ค้นหา
รายการที่พบทั้งหมด 40,815 รายการ
ชื่อเรื่อง สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (วิภังค์-มหาปัฏฐาน)
สพ.บ. 377/3กประเภทวัสดุมีเดีย คัมภีร์ใบลานหมวดหมู่ พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ 24 หน้า กว้าง 5 ซม. ยาว 57 ซม.หัวเรื่อง ธรรมเทศนา
บทคัดย่อ/บันทึก เป็นคัมภีร์ใบลาน อักษรธรรมอีสาน ภาษาบาลี-ไทย-ไทยอีสาน เส้นจาร ฉบับทองทึบ-ล่องชาด ได้รับบริจาคมาจากวัดลานคา ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
สมอ (ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Terminalia chebula Retz.) เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นชนิดหนึ่งในแถบเอเชียใต้ ลักษณะเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีความสูง ๒๐ – ๓๐ เมตร ออกดอกสีขาวอมเหลืองในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน ผลรูปรีหรือกลม ผิวเกลี้ยง ผลแก่จะมีสีเขียวอมเหลืองหรือสีเขียวปนน้ำตาลแดง สรรพคุณทางยาของสมอเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็นผล ดอก หรือเปลือกลำต้นก็สามารถนำไปใช้รักษาโรคได้ โดยผลสมอมีฤทธิ์เป็นยาระบาย แก้อาการท้องร่วง ท้องผูก และริดสีดวงทวาร รวมถึงช่วยให้ชุ่มคอ แก้อาการเจ็บคอ ละลายและขับเสมหะด้วย ขณะที่ดอกสมอใช้รักษาโรคบิดได้ ส่วนเปลือกลำต้นใช้ขับปัสสาวะ ขับน้ำเหลืองเสีย และบำรุงหัวใจเนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยารักษาโรคมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล สมอจึงมีบทบาทอยู่ในเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง อาทิ ในพุทธประวัติภายหลังที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วและประทับเสวยวิมุติสุขเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๗ ประทับเสวยวิมุติสุขใต้ต้นราชายตนพฤกษ์ (ต้นเกด) เป็นเวลา ๗ วัน พระอินทร์หรือท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่าตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ก็มิได้เสวยพระกระยาหารมาเป็นเวลา ๔๙ วันแล้ว จึงได้นำผลสมออันเป็นทิพยโอสถมาถวายแด่พระพุทธเจ้า นอกจากพุทธประวัติตอนดังกล่าวแล้ว ยังมีชาดกเกี่ยวกับสมออีกเรื่องหนึ่ง คือ เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็นพระหรีตกิทายกเถระได้ถวายผลสมอแด่พระสยัมภูพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง) ทำให้ทรงบรรเทาอาการอาพาธลง ผลแห่งเภสัชทานนี้ทำให้พระองค์ไม่ประชวรอีกเลย และด้วยสรรพคุณทางยานี่เองผลสมอจึงเป็นโอสถที่ได้รับพระบรมพุทธานุญาตจากพระพุทธเจ้าให้ฉันหลังเพลได้ในเวลาจำเป็นจะเห็นว่ามีการใช้สมอเป็นยารักษาโรคมาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งยังมีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวทางพุทธศาสนาด้วย ผลสมอจึงเป็นไม้ผลอย่างหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในงานพุทธศิลป์ ดังเช่น พระพุทธรูปปางฉันสมอ ซึ่งเป็นปางหนึ่งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงคัดเลือกจากพุทธประวัติให้ช่างสร้างเป็นพระพุทธรูปขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เรียกได้ว่าสมอเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับคนในอดีตทั้งในด้านวิถีชีวิตและความเชื่อความศรัทธามาช้านาน
เลขทะเบียน : นพ.บ.160/5ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 52 หน้า ; 4 x 50.5 ซ.ม. : ล่องชาด ; ไม้ประกับธรรมดา ชื่อชุด : มัดที่ 96 (27-34) ผูก 5 (2565)หัวเรื่อง : ปริวารปาลิ(ปาลีปริวาน) --เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
สตฺตปฺปกรณาภิธมฺม (สังคิณี-มหาปัฎฐาน)
ชบ.บ.40/1-7
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
มหานิปาตวณฺณนา(ทสชาติ) ชาตกฎฺฐกถา ขุทฺทกนิกายฎฺฐกถา (สุวณฺณสาม,มโหสถ,วิธูร,เนมิราชชาตก)
ชบ.บ.105.7ค/1-1
เอกสารโบราณ (คัมภีร์ใบลาน)
เลขทะเบียน : นพ.บ.331/4ห้องจัดเก็บ : ศรีโคตรบูรณ์ประเภทสื่อ : เอกสารโบราณหมวดหมู่ : พุทธศาสนาลักษณะวัสดุ : 56 หน้า ; 4.5 x 54.5 ซ.ม. : ล่องรัก ; ไม้ประกับธรรมดาชื่อชุด : มัดที่ 131 (338-342) ผูก 4 (2565)หัวเรื่อง : มิลินฺทปญฺหา(พระยามิลินทะ)--เอกสารโบราณ คัมภีร์ใบลาน พุทธศาสนาอักษร : ธรรมอีสานภาษา : ธรรมอีสานบทคัดย่อ : มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา สามารถสืบค้นได้ที่ห้องศรีโคตรบูรณ์ หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม
ความเชื่อและการใช้สมุนไพรนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรมีในตำราแพทย์ตั้งแต่สมัยกรีก อินเดีย จีน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพทย์ไทยแผนโบราณ นอกจากนี้ก็มีการศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ถ้าจะพูดถึงประโยชน์ของสมุนไพร ในปัจจุบันยาต่างๆที่ใช้กันอยู่มีจำนวนไม่น้อยที่ได้มาจากสมุนไพรโดยตรง
ผู้เรียบเรียง : นางภควรรณ คุณากรวงศ์ บรรณารักษ์ชำนาญการ
ข้อมูลอ้างอิง
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือการใช้สมุนไพรไทย-จีน. กรุงเทพฯ : กรมฯ, 2552.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สถาบันวิจัยสมุนไพร. มาตรฐานสมุนไพรไทย ฟ้าทะลายโจร = Standard of Thai herbal medicine Andrographis ganiealata (Burm. F.) Nees. กรุงเทพฯ : กรมฯ, 2542.
เจนจบ ยิ่งสุมล. สารานุกรมสมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ : ทสพร, 2555.
บดินทร์ ชาตะเวที. “ใช้สมุนไพรอย่างไรให้ปลอดภัย” [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://www.ttmed.psu.ac.th/ (18 สิงหาคม 2564)
อุดมการ อินทุใส และปาริชาติ ทะนานแก้ว. สมุนไพรไทย ตำรับยา บำบัดโรค บำรุงร่างกาย. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549.
“5 สมุนไพร พื้นบ้านช่วยต้านทานโควิด -19”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://thaiherbinfo.com (18 สิงหาคม 2564)
สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี กรมศิลปากร
กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
. ในช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังจะเข้าสู่ 'ประเพณียี่เป็ง' ของล้านนาค่ะ จะเห็นได้ว่าตามวัดและบ้านเรือนต่างๆ เริ่มประดับประดาโคมไฟหลากหลายสีสัน ก่อให้เกิดเป็นภาพงดงามซึ่งจะมีโอกาสได้เห็นกันในช่วงประเพณีนี้เท่านั้นค่ะ. ประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีเดือนยี่ เป็นประเพณีเก่าแก่ของล้านนาที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ โดยคำว่า “ยี่” แปลว่า สอง “เป็ง” แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนานั้นเอง. กิจกรรมอีกหนึ่งอย่างที่ชาวล้านนานิยมทำกันในวันนี้คือ การจุดผางประทีปและโคมไฟบูชาพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ และอธิษฐานขอพรเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองค่ะ . พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จึงขอพาทุกๆท่านไปทำรู้จักกับ”โคมยี่เป็ง : มนต์เสน่ห์แห่งล้านนา ” พร้อมกับเก็บภาพบรรยายงานประเพณียี่เป็งของเชียงใหม่ในปีนี้ค่ะ มาฝากทุกๆท่านค่ะ """"""""""""""""""""""""/// ความหมายของโคม ///. “โคม” หรือ ภาคเหนือออกเสียงว่า “โกม” หมายถึง ตะเกียง หรือ เครื่องโคมไฟ ซึ่งมีบังลม อาจทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม, แปดเหลี่ยม, วงกลม หรือทรงอื่นๆ หิ้วหรือแขวน ตามที่ต่างๆ เพื่อให้แสงสว่างโดยตรงและเป็นเครื่องบูชาสิ่งที่เคารพนับถือ/// ความสำคัญและความเชื่อของการจุดโคมยี่เป็ง ///. “โคม” เป็นงานหัถตกรรมพื้นบ้าน ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่สืบต่อจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือ ซึ่งชาวล้านนาใช้เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง โดยเชื่อกันว่าแสงประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข. นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า การปล่อยโคมขึ้นบนท้องฟ้า เป็นการลอยเคราะห์ลอยนาม โคมที่ปล่อยขึ้นไปนั้นก็เพื่อจะให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีจออีกด้วยค่ะ /// ประเภทของโคมยี่เป็ง /// มีหลักๆอยู่ 4 ประเภท ได้แก่--- 1.โคมถือ. โคมถือ คือ โคมที่มีกำบังทำด้วยกระดาษสี มี 2 แบบ คือ “โคมหูกระต่าย” จะมีลักษณะคล้ายหูกระต่าย มักใช้ถือไปเดินขบวนแห่งานลอยกระทง ข้างในโคมจะจุดเทียนไขไว้ เมื่อเดินขบวนเสร็จแล้ว ก็จะนำไปปักไว้บริเวณรอบๆ โบสถ์ วิหาร หรือ สถานที่มีงานพิธีกรรม ส่วนอีกแบบคือ “โคมกลีบบัว” มีลักษณะคล้ายกลีบบัว มีด้ามไม้ใช้ถือคล้ายๆเป็นก้านดอกบัว เมื่อแห่ขบวนเสร็จแล้วมักจะนำไปบูชาพระประธานในพระวิหาร--- 2.โคมลอย. โคมลอย คือ โคมที่จุดแล้วปล่อยให้ลอยไปในอากาศ มีลักษณะเป็นรูปถุงทรงกระบอก ก้นใหญ่ปากแคบ ทำด้วยกระดาษว่าว โคมลอยที่ปล่อยขึ้นไปนั้น เชื่อกันว่าจะให้ลอยขึ้นไป เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีจอ หรือเพื่อบูชาแก่เจ้าผู้ใช้กำเนิดของตนบนสวรรค์ ที่เรียกว่า "พ่อเกิดแม่เกิด" --- 3.โคมแขวน. โคมแขวน คือ โคมที่ใช้แขวนบนหลักหรือขื่อ นิยมแขวนในวิหาร โบสถ์ หรือทำค้างไม้ไผ่ชักรอกแขวนข้างโบสถ์ วิหาร เพื่อเป็นพุทธบูชา หรือใช้ตกแต่งบ้านเรือน เพื่อบูชาเทพารักษ์ ผู้รักษาหอเรือน อาคารบ้านเรือนก็ได้ โคมแขวนมีหลากหลายรูปแบบและรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป เช่น โคมรังมดส้ม (โคมเสมาธรรมจักร), โคมดาว โคมไห, โคมเงี้ยว (โคมเพชร), โคมกระบอก เป็นต้น--- 4. โคมผัด. โคมผัด คือ โคมที่มีภาพไว้ตรงที่ครอบ เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบนั้นจะหมุน ทำให้เงาของภาพสะท้อนบนพื้นผนัง บอกเล่าเรื่องราวภาพในตัวโคมได้ มักนิยมทำเป็นรูป 12 ราศี. โคมผัด เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า "ผัด" แปลว่า หมุนหรือเวียนไปรอบ ดังนั้น โคมผัดคือโคมที่มีลักษณะหมุนไปรอบๆ หรือเวียนไปรอบๆ เมื่อจุดไฟในโคมก็จะเกิดอากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศเย็นจะเวียนเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดเป็นกระแสอากาศเบาๆ พัดให้โคมหมุนไปรอบๆทำให้ตัวโคมที่ติดรูปภาพต่างๆ หมุนไปเกิดการสะท้อนของภาพไปตกอยู่ที่ตัวโคม ซึ่งเป็นฉากอยู่ทำให้เกิดความสวยงาม โคมผัดจะตั้งไว้เป็นที่ ไม่เคลื่อนย้าย""""""""""""""""""""""""""". “โคม” กับงานประเพณียี่เป็ง ถือได้ว่าเป็นของคู่กัน แต่ก่อนชาวล้านนามีโคมใช้ไม่แพร่หลายมากนัก จุดประสงค์ของการใช้สอยของโคมไฟโบราณทำขึ้นเพื่อใช้เป็น ตะเกียง หรือสิ่งประดิษฐ์ สำหรับจุดไฟให้สว่าง แต่ด้วยเหตุผลที่น้ำมันมีราคาแพง ประเพณีการจุดโคมแต่เดิมจึงมักมีเฉพาะในพระราชสำนักและบ้านเรือน ของเจ้านายใหญ่โต เท่าที่ผ่านมาชาวล้านนาจะใช้โคมไฟในฐานะของเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น. ในปัจจุบันโคมไฟถูกนำไปใช้อย่างหลากหลาย เช่น ตกแต่ง บ้านเรือน โรงแรม รีสอร์ท วัด สถานที่ราชการ และเอกชน เพื่อความสวยงามดูบรรยากาศสบายๆแบบล้านนา และเสริมความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน ซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่า การจุดโคมไฟนั้น จะนำความเจริญรุ่งเรืองและความสุขมาให้กับตนและครอบครัวต่อไป--------------------------. ช่วงนี้อากาศในเชียงใหม่กำลังดีเลยค่ะ ยิ่งช่วงเวลากลางคืน ลมหนาวเย็นๆพัดมา บวกกับบรรยากาศแสงเทียนจากโคมยี่เป็งและจากผางประทีปตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นภาพที่งดงามจริงๆค่ะ . ทางพิพิธภัณฑ์ของเราเลยเก็บภาพสวยๆมาฝากทุกๆท่าน หากมีโอกาสแวะมาเที่ยวประเพณียี่เป็งที่จังหวัดเชียงใหม่ได้นะคะ พบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้าค่ะ ---------------------------/ เอกสารอ้างอิง /มณี พยอมยงค์. (๒๕๔๗). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.ศรีเลา เกษพรหม. (๒๕๔๒). ล่องสะเพา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๑, หน้า ๕๘๕๐-๕๘๕๐). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๑). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.https://lampssky.com/โคมล้านนามรดกของชาวเหนือ เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ย. 2564/ ภาพประกอบ / คุณกานต์ธีรา ไชยนวล และ คุณวรรณพร ปินตาปลูก""""""""""""""""""""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.e-mail: cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call: +66 5322 1308+
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม (สกุลเดิม ไกรฤกษ์) (พระนามเดิม : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา) ดำรงพระอิสริยยศ “พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ สิ้นพระชนม์วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๐๑ พระชันษา ๖๙ ปี (ดูเพิ่มเติมใน กรมศิลปากร, ราชสกุลวงศ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๔, (กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๕๔), ๙๙.)
Cigarette Cards ชุดเจ้านายไทย (๑ สำรับ ประกอบด้วย พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระฉายาสาทิสลักษณ์ และรูปเขียนคล้ายพระรูปพระบรมวงศานุวงศ์บนแผ่นกระดาษ จำนวน ๕๐ รูป) ลำดับที่ ๔๖ โดยบริษัท ยาสูบซำมุ้ย จำกัด (SUMMUYE & CO) ผลิตราวปี พ.ศ. ๒๔๗๗ (หมายเลขทะเบียน ๒/๒๕๑๖/๑) มีประวัติระบุว่า คุณหลวงฉมาชำนิเขต มอบให้เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๑๖
(เผยแพร่โดย ศรัญ กลิ่นสุคนธ์ ภัณฑารักษ์ / เทคนิคภาพ อริย์ธัช นกงาม ภัณฑารักษ์ปฏิบัติการ กลุ่มทะเบียน คลังพิพิธภัณฑ์และสารสนเทศ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร)
ภายในห้องจัดแสดงชั้นล่างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี มีการจัดแสดงพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรอยู่ ๑ องค์ เป็นพระพุทธรูปยืนที่หล่อขึ้นจากโลหะผสมประเภทสำริด มีการตกแต่งพระพุทธรูปองค์นี้ด้วยการลงรักปิดทองและประดับกระจก พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทรองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่มีการครองจีวรห่มเฉียง โดยจีวรนั้นมีการตกแต่งลวดลายให้เป็นจีวรลายดอกพิกุล ซึ่งเป็นลวดลายจีวรที่เป็นที่นิยมมากในการสร้างพระพุทธรูปในสมัยรัตนโกสินทร์เลยก็ว่าได้ พระพุทธรูปยืนองค์นี้พระรัศมีได้หักหายไป และยังมีความชำรุดของผิวพระพุทธรูปด้วยลวดลายบางส่วนแตกหลุดหายไป ตามกาลเวลา พระพุทธรูปยืนองค์นี้ ยืนบนฐานบัวทรงกลม ที่รองรับด้วยฐานแปดเหลี่ยมที่ซ้อนกัน ๔ ชั้น บริเวณฐานพระพุทธรูปชั้นล่างสุด ด้านหน้า ปรากฎจารึกว่า “นายพุ้ม เป็นที่หลวงประชุ่ม คุนแม่ทิมภรรยา ทร่างไว้แต่ปีระกา ๑๑๖” จากจารึกดังกล่าวทำให้ทราบว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร มีอยู่ว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปประกาศพระศาสนา ยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ทรงขอประทับอยู่ในสำนักของอุรุเวกัสสปะ ซึ่งเป็นหัวหน้าชฎิล (นักบวชผู้บูชาไฟ) และเป็นที่เลื่อมใสของชาวแคว้นมคธ พระพุทธองค์ทรงแสดงความจริงที่ได้ตรัสรู้มาแก่อุรุเวกัสสปะ แต่หัวหน้าชฎิลผู้นี้ยังทนง ตนว่าตัวเองมีฤทธิ์ เป็นอรหันต์ ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์หลายครั้ง เพื่อให้อุรุเวกัสสปะคลายความทนงตนลง โดยครั้งสุดท้ายได้แสดงปาฏิหาริย์โดยการห้ามน้ำที่กำลังไหลบ่ามาจากทุกสารทิศ มิให้เข้ามาในที่ประทับ เนื่องจากได้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมใหญ่ อุรุเวกัสสปะคิดว่าพระพุทธเจ้าคงจะจมน้ำเสียแล้ว แต่เมื่อพายเรือไปดูก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้ากำลังเสด็จจงกรมบนพื้นดินภายในวงล้อมที่มีน้ำเป็นกำแพง ด้วยปาฏิหาริย์ และหลักธรรมทั้งหมดที่ทรงแสดง ทำให้อุรุเวกัสสปะคลายความทนงตน และเกิดความเลื่อมใสในพุทธานุภาพ จึงทูลขออุปสมบทกับพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งเหล่าชฎิล ๕๐๐ ซึ่งเป็นบริวาร พระพุทธรูปปางห้ามสมุทรองค์นี้ เดิมอยู่ที่วัดพระบรมธาตุวรวิหาร โดยพระชัยนาทมุนี (นวม สุทัตโต) เป็นผู้รวบรวมไว้ ภายหลังจึงมอบให้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี เก็บรักษาและจัดแสดงที่มาของข้อมูล : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชัยนาทมุนี จังหวัดชัยนาทwww.facebook.com
20 กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ วันพระราชสมภพสองยุวกษัตริย์
----------------------------
พุทธศักราช 2528 (ปี 1985) เป็นปีที่องค์การสหประชาชาติหรือ UN (United Nations) ประกาศให้เป็นปีเยาวชนสากล (International Youth Year: IYY) ด้วยเหตุนี้ ดร. สายสุรี จุติกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ หรือ สยช. (ปัจจุบันคือคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ หรือกดยช.) จึงเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดงานวันเยาวชนแห่งชาติของประเทศไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พุทธศักราช 2528 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 20 กันยายนของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ด้วยเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ไทย 2 พระองค์ ซึ่งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นยุวกษัตริย์แต่ยังทรงพระเยาว์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร จึงถือเป็นวันสิริมงคลในการพัฒนาเยาวชน และเป็นโอกาสให้เยาวชนไทยได้ระลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตนต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์ วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ากับอยู่หัวกับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จุลศักราช 1215 ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2396
ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ มะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2411 มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2411 เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2416
ตลอดรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกอปรพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อพัฒนาสยามให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินให้ทันสมัย และทรงปฏิรูปการศึกษาให้ราษฎรมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างทั่วถึง อีกทั้งยังทรงพัฒนาสาธารณูปโภคและการสาธารณสุขให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบายขึ้น ตลอดจนทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พุทธศักราช 2468 ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมันนี เป็นพระโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชา คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พุทธศักราช 2477 สภาผู้แทน ราษฎรมีมติเห็นชอบให้คณะรัฐบาลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักนรนฤบดินทร์สยามินทราธิราช ขณะมีพระชนมายุ 9 พรรษา โดยมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
เรียบเรียงโดย นางสาวพุธิตา ขำบุญลือ นักจดหมายเหตุปฏิบัติการ คณะทำงานด้านการจัดการองค์ความรู้ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
----------------------------
อ้างอิง
กรมกิจการเด็กและเยาวชน. ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.dcy.go.th/ content/1636520311278/1636520514570 สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565.
กรมศิลปากร. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.ศิลป์ (2521) จำกัด, 2529.
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อานันทมหิดล ผู้เป็นที่รักของแผ่นดิน พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 4 มิถุนายน 2460 กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 2560.
มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์. พระราชประวัติพระมหาษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ บทพระราชนิพนธ์ในการเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 ในรัชกาลที่ 5 ประวัติเมืองกำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในพระสังฆราชูปถัมภ์, 2537.
สำนักนายกรัฐมนตรี. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ. 25 ปี สยช. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.dcy.go.th/public/mainWeb/file_download/
1646493472100-674880574.pdf สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารชุดกระทรวงศึกษาธิการ จัดครั้งที่ 2 (2) ศธ26/2195 เรื่องส่งตัวอย่างพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเผยแพร่และจำหน่าย (4 - 7 ตุลาคม 2487).
อรวรรณ ทรัพย์พลอย. พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2546.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพกองจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมจากแหล่งอื่น ๆ ภ 001 กจช (อ) 2/30 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ฉายคราวเสด็จนิวัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2481.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพกองจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมจากแหล่งอื่น ๆ ภ 001 กจช (อ) 3/63 พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขณะประทับโต๊ะทรงพระอักษร.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพกองจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมจากแหล่งอื่น ๆ ภ 001 กจช (อ) 6/5 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขณะทรงพระเยาว์ฉลองพระองค์ปกกลาสี.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพกองจดหมายเหตุแห่งชาติ รวบรวมจากแหล่งอื่น ๆ ภ 001 กจช (อ) 7/28 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงฉลองพระองค์เต็มยศพร้อมเครื่องพระบรมราชอิสริยยศราชูปโภค พระบรมฉายาลักษณ์ทรงฉายในคราวเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก (พฤศจิกายน 2481).
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ภ 001 หวญ 12/9(3) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงฉายกับสมเด็จพระบรมราชโอรสองค์ใหญ่ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2411 พระชันษา 16 ปี ขณะนั้นสมเด็จพระบรมชนกนาถ มีพระชนมายุ 65 พรรษา.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ภ 001 หวญ 19/12 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 พระชันษา 16 ปี.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ภาพอัลบั้ม กระทรวงการต่างประเทศ ภอ. กต. 2/99 พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (ทรงฉายคราวบรมราชาภิเษกครั้งที่สอง).
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ขอเชิญชวนประชาชนร่วมงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย 2565 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม ถึง 8 พฤศจิกายน 2565 ภายในงานพบกับการเเสดงเเสงเสียง Light & Sound 2022 สุโขทัย การเเสดงพลุ ตะไล ไฟพะเนียง การแสดงศิลปวัฒนธรรม การเเสดงกระบี่กระบอง การเเสดงโขน ละคร หุ่น การประกวดนางนพมาศ รวมทั้งเลือกซื้อสินค้าในตลาดถุงเงิน ณ วัดตระพังเงิน ตลาดแลกเบี้ย ณ บริเวณสระยายเพิ้ง ตลาดปสาน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม และตลาดบ้าน บ้าน ณ บริเวณด้านหลังวัดชนะสงคราม
การจองบัตรฟรีเข้าชมการแสดง แสง เสียง ผ่านระบบออนไลน์ สามารถจองได้ที่ : https://forms.gle/FUYjUN8aMH4cVJBg6
เช็คสถานะการจองได้ที่ : https://shorturl.asia/eYJEH เมื่อจองหรือลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์เรียบร้อยแล้ว สามารถนำบัตรประชาชน มารับบัตรเข้าชมการแสดง ได้ที่ กองอำนวยการ บริเวณศาลหลักเมือง ได้ตั้งวันที่ 28 ต.ค. เป็นต้นไป ระหว่างเวลา 13.30-17.30 น.
ทั้งนี้ หากลงทะเบียนแบบออนไลน์ไม่ทัน สามารถลงทะเบียนรับบัตรเข้าชมแสง เสียง ได้ที่หน้างานลอยกระทง โดยสามารถลงได้ที่ กองอำนวยการ บริเวณศาลหลักเมือง ระหว่างเวลา 17.30-18.15 น.
>>>กำหนดการจัดกิจกรรม อ่านได้ที่ view
>>>แผนผังการจัดงานกิจกรรม : view
นอกจากนี้ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ยังได้จัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง "สังคโลกสุโขทัย" เพื่อเป็นการให้ความรู้และเผยแพร่การดำเนินงานของกรมศิลปากร ซึ่งอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งเตาทุเรียงเมืองเก่าสุโขทัยมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ขุดแต่งและบูรณะครั้งใหญ่ ระหว่างปีงบประมาณ 2560-2563ที่ผ่านมา
ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร/กิจกรรมเพิ่มเติม ได้ทางเพจเฟสบุ๊ก อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย