สื่อความหมายว่าสถานแห่งนั้นอยู่ภายใต้ความความคุ้มครองของพระองค์ เก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย ประวัติของพระองค์กล่าวไว้ต่าง ๆ กัน บ้างก็ว่าพระองค์เป็นพระมานุษิพุทธเจ้า (Manuṣi Buddha) บ้างก็ว่าทรงเป็นพระโพธิสัตว์ (Bodhisattva) คัมภีร์บางแห่งกล่าวว่าพระองค์คือ พระโพธิสัตว์ไวโรจนะ (Vairocana) ดินแดน (พุทธเกษตร) ของพระองค์อยู่เบื้องทิศตะวันออก มีชื่อว่า “ศุทธิไวฑูรย์” หรือ “ไวฑูรนิรภาส” ตรงกันข้ามกับแดนสุขาวดี พุทธเกษตรทางทิศตะวันตกของพุทธเจ้าพระอมิตาภะ (Amitābha) ทรงมีพระโพธิสัตว์คู่บารมี 2 พระองค์ คือ พระสุริยประภาโพธิสัตว์ (Sūryaprabha) และ จันทรประภาโพธิสัตว์ (Candraprabha) พระองค์ทรงเป็นพระพุทธเจ้าที่ได้รับการนับถือมากที่สุด 1 ใน 3 องค์ของฝ่ายมหายาน ซึ่งประกอบด้วยพระศากยมุนี (Śākayamunī) พระไภษัชยคุรุ และพระอมิตาภะ กระทั่งนับถือเป็นพระพุทธเจ้าแห่งทิศตะวันออกแทนพระพุทธเจ้าอักโษภยะ (Akṣobhaya) ภาพที่ 3. พระไภษัชยคุรุ ทรงเครื่อง ปางสมาธิ ถือหม้อน้ำหรือตลับยาในพระหัตถ์ ศิลปะเขมรในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 18 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี รูปเคารพโดยทั่วไปของพระไภษัชยคุรุ มีลักษณะดังพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือครองจีวรแบบนักบวช พร้อมด้วยมหาปุริสลักษณะ วรรณะสีน้ำเงินหรือสีทอง ประทับขัดสมาธิเพชรบนบัลลังก์สิงห์ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ธยานมุทรา dhayanamudrā) ถือบาตร (patra) บรรจุโอสถ พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชงฆ์ (วรทมุทรา Varadamudrā) ถือยาสมุนไพร หรือขวดบรรจุยา โอสถที่บรรจุในบาตรหรือถือในพระหัตถ์ บ้างว่าเป็นกิ่ง อรุรา (arura ไม่มีนามทางวิทยาศาสตร์อันเป็นที่รู้จัก) บ้างว่าเป็นกิ่งสมอ (myrobalan) บ้างก็ว่าเป็นมะขามป้อม (อามลกะ- āmalaka, phyllanthus emblica) บางครั้งรูปเคารพของพระองค์ขนาบด้วยพระโพธิสัตว์สุริยประภาและพระโพธิสัตว์จันทรประภา และแวดล้อมด้วยมหายักษ์เสนาบดี 12 ตน ผู้พิทักษ์มหาปณิธานของพระองค์ คือ กุมภิระ (Kumbhira) วัชระ (Vajra) มิหิระ (Mihira) อัณฑีระ (Aṇḍīra) อนิล (Anila) ศัณฑิละ (Śaṇḍila) อินทระ (Indra) ปัชระ (Pajra) มโหรคะ (Mahoraga) กินนระ (Kinnara) จตุระ (Catura) และวิกราละ (Vikarāla) ภาพที่ 4. พระไภษัชยคุรุ ในลักษณะพระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก พระหัตถ์แสดงปางสมาธิ ถือหม้อน้ำหรือตลับยาในพระหัตถ์ ศิลปะเขมรในประเทศไทย พุทธศตวรรษที่ 18 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้อมูล : นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหนังสืออ้างอิง 1. ผาสุข อินทราวุธ, พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสมัย, 2543. 2. วิศวภัทร มณีปัทมเกตุ, แปล. พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาสัปตพุทธปูรวปณิธานวิเศษสูตร. กรุงเทพฯ: บริษัทเคล็ดไทย, 2544. 3. Gösta Lieber. Iconographic Dictionary of the Indian Religions Hinduism-Buddhism-Jainism. Leiden: E.J. Brill, 1976. 4. Trilok Chandra Majupuria and Rohit Kumar Majuria. Gods, Goddesses & Religious Symbols of Hinduism, Buddhism & Tantrism [Including Tibetan Deities]. Lashkar (Gwalior) : M. Devi, 2014.
รายงานการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๑. ชื่อโครงการ
The Study Visit to Hanoi, Vietnam หลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับการใช้ในการปฏิบัติงาน (Intensive Language Course: ILC) ประจำปี ๒๕๕๘
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในด้านการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาหลักที่ใช้ในการทำงาน (Working Language) ของอาเซียน
๒.๒ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพสังคม วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มอาเซียน ตลอดจนเป็นการเปิดโลกทัศน์และสร้างประสบการณ์ที่เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
๓. กำหนดเวลา
วันที่ ๔ – ๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๘
๔. สถานที่
เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม
๕. หน่วยงานผู้จัด
สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ
๖. หน่วยงานสนับสนุน
มหาวิทยาลัยฮานอย (Hanoi University of Foreign Studies)
๗. กิจกรรม
กิจกรรมการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ ๔ – ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๘. คณะผู้แทนไทย
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับการใช้ในการปฏิบัติงาน (Intensive Language Course: ILC) ประจำปี ๒๕๕๘
๙. สรุปสาระของกิจกรรม
กิจกรรม The Study Visit to Hanoi, Vietnam ตามหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับการใช้ในการปฏิบัติงาน (Intensive Language Course: ILC) ประจำปี ๒๕๕๘ เป็นการเปิดโลกทัศน์และสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนให้แก่ผู้เข้าอบรมเป็นอย่างมาก ทั้งจากกิจกรรมการฟังบรรยาย การแสดงแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจ ล้วนทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศเวียดนามในแง่มุมต่างๆ อาทิ ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ สภาพสังคม เศรษฐกิจ ภาษาและวัฒนธรรม อันจะเป็นรากฐานสำคัญในการเตรียมความพร้อมแก่บุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถที่กว้างขวางหลากหลาย และสามารถทำงานในเวทีประชาคมอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑๐. ข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรม
จากการเข้าร่วมกิจกรรม The Study Visit to Hanoi, Vietnam ผู้เข้าอบรมได้เยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางศาสนา ประวัติศาสตร์ และเศรษฐกิจหลายแห่งด้วยกัน แต่เป็นที่น่าเสียดายว่ากิจกรรมครั้งนี้มิได้จัดให้มีการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์แห่งชาติเวียดนาม (The National Museum of Vietnamese History) ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และพัฒนาการของประเทศเวียดนามในแต่ละช่วงเวลาไว้อย่างครบถ้วน อันจะช่วยให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของประเทศเวียดนามมากยิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาต่างประเทศครั้งต่อไป จึงควรจัดให้มีการเข้าศึกษาเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของประเทศนั้นๆ ด้วย เพื่อสร้างพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศนั้นๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาแง่มุมอื่นเกี่ยวกับประเทศนั้นต่อไป
นางสาวระชา ภุชชงค์ ผู้สรุปผลการเดินทางไปราชการ
ผู้แต่ง : กนกศักดิ์ เวชยานนท์โรงพิมพ์ : ศิลปชัยปีที่พิมพ์ : 2492ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.32บ.2142จบเลขหมู่ : 923 ก125ช
สาระสังเขป : ประวัติของพลโททักษ์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา ตั้งแต่เกิด เข้ารับการศึกษา ตั้งแต่ประถม จนเข้าโรงเรียนนายร้อยทหารบกและได้รับราชการทหาร จนถึงตำแหน่งในกองบัญชาการทหารสูงสุด 2 ตำแหน่ง คือ 1) เจ้ากรมการศึกษาวิจัย 2) ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร จนถึงแก่กรรมในวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2504ผู้แต่ง : -โรงพิมพ์ : ทหารอากาศปีที่พิมพ์ : 2504ภาษา : ไทยรูปแบบ : PDFเลขทะเบียน : น.32 บ. 5312 จบเลขหมู่ : 923.5593 ท 336 ท
เลขทะเบียน : นพ.บ.21/1ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 46 หน้า ; 5 x 57 ซ.ม. : ชาดทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา มีฉลากไม้ไผ่ชื่อชุด : มัดที่ 11 (114-122) ผูก 6หัวเรื่อง : อาการวัตตสูตร --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
เลขทะเบียน : นพ.บ.44/8ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 44 หน้า ; 4 x 55 ซ.ม. : ทองทึบ ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 26 (254-266) ผูก 8หัวเรื่อง : มหานิปาตวณฺณนา --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ชื่อผู้แต่ง : ยอช เซเดส์ , ศาสตราจารย์ชื่อเรื่อง : ตำนานพระพิมพ์ครั้งที่พิมพ์ : พิมพ์ครั้งที่สิบแปดสถานที่พิมพ์ : พระนครสำนักพิมพ์ : กรุงเทพสยามการพิมพ์ปีที่พิมพ์ : ๒๕๑๒จำนวนหน้า : ๕๖ หน้าหมายเหตุ : พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายประสาน ชูตินันท์ ฌาปนสถานกองทัพบก วัดโสมนัสวิหาร วันที่ ๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒ หนังสือตำนานพระพิมพ์นี้ มีแต่พระพิมพ์ในพระพุทธศาสนา ศาสนาเดียว มูลเหตุที่จะสร้างพระพิมพ์นั้น เกิดแต่พวกสัปบุรุษนิยมไปบูชายังที่สังเวควัตถุทั้ง ๔ คือ ที่พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนา และปรินิพพาน พวกชาวเมืองจึงคิดทำพระพิมพ์ขึ้นสำหรับจำหน่ายแก่สัปบุรุษโดยราคาถูก ๆ ให้ซื้อหาได้ทั่วกัน พวกสัปบุรุษก็พากันนิยมยินดี จึงเกิดชองสร้างพระพิมพ์กันขึ้นด้วยประการฉะนี้
ชื่อเรื่อง : มนุสสปฏิวัติ
ชื่อผู้แต่ง : วิจิตรวาทการ, พล.ต. หลวง
ปีที่พิมพ์ : 2482
สถานที่พิมพ์ : พระนคร
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์พระจันทร์
จำนวนหน้า : 46 หน้า
สาระสังเขป : มนุสสปฏิวัติ คือปาฐกถาของ พล.ต. หลวงวิจิตรวาทการ แสดงที่สโมสรกลาโหม เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2482 กล่าวถึง การเปลี่ยนลักษณะนิสัยใจมนุษย์ จากสภาพอันไม่พึงปรารถนา ให้เข้าสู่สภาพอันพึงปรารถนา และอธิบายความหมายของคำว่าปฏิวัติที่ไม่มีใครกล้าพูดเรื่องนี้อย่างเปิดเผย เพราะผู้คนมักเข้าใจว่าเป็นการก่อกบฏ แต่ความจริงแล้วคำว่าปฏิวัติหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องเป็นไปตามปกติภาพของโลก เป็นงานที่ต้องทำเพื่อมุ่งประโยชน์แก่คนทั้งชาติ มิใช่เพื่อประโยชน์แก่บางคน บางพวก มนุสสปฏิวัติส่วนสำคัญที่ต้องทำนั้นคือการปลูกความขยันขันแข็งในการทำงาน ปลูกความนิยมในงานอาชีพ และเพาะนิสัยพึ่งตนเอง
เรื่องที่ 341 เนื้อหาเกี่ยวกับพระธรรมเทศนา เรื่องปพฺพโตปมคาถาเทศนา เรื่องที่ 342 เนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาพุทธ เรื่องอานิสงส์มหาสงกรานต์ เรื่องที่ 343 เนื้อหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนวันเดือนปีอุโบสถ เรื่องที่ 344 เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติพระพุทธศาสนา เรื่องพระมหากัจจายนมูล คือเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระอสีติมหาสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิสดาร ในประเทศไทยนอกจากชื่อตามภาษาบาลีแล้ว ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ "พระสังกัจจายน์" หรือ "พระสังกระจาย"เรื่องที่ 345 เนื้อหาเกี่ยวกับธรรมะ เรื่องวิธีสัมพันธ์เป็นอาทิเรื่องที่ 346 เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติพระพุทธศาสนา เรื่องคู่มือมูลกัจจายนโดยสังเขปเลขทะเบียน จบ.บ.341/1จบ.บ.342/1 จบ.บ.343/1จบ.บ.344/9,/ก/4,/ค/1:1ก,/ฆ/1:1ก-1ค,/ง/1 จบ.บ.345/1จบ.บ.346/1